มุมแนะนำ

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ชนชั้นต่างๆของสังคม



โครงสร้างชนชั้นของสังคม
แบ่งสมาชิกของสังคม เป็นลำดับชนชั้นตามระบบศักดินา ได้แก่ พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง ไพร่ ทาส พระสงฆ์
5.1 พระมหากษัตริย์
กษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพรักสักการะของปวงชน รวมทั้งการนำเอาลัทธิเทวราชาจากขอม และ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีผลทำให้พระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนสมมติเทพ มีการเปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบาลพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ
5.2 พระราชวงศ์หรือเจ้านาย
ยศของเจ้านาย มี 2 ประเภท คือ
1. สกุลยศ ได้รับตั้งแต่เกิด สกุลยศในสมัยอยุธยาตอนต้น ใช้คำว่า เจ้าเช่น เจ้าอ้าย เจ้ายี่
เจ้าสาม ต่อมาสมัยพระเอกาทศรถ ได้ปรากฏสกุลยศของเจ้านายมี 3 ชั้น คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า
2. อิสริยยศ ได้รับพระราชทาน เนื่องจากรับใช้ราชการแผ่นดิน มักขึ้นต้นด้วยคำว่า พระ
เช่น พระราเมศวร พระบรมราชา สมัยสมเด็จพระนารายณ์ มี เจ้าทรงกรมเลิกใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5
5.3 ขุนนาง เป็นชนส่วนน้อยในสังคม
ยศ หมายถึง ฐานะหรือบรรดาศักดิ์ เช่น สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น
ตำแหน่ง หมายถึง หน้าที่ที่รับผิดชอบ เช่น สมุหพระกลาโหม สมุหนายก เสนาบดี ปลัดทูลฉลอง เจ้ากรม
ราชทินนาม หมายถึง นามที่ได้รับพระราชทาน เช่น มหาเสนายมราช จักรีศรีองครักษ์ พลเทพ
ศักดินา หมายถึง เครื่องกำหนดฐานะหรือความรับผิดชอบต่องานราชการ โดยครอบครองที่นา
มากน้อยตามศักดินา
5.4 ไพร่ เป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของสังคมไทยทั้งชายและหญิง มีศักดินาระหว่าง 10-25 ไร่ ต้องขึ้น
สังกัดมูลนาย มิฉะนั้นจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย
ประเภทของไพร่
1. ไพร่หลวง คือ ไพร่ที่สังกัดประจำกรม มีหน้าที่เข้าเวรรับราชการเข้าเดือนออกเดือน (ปีหนึ่งทำงาน 6 เดือน)
2. ไพร่สม คือ ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ขุนนาง มีหน้าที่ทำงานตามที่มูลนายสั่ง
3. ไพร่ส่วย คือ ไพร่สมและไพร่หลวงที่ส่งของ (ส่วย) มาแทนการใช้แรงงาน
การเลื่อนฐานะของไพร่
1. มีความสามารถในการรบ
2. ไพร่นำช้างเผือกมาถวาย
3. ไพร่เปิดเผยการทุจริตของขุนนาง
4. ออกบวชและศึกษาพระธรรมจนจบเปรียญ แล้วลาสิกขาบทมารับราชการ

