มุมแนะนำ

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ปฏิกิริยาเคมี



ปฏิกิริยาเคมี
เกิดจาก สารเริ่มต้น เข้าทำปฏิกิริยากัน แล้วทำให้เกิดสารใหม่ เรียกว่า ผลิตภัณฑ์แบ่งเป็น
1.ปฏิกิริยาคายความร้อน  เป็นปฏิกิริยาที่จะให้พลังงานความร้อนออกมาทำให้สิ่งแวดล้อมร้อนหรือ
-   เมื่อมีการสร้างพันธะ (แก๊ส --—-> ของเหลว > ของแข็ง)
2.ปฏิกิริยาดูดความร้อน  เป็นปฏิกิริยาที่จะดูดพลังงานความร้อนเข้าไป ทำให้สิ่งแวดล้อมเย็น หรือ
-   เมื่อมีการสลายพันธะ (ของแริง ——> ของเหลว  > แก๊ส)
ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
-   ปฏิกิริยาการเผาไหม้ของถ่านหิน จะมีกำมะถัน (S)เมื่อเผาไหม้กำมะถันจะทำปฏิกิริยากับแก๊สออกซิเจนทำให้เกิดแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์และเมื่อทำปฏิกิริยากับนํ้าฝน ทำให้เกิดกรดกำมะถัน/กรดซัลฟิวริก ตกลงมาเป็นฝนกรด
-   การเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ จะเกิดแก๊ส N02 กลายเป็นฝนกรดไนตริกได้
-   แก๊ส S03 N02 และ 03 ในวันที่มีความกดอากาศสูง จะลอยตํ่า เกิดเป็นหมอกควัน (smog)
-   ปฏิกิริยาการเกิดสนิมเหล็ก (Fe203) เกิดจาก ปฏิกิริ้ยาระหว่างเหล็กกับแก๊สออกซิเจน
-   ปฎิกิริยาการสลายตัวของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (ผงฟู) ด้วยความร้อนจะได้แก๊ส CO2 และ H20
-   สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เมื่อได้ร้บแสงและความร้อน จะสลายตัว ดังนั้น จึงต้องเก็บไว้ในที่มืด
-   ปฏิกิริยาในแบตเตอรี่ชนิดต่างๆ เช่น แบตเตอรี่ในรถยนต์ เป็นปฏิกิริยาระหว่างแผ่นตะกั่ว
(Pb) แบตเตอรี่ปรอท มีขนาดเล็ก เบา ใช้ในเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์
-   ปฏิกิริยาการสลายตัวของหินปูน (CaCO3) ด้วยความร้อน ได้ปูนขาว (CaO) ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์
-   ปฎกิริยาระหว่างหินปูนกับกรดไนตริก/กรดซัลฟิวริก ทำให้สิ่งก่อสร้างสึกและเกิดหินงอกหินย้อย
ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกริยาเคมี
1.   ความเข้มข้นของสารเริ่มต้น (เข้มข้นมาก > เข้มข้นน้อย)
2.   พื้นที่ผิวสัมผัสของสารที่เข้าทำปฏิกิริยา (ผง > ก้อน)
3.   อุณหภูมิ (ร้อน > เย็น)
4.   ตัวเร่งปฏิกริยา คือ สารที่เติมเพิ่มเข้าไปแล้วทำให้ปฏิกิริยาเกิดได้เร็วขึ้น และเมื่อสิ้นสุดจะได้กลับคืน

คลื่นกล คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า



คลี่นกล คือ คลื่นที่เดินทางได้ต้องอาค้ยตัวกลาง แบ่งเป็น
-     คลื่นตามขวาง คือ คลื่นที่อนุภาคตัวกลางเคลื่อนที่ตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลี่นนํ้า
-    คลื่นตามยาว คือ คลื่นที่อนุภาคตัวกลางเคลื่อนที่แนวเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่น เช่น คลื่นสปริง เสียง
สมบัติของคลี่น มี 4 ประเภท
      การสะท้อน : เกิดจาก การที่คลื่นไป แล้วกลับสู่ตัวกลางเดิม เช่น
          -   ค้างคาว โดยการส่งคลื่นเสียง (Ultrasound) ออกไป แล้วรับคลื่นที่สะท้อนกลับมา
          -   ปลาโลมา ใช้การสะท้อนของคลื่นเสียงในการหาปลาที่เป็นอาหาร
          -   ในการสื่อสารโทรคมนาคมผ่านดาวเทียม
      การหักเห : เกิดจากการที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่านรอยต่อระหว่างตัวกลางที่มีสมบัติต่างกัน ทำให้ทิศทางเบี่ยงเบน เนื่องจากอัตราเร็วของคลื่นเปลี่ยนไป เช่น บางครั้งเห็นฟ้าแลบ แต่ไม่ได้ยินเสียงฟ้าร้อง
      การเลี้ยวเบน : เกิดจากการที่คลื่นปะทะสิ่งกีดขวางแล้วแผ่กระจายไปตามขอบ เช่น การที่เราเดินผ่านมุมอาคารเรียนหรือมุมตึก จะได้ยินเสียงต่างๆจากอีกด้านหนึ่งของอาคาร
      การแทรกสอด : เกิดจากการที่คลื่นสองขบวนเคลื่อนที่เข้าหากัน ทำให้เกิดบริเวณสงบนิ่งและบริเวณที่สั่นสะเทือนมาก
เสียงและการได้ยิน
