มุมแนะนำ

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

กลไกการรักษาดุลยภาพ



กลไกการรักษาดุลยภาพ
1.  การรักษาดุลยภาพของน้ำในพืช คือ การควบคุมสมดุลระหว่างการคายน้ำออกที่ปากใบกับการดูดน้ำเข้าที่ราก
2.การรักษาดุลยภาพของน้ำในร่างกายคน  ไต เป็นอวัยวะไนการรักษาดุลยภาพของน้ำและสารต่างๆ ในร่างกาย  ไตแต่ละข้าง ประกอบด้วย หน่วยไต ซึ่งเป็นท่อเล็กๆ พันรอบด้วยเส้นเลือดฝอย เมื่อเลือดเข้าสู่ไตฝานทางหลอดเลือดเข้าไต ซึ่งแตกแขนงเป็นกลุ่มของหลอดเลือดฝอย เรียกว่า โกลเมอรูลัส น้ำเลือดและโมเลกุลสารต่างๆ จะออกจากบริเวณนี้ แล้วผ่านรูเล็กๆ เข้าสู่ท่อหน่วยไต แต่เซลล์เม็ดเลือดและอนุภาคขนาดใหญ่จะไม่ออกมา ของเหลวที่ผ่านสู่ท่อหน่วยไต ส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมกลับจะไหลไปยั้งท่อปัสสาวะและออกมาในรูปของปัสสาวะ
หมายเหตุ สมองส่วนไฮโพทาลามัส ท่าหน้าที่ควบคุมสมดุลของน้ำในเลือด
* เมื่อร่างกายขาดน้ำ ท่าให้เลือดข้น ความดันเลือดลดลง สมองส่วนนี้จะกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนท้าย ให้หลั่งฮอร์โมนแอนติไดยูริก (Antidiuretic Hormone/ ADH หรือเรียกว่า วาโซเปรสชิน) เพื่อไปกระตุ้นให้ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับเข้าสู่หลอดเลือด เพื่อให้น้ำในเลือดสูงขึ้น
* ถ้าร่างกายมีน้ำมากเกินไป สมองส่วนนี้จะยับยั้งการหลั่ง ADH การดูดน้ำกลับน้อยลง
3.  การรักษาดุลยภาพของกรด-เบส ในร่างกายคน
ร่างกายมีการรักษาดุลยภาพของกรด-เบสในเลือด โดยการควบคุมไฮโดรเจนไอออน (H+) การหายใจระดับเซลล์ มีผลต่อระดับ H+ ในเลือดมากที่สุด เพราะว่าจะเกิดก๊าซ CO2 ซึ่งรวมตัวกับน้ำในเซลล์เม็ดเลือดแดง เกิดเป็นกรดคาร์บอนิก ซึ่งจะแตกตัวได้ H+ กับไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน
ดังนั้น ถ้าร่างกายมีระดับเมแทบอลิซึมสูง (ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ในร่างกาย) ท่าให้มีก๊าซ CO2 เกิดขึ้นมากจึงทำให้ H+ ในเลือดสูงขึ้น ส่งผลให้ pH ในเลือดต่ำลง หน่วยไตจะซับ H+
ส่วนเมื่อ pH ในเลือดสูงก็จะเกิดกระบวนการตรงข้าม
4. การรักษาดุลยภาพของนาและแร่ธาตุในสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
      *    สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่อาศัยในน้ำ เช่น อะมีบา พารามีเซียม มีโครงสร้างเรียกว่า ดอนแทร็กไทล์แวคิวโอล (Contractile Vacuole) ทำหน้าที่ กำจัดนำและของเสียออกจากเซลล์ โดยรวบรวมน้ำส่วนเกินไว้ภายใน แล้วเคลื่อนที่ไปชิดเยื้อหุ้มเซลล์ เพื่อปล่อยออกสู่ภายนอก
      *    ปลาน้ำจืด : น้ำจะเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านเข้าทางปากพร้อมกับอาหารและทางเหงือก ดังนั้น ปลาน้ำจืดจึงต้องขับน้ำออกทางปัสสาวะบ่อยๆ แต่ค่อนข้างเจือจาง ส่วนแร่ธาตุจะสูญเสียทางเหงือก จึงมีเซลล์พิเศษที่เหงือกคอยดูดชิมแร่ธาตุที่จำเป็นกลับคืน โดยลำเสียงแบบใช้พลังงาน
*  ปลาทะเล : แร่ธาตุจากน้ำทะเลจะเข้าสู่ร่างกายพร้อมกับอาหาร แต่จะไม่มีการดูดซึม ผิวหนังและเกล็ด จะป้องกันแร่ธาตุไม่ให้ซึมเข้าสู่ร่างกาย และที่เหงือกจะมีเซลล์พิเศษ ทำหน้าที่ขับถ่ายแร่ธาตุส่วนเกินออก ดังนั้น ปลาน้ำเค็มจึงปัสสาวะน้อยแต่มีความเข้มข้นสูง
*  นกทะเล มีต่อมนาซัล สำหรับขับเกลือออกในรูปน้ำเกลือเข้มข้นทางรูจมูกและปาก
5. การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิภายในร่างกาย (อุณหภูมิปกติ 35.8 - 37.7 C)
* เมื่ออากาศร้อน ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิที่สมองส่วนไฮโพทาลามัส จะกระตุ้น ดังนี้
   1.ลดอัตราเมแทบอสิชิม และการเผาผลาญอาหารในเซลล์ดับและเซลล์ไขมัน
   2.หลอดเสือดูฝอยบริเวณผิวหนังจะขยายตัว ผิวมิสีแดงและต่อมเหงื่อขับเหงื่อเพิ่มขึ้น
   3.กล้ามเนื้อที่ยืดโคนเส้นขนจะคลายตัว ทำให้ขนเอนราบ
* เมื่ออากาศเย็น ศูนย์ควบคุมอุณหภูมิที่สมองส่วนไฮโพทาลามัส จะกระตุ้น ดังนี้
    1.เพิ่มอัตราเมแทบอลิซึม และการเผาผลาญอาหาร
2.หลอดเสือดูฝอยบริเวณผิวหนังจะหดตัว ผิวจึงมีสีซีดและลดการทำงานของต่อมเหงื่อ
        3.กล้ามเนื้อที่ยืดโคนเส้นขนจะหดตัว ดึงให้ขนลุก เพื่อช่วยกั้นอากาศ
หมายเหตุ    สัตว์เลือดอุ่น หมายถึง สัตว์ที่รักษาอุณหภูมิของร่างกายให้เกือบคงที่ได้ตลอดเวลา เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์ปีก
สัตว์เลือดเย็น หมายถึง สัตว์ที่ไม่มีกลไกการรักษาอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่แต่จะแปรผันตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม เช่น สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ สัตว์เลื้อยคลาน

ภูมิคุ้นกันของร่างกาย



ภูมิคุ้นกันของร่างกาย
