มุมแนะนำ

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

กาพย์เห่เรือพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร

กาพย์เห่เรือพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร


                             กาพย์
        พระเสด็จโดยแดนชลทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย
กิ่งแก้วแพร้วพรรณรายพายอ่อนหยับจับงามงอน
        นาวาแน่นเป็นขนัดล้วนรูปสัตว์แสนยากร
เรือริ้วทิวธงสลอนสาครลั่นครั่นครื้นฟอง
        เรือครุฑยุดนาคหิ้วลิ่วลอยมาพาผันผยอง
พลพายกรายพายทองร้องโห่เห่โอ้เห่มา
        สรมุขมุขสี่ด้านเพียงพิมานผ่านเมฆา
ม่านกรองทองรจนาหลังคาแดงแย่งมังกร
        สมรรถชัยไกรกาบแก้วแสงแวววับจับสาคร
เรียบเรียงเคียงคู่จรดั่งร่อนฟ้ามาแดนดิน
        สุวรรณหงส์ทรงพู่ห้อยงามชดช้อยลอยหลังสินธุ์
เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม
        เรือชัยไวว่องวิ่งรวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
เสียงเส้าเร้าระดมห่มท้ายเยิ่นเดินคู่กัน
        คชสีห์ทีผาดเผ่นดูดังเป็นเห็นขบขัน
ราชสีห์ที่ยืนยันคั่นสองคู่ดูยิ่งยง
        เรือม้าหน้ามุ่งน้ำแล่นเฉื่อยฉ่ำลำระหง
เพียงม้าอาชาทรงองค์พระพายผายผันผยอง
        เรือสิงห์วิ่งเผ่นโผนโจนตามคลื่นฝืนฝ่าฟอง
ดูยิ่งสิงห์ลำพองเป็นแถวท่องล่องตามกัน
        นาคาหน้าดังเป็นดูเขม้นเห็นขบขัน
มังกรถอนพายพันทันแข่งหน้าวาสุกรี
        เลียงผาง่าเท้าโผนเพียงโจนไปในวารี
นาวาหน้าอินทรีมีปีกเหมือนเลื่อนลอยโพยม
        ดนตรีมี่อึงอลก้องกาหลพลแห่โหม
โห่ฮึกครึกครื้นโครมโสมนัสชื่นรื่นเริงพล
        กรีธาหมู่นาเวศจากนเรศโดยสาชล
เหิมหื่นชื่นกระมลยลมัจฉาสารพันมี

เห่ชมปลา

                            กาพย์
 พิศพรรณปลาว่ายเคล้าคิดถึงเจ้าเศร้าอารมณ์
มัตสยายังรู้ชมสมสาใจไม่พามา
        นวลจันทร์เป็นนวลจริงเจ้างามพริ้งยิ่งนวลปลา
คางเบือนเบือนหน้ามาไม่งามท่าเจ้าเบือนชาย
        เพียนทองงามดั่งทองไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย
กระแหแหห่างชายดั่งสายสวาทคลาดจากสม
        แก้มช้ำช้ำใครต้องอันแก้มน้องช้ำเพราะชม
ปลาทุกทุกข์อกกรมเหมือนทุกข์พี่ที่จากนาง
        น้ำเงินคือเงินยวงขาวพรายช่วงสีสำอาง
ไม่เทียบเปรียบโฉมนางงามเรืองเรื่อเนื้อสองสี**
        ปลากรายว่ายเคียงคู่เคล้ากันอยู่ดูงามดี
แต่นางห่างเหินพี่เห็นปลาเคล้าเศร้าใจจร
        หางไก่ว่ายแหวกว่ายหางไก่คล้ายไม่มีหงอน
คิดอนงค์องค์เอวอรผมประบ่าอ่าเอี่ยมไร
        ปลาสร้อยลอยล่องชลว่ายเวียนวนปนกันไป
เหมือนสร้อยทรงทรามวัยไม่เห็นเจ้าเศร้าบ่วาย
        เนื้ออ่อนอ่อนแต่ชื่อเนื้อน้องฤๅอ่อนทั้งกาย
ใครต้องข้องจิตชายไม่วายนึกตรึกตรึงทรวง
        ปลาเสือเหลือที่ตาเลื่อมแหลมกว่าปลาทั้งปวง
เหมือนตาสุดาดวงดูแหลมล้ำขำเพราคม
        แมลงภู่คู่เคียงว่ายเห็นคล้ายคล้ายน่าเชยชม
คิดความยามเมื่อสมสนิทเคล้าเจ้าเอวบาง
        หวีเกศเพศชื่อปลาคิดสุดาอ่าองค์นาง
หวีเกล้าเจ้าสระสางเส้นเกศสลวยรวยกลิ่นหอม
        ชะแวงแฝงฝั่งแนบชะวาดแอบแปบปนปลอม
เหมือนพี่แอบแนบถนอมจอมสวาทนาฏบังอร
        พิศดูหมู่มัจฉาว่ายแหวกมาในสาคร
คะนึงนุชสุดสายสมรมาด้วยพี่จะดีใจ