เสียง เกิดจาก การสั่นสะเทือนของวัตถุ แล้วถ่ายโอนพลังงานออกไปตามอนุภาคของตัวกลาง จากแหล่งกำเนิดเสียงเข้าสู่อวัยวะรับเสียง คือ หู ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ชั้น
1.หูชั้นนอก มีเยื่อแก้วหูทำหน้าที่ รับแรงสั่นสะเทือนของเสียง
2.หูชั้นกลาง มีกระดูกชั้นเล็ก ทำหน้าที่ ขยายเสียง
3.หูชั้นใน มีคลอเคลีย เป็นท่อขดรูปร่างคล้ายหอย ท่าหน้าที่ แปลงสัญญาณเพื่อส่งไปตีความหมายที่สมอง
ธรรมชาติของเสียง มี 3 ประเภท
  ระดับเสียง คือ ความสูงหรือตํ่าฃองเสียง ขึ้นอยู่กับ ความถี่ของเสียง
-      เสียงดนตรี เป็นการเปลี่ยนแปลงที่ระดับเสียง โดยจัดแบ่งเป็นโน๊ตดนตรี
-      หูของคนสามารถรับรู้คลื่นเสียงในช่วงความถี่ 20 ถึง 20,000 เฮิรตซ์[
เสียงที่มีความถี่ตํ่ากว่า 20 เฮิรตซ์ เรียกว่า อินฟราซาวด์ (infrasound)
เสียงที่มีความถี่สูงกว่า 20,000 เฮิรตซ์ เรียกว่า อัลตราซาวด์ (ultrasound)
  ความดัง คือ พลังงานเสียงที่มากพอที่จะได้ยินเสียงได้ ฃื้นอยู่กับ แอมพลิจูด
การวัดความดังของเสียง จะวัดเป็นระดับความเข้มเลยง มีหน่วยเป็น เดซิเบล ดงนี้
-        เสียงค่อยที่สุดที่เริ่มได้ยิน มีระดับความเข้มเสียงเป็น 0 เดซิเบส
-        เสียงดังที่สุดที่ไม่เป็นอันตรายต่อหู มีระดับความเข้มเสียงเป็น 120 เดซิเบล
องค์การอนามัยโลก กำหนดว่า ระดับความเข้มเสียงที่ปลอดภัยต้องไม่ เกิน 85 เดซิเบล และได้ยินติดต่อกันไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง ถ้าเกินกว่านี้ จะถือว่าเป็นมลภาวะของเสียง
คุณภาพเสียง คือ คุณลักษณะเฉพาะตัวชองเสียง (ไม่ได้แปลว่าเสียงดี หรือไม่ดี) ฃื้นอยู่กับรูปร่างของคลื่น ช่วยระบุแหล่งกำเนิดเสียงทีแตกต่างกัน ทำให้เราเสียงทีได้ยินเป็นเสียงอะไร
คลี่นแม่เหล็กไฟฟ้า คือ คลื่นที่สามารถเคลื่อนที่ได้ โดยไม่อาศัยตัวกลาง
ประกอบด้วย สนามแม่เหล็กและสนามไฟฟ้าที่มีทิศตั้งฉากกัน และตั้งฉากกับทิศการเคลื่อนที่ของคลื่น มี 7 ชนิด ดังนี้
แกมมา เอกซ์ อัลตราไวโอเลต แสง อินฟราเรด ไมโครเวฟ คลื่นวิทยุ
   พลังงานมาก ..................................... -> พลังงานน้อย
   ความยาวคลื่นน้อย..................................... -> ความยาวคลื่นมาก
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จะเคลื่อนที่ในสุญญากาศด้วยความเร็วเท่ากัน คือ 3x108 เมตร/วินาที
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ที่ใช้ประโยชน์มากในชีวิตประจำวัน คือ คลื่นวิทยุ
การผสมสัญญาณไฟฟ้าของเสียงกับคลื่นวิทยุ มี 2 ระบบ คือ
- ระบบเอเอ็ม (AM : Amplitude Modulation) : เป็นการผสมคลื่นที่ทำให้แอมพลิจูดเปลี่ยนแปลง แต่ความถี่คงที่ ส่งกระจายเสียงด้วยความถี่ 530-1,600 กิโลเฮิรตซ์
- ระบบเอฟุเอม (FM : Frequency Modulation) : เป็นการผสมคลื่นที่ทำให้ความถี่เปลี่ยนแปลง แต่แอมพลิจูดคงที่ ส่งกระจายเสียงด้วยความถี่ 88-108 เมกะเฮิรตซ์[
ระบบ AM สามารถสะท้อนบรรยากาศชั้นไอโอโนสเฟิยร์ กลับลงมายังโลกได้ ใช่ติดต่อในระยะทางไกลๆ เรียกว่า คลื่นฟ้า ระบบ FM มีความถี่สูงมาก จะทะลุผ่านบรรยากาศชั้นไอโอโนสเพียร์ออกไป จึงใช้ในการติดต่อกับยานอวกาศที่เดินทางอยู่นอกโลกดังนั้นการรับคลื่น FM บนพื้นโลกจึงรับได้เฉพาะคลื่นที่แผ่กระจายจากสถานีส่งเท่านั้นเรียกว่า คลื่นดิน ซึ่งจะได้ระยะทาง FM 80 กิโลเมตร เพราะจะติดส่วนโค้งของโลก

วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ระบบต่อมไร้ท่อ



ระบบต่อมไร้ท่อ
สิ่งมีชีวิตจะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างปกติจำเป็นต้องมีการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายที่สอดคล้องกัน ระบบที่ควบคุมการทำงานของร่างกายแบ่งได้ 2 ประเภท คือ ระบบประสาท (nervous system) และระบบต่อมไรท่อ (endocrine system) การทำงานร่วมกันของระบบควบคุมทั้งสอง เรียกว่า
