มุมแนะนำ

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โปรโตคอลคืออะไร

     การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ให้เป็นเครือข่ายด้วยสายสัญญาณนั้นเป็นขั้นตอนที่ง่ายของการสร้างเครือข่าย แต่ส่วนที่ท้าทายคือ การพัฒนามาตรฐานเพื่อให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายที่ผลิตโดยบริษัทต่างๆ สามารถ ติดต่อสื่อสารกันได้ ซึ่งมาตรฐานนี้ก็คือ โปรโตคอล (Protocol) หรือสรุปสั้นๆ    โปรโตคอลคือ กฎ ขั้นตอน และรูป แบบของข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่องใดๆ ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย

     ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของโปรโตคอล เช่น การสื่อสารกันโดยใช้โทรศัพท์ ซึ่งจะมีขั้นตอนต่างๆ ที่ต้อง ทำก่อนที่จะพูดคุยกันได้ เช่น โดยส่วนใหญ่คำแรกที่พูดเมื่อใช้โทรศัพท์คือ "ฮัลโหล" หรือคำทักทายของภาษา ท้องถิ่นอื่นๆ การทักทายกันนี้เป็นสัญญาณให้คู่สนทนาทราบว่าการเชื่อมต่อกันสำเร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ

     อีกฝ่ายจะตอบด้วยคำว่า "ฮัลโหล" เช่นกัน ซึ่งจะเป็นสัญญาณบอกให้ทราบอีกว่าการติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ ทั้งสองทาง ถ้าทั้งสองฝ่ายที่สนทนากันรู้จักกันมาก่อน การสนทนาก็จะเข้าสู่เรื่องได้ทันที แต่ถ้าหากว่าทั้งสอง ฝ่ายยังไม่รู้จักกัน ก็จะมีขั้นตอนหรือโปรโตคอลอื่นเพิ่มอีก เพื่อช่วยให้ทั้งสองฝ่ายรู้จักกันก่อนที่จะเริ่มเรื่องที่จะ สนทนากันจริงๆ

     การสนทนากันของคอมพิวเตอร์ก็ไม่ได้แตกต่างจากตัวอย่างข้างต้นมากนัก การเชื่อมต่อกันของ คอมพิวเตอร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสร้างระบบเครือข่าย แต่การสื่อสารที่มีความหมาย เซ่น การแชร์กันใช้ ทรัพยากรของแต่ละฝ่ายทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมบูรณ์วิวัฒนาการของเครือข่ายถือได้ว่าเป็นการปฏิว้ติ ครั้งใหญ่ของโครงสร้างของเทคโนโลยีสารสนเทศ

     โปรโตคอลของเครือข่ายบางทีอาจเรืยกว่า "สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture)" เนื่อง จากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นระบบที่ซับซ้อนมาก ทำให้ยากต่อการออกแบบโดยคนๆ เดียว หรือคนกลุ่มเดียว เพื่อให้การพัฒนาระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและง่ายขึ้น จึงมีการแบ่งโปรโตคอลออก เป็นชั้นๆ หรือ เลเยอร์ (Layer) การทำงานในแต่ละเลเยอร์จะไม่ซํ้าซ้อนกัน ซึ่งเลเยอร์ที่อยู่ตํ่ากว่าจะทำหน้าที่ ให้บริการ (Service) กับชั้นที่อยู่สูงกว่า โดยเลเยอร์ที่อยู่สูงกว่าไม่จำเป็นต้องทราบถึงรายละเอียดว่าเลเยอร์ ที่อยู่ตํ่ากว่ามีวิธีให้บริการอย่างไร เพียงแค่รู้ว่ามีบริการอะไรบ้าง และแต่ละบริการคืออะไรก็เพียงพอ ซึ่งแนว ความคิดนี้จะเรียกว่า "เทคโนโลยีเลเยอร์ (Layer Technology)"

เอ็กส์ตราเน็ต (Extranet)

     เอ็กส์ตราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเตอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ตราเน็ตคือ เครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกัน ระหว่างสององค์กรหรือบริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยว กับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ตราเน็ตจะเน้นที่ ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูลรวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูล และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้

อินทราเน็ท (Intranet)

     ตรงกันข้ามกับอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้าง เครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็น เครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้นการแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเตอร์เน็ต องค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์ข้อมูลในอินเตอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้

     เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต พน้กงานของบริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเพื่อการ ค้นหาข้อมูลหรือทำธุรกิจต่างๆ การใช้โปรโตคอล TCP/IP ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากที่ห่างไกลได้ (Remote Access) เช่น จากที่บ้าน หรือในเวลาที่ต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ การเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต โดยการใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์ ก็เหมือนกับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต แต่แตกต่างกันที่เป็นการเชื่อม ต่อเข้ากับเครือข่ายส่วนบุคคลแทนที่จะเป็นเครือข่ายสาธารณะอย่างเช่นอินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่อกันได้ ระหว่างอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตถือเป็นประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง

     ระบบการรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่แยกอินทราเน็ตออกจากอินเตอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ต ขององค์กรจะถูกปกป้องโดยไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่กรอง ข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตเมื่อทั้งสองระบบมีการเชื่อมต่อกัน ดังนั้นองค์กร สามารถกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมการเข้าใช้งานอินทราเน็ตได้

     อินทราเน็ตสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ในองค์กรได้หลายอย่าง ความง่ายในการตีพิมพ์บนเว็บ ทำให้เป็นที่นิยมในการประกาศข่าวสารขององค์กร เช่นข่าวภายในองค์กรกฎ ระเบียบ และมาตรฐาน การปฏิบัติงาน ต่างๆ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการเข้าถึงฐานข้อมูลขององค์กรก็ง่ายเช่นกัน ผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่าย และ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซอฟต์แวร์ที่เรียกว่ากรุ๊ปแวร์ (Groupware) เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของอินทราเน็ต เพราะเป็นซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้สมาชิกในกลุ่มทำงานร่วมกันในโปรเจ็กต์ที่ได้รับมอบหมาย แลกเปลี่ยนข้อมูล ประชุมระยะไกล (Video Conferencing) และสร้างระเบียบปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการทำงานได้ด้วย ''ซอฟต์แวร์ฟรี เช่น นิวส์กรุ๊ป (newsgroups) ยิ่งกระตุ้นการขยายตัวของเครือข่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งความยิ่งใหญ่ ของอินเตอร์เน็ตทำให้อินทราเน็ตขยายตัวขึ้นเช่นกัน ความง่ายในการเลือกแชร์ข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร ระหว่างบุคคลยิ่งจะทำให้การใช้อินทราเน็ตเป็นที่นิยมมากขึ้นเท่านั้น

อินเทอร์เน็ต (Internet)


     อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลกซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบ และยังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี อินเตอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูล ต่างๆ ที่ถูกตีพิมพํในอินเตอร์เน็ตได้ อินเตอร์เน็ตเชื่อมแหล่ง-ข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเตอร์ เน็ตช่วยในการทำการค้า เซ่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ซึ่งเป็นอีก ซ่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก ส่วนข้อเสียของอินเตอร์เน็ตคือ ความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลก เปลี่ยนผ่านอินเตอร์เน็ตได้

     อินเตอร์เน็ตใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า "TCP/IP (Transport Connection Protocol/Internet Protocol)" ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้เป็นผลจากโครงการหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครง การนื่มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ในปี ค.ศ. 1975 จุดประสงค์ ของโครงการนี้เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันและภายหลังจึงได้กำหนดให้เป็นโปรโตคอลมาตรฐาน ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

     ในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็น เจ้าของอย่างแท้จริง การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตต้องเชื่อมต่อผ่านองค์กรที่เรืยกว่า "ISP (Internet Service Provider)" ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็น เครือข่ายสาธารณะจึงไม่มีหลักประกันความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งผ่านอินเตอร์เน็ต นั่นคือ ข้อมูลทุกอย่าง ที่ส่งผ่านเครือข่าย ทุกคนสามารถดูได้ นอกเสียจากจะมีการเข้ารหัสลับซึ่งผู้ใช้ต้องทำเอง

เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ (Client/server Network)