ในบริเวณต่างๆ ของร่างกาย เช่น ช่องปาก ช่องคอ ลำไสใหญ่ ช่องคลอดและผิวหนัง จะมีแบคทีเรียทีไม่ก่อให้เกิดโรค แต่สามารถควบคุมการเจริญของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคได้
เชลล์เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ป้องกันและทำลายแอโรค โดยสร้างมาจากไขกระดูก เนื้อเยื่อน้ำเหลอง และต่อมน้ำเหลือง ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ตามหน้าที่ ดังนี้
1.  กลุ่มฟาโกไซต์ (phagocyte) มีวิธีการทำลายแอนติเจนโดยใช้เยื่อหุ้มเซลล์โอบล้อมเชื้อโรคแล้วนำเข้าสู่เซลล์เพื่อย่อยสลายด้วยเอนไซม์จากไลโซโซม
2. กลุ่มลิมโฟไซต์(lymphocyte) ทำหน้าที่ สร้างแอนติบอดี ซึ่งเป็นสารโปรตีน ทำหน้าที่ต่อต้านแอนติเจน โดยจะจับกับแอนติเจน ทำให้เกาะกันเป็นก้อน จึงหมดความเป็นพิษ
ระบบน้ำเหลือง ประกอบด้วย
1. อวัยวะน้ำเหลือง เป็นแหล่งผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาว ประกอบด้วย
        *   ต่อมน้ำเหลือง เช่น คอ (เรียกว่า ทอนซิล) รักแร้ โคนขา มีลักษณะเป็นรูปไข่
        *   ม้าม เป็นอวัยวะน้ำเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ใต้กะบังลมด้านซ้าย
        *   ต่อมไทมัส เป็นเนื้อเยื่อน้ำเหลืองทำหน้าที่ สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวกล่มลิมโฟไซต์
2. น้ำเหลือง เป็นของเหลวที่ซึมผ่านผนังเส้นเลือดฝอย และไหลเวียนผ่านท่อน้ำเหลือง
3. ท่อน้ำเหลือง มีทั่วร่างกายและมีขนาดต่างๆ กัน
ร่างกายเรามีภูมีคุ้มกันตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ โดยสร้างแอนติบอดีได้เองและได้รับจากแม่ และเมื่อคลอดจะได้จากการดื่มนมแม่
จึงจำเป็นต้องได้รับภูมคุ้มกันเพิ่มเติม โดยแบ่งเป็น
วัคชีน     *       ผลิตจากเชื้อโรคที่ถูกท่าให้อ่อนกำลัง เช่น วัณโรค โปลิโอ หัด
*       ผลิตจากจุลินทรีย์ที่ตายแล้ว เช่นไอกรน ไทฟอยด์ อหิวาตกโรค
*       ผลิตจากสารพิษที่หมดพิษหรือทอกซอยด์ เช่น คอตีบ บาดทะยัก
การสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย
ภูมิคุ้มกัน หมายถึง ความสามารถของร่างกายที่จะต่อต้านและทำลายเชื้อโรคที่จะทำให้ร่างกายเกิดโรคระยะฟักตัวของเชื้อโรค หมายถึง ระยะเวลานับตั้งแต่เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย จนกระทั่งแสดงอาการของโรคออกมา
แอนติเจน (antigen) หมายถึง สิ่งแปลกปลอมที่ผ่านเข้าสู่ภายในรางกาย
แอนติบอด (antibody) หมายถึง สารโปรตีนที่ร่างกายสร้างขึ้นมาต่อต้าน ทำลายแอนติเจน
เมื่อฉีดเข้าร่างกายจะเข้าไปเป็นแอนติเจน ที่กระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดีเพื่อต่อต้านเชื้อโรคหรือสารพิษนั้น โดยใช้เวลา
ประมาณ 4-7 วัน หลังจากฉีดครั้งแรก ร่างกายจะผลิตแอนติบอดี แต่จะมีความเข้มข้นลดลงเรื่อยๆ จึงต้องมีการฉีดกระตุ้น จนผลิต
แอนติบอดีเพียงพอ ยกเว้น วัคซีนบีซีจี ป้องกันวัณโรค ฉีดเพียงครั้งเดียวก็ป้องกันโรคได้ และต้องฉีดทันทีหลังคลอด
เซร่ม : ผลิตจากแอนติบอดีโดยตรง เพื่อฉีดให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันทันที เตรียมได้จากการฉีดเชื้อโรคที่อ่อนกำลังเข้าไปในสัตว์
เพื่อให้ร่างกายของสัตว์ ได้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านเชื้อโรค แล้วจึงนำเลือดเฉพาะส่วนที่เป็นของเหลวใส ซึ่งจะมีแอนติบอดี มา
ฉีดให้กับผู้ป่วย



วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา



ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับศาสนา
1.ศาสนา เป็นลัทธิความเชื่ออย่างหนึ่งของมนุษย์ เป็นคำสอนด้านศีลธรรม เกี่ยวกับบาป-บุญ ความดี-ความชั่ว เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ เป็นหลักให้คนเราอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
2.ประเภทของศาสนา แบ่งตามความเชื่อเรื่องเทพเจ้า
                2.1 เทวนิยม คือ สานาที่เชื่อว่าเทพเจ้าสร้างโลกและสรรพสิ่ง หากเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว จัดเป็นศาสนาประเภท เอกเทวนิยม (เช่น คริสต์ และ อิสลาม) แต่ถ้าเชื่อในเทพเจ้าหลายองค์ จุดเป็นประเภท พหุเทวนิยม (เช่น พราหมณ์-ฮินดู)
                2.2 อเทวนิยม คือ ศาสนาที่ไม่มีความเชื่อเรื่องเทพเจ้าสร้างโลกหรือสรรพสิ่ง ทุกสิ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติ แต่อาจเชื่อว่าพระเจ้ามีอยู่จริง เช่น พุทธศาสนา
3.ศาสนาแบ่งตามแหล่งผู้นับถือ
                3.1 ศาสนาสากล คือ ศาสนาที่มีผู้นับถือในหลายประเทศ เช่น คริสต์ อิสลาม พุทธ
                3.2 ศาสนาท้องถิ่น คือ ศาสนาที่มีผู้นับถือเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ เช่น ฮินดู(อินเดีย) ยูดาห์(อิสราเอล) ชินโต(ญี่ปุ่น)