ระบบประสานงาน (coordination)
การทำงานของระบบกล้ามเนื้อ การรับรู้ และการตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ เป็นหน้าที่ของระบบประสาท ส่วนการควบคุมลักษณะที่เปลี่ยนแปลงของร่างกายในวัยเจริญพันธุ และการควบคุมปริมาณสารบางอย่างในร่างกาย เป็นหน้าที่ของระบบต่อมไร้ท่อซึ่งทำหน้าที่สร้างสารเคมีที่เรียกว่า ฮอรโมน (hormone)ไปควบคุมการทำงานของอวัยวะเป็าหมาย (target organ)
ฮอร์โมน (hormone) มาจากภาษากรีก คือ horman แปลว่า การเคลื่อนไหว หมายถึง ผู้นำส่งสารเคมีจากเซลล์หนึ่งหรีอกลุ่มของเชลล์ไปยังเซลล์อี่น สิ่งมีชีวิตหลายเชลล์ (multicellular organism) ทั้งมนุษย์ สัตว์ และพชสามารถผลิตฮอร์โมนได้จากต่อมไร้ท่อ (endocrine gland) ฮอร์โมนจะถูกหลั่งโดยตรงไปยังกระแสเลือด ของเหลวต่างๆ ในร่างกาย หรีอเนื้อเยื่อใกล้เคียง หน้าที่ของฮอร์โมน คือ การส่งสัญญาณให้อวัยวะเป้าหมายทำงานหรือหยุดทำงาน เช่น
-    กระตุ้นหรือยับยั้งการเจริญเติบโต
-    กระตุ้นหรือยับยั้งการสลายตัวของเซลล์
-    กระตุ้นหรือยับยั้งระบบภูมิตุ้มก้น
-    ควบคุมกระบวนการสร้างและสลายหรือเมแทบอลิซึม (metabolism) และการเฅรียมพร้อมของร่างกาย เช่น การต่อสู้ หนี หรือกำหนดช่วงเวลาของชีวิต เช่น วัยรุ่น วัยเจริญ พันธุ และวัยทอง
• ประเภทของฮอร์โมน
ฮอร์โมนส่วนใหญ่เป็นสารประเภทกรดอะมิโน โปรตีน สเตรอยด์ ลิพิด และฟอสโฟลิพิด
1. ฮอร์โมนประเภทกรดอะมิโน เช่น อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิกฮอร์โมน (adrenocorticotrophic hormone: ACTH)เมลาโทนิน (melatonin) ไทรอกชิน (thyroxin)แคลชิโทนิน (calcitonin) มีสมบัติ ดังนี้
-    โมเลกุลมีขนาดเล็ก และละลายน้ำได้ดี
-    เมื่อมีการสร้างแล้วจะถูกเก็บไว้ที่ต่อมสร้างในรูปคอลลอยด์หรือแกรนล
-   ฮอร์โมนจะถูกลำเสียงไปตามหลอดเสือดและจับกับโปรตีนของอวัยวะเป้าหมาย
-   ออกฤทธิ์ที่เยื่อหุ้มเชลล์ของอวัยวะเป้าหมาย
2. ฮอร์โมนประเภทโปรตีน เช่น ฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน (follicle stimulating hormone: FSH) ลูทิไนชิงฮอร์โมน
(luteinizing hormone: LH) โกรทฮอร์โมน (growth hormone:GH) แอนติไดยูเรดิกฮอร์โมน (antidiuretic hormone: ADH)ออกชีโทชิน (oxytocin) อินซูลิน (insulin) กลูคากอน (glucagon) มีสมบัติเหมีอนกับฮอร์โมนประเภทกรดอะมิโนแต่มีขนาดโมเลกุล ใหญ่กว่า
3. ฮอร์โมนประเภทสเตรอยด์ เช่น ฮอร์โมนที่เป็นอนุพันธ์ของคอเลสเคอรอล (cholesterol) ผลตจากต่อมหมวกไตชั้นนอก (adrenal cortex) และต่อมที่สร้างเชลล์สืบพันธุ์ (gonad) เช่น
     3.1    สเตรอยด์ฮอร์โมน (steroid hormone) คือ เทสโทสเทอโรน (testosterone) และคอร์ติโชน(cortisone)
     3.2    สเตรอลฮอร์โมน (sterol hormone) เช่น แคลชิทรออล (calcitriol)
ฮอร์โมนประเภทสเตรอยด์มีสมบัติ คือ
- ไม่ละลายน้ำ
-  เมื่อมีการสร้างแล้วจะไม่ถูกเก็บไว้ที่ต่อมสร้างแต่จะถูกหลั่งออกมาใช้ทันที
-  ฮอรโมนจะถูกลำเสียงไปตามหลอดเลีอดแสและจับกับโปรตีนของอวัยวะเป้าหมาย
-  ออกฤทธิ์ที่นิวเคลียสของอวัยวะเป้าหมาย เนี่องจากโมเลกุลมีขนาดเล็กจึงเข้าไปยังนิวเคลียสได้
4. ฮอร์โมนประเภทลิพิดและฟอสโฟลิพิด ได้แก่
         4.1ลิพิด เช่น กรดไลโนเลอิก (linoleic acid)
         4.2ฟอสโฟลิพิด เช่น กรดอะแรคคโดนิก (arachidonic acid)
         4.3ไอโคชานอยต์ (eicosanoid) เข่น โพรสตาแกลนดิน (prostaglandin)

ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) อยู่ตรงส่วนล่างของสมอง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary gland) ต่อมใต้สมองส่วนกลาง (intermediated pituitary gland) และต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary gland)
1. ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior pituitary gland) เป็นส่วนที่อยู่ภายใต้การควบคุมของสมองส่วนไฮโพทาลามัส (hypothalamus) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนประเภทโปรตีนหรือพอสิเพปใทด์ ได้แก่
1.1 โกรทฮอร์โมน (growth hormone: GH) หรือโซมาโตโทรฟิกฮอรโมน (somatotrophic hormone : STH)จะถูกหลั่งในเวลานอนหลับมากกว่าเวลาดึ่น และจะถูกหลั่งเวลาหิวมากกว่าปกติ มีโครงสร้างเป็นพอสิเพปไทด์ (polypeptide)ประกอบด้วยกรดอะมิโน 191 ชนิด มีธาตุกำมะถัน อยู่ในรูปพันธะไดซัลไฟด์ (disulphide bond) ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญของกล้ามเนื้อและกระดกโดยอาศัยไทรอกชิน (thyroxin) และอินซูลิน (insulin) เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทำให้เกิดการเจริญและเพิ่มความยาวของกระดูกเนื้อเยื่อและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ใน       กรณีที่ร่างกายขาดโกรทฮอร์โมน ในเด็กทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ เรียกว่า โรคเตี้ยแคระ (dwarfism) ส่วนในผู้ใหญ่กระดูกขากรรไกรบริเวณคางจะยาวผิดปกติ ฝ่ามือและ ฝ่าเท้าโต จมูกใหญ่ ฟันใหญ่และห่าง เรียกว่า โรคอะโครเมกาลี(acromegaly)
1.2 โกนาโดโทรฟิน (gonadotropin : Gn) ประกอบ
ด้วยฮอร์โมนที่สำตัญ 2 ชนิด คือ
-    ฟอลลิเคิลสติมิวเลติงรอรโมน (follicle stimulating hormone: FSH) ในเพศหญิงทำหน้าที่กระตุ้นให้เชลล์ฟอลลิเคิลสร้างไข่และไข่สุก ส่วนในเพศชายๆะทำหน้าที่กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอีสโทรเจนมากระตุ้นหลอดสร้างอสุจิ (seminiferous tubule) ให้เกิดการสร้างอสุจิ
-    ลูทิไนซิงฮอร์โมน (luteinizing hormone : LH) ในเพศหญิงทำหน้าที่กระตุ้นให้ไข่ตกจากฟอลลิเคิลส่วนในเพศชายจะทำหน้าที่กระตุ้นให้อินเตอร์สติเชียลเชลล์ (interstitial cells) ในถุงอัณฑะสร้างฮอร์โมนเพศชายอาจเรยกว่า อิน-เตอร์สติเชียลเชลล์สติมวเลติงรอร์โมน (interstitial cell stimulating hormone: ICSH)
1.3 โพรแลกติน (prolactin หรือ lactogenic hormone: LTH) ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญของต่อมนํ้านมในเพศหญิง และทำหน้าที่ร่วมกับแอนโดรเจน (androgen) ในเพศชายกระตุ้นต่อมลูกหมากให้เกิดการบีบตัวของท่อนำอสุจิและสร้างนํ้าเลี้ยงอสุจิ
1.4 อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิน (adrenocorticotrophin หรีอ adrenocorticotrophic hormone: ACTH) ทำหน้าที่กระตุ้นทั้งการเจริญเติบโตและการสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอกไปกระตุ้นการหลั่งอินซูลินและการหลั่งโกรทฮอร์โมนมาควบคุมการทำงานของต่อมหมวกไตชั้นนอก (adrenal cortex)ทำให้สัตว์เลือดเย็นมีสีเข้มขึ้น โครงสร้างของ ACTH มีลักษณะเหมีอนกับโครงสร้างของเมลาโนไซด์สติมิวเลติงฮอร์โมน (melanocyte stimulating hormone: MSH)
1.5 ไทรอยด์สติมิวเสติงฮอร์โมน (thyroid stimulating hormone: TSH) ทำหน้าที่กระตุ้นให้ร่างกายนำไอโอดีนเข้าสู่ต่อมไทรอยด์เพื่อสังเคราะห์ไทรอกชิน
การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนที่สร้างจากสมองส่วนไฮโพทาลามัส ชึ่งหลั่งฮอร์โมนมากระต้นและยับยั้งการผสิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้าชึ่งมีชื่อเรียกตามการออกฤทธิ์ ได้แก่
-  ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมนเรียกว่า GH releasing hormone (GRH)
-  ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ยับยั้งการหลั่งโกรทฮอร์โมนเรียกว่า GH inhibiting hormone (GIH)
-  ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนโพรแลกติน เรียกว่า prolactin releasing hormone (PRH)
-  ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมการหลั่ง TSH เรียกว่า thyroid releasing hormone (TRH)