แปลกาพย์จากด้านบน
พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพยุหยาตราชลมารค พระองค์ประทับบนเรือพระที่นั่งอันงดงามวิจิตรบรรจง กระบวนพยุหยาตรางดงามยิ่ง ลีลาการพายเรือนั้นอ่อนช้อยงดงามจับตาเรือครุฑยุดนาค เป็นเรือที่มีโขนเรือทำเป็นรูปพญาครุฑกำลังเหยียบขยุ้มหิ้วพญานาคมาอย่าง ลำพอง เรือลอยลิ่วมาอย่างรวดเร็ว พลพายต่างวาดพายทองด้วยความพร้อมเพรียง ได้ยินเสียงร้องโห่เห่ดัง รับกับจังหวะพายของฝีพายมาในขบวนพยุหยาตราชลมารพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพยุห ยาตราชลมารค พระองค์ประทับบนเรือพระที่นั่งอันงดงามวิจิตรบรรจง กระบวนพยุหยาตรางดงามยิ่ง ลีลาการพายเรือนั้นอ่อนช้อยงดงามจับตา เรือไกรสรมุข มีความงดงามราวกับพิมานของเทวดาล่องลอยมาจากสวรรค์ มีม่านกรองทองและหลังคาเป็นลวดลายมังกรเรือกระบวนพยุหยาตรานั้นมากมายแน่น ขนัดเต็มท้องน้ำ เรือแต่ละลำประดิษฐ์ตกแต่งโขนเรือเป็นรูปสัตว์นานาชนิด ริ้วกระบวนเรือเคลื่อนมามองเห็นทิวธงประดับเป็นทิวแถว กระบวนเรือล่องลอยมาเสียงน้ำแตกกระจายเป็นคลื่นฟองดังไปทั่วท้องน้ำเรือ สมรรถชัยล่องลอยเคียงคู่กันมา แสงแวววับที่กราบเรือส่องสะท้อนกระทบผืนน้ำระยิบระยับตา งดงามยิ่งราวกับว่าล่องลอยมาจากสวรรค์เรือสุวรรณหงส์ เป็นเรือพระที่นั่งที่มีโขนเรือเป็นรูปพญาหงส์ ตกแต่งด้วยพู่ห้อยประดับ เป็นเรือที่เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรไชยเชษฐ์สุริยวงศ์ทรงพรรณนาไว้ว่าสง่างดงามที่ สุด เดิมเรือลำนี้ชื่อว่า " เรือสุวรรณหงส์ " สร้างในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ต่อมาผุพังจนใช้การไม่ได้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สถาปนาขึ้นใหม่ มีขนาดใหญ่กว่าเดิม พระราชทานนามว่า " เรือพระที่นั่งสุวรรณหงส์ " เรือชัยลอยเคียงคู่กันมารวดเร็วราวกับลม ได้ยินเสียงเส้ากระทุ้งบอกจังหวะฝีพายดังมาทางท้ายเรืออย่างพร้อมเพรียงฟัง เร้าใจ เรือราชสีห์เรือคชสีห์ทะยานมาเป็นคู่ๆ ดูผาดโผนราวกับมีชีวิตจริงมองดูน่าขบขัน เรือราชสีห์และเรือคชสีห์ที่เคียงคู่กันอยู่ ดูมีกำลังกล้าหาญเป็นอย่างยิ่ง เรือม้า ( มีโขนเรือเป็นรูปศีรษะม้า มีลักษณะก้มหน้าคล้ายม้าหมากรุก ) มีรุปลักษณ์ของโขนเรือเป็นรูปม้า ที่มีท่าทางมองมุ่งลงไปในน้ำ เรือมีลักษณะเรียวระหง ล่อลอยมาอย่างแช่มช้า งดงามราวกับม้าทรงของพระพายที่มีพละกำลังเผ่นโผนมาอย่างลำพอง เรือสิงห์( มีโขนเรือเป็นรูปสิงโต ) แล่นเผ่นโผนทะยานฝ่าคลื่นฟองมาอย่างรวดเร็วราวกับเรือนาคา หรือเรือวาสุกรี โขนเรือเป็นรูปพญานาค ดูหน้าตาท่าทางมองเขม้นมาแล้วเหมือนมีชีวิตจริง ดูน่าขบขัน เรือมังกร ( โขนเรือเป็นรูปมังกร ) ก็ล่องลอยมาในกระบวน พลพายพายเรืออย่างพร้อมเพรียง เรือล่องมาทันกันกันสิงห์ลำพอง กระบวนเรือล่องตามกันเป็นมาเป็นทิวแถว เรือเลียงผา มีโขนเรือเป็นรูปเลียงผากำลังยกเท้าอ้าขึ้นสูงราวกับจะกระโจนลงไปในน้ำ เรือที่มีโขนเรือเป็นรูปนกอินทรี กางปีกกว้างราวกับล่องลอยมาจากฟากฟ้ากระบวนเสด็จพยุหยาตราชลมารคเดินทางล่วง มา เสียงประโคมดนตรีดังก้อง เสียงไพร่หลแซ่ซ้องแห่โหมด้วยความโสมนัสยินดี ผู้คนสนุกสนานรื่นเริง

