มุมแนะนำ

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ข้อห้ามสำหรับการติดตั้งลูกกรงเหล็กดัด

ข้อห้ามสำหรับการติดตั้งลูกกรงเหล็กดัด
บ้านหรืออาคารที่มีหน้าต่างเป็นกระจก นิยมติดเหล็กดัดเพื่อป้องกันขโมย
แต่หลายครั้งที่ได้ทราบข่าวเพลิงไหม้ และมีผู้ติดอยู่ภายในไม่สามารถหนีออกมาได้
ก็เนื่องจากติดเหล็กดัดการติดเหล็กดัดนั้นไม่ใช่สักแต่ว่าติด แต่ทราบหรือไม่ว่า.. พระราชบัญญัติ
ควบคุมอาคาร กฏกระทรวงฉบับที่ 21 ที่เพิ่มเติมเมื่อปี พ.ศ. 2532
มีการออกกฏหมายควบคุมอาคาร (กฏกระทรวงฉบับที่ 21) เมื่อปี 2532 ออกมาว่า อาคารทุกชั้นที่ติดเหล็กดัดจะต้องมีช่องเหล็กดัด ที่สามารถเปิดได้จากข้างใน
ขนาดไม่น้อยกว่า 60x80 ซ.ม. เพื่อเป็นทางหนีไฟ
แม้ว่ากฏหมายนี้จะออกมาหลังจากเหตุการณ์ไฟไหม้ใหญ่ ที่โรงงานห้องแถว
ใจกลางเมือง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2531 แล้วมีผู้เสียชีวิตหลายศพ
เพราะไม่อาจหนีออกมาได้เนื่องจากติดเหล็กดัด
แต่ก็ดีกว่าไม่คิดหาทางแก้ไขใดๆ เลย
กฏหมายนั้น ถ้าถูกตราขึ้นจากความเห็นชอบของคนส่วนใหญ่
และบังคับใช้ได้จริง นอกจากจะช่วยให้พวกเราอยู่ร่วมกัน
ในสังคมได้อย่างสงบสุขแล้ว ยังเพื่อความปลอดภัยด้วย
ที่มา : หนังสือ 108 คำถามเรื่องบ้านกับสถาปนิกไทย โดย ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์
****www.thebag101.blogspot.com****

ดูโทรทัศน์มาก อาจทำให้เสียชีวิตได้ง่าย

ดูโทรทัศน์มาก อาจทำให้เสียชีวิตได้ง่าย
ผลวิจัยโดย David Dunstan นักวิจัยชาวออสเตรเลีย จากสถาบัน Baker IDI
Heart and Diabetes ในเมลเบิร์น (Melbourne) ที่สำรวจจากชายหญิง ที่มีสุขภาพดีอายุ 25 ปีขึ้นไป จำนวน 8,800 คน เป็นเวลา 6 ปี พบว่า 80% ของผู้ที่ดูโทรทัศน์มากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มเสียชีวิต
ด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด มากกว่าผู้ที่ดูโทรทัศน์น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน
และในการดูโทรทัศน์ที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ชั่วโมง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
ด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดถึง 18%

เนื่องจากการทำกิจกรรมที่นั่งเฉยๆ เช่น ดูโทรทัศน์นานๆ ทำให้พวกเราไม่ขยับตัว
เป็นเวลานาน ทำให้กระบวนการเผาผลาญในร่างกายช้าลง และส่งผลให้เกิดการ
เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
คำแนะนำสำหรับกรณีนี้ คือ หลีกเลี่ยงการการนั่งเป็นเวลานาน เปลี่ยนอิริยาบท
ขยับร่างกายในส่วนที่ไม่ค่อยได้ขยับบ้าง หรือในขณะชมโทรทัศน์ควร
ทำกิจกรรมอื่นที่ได้ขยับตัวบ้าง เช่น พับเสื้อผ้าที่ซักแล้ว หรือเปลี่ยนช่องโทรทัศน์
ด้วยการลุกเดินไปกดเองแทนการใช้รีโมท
ที่มาภาพ : http://www.sxc.hu/photo/999215
ที่มา : นิตยสาร Lisa weekly ฉบับวันที่ 3 ก.พ. 2010, Extended TV watching linked to higher risk of deathMedia CentreWatching TV Linked to Higher Risk of Death

****www.thebag101.blogspot.com****

ที่มาของชื่อ ปลั๊กสามตา

ที่มาของชื่อ ปลั๊กสามตา
เต้ารับ (Socket-outlet หรือ Receptacle) หรือปลั๊กตัวเมีย คือ
ขั้วรับสำหรับหัวเสียบจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ปกติเต้ารับจะติดตั้งอยู่กับที่ เช่น
ติดอยู่กับผนังอาคาร อาจมีทั้งแบบ 2 รู หรือ 3 รู