-  ฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้มีการหลั่งฮอร์โมนกลุ่ม Gn ได้แก่ LH และ FSH เรียกว่า gonadotrophin releasing hormone (GnRH)
ฮอร์โมนเหล่านี้จัดอยู่ในกลุ่มฮอร์โมนประสาท เนื่องจากสร้างมาจากเซลล์พิเศษที่เปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์ประสาทในสมองส่วนไอโพทาลามัสเพื่อทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมน
2. ต่อมใต้สมองส่วนกลาง (intermediate pituitary gland) มีขนาดเล็กมาก ทำหน้าที่สร้างเมลาโนไซท์สติมิวเลติงฮอร์โมน (melanocyte stimulating hormone: MSH) เกี่ยวข้องกับการปรับสีของสัตว์เลือดเย็นให้เข้มขึ้น ทำหน้าที่ตรงข้ามกับเมลาโทนิน (melatonin) จากต่อมไพเนียล ส่วนในสัตว์เลือดอุ่นยังไม่ทราบหน้าที่แน่ชัด
3. ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior pituitary gland) เป็นกลุ่มเชลล์เนื้อเยื่อประสาทในสมองส่วนไฮโพทาลามัส ทํๅหน้าที่ผลิตฮอร์โมนมาเก็บไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง ได้แก่
3.1  ออกซีโทชิน (oxytocin) ทำหน้าที่กระตุ้นการบีบตัวของกล้ามเนื้อมดลูก เต้านม และกระเพาะปัสสาวะ ฮอร์โมนนี้จฺะลูกหลั่งออกมาในขณะคลอดลูกและร่วมเพศ แต่ถ้ามีการหลั่งออกมามากก่อนคลอดอาจทำให้แท้งลูกได้
3.2  วาโซเพรสชิน (vasopressin) หรือแอนติไดยูเรติกฮอร์โมน (antidiuretic hormone: ADH) ทำหน้าที่กระด้นการหดตัวของหลอดเลือดกระตุ้นการดูดน้ำกลับของท่อหน่วยไตจึงสามารถช่วยลดการสูญเสียนํ้าและเกลือแร่ ในกรณีที่ร่างกายขาด ADH จะทำให้ปัสสาวะมากผิดปกติ เกิดโรคเบาจืด
(diabetes inspidus)

ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์
ปี 1868 พอล แลงเกอร์ฮานส์ (Paul Langerhan) แห่งมหาวิทยาลัยไพรเบิร์ก ประเทศเยอรมนี พบกลุ่มเชลล์ดับอ่อนกระจายอยู่เป็นหย่อมๆมีหลอดเลือดมาหล่อเลี้ยงเป็นจำนวนมากเรียกเชลล์เหล่านี้ตามชื่อผู้ค้นพบว่า ไอส์เลตออฟแลงเกอร์ฮานส์ (Islets of Langerhans) ทำหน้าที่หลั่งฮอร์โมนที่สำคัญ
2 ชนิด คือ
1. อินซูลิน (insulin) สร้างมาจากกลุ่มเชลล์บีตา เป็นเชลล์ขนาดเล็กและมีจำนวนมาก อินซูสินทำหน้าที่รักษาระดับน้ำตาลในเลอดให้เป็นปกติ หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงอินซูลินจะถูกหลั่งออกมากระตุ้นให้เกิดการนำกลูโคสเข้าเซลล์และเร่งการสร้างไกลโคเจน (glycogen) ใปเก็บสะสมไว้ที่ตับ
และกล้ามเนื้อ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
ในคนปกติจะมีระดับน้ำตาลในเลือดประมาณ 100 มิลลิกรัมต่อเลือด 100 ลูกบาศกเชนติเมตร กรณีคนที่ขาดอินซูลินจะทำให้เป็นโรคเบาหวาน (diabetes mellitus) ซึ่งเป็นภาวะที่มีระคับน้ำตาลในเลือดสูงมากจนท่อหน่วยไตไม่สามารถดูดน้ำตาลกลับได้หมด นํ้าตาลส่วนหนึ่งจึงปนออกมากับปัสสาวะหากมอาการของโรครุนแรงจะทำให้นํ้าหนักตัวลดลง ร่างกายซูบผอม เนี่องจากมีการสลายไขมันและโปรตีนมาใช้แทนคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายใช้ไม่ได้ ผู้ป่วยจะถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้งปัสสาวะมีน้ำตาลปนออกมาและมี่ความเป็นกรดมาก เนื่องจากมีคีโตนบอดี (ketone body) ซึ่งเป็นผลจากการสลายไขมัน
นอกจากนี้หากเป็นแผลจะหายยากมากเพราะในเลือดมีน้ำตาลสูงจุลินทรีย์ต่าง ๆ จึงใช้เป็นอาหารได้เป็นอย่างดี ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานเป็นเวลานานจะเสียชีวิต เนื่องจากไตเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงาน
2. กลูคากอน (glucagon) สร้างมาจากกลุ่มเชลล์แอลฟาซึ่งเป็นเชลล์ที่มีขนาดใหญ่และมึจำนวนน้อยกว่ากลุ่มเซลล์บีตากลูคากอนมีหน้าที่เพิ่มนํ้าตาลในเลือดโดยเร่งกระบวนการสลายไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคส (ทำหน้าที่ตรงข้ามกับอินซูลน) และเร่งกระบวนการสร้างกลูโคสจากโปรตน ดังนั้นการเปลี่ยนแปลง