เห่ชมไม้

                           กาพย์
 
        เรือชายชมมิ่งไม้ริมท่าไสวหลากหลายพรรณ
เพล็ดดอกออกแกมกันส่งกลิ่นเกลี้ยงเพียงกลิ่นสมร
        ชมดวงพวงนางแย้มบานแสล้มแย้มเกสร
คิดความยามบังอรแย้มโอษฐ์ยิ้มพริ้มพรายงาม
        จำปาหนาแน่นเนื่องคลี่กลีบเหลืองเรืองอร่าม
คิดคะนึงถึงนงรามผิวเหลืองกว่าจำปาทอง
        ประยงค์ทรงพวงร้อยระย้าย้อยห้อยพวงกรอง
เหมือนอุบะนวลละอองเจ้าแขวนไว้ให้เรียมชม
        พุดจีบกลีบแสล้มพิกุลแกมแซมสุกรม
หอมชวยรวยตามลมเหมือนกลิ่นน้องต้องติดใจ
        สาวหยุดพุทธชาดบานเกลื่อนกลาดดาษดาไป
นึกน้องกรองมาลัยวางให้พี่ข้างที่นอน
        พิกุลบุกนนาคบานกลิ่นหอมหวานซ่านขจร
แม้นนุชสุดสายสมรเห็นจะวอนอ้อนพี่ชาย
        เต็งแต้วแก้วกาหลงบานบุษบงส่งกลิ่นอาย
หอมอยู่ไม่รู้หายคล้ายกลิ่นผ้าเจ้าตาตรู
        มะลิวัลย์พันจิกจวงดอกเป็นพวงร่วงเรณู
หอมมาน่าเอ็นดูชูชื่นจิตคิดวนิดา
        ลำดวนหวนหอมตรลบกลิ่นอายอบสบนาสา
นึกถวิลกลิ่นบุหงารำไปเจ้าเศร้าถึงนาง
        รวยรินกลิ่นรำเพยคิดพี่เคยเชยกลิ่นปราง
นั่งแนบแอบเอวบางห่อนแหห่างว่างเว้นวัน
        ชมดวงพวงมาลีศรีเสาวภาคย์หลากหลายพรรณ
วนิดามาด้วยกันจะอ้อนพี่ชี้ชมเชย

