มุมแนะนำ

วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ข้อแนะนำ จากเจ้าของบล็อก



++ ข้อแนะนำ จากเจ้าของบล็อก ++

        บล็อกนี้ทำขึ้นเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้เพิ่มเติมสำหรับนักเรียน นักศึกษา หรือผู้ที่สนใจ โดยมีกำลังใจทำจาก ความคิดที่ว่าทำไมตอนที่เพื่อนเขาเรียนอยู่เรากลับไม่สนใจเรียน ความคิดนี้เป็นสิ่งที่ทำให้ผมสนใจในการเรียนมากขึ้น ครูหลายท่านก็บอกว่าให้ตั้งใจเรียนเวลาของเรามีจำกัด และช่วงหลังนี้เริ่มคิดว่า “ถ้าวันนั้นเราทำให้ดีกว่านี้ วันนี้คงไม่เป็นอย่างนี้หรอก” เป็นมุมมองของคนๆหนึ่งที่อยากให้เด็กๆ หรือเพื่อนๆ ทุกคนที่กำลังเรียนอยู่และได้อ่านบทความนี้ว่า ให้ตั้งใจเรียนถึงแม้ว่าคุณจะทำที่ใจฝันไม่ได้แต่ขอให้คุณคิดว่าทำมันเต็มที่แล้ว ดีกว่าใครหลายคนที่ไม่มีโอกาสเหมือนคุณ มองตัวเองว่าโชคดีที่ได้เรียนตั้งใจให้สุดๆ ไปเลย มันเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ ของช่วงชีวิตคุณเท่านั้น อนาคตของคุณขึ้นอยู่กับช่วงนี้ สู้เต็มที่จะได้ไม่เสียใจภายหลังว่า “วันนั้นเราน่าจะทำให้ดีกว่านี้ “ อยากฝากให้ทุกคนนำเก็บไปคิด เพิ่มพลังใจ ปลุกพลังในตัวคุณให้เต็มที่ ทำเพื่อคุณ และคนที่คุณรักให้เขาได้เห็นคุณค่าในตัวคุณ......


วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ทฤษฎีการชน (Collision Theory)



ทฤษฎีการชน  (Collision Theory)
11.)      กล่าวว่า ; สารตั้งต้นจะเกิดปฏิกิริยาได้ก็ต่อเมื่อโมเลกุลมีการชนกันในทิศทางที่เหมาะสมและเมื่อชนกันแล้วมีการถ่ายโอนพลังงานระหว่างกันมากพอที่จะทำให้เกิดปฏิกิริยานั้นๆ  (โดยพลังงานอย่างน้อยที่โมเลกุลต้องการในการเกิดปฏิกิริยาเรียกว่า Ea
22.)     สรุปทฤษฎีการเกิดปฏิกิริยา ;    1. อนุภาคสารตั้งต้นชนกันในทิศทางเหมาะสม
                                                      2. เมื่อชนกันแล้วมีการถ่ายโอนพลังงานมากพอ
                                                      3. การชนกันของโมเลกุลเป็นการชนแบบยืดหยุ่นสัมบูรณ์ (ไม่สูญเสียพลังงาน)
33.)     พลังงานก่อกัมมันต์ ; เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าพลังงานกระตุ้น (Activation Energy ; Ea)
·        หมายถึง ; พลังงานจำนวนน้อยที่สุดที่โมเลกุลสารตั้งต้นต้องมี (ได้มาจากการชนกันแล้วถ่ายโอนระหว่างกันหรือจากพลังงานภายนอก) เพื่อใช้ในการเกิดปฏิกิริยา
·        หน่วย ; kJ/mol , kcal/mol  (1cal = 4.2J)
·        สรุปสาระสำคัญ ;  1.แต่ละปฏิกิริยาเคมีพลังงานก่อกัมมันต์ต่างกัน
                                                      2. ปฏิกิริยาเคมีที่พลังงานก่อกัมมันต์ต่ำ จะเกิดง่ายกว่าปฏิกิริยาที่พลังงานก่อกัมมันต์สูง
                                3. ปฏิกิริยาที่พลังงานก่อกัมมันต์ต่ำอัตราเร็วของปฏิกิริยาอาจจะสูงหรือต่ำก็ได้
                                4.พลังงานก่อกัมมันต์และอัตราเร็วของปฏิกิริยาไม่มีความสัมพันธ์กัน
                                5.พลังงานก่อกัมมันต์ ไม่เกี่ยวข้องกับพลังงานรวมของปฏิกิริยา (Total Energy , Enthalpy)
44.)     Heat Energy ; ใช้สัญลกษณ์ย่อคือ ΔH
·        หมายถึง ; พลังงานความร้อนของปฏิกิริยาเคมี หาได้จาก ความแตกต่างระหว่างระดับพลังงานศักย์ของสารผลิตภัณฑ์กับระดับพลังงานศักย์ของสารตั้งต้น
·        หน่วย ; kJ/mol , kcal/mol  (1cal = 4.2J) (เหมือนค่า Ea)
·        สรุปสาระสำคัญ ;       1.ค่า ΔH ไม่มีความสัมพันธ์กับค่า Ea
                                     2.ค่า ΔH สามารถบอกได้ว่าเป็นปฏิกิริยาดูดหรือคายความร้อน
                                           ΔH > 0 เป็นระบบดูดความร้อน
                                           ΔH < 0 เป็นระบบคายความร้อน
       

มุมแนะนำ