4.องค์ประกอบของศาสนา ได้แก่
                1.ศาสดา คือ ผู้ก่อตั้ง หรือประกาศศาสนา
                2.หลักคำสอน หรือ คัมภีร์ มีการจัดรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่ โดยมีจุดม่งหมายร่วมกันในทุกศาสนาคือ “สั่งสอนให้คนเป็นคนดี” จุดมุ่งหมายสำคัญอยู่ที่ “ความดีงาม”
                3.ศาสนพิธี คือ การประกอบพิธีต่างๆ เพื่อให้มีบรรยากาศของความศักดิ์สิทธิ์ เรียกความศรัทธา
                4.นักบวช ซึ่งในบางศาสนาไม่มีนักบวช เช่น อิสลาม และศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์
                5.ศาสนสถาน คือ สถานที่ที่ศาสนิกชนมาปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาร่วมกัน เป็นศูนย์กลางชุมชนศาสนา เช่น วัด โบสถ์ มัสยิด
                6.สัญลักษณ์ คือ เอกลักษณ์เฉพาะของศาสนา
                                พุทธ สัญลักษณ์ คือ ธรรมจักร
                                คริสต์ สัญลักษณ์ คือ ไม้กางเขน
                                อิสลาม สัญลักษณ์ คือ พระจันทร์เสี้ยว และดาวหนึ่งดวง
                                พราหมณ์-ฮินดู สัญลักษณ์ คือ โอม

พระพุทธศาสนา
1.เป็นศาสนาประเภท อเทวนิยม
2.ศาสดา คือ พระสมณโคดมพุทธเจ้า หรือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า
3.คัมภีร์ : พระไตรปิฎก ซึ่งประกอบด้วย 3 ปิฎก (3 หมวด) คือ
                1.พระวินัยปิฎก เกี่ยวกับ ระเบียบวินัย ศีล สิกขาบท ของพระภิกษุสามเณร(พระภิกษุถือศีล 227 ข้อ สามเณรถือศีล 10 ข้อ)
                2.พระสัตตันตปิฎก (พระสูตร) เกี่ยวกับ เรื่องราวประกอบธรรมะ
                3.พระอภิธรรมปิฎก เกี่ยวกับ หลักธรรมล้วนๆ
4.นิกาย : มี 2 นิกายสำคัญ
                1.นิกายเถรวาท (หินยาน) : ลักษณะเด่นคือ
                                - เคร่งครัดในพระวินัยและสิกขาบทต่างๆ ไม่แก้ไขพระวินัยข้อใดเลย
                                - นับถือพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์แต่เพียงแค่องค์เดียว (คือ พระสมณโคดมพุทธเจ้า)
                                - เน้นปฏิบัติธรรมช่วยเหลือตนเองให้พ้นทุกข์ ก่อนช่วยเหลือคนอื่น
                                - แพร่หลายในประเทศ ไทย ศรีลังกา พม่า ลาว กัมพูชา
                2.นิกายอาจาริยวาท (มหายาน) : ลักษณะเด่นคือ
                                - แก้ไขพระวินัยและพระสิกขาบท บางข้อ เข่น ฉันอาหารเย็นได้ , ใส่จีวรหลากหายรูปแบบบและหลากหลายสีสัน (บางนิกายย่อย พระมีเมีย มีลูกได้)
                                - นับถือพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์หลายองค์ เน้นสวดมนต์อ้อนวอนขอพรจากพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์เหล่านั้น เช่น พระอมิตาภะพุทธเจ้า, พระอวโลกิเตศวรมหาโพธิสัตว์ (กวนอิม), พระศรีอริยเมตไตรยมหาโพธิสัตว์ เป็นต้น
                                - เน้น ปฏิบัติธรรมช่วยเหลือคนอื่นให้พ้นทุกข์ก่อนตนเอง (เน้นบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์)
                                - แพร่หลายในประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม มองโกเลีย ภูฏาน ธิเบต
5.กระบวนการแสวงหาความจริงสูงสุดเพื่อนำไปสู่การหลุดพ้น ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จสัมมาสัมพุทธเจ้า หลังจากออกผนวชด้วยพระองค์เอง ณ ริมฝั่งแม่น้ำอโนมา พระพุทธเจ้าได้ทรงทำสิ่งต่างๆเรียงตามลำดับต่อไปนี้
                1.ศึกษากับอาจารย์(ฝึกปฏิบัติโยคะ) ได้สำเร็จฌานสมาบัติ 7 จากอาฬารดาบส และได้ฌานสมาบัติ 8 จากอุทกดาบส
                2.บำเพ็ญตบะ คือ การทรมานตนเองให้ลำบาก เช่น เปลือยกายตากลมและฝน แช่น้ำเย็นจัดวันละสามเวลา ไม่ฉันเนื้อปลา ฉันมูลโค นอนบนหนามแหลม ยืนแขย่งเท้า เป็นต้น
                3.ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา คือ การกระทำที่ทำได้ยากยิ่ง ใน 3 ขั้น คือ กัดฟัน กลั้นลมหายใจ และอดอาหาร (ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ)
                4.ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิต(เดินทางสายกลาง คือ มัชฌิมาปฏิปทา)
6.อริยสัจ 4 : ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ (ธรรมที่นำไปสู่การพ้นทุกข์ ใช้แก้ไขปัญหาชีวิต)
                1.ทุกข์ : ผล : คือสภาวะทนได้ยาก ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
                2.สมุทัย : เหตุ : คือเหตุแห่งทุกข์ อันได้แก่ ตัณหา