บทเห่เรือรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

บทเห่เรือรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช


            กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค  เป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทย ที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐาน ชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยาเรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัดกระบวนหลายแบบ ที่รู้จักกันดีก็คือ "กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง" ดังปรากฏในลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตพรรณนากระบวนเรือประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อพ.ศ. 2430ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโดยยึดถือตามแบบแผนเดิมแห่งกรุงศรีอยุธยาประเภท ของการเห่เรือ สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ การเห่เรือหลวง (การเห่เรือในงานพระราชพิธี) และการเห่เรือเล่น (การเห่เรือ เล่นของชาวบ้านในงานต่างๆ) ในปัจจุบันการเห่เรือ ยังคงอยู่เฉพาะการเห่เรือหลวงที่ใช้ใน กระบวนพยุหยาตราชลมารคสำหรับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราชลมารคมาแล้วจำนวน 17 ครั้ง โดยในปี พ.ศ. 2555 นี้ ถือเป็นครั้งที่ 18 วันเสด็จพระราชดำเนินจริง วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2555 ตั้งแต่เวลา 15.00 -17.00 น. ซึ่งกรมเจ้าท่าได้ประกาศปิดการจราจรทางน้ำตามเส้นทางดังกล่าวจนถึงช่วงเย็นจนกว่าจะเสร็จสิ้นพระราชพิธี

            พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งนี้เป็นการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ใหญ่ 5 ริ้ว ใช้เรือ พระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง จำนวน 4 ลำ คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือรูปสัตว์ จำนวน 8 ลำ เรือดั้ง จำนวน 22 ลำและเรือ ประกอบอื่น ๆ จำนวน 18 ลำ
เรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารค มีดังนี้
            เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
            เรือเอกไชยเหินหาว เรือเอกไชยหลาวทอง เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรืออสุรวายุภักษ์    เรืออสุรปักษี
            เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรือครุฑเหินเห็จ เรือครุฑเตร็จไตรจักร เรือเสือทยานชล
            เรือเสือคำรณสินธุ์ เรืออีเหลือง เรือทองขวานฟ้า เรือทองบ้าบิ่น เรือแตงโม เรือดั้ง เรือแซง เรือตำรวจ

            กาพย์เห่เรือ เป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่ง แต่งไว้สำหรับขับร้องเห่ในกระบวนเรือ โดยมีทำนองเห่ที่สอดคล้องกับจังหวะการพายของฝีพาย ว่าช้า หรือเร็ว มักจะมีพนักงานขับเห่หนึ่งคนเป็นต้นเสียง และฝีพายคอยร้องขับตามจังหวะ พร้อมกับการให้จังหวะจากพนักงานประจำเรือแต่ละลำ
คำประพันธ์
กาพย์เห่เรือนั้น ใช้คำประพันธ์ 2 ชนิดด้วยกัน นั่นคือ กาพย์ยานี 11 และโคลงสี่สุภาพ เรียงร้อยกันในลักษณะที่เรียกว่า กาพย์ห่อโคลง โดยมักขึ้นต้นด้วยโคลง 1 บท แล้วตามด้วยกาพย์ยานี เรื่อยไป จนจบตอนหนึ่งๆ เมื่อจะขึ้นตอนใหม่ ก็จะยกโคลงสี่สุภาพมาอีกหนึ่งบท แล้วตามด้วยกาพย์จนจบตอน เช่นนี้สลับกันไป
กาพย์เห่เรือฯ แต่งโดย นาวาเอกทองย้อย
            สำหรับกาพย์เห่เรือในครั้งนี้ จะประกอบด้วยเนื้อหา 3 ส่วน คือ บทสรรเสริญพระบารมี อันเป็นหัวใจสำคัญของกาพย์ กล่าวถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีต่อประชาชนชาวไทยอย่างล้นพ้น และการถวายพระพรให้พระองค์ทรงมีพระชนม์ยิ่งยืนนาน
ส่วนที่ 2 คือ กาพย์ชมเรือ เป็นการชมความงดงามของเรือแต่ละลำ ตั้งแต่เรือพระที่นั่งทั้ง 4 ลำ เรือรูปสัตว์ เรือดั้ง เรือแซง และความงดงามของศิลปะไทยบนตัวเรือ และส่วนสุดท้ายคือ กาพย์ชมเมือง ที่พรรณาถึงความเป็นไปของบ้านเมือง ที่ผสมผสานศิลปวัฒนธรรมตามยุคสมัย
            การชมขบวนพยุหยาตราในครั้งนี้ นอกจากจะชมความวิจิตรงดงามของเรือแต่ละลำแล้ว ก็ต้องคอยฟังความงดงามของถ้อยอักษรที่ผ่านการเรียงร้อยมาเป็นกาพย์เห่เรือ ดังที่ นาวาเอกทองย้อยได้เคยกล่าวไว้ว่า
หัวใจ 4 ห้องของขบวนเรือก็คือ ความงดงามวิจิตรของเรือแต่ละลำ ความสวยงามของรูปขบวนเรือ ท่วงทำนองของฝีพาย และเสียงเห่อันไพเราะเพราะพริ้ง ส่วนกาพย์เห่เรือนั้นถือว่าเป็นหัวใจห้องที่ 5 ของขบวนเรือพระราชพิธี