ระดับนํ้าตฺาลในเลอดจึงเป็นสัญญาณให้กลูคากอนและอินซูลินทำงานเพึ่อรักษาระดับนํ้าตาลในเลอดให้อยู่ในระดับปกติเสมอ
ต่อมหมากใต (adrenal gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่เหนือไตทั้ง 2 ข้างของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนํ้านม ต่อมหมวกไต แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. ต่อมหมวกไตชั้นนอก (adrenal cortex) ผลิตฮอร์โมนมากกว่า 50 ชนิด ทำงานภายใต้การควบคุมของ ACTHจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ฮอร์โมนที่ผลิตขึ้นมีสมบัติเป็นสเดรอยด์ แบ่งฮอร์โมนออกเป็น 3 กลุ่มที่สำคัญ ได้แก่
1.1 กลูโคคอร์ติคอซ (glucocorticoid) ทำหน้าที่ควบคุมเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต โดยเปลี่ยนไกลโคเจนในตับและกล้ามเนื้อให้เป็นกลูโคส
(ทำหน้าที่เหมีอนกลูคากอนจากตับอ่อน) ในวงการแพทย์ใช้เป็นยาลดการอักเสบและรักษาโรคภูมิแพ้ ฮอร์โมนกลุ่มนี้ คือ คอร์ติซอล (cortisol) และคอติโชน (cortisone) ในภาวะตึงเครียดถ้ามีการหลั่งคอร์ติซอลในปริมาณมากจะทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารได้ ถ้ามีฮอร์โมนกลุ่มนี้มากเกินไปจะทำให้อ้วน อ่อนแอ ไขมันพอกตามตัว หน้ากลมคล้ายดวงจันทร์ หน้าท้องลาย นํ้าตาลในเลือดสูงเช่นเดียวกับคนเป็นโรคเบาหวาน เรียกว่า โรคคูชชิง (Cushing’s syndrome)
1.2 มิเนราโลคอร์ติคอยด์ (mineralocorticoid) ทำหน้าที่ควบคุมสมดุลของนํ้าและเกลือแร่ ฮอร์โมนสำคัญกลุ่มนี้ คือ แอลโดสเทอโรน (aldosterone) ช่วยในการทำงานของไตในการดูดกลับโซเดียมและคลอไรด์ภายในท่อหน่วยใด ในกรณีที่ขาดแอลโดสเทอโรน จะทำให้ร่างกายสูญเสียนํ้าและโซเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะ ส่งผลให้ระดับนํ้าและโซเดียมในเลือดลดลงจนอาจทำให้ผู้ป่วยตายเนื่องจากความดันเลือดตํ่า
1.3 ฮอร์โมนเพศ (sex hormone) ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นให้มีลักษณะทางเพศที่สมบูรณ์ทั้งชายและหญิง (secondary sexual characteristics) ในเด็กผู้หญิงพบว่าหากมีฮอร์โมนเพศมากเกินไปจะทำให้บริเวณอวัยวะเพศมีขนาดคลิดอริสโตผิดปกติและมีลักษณะแคม (labium) คล้ายถุงอัณฑะ ในผู้ใหญ่จะมีเสียงตํ่า มีหนวด และไม่มีประจำเสือน
หากต่อมหมวกไตชั้นนอกถูกทำลายจะทำให้ไม่สามารถสร้างฮอร์โมนได้ ส่งผลให้ร่างกายชุบผอม ผิวหนังตกกระร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุได้และเสียชีวิตในที่สุดเรียกว่า โรคแอดดิสัน (Addison’s disease)
2. ต่อมหมวกไตชั้นใน (adrenal medulla) ทำงานภายใต้การควบคุมของระบบประสาทซิมพาเทติก (sympathetic) ชึ่งตอบสนองต่อสิงเร้าที่เป็นอันตรายต่อร่างกายหรีอทำงานเมี่อร่างกายเผชิญกับสถานการฌตึงเครียด ต่อมหมวกไตชั้นในทำหน้าที่สร้างฮอร์โมน 2 ชนิด ได้แก่
2.1 อะดรีนาลีน (adrenalin) หรือเอพิเนฟริน (epinephrine) ทำหน้าที่กระตุ้นให้หัวใจบีบตัวแรง ส่งผลให้ความ
ดันเลือดสูง หลอดเลือดขยายตัว เปลี่ยนไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคสเพื่อส่งเข้าส่กระแสเลือด ทำให้ร่างกายมีพลังงานมากนอกจากนี้ยังสามารถห้ามเลือดได้เพราะทำให้เกิดลิ่มเลือด
2.2 นอร์อะดรีนาลีน (noradrenalin) หรือนอร์อีพิเนฟริน (norepinephrine) ทำหน้าที่กระตุ้นให้หลอดเลือดบีบ
ตัวส่งผลให้เกิดความดันเลือดสูง

ต่อมไทรอยด์
ต่อมไทรอยด์ (thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อขนาดใหญ่มี 2 พู อยู่บริเวณลำคอและหน้าหลอดลมใต้กล่องเสียงเล็กน้อย
ต่อมนี้สร้างฮอร์โมน 2 ชนด คือ
1.ไทรอกชิน (thyroxin) เป็นสารอนุพันธ์ของกรดอะมโนมีหน้าที่เร่งอัตราเมแทบอสิซึมของร่างกาย ในสัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกไทรอกซินมีหน้าที่เร่งให้เกิดกระบวนการเมทามอร์โฟชิส (metamorphosis) ไทรอกซินจำเป็นต่อการเจริญและพัฒนาของร่างกายโดยเฉพาะการพัฒนาสมอง หากขาดไทรอกซินในเด็กจะทำให้อัตราการเต้นของหัวใจช้าลง สติปัญญาด้อย อวัยวะเพศไม่เจริญ ร่างกายแคระแกร็น เรียกว่า โรคเครทินิซึม (cretinism) ในผู้ใหญ่จะมีอาการเหนื่อยง่าย ซึม อ้วนง่าย ผมและผิวหนังแห้ง ความจำเสื่อม กล้ามเนื้ออ่อนแรง เฉี่อยชา เรียก
