มุมแนะนำ

วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สมบัติธาตุหมู่ 1A-8A



ธาตุหมู่ 1A และ 2A
เป็นโลหะ เป็นของแข็ง มีจุดเดือด/จุดหลอมเหลวสูง นำไฟฟ้าได้
ธาตุหมู่ 1A
•    เป็นโลหะเนื้ออ่อน ใช้มีดตัดได้
•    มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 1 จึงถูกดึงออกง่ายมาก ทำให้มีประจุ +1 เช่น Na+
•    มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาสูงมาก ลุกไหม้อย่างรวดเร็ว
•    เกิดปฏิกิริยากับน้ำรวดเร็วและรุนแรง เกิดปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนเป็นเบส
ตัวอย่าง
  NaCI (เกลือแกง / โซเดียมคลอไรด์) มีมากในน้ำทะเล
  NaOH (โซดาไฟ / โซเดียมไฮดรอกไซด์) ใช้ล้างท่อ ทำสบู่ อุตสาหกรรมกระดาษ
  KN03 (ดินประสิว / โพแทสเซียมไนเตรต) ทำให้เนื้อสัตว์ มีสีสด ใช่ทำระเบิด
ธาตุหมู่ 2A
•    มีความแข็งและความหนาแน่นมากกว่าหมู่ 1A
•    มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 2 จึงสูญเสียได้ง่าย ท่าให้มีประจุ +2 เช่น Mg2+
•    มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมีมากแต่น้อยกว่าหมู่ 1A
ธาตุแม่ 7A (Halogen)
•    เป็นอโลหะ อยู่เป็นโมเลกุลมี 2 อะตอม เช่น F2 Cl2 Br2 12
•    มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 7 จึงสามารถรับอิเล็กตรอนไดอีก 1 กลายเป็นไอออนที่มีประจุ -1
•    มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก
•    เกิดสารประกอบกับโลหะหมู่ 1A และ 2A ได้สารประกอบไอออนิก ที่เรียกว่า โลหะเฮไลด์

ตัวอย่าง    คลอริน ใช้ฆ่าเชื้อโรค ในรูปแก๊ส Cl2 หริอแคลเซิยมไฮโปคลอไรด์ (CaOCI)
ฟลูออรีน ใช่ผสมยาสีฟันในรูปฟลูออไรด์ป้องกันฟันผ
ไอโอดิน ป้องกันโรคคอพอกจึงมีการเติมโพแทสเซียม ไอโอไดด์ ลงในเกลืออนามัย
ธาตุหมู่ 8A
    •เป็นอโลหะ มีสถานะเป็นแก๊ส อยู่เป็นอะตอมอิสระได้
    •มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 8 จึงมีความเสถียรมาก จึงไม่ว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาเคมี จึงเรียกธาตุหมู่นี้ว่า ก๊าชเฉื่อย (inert gas) ยกเว้น คริปทอน (Kr) ซีนอน (Xe) เรดอน (Rn) สามารถทำปฏิกิริยากับฟลูออลีนและออกซิเจนได้
ตัวอย่าง : สิเลียม (He) ใช้บรรจุในบอลลูน/เรือเหาะใช้ผสมกับแก๊สออกซิเจน เพื่อดำน้ำลึก
นีออน
(Ne) ใช้บรรจุหลอดไฟฟ้าให้ลีส้มแดง
ซินอน
(Xe) ใช้บรรจุหลอดไฟให้ลีม่วง/น้ำเงิน
โลหะแทรนซิชัน
   •เป็นโลหะมีสมบัติกายภาพเหมือนโลหะหมู่ 1A/2A แต่สมบัติเคมีแตกต่างกัน
    •เกิดสารประกอบไอออนิกที่มีสมบัติพิเศษ เรียกว่าสารประกอบเชิงซ้อน มีลีเฉพาะตัวเช่น ด่างทับทิม (Kmn04) ลีชมพูอมม่วง    จุนลี (CuS04) สีฟ้า
ธาตุกึ่งโลหะ
คือ ธาตุที่มีสมบัติบางประการคล้ายโลหะและบางประการคล้ายอโลหะ เช่น
   •อะลูมิเนียม (AI) มีความหนาแน่นตํ่า จึงทำให้นํ้าหนักเบาแต่แข็งแรง น่าไฟฟ้า/ความร้อนดี เช่น
บอกไซด์ : ใช้ทำโลหะอะลูมิเนียม อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องครัว ห่ออาหาร
คอรันดัม หรือ อะลูมิเนียมออกไซด์ : ทำอัญมณีที่มีลีตามชนิดของโลหะแทรนซิชัน
เช่น
        ถ้ามีโลหะโครเมียม จะให้ลีแดง เรียกว่า ทับทิม 
        มีไทเทเนียมและเหล็ก  จะให้ลีน้ำเงิน เรียกว่า ไพลิน
สารส้ม : ใช้ในการทำน้ำประปาหรือกวนน้ำให้ตกตะกอน
    •ซิลิกอบ (Si)       -อะตอมยืดต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนซ์ในรูปโครงผลึกร่างตาข่าย
- เป็นสารกึ่งตัวนำ ใช้ทำแผงวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ชนชั้นต่างๆของสังคม