บทที่ ๑
สรรเสริญพระบารมี

 ถวายภิวาทไตรรัตน์ถ้วน          ไตรทวาร
ไตรภพโพ้นจักรพาล                ผ่องแผ้ว
ไตรทิพย์เทพทุกสถาน              เชิญถั่ง    พรเทอญ
ถวายพระเกียรติถกลแก้ว            ก่องฟ้านิรันดร์สมัย


(๑)    เห่เอย เห่เรือทิพย์                                     ล่องลอยลิบเลิศล้ำสวรรค์
ร้อยคำล้ำค่าครัน                                              แด่จอมธรรม์ผู้จอมไทย
(๒)   พระเอยพระผ่านเผ้า                    พระอยู่เกล้ามายาวไกล
พระแผ่พระบารมีไป                                         เปี่ยมโลกหล้าฟ้าดินสราญ
(๓)   พระชนม์พิพัฒน์ชัย                     แปดสิบห้าสมัยมงคลกาล
หัวใจไทยชื่นบาน                                             ดั่งทิพย์ธารหล่อเลี้ยงไทย
(๔)   ครองราชย์ก็ร่มราษฎร์                              ชื่นชาติเฉกฉัตรชัย
ร่มธรรมน้ำพระทัย                                           ปัดป้องภัยในธรณี  
(๕)   สองพระบาทประพาสไทย            ประทับไว้ทุกถิ่นที่
สองพระหัตถ์กระหวัดวี                                    ทรงโอบทั่วทุกทวยชน
 (๖)  สองนัยน์สายพระเนตร                 ทรงเห็นเหตุทุกแห่งหน
สองพระกรรณสดับกล                          เพื่อแก้ทุกข์ทวยประชา
 (๗)   สองบ่าที่ทรงแบก                        แต่วันแรกครองพารา
แปดสิบห้าพระชันษา                            ทั้งสองบ่ามิเคยเบา
(๘)   เหน็ดเหนื่อยนั้นหนักนัก              หนุนเนื่องหนักเนิ่นนานเนา
ภัยพาลผ่านผ่อนเพลา                           ก้มเกศเกล้ากราบใกล้ไกล


 (๙)   ราษฎร์รักฤๅโรยร้าง                     รักกระจ่างอยู่กลางใจ
ครองธรรมจึงครองไทย                                     จึงครองใจนานจำเนียร
(๑๐)   ร้อยทุกข์ที่รุมโถม                       ไม่อาจโหมให้หันเหียน
ร้อยวันที่ผันเวียน                                  ไม่อาจเปลี่ยนให้รักแปลง
(๑๑)   แปดสิบห้าพระชันษา                  พระอังสาอาจล้าแรง
พระวรกายที่เคยแกร่ง                           อาจผุกร่อนไปตามกาล
(๑๒)   น้ำพระทัยยังเป็นทิพย์                เลิศล้ำลิบรสหอมหวาน
ไหลหลั่งดั่งสายธาร                                          ทั่วทวยไทยได้อาบกิน
(๑๓)   บุญใดที่ไทยสร้าง                       ไม่โรยร้างยังหลั่งริน
ภักดีภูบดินทร์                                       ไม่สุดสิ้นจากสายทรวง
(๑๔)   บุญสัตย์อันศักดิ์สิทธิ์                  บุญฤทธิ์อันใหญ่หลวง
บุญแก้วทั้งสามดวง                               เทพทั้งปวงผู้เปี่ยมบุญ
(๑๕)   รวมมั่นเป็นขวัญมิ่ง                    ประสิทธิ์สิ่งประเสริฐสุนทร์
อำนวยค่าอำนรรฆคุณ                           อดุลเดชพิเศษดล
 (๑๖)   ถวายแรงถวายรัก                                   ถวายมรรคถวายผล
ถวายชื่นยืนพระชนม์                            ถวายผองพระพรชัย
(๑๗)   คุณธรรมที่ทรงธาร                     เป็นปราการอันเกรียงไกร
กั้นมารและพาลไกล                             อย่าอาจกล้ำมาใกล้กราย
(๑๘)   พระหฤทัยอันเปี่ยมธรรม           จงเย็นฉ่ำและเฉิดฉาย
เพ็ญแผ้วอยู่แพรวพราย                         อย่าทรงพบพวกเผ่าพาล
(๑๙)   สรรพสิ่งที่ทรงหวัง                                 สำเร็จดังพระทัยดาล
แม้ทรงมุ่งพระโพธิญาณ                       สัมฤทธิ์ได้ดังพระทัย - เทอญ.