                3.นิโรธ : ผล : คือสภาวะดับทุกข์ หรือ นิพพาน (นิพพานในชาตินี้ คือ การที่จิตละจากกิเลสตัณหา)
                4.มรรค : เหตุ : คือเหตุแห่งดับทุกข์ หรือ วิธีดับทุกข์
7.ปฐมนิเทศ(วันอาสาฬบูชา) : พระพุทฑเจ้าทรงแสดงธรรมโปรดปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ในหัวข้อธรรมชื่อ “ธัมมจักกัปปวัตนสูตร” ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ
                1.ทางสุดโต่ง 2 ทางที่ทำให้ไม่บรรลุธรรม ได้แก่ “กามสุขัลลิกานุโยค” หมายถึงการหมกมุ่นอยู่ในกาม และ “อัตตกิลมถานุโยค” หมายถึงการทรมานตนให้ลำบากโดยไร้ประโยชน์
                2.ทางสายกลาง(มัชฌิมาปฏิปทา) ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ อันได้แก่ มรรค 8
                3.อริยสัจ 4
                4.ทรงสรุป และ อัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นเอตทัคคะในด้านรัตตัญญู คือเป็นผู้รู้ธรรมก่อนใครในพระพุทธศาสนาและได้บวชก่อนผู้อื่น
8.ไตรสิกขา หรือ มรรค 8 ประการ : การฝึกฝนอบรมตนเอง 3 ขั้น
                1.ศีลสิกขา : การอบรมกาย วาจา ให้สงบเรียบร้อย เป็นปรกติ ได้แก่
                                - สัมมากัมมันตะ คือ กระทำชอบ ทำแต่ความดี ทำแต่สิ่งที่สุจริต
                                - สัมมาวาจา คือ วาจาชอบ พูดชอบ พูดแต่สิ่งดีๆ
                                - สัมมาอาชีวะ คือ เลี้ยงชีพชอบ ประกอบอาชีพสุจริต
                2.สมาธิสิกขา หรือ จิตสิกขา : การอบรมจิตใจ ให้สงบเรียบร้อย เป็นปกติได้แก่
                                - สัมมาสมาธิ คือ จิตตั้งมั่นชอบ จิตสงบไม่ฟุ้งซ่าน
                                - สัมมาสติ คือ ระลึกรู้ตัวชอบ ไม่หลงใหล
                                - สัมมาวายะมะ คือ ความเพียรวะรังตนชอบ ไม่ให้ทำความชั่วและหมั่นรักษาความดีให้ดียิ่งขึ้น
                3.ปัญญาสิกขา : การอบรมปัญญา ให้เกิดความรู้แจ้ง ได้แก่
                                - สัมมาสังกัปปะ คือ คิดชอบ คิดแต่สิ่งดีสุจริต
                                - สัมมาทิฐิ คือ มีความเห็นชอบ มีความเห็นถูกต้องตามทำนองคลองธรรมของหลักศาสนาพุทธ เช่น เชื่อในอริยสัจ 4 เชื่อในกฎแห่งกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เชื่อในสังสารวัฏ การเวียนว่าย ตายเกิด
9.ขันธ์ 5 : องค์ประกอบแห่งชีวิตมนุษย์ 5 ประการ คือ
                1.รูป (รูปธรรม) คือ รูปร่างร่างกายของมนุษย์อันประกอยด้วยธาตุ 4 คือ ดิน (เนื้อหนังมังสา กระดูก ร่างกายของเรา) น้ำ (เลือด น้ำหนอง น้ำลาย ในร่างกาย) ลม (แก๊สในร่างกาย ในกระเพาะอาหาร) ไฟ (อุณหภูมิความร้อนของร่างกาย)
                2.เวทนา (นามธรรม) คือ ความรู้สึก มี 3 ประการคือ สุข ทุกข์ เฉยๆ
                3.สัญญา (นามธรรม) คือ ความจำได้หมายรู้ กำหนดรู้สิ่งต่างๆ ได้โดยไม่หลงลืม
                4.สังขาร (นามธรรม) คือ ความคิด ที่จะปรุงแต่งจิตให้กระทำสิ่งต่างๆ
                5.วิญญาณ (นามธรรม) คือ อารมณ์การรับรู้ของจิต ผ่านทางช่องทางการรับรู้ทั้ง 6 (อายตนะ 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ไม่ใช่ภูตผีปีศาจใดๆทั้งสิ้น
10.นิยาม 5 คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมทุกสิ่ง ได้แก่
                1.อุตุนิยาม (Physical Laws) คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับความเป็นไปของปรากฏการณ์ในธรรมชาติ เกี่ยวกับวัตถุที่มีมีชีวิตทุกชนิด เช่น ปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ (เทียบได้กับวิชาฟิสิกส์)
                2.พีชนิยาม (Biological Laws) คือ กฎธรรมชาติที่ครอบคลุมความเป็นไปของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์ (เทียบได้กับวิชาชีววิทยา)
                3.จิตนิยาม (Psychic Laws) คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของจิต
                4.กรรมนิยาม (Karmic Laws) คือ กฎแห่งเหตุผล การให้ผลของกรรม
                5.ธรรมนิยาม (General Laws) คือ กฎธรรมชาติเกี่ยวกับความเป็นเหตุเป็นผลของสรรพสิ่ง ครอบคลุมกฎข้ออื่นทั้งหมดที่กล่าวมา
11.ศาสนาพุทธเชื่อในผลของกรรม (การกระทำที่เกิดจากการจงใจ) ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอยๆ
12.ไตรลักษณ์ (สามัญญลักษณ์) : ลักษณะสามัญของสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกทั้งมีชีวิตและไม่มีชีวิตจะเป็นไป ตามกฎ 3 ประการนี้ คือ
                - อนิจจัง : สรรพสิ่งล้วนไม่เที่ยงแท้แน่นอน ล้วนต้องมีการเปลี่ยนแปลง
                - ทุกขัง : สรรพสิ่งล้วนทนได้ยาก เป็นทุกข์ทรมาน