อาการนี้ว่า โรคมิกซีดีมา
(myxedema)
นอกจากนี้การขาดธาตุไอโอดีนยังมีผลทำให้ต่อมไทรอยด์ไม่สามารถสร้างไทรอกซินได้ ส่งผลให้เกิดโรคคอพอก มี 2 แบบคือ โรคคอพอกแบบธรรมดา (simple goiter) และโรคคอพอกเป็นพิษ (toxic goiter) เกิดจากการขาดไทรอกซิน จะมีผลให้สมองส่วนไฮโพทาลามัสหลั่งสารเคมีมากระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนหน้าให้หลั่ง TSH มายังต่อมไทรอยด์มากกว่าปกติ ส่งผลให้ต่อมไทรอยด์มีขนาดโตขึ้นและหลั่งไทรอกซินมากเกินไป ในเด็กจะมีอาการตัวสั่น ตกใจง่าย แต่คอไม่พอก ส่วนในผู้ใหญ่จะเกิดอาการคอพอกเป็นพิษ (toxic goiter หรีอ exophthalmic goiter) คือ ต่อมไทรอยด์มีขนาดใหญ่ ผลิตฮอร์โมนมาก อัตราเมแทบอลิชึมของร่างกายสูง เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดการสะสมสารเคมีบางชนิดในเบ้าตา ทำให้ตาโปน
2. แคลซิโทนิน (calcitonin) มีหน้าที่ลดระดับแคลเซียมในเลือดที่สูงเกินปกติโดยดึงแคลเซียมส่วนเกินไปสะสมที่กระดูกดังนั้นระดับแคลเซียมในเลือดจึงเป็นตัวควบคุมการหลั่งแคลซิโทนิน ฮอร์โมนดังกล่าวจะทำงานร่วมกับฮอร์โมนจากต่อมพาราไทรอยด์และวิตามิน

ต่อมพาราไทรอยด์
ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) มีขนาดเท่าเมล็ดถั่วเขียว มีจำนวน 4 ต่อม ฝังอยู่ด้านหลังของต่อมไทรอยด์ ขางละ 2 ต่อม ทำหน้าที่สร้างพาราทอร์โมน (parathormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ควบคุมระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดและเนื้อเยื่อ ช่วยให้ไตและลำไส้เล็กดูดแคลเซียมกลับได้มากขึ้น โดยทำงานร่วมกับวิตามินซี วิตามินดี และแคลชิโทนิน ในกรณีที่ขาดพาราทอร์โมนจะทำให้การดูดแคลเซียมกลับของท่อหน่วยไตลดลง แต่จะมีฟอสฟอรัสมากขึ้น ส่งผลให้เกิดตะคริว ชักกระตุกกล้ามเนื้อเกร็ง เรียกอาการเหล่านี้ว่า การชักเกร็ง (tetany) สามารถรักษาได้โดยลดอาหารที่มีฟอสฟอรัสสูง เพิ่มแคลเซียมและวิตามินดีให้แก่ร่างกาย หากร่างกายมีพาราทอร์โมนในปริมาณมากเกินไป จะทำให้กระดูกและฟันไม่แข็งแรง การตอบสนองของประสาทลดลง กล้ามเนื้ออ่อนแรง และปวดกระดูก

อวัยวะสืบพันธุ์
ต่อมเพศ (gonad gland) หมายถึง อวัยวะสืบพันธุ ได้แก่อัณฑะ และรังไข่
1.  อัณฑะ (testis) ภายในมีกลุ่มเชลล์อินเตอร์สติเชียลเซลล์ (interstitial cell) ทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศชาย ชึ่ง
เป็นสเตรอยด เรียกว่า แอนโดรเจน
(androgens) ประกอบด้วยฮอร์โมนหลายชนิดที่สำคัญคือ เทสโทสเทอโรน (testosterone) ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะของเพศชาย เช่น เสียงแตก นมขึ้นพาน หนวดขึ้นบริเวณริมฝีปาก ไหล่กว้าง
2. รังไข่ (ovary) ภายในมีกลุ่มเชลล์ 2 กลุ่ม คือฟอลลิเคิล (follicle) และคอร์ปัสลูเทียม (corpus luteum) ทำหน้าที่สร้างฮอรเมนเพศหญิง 2 ชนิด ได้แก่
    2.1 อีสโทรเจน (estrogen) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากฟอลลิเคิล ทำหน้าที่ควบคุมลักษณะเพศหญิง เช่น การมีประจำเดือน เตรียมการตั้งครรภ์ และมีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่ง FSHจากต่อมใต้สมองและกระตุ้นให้มีการหลั่ง LH แทน ทำให้ยับยั้งการดกไข่
     2.2 โทรเจสเทอโรน (progesterone) สร้างจากคอร์ปัสลูเทียม ทำหน้าที่กระตุ้นให้ผนังมดลูกหนาขึ้น หยุดการมีประจำเดือน ยับยั้งการตกไข่ ต่อมนํ้านมเจริญ และป้องกันการแท้งบุตร โดยทำงานภายใต้การควบคุมของ FSH และ LH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า