บทที่ ๒
ชมเรือขบวน
 
หงส์ทองลอยล่องฟ้า                   มาดิน
 นาคราชสาดสายสินธุ์                 สนุกล้ำ
สุบรรณแบกวิษณุบิน                  โบยโบก
เพลงเห่เสน่ห์เสนาะน้ำ                สนั่นฟ้าดินไหว
                      

 (๑)   เรือเอยเรือพระที่นั่ง                     งามสะพรั่งกลางสายธาร
ลอยลำล้ำแลลาน                                 ปานเคลื่อนคล้อยลอยฟ้ามา
(๒)   สุวรรณหงส์ลงลอยล่อง             เพียงหงส์ทองล่องลอยนภา
พู่ห้อยร้อยรจนา                                   งามหยาดฟ้ามาแดนชล
(๓)   อนันตนาคราช                            เจ็ดเศียรสาดสายสินธุ์ถกล
  เล่นน้ำฉ่ำชื่นชล                                 ยลหงอนปากอย่างนาคเป็น
(๔)   อเนกชาติภุชงค์                                       อวดลำระหงให้โลกเห็น
แนบน้ำฉ่ำชื่นเย็น                                 ปานนาคเป็นเล่นวารี
 (๕)   นารายณ์ทรงสุบรรณ                 ผาดผายผันผ่องโสภี
ดั่งครุฑยุดนาคี                                                แบกจักรีโบกบินบน
(๖)   กระบี่ศรีสง่า                                งามท่วงท่าร่าเริงชล
  เรือครุฑรุดเร็วยล                               กลครุฑคล้อยลอยเมฆินทร์
(๗)   อสุรวายุภักษ์                               ศักดิ์ศรีคู่อสุรปักษิน
โผนผกเพียงนกบิน                              ผินสู่ฟ้าร่าเริงลม


(๘)   เรือแซงแข่งเรือดั้ง                       พายพร้อมพรั่งน้ำพร่างพรม
เรือชัยไฉไลสม                                    ชมเรือกิ่งพริ้งเพราตา
(๙)   ยักษ์ลิงกลิ้งกลอกกาย                 แลลวดลายล้วนเลขา     
รูปสัตว์หยัดกายา                                 ลอยคงคาสง่าครัน
(๑๐)   เสนาะศัพท์ขับเพลงเห่              เสียงเสน่ห์น้ำสนั่น
เพลงทิพย์ไป่เทียมทัน                          กลั่นจากทรวงปวงนาวี
(๑๑)   ศิลปกรรมล้ำเลิศเหลือ               ลวดลายเรือล้วนโสภี
ท่อนไม้ไร้ชีวี                                       มีชีวิตคิดเหมือนเป็น                   
(๑๒)   นาวาสถาปัตย์                                      ช่างเชี่ยวชัดชาญเชิงเช่น
ยิ่งยลยิ่งเยือกเย็น                                  เห็นสายศิลป์วิญญาณไทย
(๑๓)   สมบูรณ์สมบัติชาติ                   ควรประกาศเกียรติเกริกไกร
ฝีมือลือเลิศใคร                                    ไม่เทียบเทียมเยี่ยมนิยม
(๑๔)   ควรสืบควรรักษา                     ควรคู่ค่าควรเมืองสม
ควรเชิดควรชื่นชม                              ควรภูมิใจไทยทั้งมวล
 (๑๕)   แม้นสิ้นจากถิ่นไทย                ห่อนเห็นใครมาคู่ควร
แบบบทหมดกระบวน                         ล้วนเลิศแล้วแพรวพริ้งพราย
(๑๖)   ขวัญเอยเป็นขวัญเนตร              ศิลป์พิเศษยังสืบสาย
ลูกหลานวานอย่าวาย                           อย่าดูดายศรีแผ่นดิน     
(๑๗)   ฝากโลกให้รู้จัก                        ฝากศรีศักดิ์วิญญาณศิลป์
ฝากนามสยามินทร์                              ฝากฝีมือชื่อไทยเอย.