โครงสร้างชนชั้นของสังคม
แบ่งสมาชิกของสังคม เป็นลำดับชนชั้นตามระบบศักดินา ได้แก่ พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง ไพร่ ทาส พระสงฆ์
5.1 พระมหากษัตริย์
กษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพรักสักการะของปวงชน รวมทั้งการนำเอาลัทธิเทวราชาจากขอม และ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีผลทำให้พระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนสมมติเทพ มีการเปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบาลพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ
5.2 พระราชวงศ์หรือเจ้านาย
ยศของเจ้านาย มี 2 ประเภท คือ
1. สกุลยศ ได้รับตั้งแต่เกิด สกุลยศในสมัยอยุธยาตอนต้น ใช้คำว่า เจ้าเช่น เจ้าอ้าย เจ้ายี่
เจ้าสาม ต่อมาสมัยพระเอกาทศรถ ได้ปรากฏสกุลยศของเจ้านายมี 3 ชั้น คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า
2. อิสริยยศ ได้รับพระราชทาน เนื่องจากรับใช้ราชการแผ่นดิน มักขึ้นต้นด้วยคำว่า พระ
เช่น พระราเมศวร พระบรมราชา สมัยสมเด็จพระนารายณ์ มี เจ้าทรงกรมเลิกใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5
5.3 ขุนนาง เป็นชนส่วนน้อยในสังคม
ยศ หมายถึง ฐานะหรือบรรดาศักดิ์ เช่น สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น
ตำแหน่ง หมายถึง หน้าที่ที่รับผิดชอบ เช่น สมุหพระกลาโหม สมุหนายก เสนาบดี ปลัดทูลฉลอง เจ้ากรม
ราชทินนาม หมายถึง นามที่ได้รับพระราชทาน เช่น มหาเสนายมราช จักรีศรีองครักษ์ พลเทพ
ศักดินา หมายถึง เครื่องกำหนดฐานะหรือความรับผิดชอบต่องานราชการ โดยครอบครองที่นา
มากน้อยตามศักดินา
5.4 ไพร่ เป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของสังคมไทยทั้งชายและหญิง มีศักดินาระหว่าง 10-25 ไร่ ต้องขึ้น
สังกัดมูลนาย มิฉะนั้นจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย
ประเภทของไพร่
1. ไพร่หลวง คือ ไพร่ที่สังกัดประจำกรม มีหน้าที่เข้าเวรรับราชการเข้าเดือนออกเดือน (ปีหนึ่งทำงาน 6 เดือน)
2. ไพร่สม คือ ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ขุนนาง มีหน้าที่ทำงานตามที่มูลนายสั่ง
3. ไพร่ส่วย คือ ไพร่สมและไพร่หลวงที่ส่งของ (ส่วย) มาแทนการใช้แรงงาน
การเลื่อนฐานะของไพร่
1. มีความสามารถในการรบ
2. ไพร่นำช้างเผือกมาถวาย
3. ไพร่เปิดเผยการทุจริตของขุนนาง
4. ออกบวชและศึกษาพระธรรมจนจบเปรียญ แล้วลาสิกขาบทมารับราชการ