ขณะที่มีประจำเดือน (menstruation) ระดับอีสโทรเจนโพรเจสเทอโรน และ LH จะตํ่า หลังจากไข่ตก (ovulation) โพรเจสเทอโรนจะเพิ่มปริมาณสูงขึ้นและจะมีปริมาณสูงสุดหลังไข่ตก 1 สัปดาห์ หากไม่มีการปฎิสนธิระดับฮอร์โมนดังกล่าวจะลดลงเรื่อย ๆ

ต่อมไพเนียล
ต่อมไพเนียล (pineal gland) เป็นต่อมขนาดเล็ก อยู่ระหว่างสมองส่วนเซรีบรัม (cerebrum) ข้างซ้ายและข้างขวา ต่อมไพเนียลทำหน้าที่สร้างเมลาโทนิน (melatonin) ที่มีความสำคัญทั้งคนและสัตว์ชั้นสูง ในช่วงก่อนวัยเจริญพันธุ์เมลาโทนินจะไปยับยั้งการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ ในกรณีที่ต่อมไพเนียลทำงานผิดปกติหริอผลิตฮอร์โมนมากเกินใป จะทำให้เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ช้าลงกว่าปกติในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังชั้นตํ่าบางชนิดเช่น ปลาปากกลม ต่อมไพเนียลไม่ได้ทำหน้าที่สร้างฮอรโมน แต่จะทำหน้าที่เป็นกลุ่มเซลล์รับแสง (photoreceptor)
ต่อมไพเนียลสามารถหลั่งฮอร์โมนได้ดีในที่มืด สัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบกและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดที่เป็นสัตว์เลือดเย็นเมลาโทนินจะทำหน้าที่ในการปรับสีของผิวหนังให้จางลง(ทำหน้าที่ตรงข้ามกับ MSH จากต่อมใต้สมองส่วนกลาง)

ต่อมไทมัส
ต่อมไทมัส (thymus glad) มีลักษณะเป็น 2 พู อยู่บริเวณทรวงอกและบริเวณรอบหลอดเลือดใหญ่ของหัวใจ มีลักษณะ เป็นเนื้อเยื่อนํ้าเหลือง ทำหน้าที่สร้างเชลล์ลิมโฟไซต์ชนิดที (T-lymphoyte: T-Cell) โดยอาศัยไทโมชิน (thymosin) นอกจากนี้ยังพบว่าต่อมไทมัสมีการเจริญเต็มที่ตั้งแต่ยังอยู่ใน
ครรภ์และจะเสื่อมสภาพเมื่อสู่วัยรุ่น
ฮอร์โมนบางชนิดยังถูกสร้างจากเนื้อเยื่อในร่างกายได้เนื้อเยื่อสำคัญ คือ เนื้อเยื่อชั้นในของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กโดยฮอร์โมนที่สร้างขึ้นเป็นฮอร์โมนประเภทโปรตีน ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการย่อยอาหารได้แก่
1. แกสตริน (gastrin) สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในของกระเพาะอาหาร ทำหน้าที่กระตุ้นหลั่งน้ำย่อยจากตับอ่อน และการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก
2. ชีครีทิน (secretin) สร้างจากเนื้อเยื่อชั้นในบริเวณดูโอดินัมของลำไส้เล็ก ทำหน้าที่กระตุ้นการหลั่งน้ำย่อยของตับอ่อนและกระตุ้นตับให้หลั่งนํ้าดี เมื่อมีการผ่านของอาหารจากระเพาะสู่ลำไส้เล็ก
การควบคุมการผลิตฮอร์โมนของต่อมไทมัสและเนื้อเยื่ออื่นในร่างกาย มีดังนี้
1. ควบคุมด้วยระบบประสาทโดยตรง เช่น การทำงานของต่อมใต้สมองส่วนหลัง และต่อมหมวกไตชั้นใน
2. ควบคุมด้วยระบบประสาทโดยอ้อม เช่น การทำงานของต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไตชั้นนอก รังไข่ และอัณฑะ ต่อมไร้ท่อเหล่านื้ถูกควบคุมโดยต่อมใต้สมองส่วนหน้า ซึ่งต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะถูกควบคุมด้วยฮอร์โมนที่หลั่งโดยเซลล์ประสาทจากสมองส่วนไฮโพลาทามัส
3.ควบคุมด้วยฮอร์โมน ต่อมไร้ท่อจะสร้างฮอร์โมนมาควบคุมการทำงานซึ่งกันและกัน มีทั้งการกระตุ้นและยับยั้ง เช่นต่อมใต้สมองส่วนหน้าสร้างฮอร์โมนมาควบคุมและกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอกซินเพิ่มขึ้น เมื่อฮอร์โมนดังกล่าวมีปริมาณมากเกินไปก็จะยับยั้งฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าอีกทีหนึ่ง ทำให้เกิดการสร้างไทรอกชินลดลง การควบคุมแบบนื้เรียกว่า การควบคุมแบบย้อนกลับ (negative feed back)
4. ควบคุมด้วยผลของฮอร์โมน เช่น การหลั่งพาราทอร์โมนจะถูกควบคุมโดยระดับแคลเซียมในพลาสมา ถ้าระดับแคลเซียมในพลาสมาตํ่า จะมีผลไปกระตุ้นต่อมพาราไทรอยด์ให้หลั่งพาราทอร์โมนเพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันระดับแคลเชยนที่เพิ่มสูงขึ้น จะไปยังยั้งการสร้างพาราทอร์โมน










มุมแนะนำ