บทที่ ๓
ชมเมือง
                                 

เจ้าพระยาสง่าเพี้ยง             ธารสวรรค์
กรุงเทพเทพนครทัน          ถิ่นฟ้า
ใจไทยย่อมหฤหรรษ์          หอมทิพย์     ธรรมแฮ
ตราบเมื่อนี้เมื่อหน้า            เมื่อโน้นนิรันดร์เกษม
 
(๑)   เจ้าเอย  เจ้าพระยา                        ถั่งธารามานานไกล
 เอิบอาบกำซาบใจ                               หล่อเลี้ยงไทยเลื่องลือนาม
(๒)   เป็นถิ่นแห่งศีลธรรม                   รุ่งเรืองล้ำร่มอาราม
 โลกร้อนไฟลุกลาม                             แดนสยามยังร่มเย็น
(๓)   ดินแดนแห่งกาสาว์                     คือสมญาโลกย่อมเห็น
  ศีลธรรมที่บำเพ็ญ                              ช่วยดับเข็ญได้ทุกครา
 (๔)   พระแก้วอยู่เหนือเกล้า                ทุกค่ำเช้าเฝ้าบูชา
ศีลทานสานศรัทธา                              เปรมปรีดาด้วยความดี
(๕)   บัวบุญจึงเบ่งบาน                       อบดวงมานหอมหวานทวี
 รอยยิ้มอิ่มอารี                                      เติมไมตรีเต็มหัวใจ
 (๖)   ความรู้อาจไม่หลาก                    แต่ความรักไม่รองใคร
น้ำจริงมากเพียงไหน                           แพ้น้ำใจที่ไหลแรง
(๗)    แสงเทียนทุกยามค่ำ                   คือแสงธรรมยังทอแสง
เดือนปีอาจเปลี่ยนแปลง                      แต่รักแรงไม่เปลี่ยนไป



(๘)   บ้านเรือนไม่หรูหรา                     แต่สูงค่าปัญญาไทย
หนทางอาจห่างไกล                            แต่หัวใจใกล้ชิดกัน
(๙)   น้ำใจไม่เคยจืด                             อยู่ยาวยืดยิ้มยืนยัน
ต่างเพศต่างผิวพรรณ                           แต่ใจนั้นไม่ต่างใจ
(๑๐)   ศูนย์รวมคือพ่อหลวง                 ร้อยรักปวงดวงใจไทย
ทุกพระองค์คือธงชัย                             ร้อยดวงใจจอมจักรี
(๑๑)   ราชันขวัญสยาม                                    ปิ่นเพชรงามปักธานี
ร่มพระบารมี                                        ศรีไผทฉัตรชัยชน
(๑๒)   ไตรรงค์ธงชัยโชค                    ลอยอวดโลกโบกลมบน
ขวัญฟ้าขวัญตายล                               ขวัญกมลมงคลชัย
(๑๓)   กรุงเทพคือกรุงธรรม                งามเลิศล้ำด้วยน้ำใจ
งามนอกไม่หลอกใคร                          พร้อมงามในจริงใจครัน
(๑๔)   สยามจึงงามพร้อม                    หัวใจหอมไม่หุนหัน
เกลียดใครไม่นานวัน                           แต่รักนั้นนานไม่วาง
 (๑๕)   ขัดแย้งแต่ไม่แยก                     แม้ต่างแตกไม่แตกต่าง
เจียมใจไว้ไม่จาง                                              คุณใครสร้างค้างใจจำ
(๑๖)   เมืองไทยคือเมืองทอง                ขอพี่น้องครองรักนำ
ถ้าไทยไม่ทิ้งธรรม                               ไทยสุขล้ำฉ่ำชื่นไทย
(๑๗)   เมื่อนี้ตราบเมื่อหน้า                  คงคู่หล้าฟ้าดินกษัย
เกษมสุขสิ้นทุกข์ภัย                                        ชมชื่อไทยไป่สิ้นเทอญ.





มุมแนะนำ