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์



หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล
1.1 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (Ancient History) หรือยุคโบราณ ตั้งแต่ 3,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราชถึง .. 476 เมื่อกรุงโรมศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันต้องพ่ายแพ้การรุกรานของพวกอารยชน
1.2 ประวัติศาสตร์สมัยกลาง (Medieval History) หรือยุคกลาง ตั้งแต่ .. 476-1453 เมื่อกรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของอาณาจักรโรมันตะวันออกต้องพ่ายแพ้แก่พวกเติร์ก ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนเห็นว่าสมัยกลางน่าจะสิ้นสุดใน .. 1492 ปีที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา
1.3 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (Modern History) หรือยุคใหม่ เริ่มจาก .. 1453 จนกระทั่งปัจจุบันและมีนักประวัติศาสตร์บางคนเห็นว่าประวัติศาสตร์สมัยใหม่ควรสิ้นสุดใน .. 1945 ซึ่งเป็นปีสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และต่อจากนั้นควรแบ่งเป็นประวัติศาสตร์ร่วมสมัย (Contemporary History)
1.4 ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย หรือยุคร่วมสมัย ตั้งแต่ .. 1945 จนกระทั่งปัจจุบัน
งย2. การแบ่งยุคสมัยของนักโบราณคดี
2.1 ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ
ยุคหินแรก (Eolithic Age) ยุคป่าเถื่อนมนุษย์ยังไม่นุ่งห่มเสื้อผ้า ใช้หนังสัตว์ปกปิดร่างกายเร่ร่อนหากิน
ยุคหินเก่า (Paleolithic Age) เริ่มป้องกันตัวเอง ประดิษฐ์อาวุธ เช่น ขวานที่ทำจากหิน ค้อนไม่มีด้าม รู้จักใช้ไฟ รู้จักการนุ่งห่ม เก็บผลไม้กิน ล่าสัตว์
ยุคหินกลาง (Mesolithic Age) เริ่มสร้างที่อยู่ด้วยไม้แทนการอยู่ตามถ้ำ ทำมีดจากหิน และฉมวกใช้ล่าสัตว์เป็นอาหาร มีความเชื่อทางศาสนา รู้จักการวาดรูปตามฝาผนังถ้ำ
ยุคหินใหม่ (Neolithic Age) เริ่มรู้จักประดิษฐ์สิ่งของให้สวยงาม ตั้งหลักแหล่งตามลุ่มแม่น้ำ สร้างบ้านเรือน เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ มีความคิดทางศาสนา มีหลักฐาน เช่น แนวเสาหินในจีน อังกฤษ และบราซิล จัดเป็นต้นกำเนิดของแหล่งวัฒนธรรมลุ่มน้ำของมนุษย์ ได้แก่ อียิปต์ เมโสโปเตเมีย
2.2 ยุคประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ
ยุคสำริด (Bronze Age) เริ่มมีการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้จากโลหะสำริด (ทองแดง + ดีบุก) รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษร เกิดอารยธรรมบริเวณต่างๆ ได้แก่ เมโสโปเตเมีย จีน อินเดีย กรีกโบราณ และโรมัน
ยุคเหล็ก (Iron Age) เริ่มใช้เหล็กมาทำอ าวุธและเครื่องมือที่แข็งแรงมากขึ้น
2.3 หลักเกณฑ์ของนักมนุษย์วิทยา คือ ผู้ศึกษาและฟื้นฟูอดีตของมนุษย์จากลักษณะทางกายและวัฒนธรรม โดยใช้เกณฑ์ของความก้าวหน้าที่สำคัญเป็นตัวกำหนด ดังนี้
การปฏิวัติเกษตรกรรม (คลื่นลูกที่ 1) ประมาณ 3,500 ปี ล่วงมาแล้ว มนุษย์รู้จักการเพาะปลูกตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นชุมชน
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (คลื่นลูกที่ 2) ประมาณ 250 ปี ล่วงมาแล้ว มนุษย์นำเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคน ทำให้ผลิตได้มากขึ้น เร็วขึ้น และดีขึ้น
การปฏิวัติเกษตรกรรม (คลื่นลูกที่ 3) เริ่มประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 มนุษย์ติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็วทั้งภาพและเสียง

การเทียบศักราช



หลักเกณฑ์การเทียบศักราช
การหาปีจาก ม.ศ. เป็น พ.ศ.                    .. + 621 = ..       .. - 621 = ..
การหาปีจาก จ.ศ. เป็น พ.ศ.                    .. + 1181 = ..       .. - 1181 = ..
การหาปีจาก ร.ศ. เป็น พ.ศ.                    .. + 2324 = ..     .. - 2324 = ..
การหาปีจาก ค.ศ. เป็น พ.ศ.                    .. + 543 = ..     .. - 543 = ..
การหาปีจาก ฮ.ศ. เป็น พ.ศ.                    .. + 1164 = ..      .. - 1164 = ..
การหาปีจาก ฮ.ศ. เป็น ค.ศ.                    .. + 621 = ..       .. - 621 = ..

มุมแนะนำ