                - อนัตตา : สรรพสิ่งล้วนไม่มีตัวตน เราควบคุมมันไม่ได้
13.สติปัฏฐาน 4 คือ ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งสติ ใช้พิจารณาสิ่งทั้งหลาย เป็นทางสายเอกที่นำไปสู่การหลุดพ้น ได้แก่
                - กายานุปัสนาสติปัฏฐาน คือการใช้สติจับที่กาย พิจารณาอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง ใช้สติจับลมหายใจ (อานาปาสติ)
                - เวทนานุปัฏฐาน คือ การใช้สติพิจารณาความรู้สึกสุข ทุกข์ หรือ เฉยๆ ความรู้สึกล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา
                - จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน คือ การพิจารณาจิตดูว่ามีราคะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน หรือเป็นสมาธิ
                - ธรรมมานุปัสสนาปัฏฐาน คือ การใช้สติพิจารณาธรรม เช่น ขันธ์ 5 นิวรณ์ 5 อายตนะ อริยสัจ 4 เป็นต้น
14.วันสำคัญทางพุทธศาสนา
                1.วันวิสาขบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6) เป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน จึงเรียกว่า “วันพระพุทธ” และองค์การสหประชาชาติตั้งให้เป็น ”วันสันติภาพโลก”
                2.วันอาสาฬบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ) พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาที่เรียกว่า “ธัมมมจักกัปปวัตนสูตร” ซึ่งรวมอริยสัจ 4 ไว้ด้วย วันนี้เกิดพระสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรก ทำให้พระรัตนตรัยครบสามองค์ เรียกวันนี้ว่า “วันพระสงฆ์)
                3.วันมาฆบูชา (ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) เป็นวัน “จาตุรงคสันนิบาต” พระพุทธองค์แสดง “โอวาทปาติโมกข์” หรือ “โอวาท 3” ซึ่งถือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา วันนี้เรียกว่า “วันพระธรรม”
15.ศาสนพิธี 4 หมวด ได้แก่
                1.กุศลพิธี คือ พิธีบำเพ็ญกุศล เช่น พิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ พิธีรักษาศีลอุโบสถ พิธีเวียนเทียน
                2.บุญพิธี คือ พิธีบำเพ็ญบุญ เช่น พิธีแต่งงาน พิธีขึ้นบ้านใหม่
                3.ทานพิธี คือ พิธีถวายทาน เช่น ทานวัตถุ 10 อย่าง
                4.ปกิณกพิธี คือ พิธีเบ็ดเตล็ด เช่น พิธีแสดงความเคารพ การประเคนของ การกรวดน้ำ และคำอาราธนาคำถวายทานต่างๆ
16.พุทธสาวก พุทธสาวิกา และชาวพุทธตัวอย่าง
                - พระอัสสชิ ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้อ่อนน้อมถ่อมตน กิริยาน่าเลื่อมใส ท่านเป็นพระอาจารย์ของพระสารีบุตร
                - พระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวาผู้มีปัญญาล้ำเลิศ
                - พระโมคคัลลานะ อัครสาวกเบื้องซ้ายผู้มีกำลังมาก
                - พระอานนท์ เป็นพหูสูต รู้ข้อธรรมทุกเรื่อง
                - พระมหากัสสปะ เป็นพระธุดงค์ เป็นประธานการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรก
                - พระกีสาโคตรมีเถรี เอตทัคคะในทางทรงจีวรเศร้าหมอง เป็นผู้ถือธุดงควัตรเคร่งครัด มีความเป็นอยู่เรียบง่าย
                - หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นผู้มีความเสียสละ กตัญญู เป็นที่รักของปวงชน เป็นบรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ เป็นผู้นำในการถวายจีวรพระ
                - นางวิสาขา มหาอุบาสิกา ผู้นำในการถวายผ้าอาบน้ำฝน
                - ท่านอนาคาริก ธรรมปาละ (ชาวศรีลังกา) ผู้ทวงสิทธิพุทธคยา จากผู้ครอบครองชาวฮินดู
                - ดร.เอ็มเบ็ดการ์ ต่อสู้กับระบบวรรณะ จนกลายเป็นชาวพุทธตัวอย่าง

ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู
1.เป็นศาสนาประเภทพหุเทวนิยม นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เช่น พระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม
2.พระเจ้า : มีสูงสุด 3 องค์ (ตรีมูรติ) คือ พระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม
3.ศาสดา : ไม่มี
4.คัมภีร์ : คัมภีร์พระเวท แบ่งออกเป็น 4 เล่ม คือ ฤคเวท ยชุรเวท ไตรเวท อาถรรพเวท
5.นิกาย : มี 3 นิกายสำคัญ คือ
                1.นิกายไศวะ :  นับถือพระศิวะ(พระอิศวร) เป็นพระเจ้าสูงสุดในตรีมูรติ และนิยมบูชา ศิวลึง เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ
                2.นิกายไวษณพ : นับถือพระวิษณุ(พระนารายณ์) เป็นพระเจ้าสูงสุดในตรีมูรติ และนิยมบูชา องค์อวตารปางต่างๆของพระวิษณุ ที่อวตารลงมาปราบอสูร เช่น พระรามจันทร์ พระกฤษณะ พระกัลกี เป็นต้น