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์



หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล
1.1 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (Ancient History) หรือยุคโบราณ ตั้งแต่ 3,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราชถึง .. 476 เมื่อกรุงโรมศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันต้องพ่ายแพ้การรุกรานของพวกอารยชน
1.2 ประวัติศาสตร์สมัยกลาง (Medieval History) หรือยุคกลาง ตั้งแต่ .. 476-1453 เมื่อกรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของอาณาจักรโรมันตะวันออกต้องพ่ายแพ้แก่พวกเติร์ก ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนเห็นว่าสมัยกลางน่าจะสิ้นสุดใน .. 1492 ปีที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา
1.3 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (Modern History) หรือยุคใหม่ เริ่มจาก .. 1453 จนกระทั่งปัจจุบันและมีนักประวัติศาสตร์บางคนเห็นว่าประวัติศาสตร์สมัยใหม่ควรสิ้นสุดใน .. 1945 ซึ่งเป็นปีสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และต่อจากนั้นควรแบ่งเป็นประวัติศาสตร์ร่วมสมัย (Contemporary History)
1.4 ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย หรือยุคร่วมสมัย ตั้งแต่ .. 1945 จนกระทั่งปัจจุบัน
งย2. การแบ่งยุคสมัยของนักโบราณคดี
2.1 ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ
ยุคหินแรก (Eolithic Age) ยุคป่าเถื่อนมนุษย์ยังไม่นุ่งห่มเสื้อผ้า ใช้หนังสัตว์ปกปิดร่างกายเร่ร่อนหากิน
ยุคหินเก่า (Paleolithic Age) เริ่มป้องกันตัวเอง ประดิษฐ์อาวุธ เช่น ขวานที่ทำจากหิน ค้อนไม่มีด้าม รู้จักใช้ไฟ รู้จักการนุ่งห่ม เก็บผลไม้กิน ล่าสัตว์
ยุคหินกลาง (Mesolithic Age) เริ่มสร้างที่อยู่ด้วยไม้แทนการอยู่ตามถ้ำ ทำมีดจากหิน และฉมวกใช้ล่าสัตว์เป็นอาหาร มีความเชื่อทางศาสนา รู้จักการวาดรูปตามฝาผนังถ้ำ
ยุคหินใหม่ (Neolithic Age) เริ่มรู้จักประดิษฐ์สิ่งของให้สวยงาม ตั้งหลักแหล่งตามลุ่มแม่น้ำ สร้างบ้านเรือน เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ มีความคิดทางศาสนา มีหลักฐาน เช่น แนวเสาหินในจีน อังกฤษ และบราซิล จัดเป็นต้นกำเนิดของแหล่งวัฒนธรรมลุ่มน้ำของมนุษย์ ได้แก่ อียิปต์ เมโสโปเตเมีย
2.2 ยุคประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ
ยุคสำริด (Bronze Age) เริ่มมีการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้จากโลหะสำริด (ทองแดง + ดีบุก) รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษร เกิดอารยธรรมบริเวณต่างๆ ได้แก่ เมโสโปเตเมีย จีน อินเดีย กรีกโบราณ และโรมัน
ยุคเหล็ก (Iron Age) เริ่มใช้เหล็กมาทำอ าวุธและเครื่องมือที่แข็งแรงมากขึ้น
2.3 หลักเกณฑ์ของนักมนุษย์วิทยา คือ ผู้ศึกษาและฟื้นฟูอดีตของมนุษย์จากลักษณะทางกายและวัฒนธรรม โดยใช้เกณฑ์ของความก้าวหน้าที่สำคัญเป็นตัวกำหนด ดังนี้
การปฏิวัติเกษตรกรรม (คลื่นลูกที่ 1) ประมาณ 3,500 ปี ล่วงมาแล้ว มนุษย์รู้จักการเพาะปลูกตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นชุมชน
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (คลื่นลูกที่ 2) ประมาณ 250 ปี ล่วงมาแล้ว มนุษย์นำเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคน ทำให้ผลิตได้มากขึ้น เร็วขึ้น และดีขึ้น
การปฏิวัติเกษตรกรรม (คลื่นลูกที่ 3) เริ่มประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 มนุษย์ติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็วทั้งภาพและเสียง

การเทียบศักราช



หลักเกณฑ์การเทียบศักราช
การหาปีจาก ม.ศ. เป็น พ.ศ.                    .. + 621 = ..       .. - 621 = ..
การหาปีจาก จ.ศ. เป็น พ.ศ.                    .. + 1181 = ..       .. - 1181 = ..
การหาปีจาก ร.ศ. เป็น พ.ศ.                    .. + 2324 = ..     .. - 2324 = ..
การหาปีจาก ค.ศ. เป็น พ.ศ.                    .. + 543 = ..     .. - 543 = ..
การหาปีจาก ฮ.ศ. เป็น พ.ศ.                    .. + 1164 = ..      .. - 1164 = ..
การหาปีจาก ฮ.ศ. เป็น ค.ศ.                    .. + 621 = ..       .. - 621 = ..