เต้าเสียบ (Plug) หรือปลั๊กตัวผู้ คือ ขั้วหรือหัวเสียบที่มีสายไฟติดอยู่กับ
เครื่องใช้ไฟฟ้า มีขาโลหะยื่นออกมา 2 ขา หรือ 3 ขา เพื่อเสียบเข้ากับเต้ารับ
ทำให้สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้

ส่วน ปลั๊กสามตา มีคำเรียกอย่างเป็นทางการว่า "รางเต้ารับ" หรือ "เต้ารับ
ที่ทำเป็นชุด" ในภาษาอังกฤษเรียก Extension Socket  ในอดีตที่ติดตลาด
ได้รับความนิยม และเห็นบ่อยที่สุด คือ แบบตลับกลมๆ หมุนเก็บสายไฟ
ไว้ด้านในได้ และมีช่องเสียบปลั๊กแบบ 2 ขา อยู่ทั้งหมด 3 ช่อง จึงทำให้นิยม
เรียกกันว่า "ปลั๊กสามตา"

ปัจจุบันปลั๊กสามตาพัฒนารูปลักษณ์ทันสมัยขึ้น พร้อมเพิ่มช่องเสียบเป็น 4 ช่อง
หรือ 6 ช่อง มีให้เลือกหลายรูปแบบ หลายราคา แต่ยังนิยมเรียกชื่อเดิม
ซึ่งในการเลือกซื้อควรเลือกที่ได้มาตรฐาน มอก. 166/2549 มีสปริงของเต้ารับ
(หรือตัวล็อกขาเต้าเสียบ) ทำจากทองเหลือง ตัวกล่องฉนวนทำจากพลาสติก ABS
และมีระบบตัดไฟอัติโนมัติ หรือมีฟิวส์ในตัว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิด
เพลิงไหม้ในกรณีไฟฟ้าลัดวงจร
ปลั๊กสามตาแบบเดิม

วันอังคารที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2554

สิ่งที่ไม่ให้นำขึ้นเครื่องบิน

สิ่งของที่ห้ามนําขึ้นเครื่องบิน
มาดู สิ่งของที่ห้ามนําขึ้นเครื่องบิน กันค่ะ สำหรับคนที่ ขึ้นเครื่องบินครั้งแรก หรือยังไม่รู้ว่าในการขึ้นเครื่องบินนั้น ของที่ห้ามนําขึ้นเครื่องบิน นั้นมีอะไรบ้าง มาดูกันเลยค่ะ
หลักเกณฑ์และวิธีการปฎิบัติเกี่ยวกับการนำสัมภาระติดตัวประเภทของเหลว เจล หรือสเปรย์ขึ้นเครื่องบินตามประกาศของกรมการขนส่งทางอากาศซึ่งสอดคล้องกับแนวทางปฎิบัติของ ICAO ที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 มิ.ย.2550

1. ของเหลว เจล หรือ สเปรย์ ตามประกาศของกรมการขนส่งทางอากาศ ได้แก่ น้ำ เครื่องดื่ม ครีม โลชั่น ออยส์ น้ำหอม สเปรย์ เจลใส่ผม เจลสำหรับอาบน้ำ โฟมชนิดต่างๆ ยาสีฟัน น้ำยากำจัดกลิ่นตัว และของอื่น ๆ ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน

2. ของเหลวซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฎิบัติตามประกาศฉบับนี้ ได้แก่ นมและอาหารสำหรับเด็ก ยา ในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งได้ให้พนักงานที่จุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัยตรวจสอบแล้ว

3. การปฎิบัติตามประกาศฉบับนี้ให้ใช้กับทุกเที่ยวบินทั้งเที่ยวบินระหว่างประเทศและเที่ยวบินภายในประเทศ ซึ่งเดินทางออกจากสนามบินในประเทศไทย

4. ห้ามผู้โดยสารนำสัมภาระติดตัวซึ่งมีของเหลว เจล หรือ สเปรย์ ขึ้นเครื่องบิน

เว้นแต่จะได้ดำเนินการดังต่อไปนี้
4.1 ของเหลว เจล สเปรย์ หรือวัตถุและสารอื่นๆซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันต้องบรรจุในภาชนะซึ่งมีปริมาณความจุไม่เกิน 100มิลลิลิตร (หรือปริมาณที่เทียบเท่ากันในหน่วยวัดปริมาตรอื่น) สำหรับภาชนะซึ่งมีปริมาณความจุเกิน 100 มิลลิลิตรจะนำขึ้นเครื่องบินไม่ได้แม้ว่าจะบรรจุของเหลว เจล สเปรย์ หรือวัตถุและสารอื่นๆซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกันไว้เพียงเล็กน้อย