                3.นิกายศักติ : นับถือ ชายาของพระเจ้าองค์ต่างๆ ว่าทรงไว้ซึ่งศักติ(พลังหรืออำนาจ) แห่งพระสวามี และมนุษย์สามารถเข้าถึงได้ง่ายกว่า ของพรได้ง่ายกว่า ศักติหรือพระชายาพระเจ้าที่เป็นที่นับถือ เช่น
                                - พระอุมา ชายาของพระศิวะ ซึ่งมีอิทธิฤทธิ์ สามารถอวตารเป็น พระนางทุรคา พระนางกาลี เพื่อไปปราบอสูร
                                - พระลักษมี ชายาของพระวิษณุ (ได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพแห่งโชคลาภ)
                                - พระสุรัสวดี ชายาของพระพรหม (ได้รับการยกย่องว่าเทพเจ้าแห่งอักษรศาสตร์และศิลปวิทยาการต่างๆ เพราะเป็นผู้ประดิษฐ์อักษรเทวนาครี)
                                **** ปัจจุบันในประเทศอินเดีย ไม่นิยมบูชาพระพรหม จึงไม่มีนิกายพรหม****
6.หลักธรรมสำคัญ
                1.หลักปรมาตมัน – อาตมัน และ โมกษะ ถือเป็นหลักธรรมชั้นสูงของศาสนาพราหมณ์ฮินดู
1.1 ปรมาตมัน คือ วิญญาณสูงสุดหรือพระเจ้าสูงสุด ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของชีวิตทั้งหลาย
1.2 อาตมัน คือ วิญญาณย่อย อันเป็นอมตะไม่มีวันแตกดับ อยู่ในร่างกายมนุษย์ทั้งหลาย เวลามนุษย์ตาย จะตายแต่เพียงร่างกาย แต่อาตมัน จะเป็นอมตะไม่มีวันแตกดับ ซึ่งอามัน จะเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อยๆ จนกว่าจะบรรลุโมกษะ
1.3 โมกษะ คือ สภาวะแห่งการหลุดพ้น อาตมันของมนุษย์แต่ละคน จะได้กลับไปรวมกับปรมาตมันและไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีกเลย
                2.หลักตรีมูรติ : พระเจ้าสูงสุดมี 3 องค์ แต่ทำหน้าที่ต่อโลกแตกต่างกันออกไป คือ
                                2.1 พระพรหม : หน้าที่สร้างโลกสร้างมนุษย์ ชาวฮินดูเชื่อว่าเมื่อพระพรหมสร้างโลกแล้ว จะนอนหลับชั่วกัปชั่วกัลป์ ชั่วอายุขัยของโลก และจะตื่นขึ้นมาใหม่เพื่อสร้างโลกสร้างมนุษย์ เมื่อโลกและมนุษย์ หมดอายุขัยถูกทำลายล้างแล้ว(ทำให้ชาวฮินดูในประเทศอินเดียไม่นิยมบูชาพระพรหม แต่จะบูชาพระศิวะและพระวิษณุมากกว่า)
                                2.2 พระศิวะ(พระอิศวร) : หน้าที่ทำลายโลก ด้วย “ตรีเนตร”ดวงตาที่สามของพระศิวะซึ่งสถิตอยู่กลางหน้าผากของพระศิวะ
                                2.3 พระวิษณุ(พระนารายณ์) : หน้าที่คุ้มตรองโลก ด้วยการอวตารลงมาปราบยักษ์ปราบมาร
                3.หลักอาศรม 4 : วัยแห่งชีวิต 4 วัย ซึ่งแต่ละวัยจะทำหน้าที่เฉพาะของวัยตนเอง
                                1.พรหมจารี: วัยเด็ก หน้าที่คือ เรียนหนังสือหาความรู้ และศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์พระเวทเพื่อจะได้นำความรู้ไปใช้ทำงานหาเลี้ยงตนเองและครอบครัวต่อไป
                                2.คฤหัสถ์: วัยผู้ใหญ่ หน้าที่คือ ครองเรือน แต่งงานมีครอบครัวสืบทอดวงศ์ตระกูล และทำงานหาเลี้ยงครอบครัวให้สมบูรณ์
                                3.วานปรัสถ์: วัยกลางคน หน้าที่คือ ทำงานช่วยเหลือสังคมช่วยเหลือผู้อื่นในสังคมและหมั่นปฏิบัติธรรมให้มากขึ้น เพื่อเตรียมสู่อาศรมสุดท้ายของชีวิต
                                4.สันยาสี: วัยชรา หน้าที่คือ ออกบวชสละชีวิตทางโลก ไปอยู่ตามป่าตามเขา บำเพ็ญตบะโยคะ เพื่อแสวงหาโมกษะ
                4.หลักวรรณะ 4 : มนุษย์มี 4 ชนชั้นเพราะเกิดจากพรหมสร้างขึ้นมาจากอวัยวะของพระพรหมที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงมีอาชีพที่แตกต่างกัน
                                4.1 วรรณะพราหมณ์ เกิดจาก ปาก ของพระพรหม อาชีพคือ เป็นนักบวชท่องงบ่นสวดมนต์คัมภีร์พระเวท และเป็นครูอาจารย์สั่งสอนคัมภีร์แก่วรรณะอื่นๆ
                                4.2 วรรณะกษัตริย์ เกิดมาจาก มือ ของพระพรหม อาชีพคือ เป็นนักรบนักปกครอง คอยคุ้มครองคนดีและปราบปรามคนชั่ว
                                4.3 วรรณะไวศยะ(แพศย์) เกิดจาก หน้าท้อง ของพระพรหม อาชีพคือ เป็นพ่อค้าวานิชเกษตรกรรมชาวไร่ ชาวนา
                                4.4 วรรณะศูทร เกิดจาก เท้า ของพระพรหม อาชีพคือ เป็นกรรมกรผู้ใช้แรงงาน คอยทำงานรับใช้วรรณะทั้ง 3
                *** จัณฑาล คือ คนที่ไม่มีวรรณะ ต่ำต้อยและเป็นที่รังเกียจที่สุดในสังคมฮินดู เกิดจากพ่อแม่ที่แต่งงานข้ามวรรณะ โดยเฉพาะแม่เป็นวรรณะพราหมณ์ พ่อเป็นวรรณะศูทร***
7.เป้าหมายชีวิตของศาสนาฮินดู : โมกษะ


ศาสนาคริสต์
1.เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าองค์เดียว
2.พระเจ้า : พระยะโฮวา (นับถือรวมไปถึงพระเยซูคริสต์ว่าเป็นภาคหนึ่งของพระเจ้าด้วย)
3.ศาสดา : พระเยซูคริสต์ **เป็นทั้งศาสนดาและภาคหนึ่งของพระเจ้า**