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

วิธีป้องกันไฟฟ้าสถิตบนรถบรรทุกน้ำมัน


วิธีป้องกันไฟฟ้าสถิตบนรถบรรทุกน้ำมัน
บรรทุกน้ำมัน ขณะที่รถบรรทุกน้ำมันเคลื่อนที่ไป ความเสียดทานระหว่างน้ำมันกับถังก่อให้เกิดประจุไฟฟ้าสถิตบนถัง ไฟฟ้าสถิตที่เกิดขึ้นจะทำให้เกิดประกายไฟฟ้าซึ่งสามารถทำให้เชื้อเพลิงที่ระเหยติดไฟและระเบิดได้เพื่อปองกันการระเหิดจะมีสายโซ่ที่เป็นโลหะแขวนจากตัวรถบรรทุกและสัมผัสกับพื้นเพื่อให้ถ่ายโอนประจุที่เกิดขนบนรถบรรทุกลงสู่พื้นดิน

อำพันคืออะไร


อำพันคืออะไร
อำพัน คือ ยางสนที่แข็งตัวจนเกือบกลายเป็นหินมีลักษณะคล้ายพลาสติกโปร่งแสงมีสีน้ำตาลแกมแดง สามารถขัดให้เรียบขึ้นเงาได้ง่ายนิยมทำเป็นเครื่องประดับ มีมากในประเทศเยอรมันนีและโปแลนด์แถบใกล้ๆทะเลบอลติกเกิดจากต้นสนทับถมกันจมดินจมทรายมานานนับพันนับหมื่นปี อำพันมีความแข็ง 6 (เพชรซึ่งแข็งที่สุดมีความแข็ง 10)

ตัวต้านทานไฟฟ้า


แอลดีอาร์ (light dependent resistor; LDR)
แอลดีอาร์เป็นตัวต้านทานที่ความต้านทานขึ้นกับความสว่างของแสงที่ตกกระทบ  แอลดีอาร์มีความต้านทานสูงในที่มืด แต่มีความต้านทานตาในที่สว่าง จึงเป็นตัวรับรู้ความสวาง (light sensor) ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับควบคุมการปิด ปิด-เปิดด้วยแสง
เทอร์มิสเตอร์ (thermister)
เทอร์มิสเตอร์เป็นตัวต้านทานที่ความต้านทานขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม เทอร์มิสเตอร์แบบ NTC (negative temperature coefficient) มีความต้านทานสูงเมื่ออุณหภูมิต่ำ แต่มีความต้านทานต่ำเมื่ออุณหภูมิสูง กล่าวคือค่าความต้านทานของเทอร์มิสเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ เทอร์มิสเตอร์จึงเป็นตัวรับรู้อุณหภูมิ (temperature sensor) ในเทอร์มอมิเตอร์บางชนิด
ไดโอด (diode)
ไดโอดทำจากสารกึ่งตัวนำ (semiconductors) ไดโอดมีขั้วไฟฟ้าบวกและขั้วไฟฟ้าลบ เมื่อนำไดโอด แบตเตอร์รีและแอมมิเตอร์มาต่อเป็นวงจรโดยต่อขั้วบวกและขั้วลบของแบตเตอร์รีกับขั้วไฟฟ้าบวกและขั้วไฟฟ้าลบของไดโอดตามลำดับ  จะพบว่า มีกระแสไฟฟ้าในวงจร การต่อลักษณะนี้เรียกว่า โบแอสตรง(forward bias) เมื่อสลับขั้วของไดโอด จะพบว่า ไม่มีกระแสไฟฟ้าโนวงจร การต่อลักษณะนี้เรียกว่า ไบแอสกลับ (reverse bias)

ความจริงของแก๊สโซฮอล์


ความจริงเรื่อง แก๊สโซฮอล์
ก่อนที่จะทราบความจริงเรื่อง แก๊สโซฮอล์เรามารู้ความเป็นมาของแสโซฮอล์ก่อนเป็นส่วนผสมระหว่างเอทานอนกับน้ำมันเบนซิล ซึ่งแก๊สโซฮอล์ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ คือการนำมาใช้แทนน้ำมันเบนซิน 95 ทั่วไป ซึ่งก็คือ การนำเอาน้ำมันเบนซิล 91 ผสมกับเอทานอลให้ได้ค่าออกเทนเพิ่มขึ้นเป็น 95 สำหรับที่มาของชื่อคือ แก๊สโซลีน(Gasoline)+แอลกอฮอล์ (alcohol) ซึ่งเดิมทีจะใช้ชื่อ เบนโซฮอล์ (benzohol) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นแก๊สโซฮอล์อย่างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามในแต่ละประเทศก็จะมีชื่อต่างกัน เช่น สหรัฐอเมริกาเรียกว่า E-10 คือ มีเอทานอลผสมในน้ำมันเบนซิล 10 % แต่สำหรับประเทศไทยไม่ว่าจะมีส่วนผสมของเอทานอลในน้ำมันเบนซิลเท่าไรก็จะเรียก แก๊สโซฮอล์

การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์


ภูเขาไฟปะทุ (Volcano Eruption)
ภูเขาไฟ (volcano) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหวโดยทั่วไปการปะทุของภูเขาไฟมักมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นร่วมด้วยภู่เขาไฟเกิดจากหินหนืดทีอยู่ในชันแมนเทิล (ชันใต้เปลือกโลก) ถูกแรงอัดให้แทรกออกมาตามรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลกด้วยวิธีการปะทุ ไหล หรือพุออกมา โดยถ้าหากออกมาพ้นเปลือกโลกเรียกว่า ลาวาหลาก (lava flow) แต่ถ้ายังอยู่ใต้เปลือกโลก เรียกว่า แมกมา (magma) การปะทุของภูเขาไฟจะมีหินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหิน และแก๊สต่าง ๆ พุ่งออกมาด้วย
ผลกระทบจากปรากฏการณ์ภูเขาไฟปะทุ
ผลกระทบด้านลบ ได้แก่
•             ทำลายชีวิตและทรัพย์สิน
•             เกิดมลภาวะทางอากาศจากแก๊สที่ออกมา เช่น แก๊สชัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น
•             เกิดฝนกรดจากแก๊สต่าง ๆ ที่ฟ้งออกมาทำปฏิกิริยากับฝนที่ตก
ผลกระทบด้านบวก ได้แก่
•             มีโอกาสพบแร่เศรษฐกิจตามแนวสัมผัส เช่น ทองคำ พลอย เป็นต้น
•             นำเอาวัตถุต้นกำเนิดดินที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาด้วย ทำให้เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น เกาะชวาของประเทศอินโดนีเซีย ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย เป็นต้น
ภูเขาไฟในโลก
ปรากฏการณ์ภูขาไฟปะทุในโลก ส่วนใหญ่จะเกิดตามแนวการชนกันของแผ่นเปลือกโลกที่ทอดตัวอยู่รอบมหาสมุทรแปซิฟิก ที่เรียกว่า วงแหวนไฟ (ring of fire) ซึ่งเป็นบริเวณเปลือกโลกที่มีภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ภูเขาไฟปะทุในฮาวาย ไม่ได้เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก แต่เกิดจากบริเวณที่เรียกว่า จุดร้อน (hot spots) ซึ่งเป็นบริเวณที่เปลือกโลกชั้นในมีความร้อนสูงมาก จนทำให้แมกมาดันตัวขึ้นสู่พื้นผิวโลก เกิดเป็นภูเขาไฟ เป็นต้น

สินามิ (Tsunami)
สินาม มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า คลี'นทีชัดเขาท่าเรือ (harbour wave) คำนี้บัญญัติขึ้นโดยชาวประมงญี่ปุ่นผู้ชึ่งแล่นเรือกลับเข้าฝังมายังท่าเรือ และพบว่าทุกสิงทุกอย่างบนท่าเรือถูกทำลายพังพินาศไปจนหมดสิน โดยในระหว่างที่ลอยเรืออยู่กลางทะเลจะไม่รู้สึกหรือสังเกตพบความผิดปกติของคลื่น เนื่องจากคลื่นสึนามิไม่ใช่ปรากฏการณ์ระดับผิวนํ้าในเขตนาลึก เพราะคลื่นที่เกิดขึ้นจะมีขนาดของคลื่นเล็กมากเมืออยู่ในฟืนนำนอกชายฝัง ทำให้คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นไม่สามารถลังเกตเห็นด้ในขณะที่ลอยเรืออยู่บนผิวนํ้ากลางทะเลลึกการเกิดสึนามิ มีสาเหตุที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1)            การปะทุของภูเขาไฟใต้มหาสมุทรที่มีระดับรุนแรง
2)            แผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้มหาสมุทร
3)            การเกิดดินถล่มใต้พี้นมหาสมุทรโดยฉับพลัน
4)            การตกของดาวหางหรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ลงสู่พื้นทะเลหรือมหาสมุทร

มุมแนะนำ