4.2 ภาชนะที่ใส่ของเหลว เจล สเปรย์ หรือวัตถุและสารอื่นๆซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกัน ต้องใส่รวมไว้ในถุงพลาสติกใสที่มีปริมาณความจุไม่เกิน 1 ลิตร (ประมาณ 20X20 ซม.)และสามารถปิดผนึกได้ (Transparent Re-Sealable Plastic Bag) โดยต้องปิดผนึกปากถุงให้เรียบร้อย

4.3 ผู้โดยสารสามารถนำถุงพลาสติกใสขึ้นเครื่องบินได้คนละ 1 ถุง

4.4 ผู้โดยสารต้องแยกถุงพลาสติกใสซึ่งใส่ภาชนะของเหลว เจล หรือ สเปรย์ ออกจากสัมภาระติดตัวอื่นๆ รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop Computer) และเสื้อคลุม เมื่อถึงจุดตรวจค้นเพื่อการรักษาความปลอดภัย (Security Screening Point)

5. ของเหลว เจล หรือ สเปรย์ซึ่งซื้อจากร้านค้าปลอดอากร (Duty Free Shops) ที่สนามบินหรือซื้อบน เครื่องบินต้องบรรจุไว้ในถุงพลาสติกใสซึ่งปิดผนึกปากถุงและไม่มีร่องรอยผิดปกติให้สงสัยว่ามีการเปิดปากถุงหลังจากการซื้อ และมีหลักฐานแสดงว่าซื้อจากร้านค้าปลอดอากรที่สนามบินหรือบนเครื่องบินในวันที่ผู้โดยสารนั้นๆเดินทาง

ผู้โดยสารที่ต้องการจะซื้อสินค้าซึ่งเป็นของเหลว เจล หรือ สเปรย์ จากร้านค้าปลอดอากรที่สนามบิน ต้องตรวจสอบข้อมูลจากสายการบินหรือร้านค้าปลอดอากรที่สนามบิน เกี่ยวกับการปฎิบัติต่อของเหลว เจล หรือ สเปรย์ที่สนามบินซึ่งเป็นจุดปลายทางของการเดินทางและสนามบินทุกแห่งที่ผู้โดยสารต้องลงจากอากาศยานเพื่อแวะพักหรือเปลี่ยนลำอากาศยานก่อนที่จะซื้อสินค้าดังกล่าว

สำหรับการดำเนินการกับของเหลว สเปรย์ และเจลก่อนขึ้นเครื่องบินที่ ICAO แนะนำให้สนามบินปฏิบัติ คือ

1. ไม่อนุญาตให้ผู้โดยสารนำของเหลวทุกชนิดที่มีความจุเกิน 100 มิลลิลิตรขึ้นอากาศยาน

2. ภาชนะที่บรรจุของเหลวต้องเป็นภาชนะพลาสติกใสที่สามารถเปิด-ปิดได้ (Re-sealable) โดยภาชนะดังกล่าวต้องมีความจุไม่เกิน 1 ลิตร และต้องถูกปิดผนึกอย่างสมบูรณ์

3. หลังจากผ่านเครื่อง X-ray แล้ว ภาชนะพลาสติกใสต้องถูกตรวจสอบด้วยสายตาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผู้โดยสาร 1 คนสามารถนำภาชนะพลาสติกขึ้นเครื่องได้คนละ 1 ใบเท่านั้น

4. มาตรการนี้ไม่รวมถึงยารักษาโรค นม และอาหารของเด็กทารก รวมทั้งอาหารชนิดพิเศษสำหรับผู้ป่วย

5. เพื่อความสะดวกในการตรวจสอบ ควรนำถุงพลาสติกใสที่บรรจุของเหลวตรวจแยกต่างหากจากกระเป๋าสัมภาระอื่นๆ

6. มาตรการนี้ไม่รวมถึงของเหลวที่จำหน่ายจากร้านค้าหลังจุดตรวจค้น โดยของเหลวดังกล่าวต้องบรรจุอยู่ในถุงพลาสติกใสที่ปิดผนึกอย่างดี และจะต้องพร้อมได้รับการตรวจตามความจำเป็น

รู้แบบนี้แล้วว่า สิ่งที่ห้ามนําขึ้นเครื่องบิน นั้นมีอะไรบ้าง เราก็อย่านำไปขึ้นเครื่องน่ะค่ะ ไม่งั้น ทางสนามบินเขาบังคับให้เราทิ้งของดังกล่าวแน่นอนค่ะ


มุมแนะนำ