4.คัมภีร์ : คัมภีร์ไบเบิล ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ภาค คือ
                1.ภาคพันธะสัญญาเดิม เป็นคัมภีร์สำคัญของศาสนายูดาย(ศาสนายิว)ด้วย ว่าด้วยเรื่องพระเจ้า สร้างโลกและสร้างมนุษย์คู่แรก(อาดัมและเอวา) เรื่องโนอาต่อเรือหนีน้ำถ่วมโลก เรื่องโมเสสนำชาวยิวอพยบออกจากอียิป์
                2.ภาคพันธะสัญญาใหม่ เป็นคำสอนของพระเยซู โดยเฉพาะ ว่าด้วยเรื่องความรักของพระเจ้าต่อมนุษย์ และสอนให้มนุษย์รักซึ่งกันและกัน ให้อภัยต่อกัน
5.นิกาย : มี 3 นิกายสำคัญ
                1.นิกายโรมันคาธอลิค (คนไทยเรียก ”คริสตัง”)
                                1.1 นับถือพระสันตะปาปา(Pope) เป็นประมุขของคริสตจักร และมีนักบวช (เช่น บาทหลวง บราเดอร์
ซิสเตอร์)
                                1.2 เน้นบูชาสวดมนต์ต่อแม่พระมารีอา และต่อบรรดานักบุญ(Saint) ทั้งหลาย
                                1.3 มีพิธีกรรมหรูหราหลายขั้นตอน โบสถ์ตกแต่งสวยงามหรูหรา และยอมรับปฏิบัติติตามศีล 7 ประเภท(คือ 1.ศีลล้างบาป 2.ศีลมหาสนิท 3.ศีลแก้บาป 4.ศีลกำลัง 5.ศีลเจิมคนป่วย 6.ศีลสมรส 7.ศีลบวช)
                                1.4 ไม้กางเขนมีองค์พระเยซูตรึงอยู่กลางไม้กางเขน                        
                                1.5 แพร่หลายในยุโรปใต้ เช่น ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน โปรตุเกส และในทวีปอเมริกาใต้ เช่น บราซิล อาร์เจนตินา
                2.นิกายโปรแตสแตนท์ (คนไทยเรียก “คริสเตียน)
                                1.1 ไม่มีนักบวช (มีแต่ ศาสนจารย์) และไม่นับถือพระสันตะปาปา เป็นประมุข
                                1.2 ไม่บูชานับถือพระแม่มารีอา ไม่นับถือนับบุญ **บูชานับถือแต่พระเยซูคริสต์เท่านั้น**
                                1.3 เน้นพิธีกรรมที่เรียบง่าย โบสถ์ตกแต่งเรียบง่าย และยอมรับปฏิบัติตามศีลเพียงแค่ 2 ประเภทเท่านั้น คือ 1.ศีลล้างบาป(หรือศีลจุ่ม) และ 2.ศีลมหาสนิท(พิธีกินขนมปังและดื่มไวน์)
                                4.ไม้กางเขนไม่มีองค์ประเยซูตรึงอยู่กลางไม้กางเขน เป็นไม้กางเขนเปล่าๆ
                                5.แพร่หลายในยุโรปตะวันตกและยุโรปเหนือ เช่น อังกฤษ เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ เยอรมัน และสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
                3.นิกายออร์โธดอกซ์
                                1.มีนักบวชแต่ไม่นับถือพระสันตะปาปาเป็นประมุข(ในแต่ละประเทศจะมีพระสังฆราช ที่เรียกว่า “Pratriach” เป็นประมุขประเทศใครประเทศมัน
                                2.เน้นบูชานับถือแม่พระมารีอาและนักบุญทั้งหลาย
                                3. มีพิธีกรรมหรูหรา หลายขั้นตอน
                                4.แพร่หลายในยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย กรีก โรมาเนีย(ไม่แพร่หลายในไทย)
6.หลักธรรมสำคัญ
                1.หลักความรัก **หัวใจแห่งศาสนาคริสต์** มี 2 ระดับ คือ
                                1.1ระดับสูง : ความรักระหว่างพระเจ้าต่อมนุษย์(พระเจ้าทรงรักมนุษย์มาก)
                                1.2ระดับกลาง : ความรักระหว่างมนุษย์ต่อมนุษย์ด้วยกันเอง มนุษย์ต้องรักกันเพราะเป็นพี่น้องกันทั้งโลก(เพราะมนุษย์เกิดจากบรรพบุรุษร่วมกันคือ อาดัมและเอวา)
                2.หลักตรีกานุภาพ(Trinity) เชื่อว่าพระเจ้าสูงสุดมีพระองค์เดียว แต่ได้ทรงแบ่งภาคออกเป็น 3 ภาค คือ
                                2.1 พระบิดา คือ พระยะโฮวา ซึ่งเป็นพระผู้สถิตอยู่ในสรวงสวรรค์ เป็นผู้สร้างโลกสร้างมนุษย์ขึ้นมา
                                2.2 พระบุตร คือ พระเยซูคริสต์ ซึ่งเสด็จลงมาเกิดในโลกมนุษย์ เพื่อไถ่บาปให้มนุษย์
                                2.3 พระจิต(พระวิญญาณบริสุทธิ์) คือ ภาคของพระเจ้าที่สถิตอยู่ในทุกที่ ทรงล่วงรู้ความเป็นไปทุกอย่างของมนุษย์
                3.หลักอาณาจักรพระเจ้า มี 2 ระดับ
                                3.1ระดับโลกนี้ ซึ่งมนุษย์สามารถเข้าถึงได้ในชาตินี้ คือโบสถ์หรือคริสตจักรนั่นเอง
                                3.2 ระดับโลกหน้า ซึ่งมนุษย์จะเข้าถึงได้ในโลกหลังความตาย คือ สวรรค์ของพระเจ้า ที่ซึ่งมนุษย์จะมีชีวิตเป็นนิรันดร มีแต่ความสุข และไม่ต้องตายอีกเลย
**** ศาสนาคริสต์ไม่เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีชาติที่แล้ว ไม่มีชาติหน้ามนุษย์เกิดหนเดียวตายหนเดียว****
                4.หลักบาปกำหนด
                                4.1 มนุษย์มีบาปกำเนิดติดตัว บาปนี้สืบมาจากบรรพบุรุษคู่แรกคือ อาดัมและเอวา ที่ได้ทำบาปครั้งแรกเอาไว้คือ ขโมยผลไม้ศักดิ์สิทธิ์ของพระเจ้ามากิน
                                4.2 ชาวคริสต์ทุกคนทุกนิกาย จึงต้องรับศีลล้างบาป(ศีลจุ่ม) เพื่อล้างบาปกำเนิด เป็นศีลแรกของชีวิต
7.เป้าหมายชีวิตของศาสนาคริสต์ : อาณาจักรพระเจ้า การได้มีชีวิตนิรันดรอยู่ในอาณาจักรพระเจ้า


ศาสนาอิสลาม
1.เป็นศาสนาประเภทเอกเทวนิยม นับถือพระเจ้าองค์เดียว
**ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาที่ไม่มีนักบวช และไม่มีรูปเคารพ ไม่มีเครื่องรางของขลังใดๆ**
2.พระเจ้า : อัลลลอฮ
3.ศาสดา : นบีมูฮัมหมัด
4.คัมภีร์ :  คัมภีร์อัลกุรอาน
5.นิกาย :  มี 3 นิกายสำคัญ
                1.นิกายซุนนี
                                1.1 ยึดมั่นและปฏิบัติตามจารีตการดำเนินชีวิต(ซุนนะ) ของนบีมูฮัมหมัดอย่างเคร่งครัด
                                1.2 ยอมรับผู้นำศาสนาว่ามีแค่ 4 คน หลังจากนบีมูฮัมหมัดสิ้นพระชนม์ (คือ 1.ท่านอบูบักร 2.ท่านอุมัร 3.ท่านอุสมาน และ 4.ท่านอาลี)
                                1.3 แพร่หลายมากที่สุด มุสลิมส่วนใหญ่ทั่วโลกนับถือนิกายนี้ (รวมถึงมุสลิมในไทยส่วนใหญ่ ก็นับถือ นิกายนี้ด้วย)
                2.นิกายชีอะห์
                                2.1 นับถือท่านอาลีและลูกหลานของท่านอาลี ว่าเป็นผู้นำศาสนาที่ถูกต้องง (เพราะท่านอาลีเป็นทั้งบุตรบุญธรรมและบุตรเขยของท่านนบีมูฮัมหมัด)
                                2.2 แพร่หลายใน อิหร่าน อิรัก เยเมน
                3.นิกายวาฮาบีย์
                                3.1 เป็นนิกายใหม่ล่าสุดในศาสนาอิสลาม
                                3.2 เน้นความสำคัญและความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์อัลกุรอาน มากๆ คือ ห้ามตีความและห้ามแก้ไข คัมภีร์อัลกุรอาน
                                3.3แพร่หลายใน ซาอุดิอาระเบีย คูเวต เป็นต้น
6.หลักธรรมสำคัญ :
                1.หลักศรัทธา 6 ประการ มุสลิมต้องศรัทธาใน 6 สิ่งว่ามีจริง
                                1.1 ศรัทธาใน พระอัลลอส ว่ามีจริง และทรงเป็นพระเจ้าสูงสุดแต่เพียงองค์เดียว
                                1.2 ศรัทธาใน ศาสดา(นบีหรือรอซูล) ทั้งหลาย ซึ่งมีหลายท่าน เช่น นบีอาดัม นบีอิบรอฮีม(ฮับบราฮัม)นบีมูซา(โมเลส)นบีอีซา(พระเยซู) และนบีมูฮัมหมัด ซึ่งเป็นนบีคนสุดท้าย
                                1.3 ศรัทธาในคัมภีร์ทั้งหลาย ซึ่งมีหลายเล่มเช่น พระคัมภีร์เดิมของศาสนายูดาย พระคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์ และพระคัมภีร์อัลกุรอาน ซึ่งเป็นคัมภีร์สุดท้ายของพระอัลลอส ประทานให้มนุษย์
                                1.4 ศรัทธาในเทวทูต(มลาอีกะห์) ซึ่งเป็นเทพบริวารของพระอัลลอฮ
                                1.5 ศรัทธาในวันพิพากษาโลก(วันกียามะห์) ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของโลกและมนุษย์ ที่พระอัลลอฮจะทรงพิพากษาการกระทำของมนุษย์ทั้งหลาย  
                                1.6 ศรัทธาใน กฎสภาวะแห่งพระอัลลอฮ ซึ่งได้ทรงกำหนดไว้ในมนุษย์ยอมรับกฎเหล่านั้น เช่น กฎธรรมชาติ ที่โลกจะต้องมีฤดูการณ์ต่างๆหรือกฎแห่งกรรม ถ้าทำดี พระอัลลอฮ จะทรงอวยพรให้ แต่ถ้าทำชั่ว พระอัลลอฮ จะทรงลงโทษ
                2.หลักปฏิบัติ 5 ประการ มุสลิมต้องปฏิบัติใน 5 สิ่งนี้ อย่างเคร่งครัด คือ
                                2.1 กาปฏิบัติตน มุสลิมต้องปฏานตนว่ามีพระอัลลอฮ เป็นพระเจ้าสูงสุดแต่เพียงองค์เดียว
                                2.2 การละหมาด คือการนมัสการและแสดงความนอบน้อมต่อพระอัลลอฮ ซึ่งมุสลิมที่เคร่งครัดและมีเวลาจะละหมาดวันละ 5 ครั้ง
                                2.3 การถือศีลอด ในเดือนศักดิ์สิทธิ์ของชาวมุสลิมทั่วโลก คือเดือนรอมฎอน โดยมุสลิมจะอดอาหารและน้ำในเวลาพระอาทิตย์ขึ้นยันพระอาทิตย์ตกดิน เพื่อให้รู้จักรสชาติความอดอยากหิวโหย และจะได้ช่วยเหลือคนยากจน
                                2.4 การบริจาคซะกาต เพื่อให้คนรวยได้ช่วยเหลือคนจน
                                2.5 การประกอบพิธีฮัญ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย หลักปฏิบัตินี้เป็นหลักปฏิบัติที่เคร่งครัดน้อยที่สุด เพราะไม่ต้องทำทุกคน ให้ทำได้เฉพาะมุสลิมที่มีความพร้อมเท่านั้น
***ศาสนาอิสลามไม่เชื่อเรื่องการเวียนว่ายตายเกิด ไม่มีชาติที่แล้ว ไม่มีชาติหน้า มนุษย์เกิดหนเดียวตายหนเดียว***
7.เป้าหมายชีวิตของศาสนาอิสลาม : การเข้าถึงพระอัลลอฮ

               

มุมแนะนำ