     ถ้าระบบเครือข่ายมีคอมพิวเตอร์จำนวนไม่มากนัก ควรสร้างเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์เนื่องจากง่าย และค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า แต่เมื่อเครือข่ายมีการขยายใหญ่ขึ้น จำนวนผู้ใช้มากขึ้น การดูแลและจัดการระบบ ก็จะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เครือข่ายจำเป็นที่ต้องมีเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่จัดการเรื่องต่างๆ และให้บริการอื่นๆ เครื่อง เซิร์ฟเวอร์นั้นควรที่จะเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงและสามารถให้บริการกับผู้ใช้ได้หลายๆ คนในเวลาเดียว กัน และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการเข้ามาใช้บริการและทรัพยากรต่างๆ ของผู้ใช้ เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบที่ส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นมาตรฐานของการสร้างเครือข่ายใน ปัจจุบันแล้ว
     ถึงแม้ว่าการติดตั้ง การกำหนดค่าต่างๆ และการดูแลและจัดการเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ จะค่อนข้างยากกว่าแบบเพียร์ทูเพียร์ก็ตาม แต่เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ก็มีข้อได้เปรียบอยู่หลายข้อ ดังต่อไปนี้
     เซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่ให้บริการด้านต่างๆ แก่ผู้ใช้ ในขณะเดียวกันก็ควบคุมและรักษาความปลอดภัย ข้อมูลด้วย เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์จะรวมศูนย์การดูแลและจัดการเครือข่ายพร้อมทั้งควบคุมการเข้า ถึงข้อมูลและทรัพยากรที่มีการแชร์ในเครือข่าย เนื่องจากว่าทรัพยากรเหล่านี้ถูกเก็บรวมไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ จึงทำให้ง่ายต่อการด้นหาและจัดการมากกว่าทรัพยากรที่ถูกเก็บไว้กระจัดกระจายตามเครื่องไคลเอนท์ต่างๆ เหมือนดังในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์
     ความปลอดภัยของข้อมูลอาจเป็นหนึ่งในจุดประสงค์หลักที่ทำให้ต้องเลือกเครือข่ายแบบไคลเอนท์ เซิร์ฟเวอร์ เพราะในสภาวะแวดล้อมอย่างนี้ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดนโยบายการรักษาความปลอดภัย และ บังคับใช้กับผู้ใช้ทุกคนในเครือข่ายได้ ทำให้การรักษาความปลอดภัยง่ายขึ้น
     ข้อมูลถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กรถ้าข้อมูลเกิดความเสียหายอาจมืผลกระทบต่อ องค์กรมาก ความเสียหายที่อาจเกิดกับข้อมูลนั้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่เราสามารถป้องกันความเสียหาย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ วิธีหนึ่งก็คือการสำรองข้อมูล เพื่อเมื่อเซิร์ฟเวอร์ล้มเหลวก็สามารถกู้คืนได้ การเก็บสำรอง ข้อมูลสามารถทำได้วันละหลายๆ ครั้ง หรือสัปดาห์ละครัง ขึ้นอยู่กับความสำคัญของข้อมูลและความถี่ของ การเปลี่ยนแปลงข้อมูล ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดให้เซิร์ฟเวอร์ทำการบันทึกข้อมูลสำรองโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะตั้ง ณ จุดใดในเครือข่าย
     เนื่องจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มีโปรแกรมอเนกประสงค์ที่ใช้ในการจัดการเครือข่ายหลายอย่าง จึงทำให้ เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์สามารถรองรับผู้ใช้ได้เป็นพันๆ คน ซึ่งในสภาพแวดล้อมอย่างนี้ไม่สามารถ ทำได้ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจากการจัดการเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นั้นไม่ใช่แบบรวมศูนย์ ทำให้การจัดการผู้ใช้นับพันนั้นเป็นงานที่เป็นไปไม่ได้




เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer Network)

     เครือข่ายประเภทนี้จะไม่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์และไม่มีการแบ่งชั้นความสำคัญของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อม ต่อเข้ากับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีสิทธิเท่าเทียมกันในการจัดการใช้เครือข่าย ซึ่งเรียกว่า เพียร์ (Peer) นั่นเอง คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์แล้วแต่การใช้งานของผู้ใช้ เครือข่ายประ๓ทนี้ ไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลและจัดการระบบ หน้าที่นี้จะกระจายไปยังผู้ใช้แต่ละคน เนื่องจาก ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเป็นคนกำหนดว่าข้อมูลหรือทรัพยากรใดบ้างของเครื่องนั้นที่ต้องการแชร์กับ ผู้ใช้คนอื่นๆ
     การใช้งานแบบเพียร์ทูเพียร์ บางทีก็เรียกว่า "เวิร์คกรุ๊ป (Workgroup)" หรือกลุ่มของคนที่ทำงาน ร่วมกันเป็นทีม ซึ่งส่วนมากจะมีจำนวนน้อยกว่าสิบคน เครือข่ายประ๓ทนี้จะเป็นแบบง่ายๆ ไม่ซับช้อนมาก เนื่องจากคอมทิวเตอร์ทุกเครื่องทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นที่ต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งมีราคาแพงมาก ดังนั้นราคารวมของเครือข่ายจึงถูกกว่าเครือข่ายแบบไคลเอนทํเซิร์ฟเวอร์ เพราะต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีราคาแพงทำหน้าที่จัดการเครือข่าย
     ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชันและระบบ รักษาความปลอดภัยเท่ากับระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เซ่น ระบบปฏิบติการที่ใซในคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์อาจจะใช้แค่วินโดวล์95/98/Me ในขณะที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์อาจต้องใช้วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2000/2003 ซึ่งราคาของระบบปฏิบัติการนี้จะแพงกว่ากันมาก
  • เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังต่อไปนี
  • มีผู้ใช้เครือข่าย 10 คน หรือน้อยกว่า
  • มีทรัพยากรเครือข่ายที่ต้องแซร์กันไม่มากนัก เซ่น ไฟล์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งยังไม่จำเป็นต้อง มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่ทางด้านนี้โดยเฉพาะ
  • ยังไม่มีความจำเป็นในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
  • การขยายตัวของเครือข่ายไม่มากนักในอนาคตอันใกล้
    เมื่อสถานการณ์เป็นดังที่ว่านี้ ก็ควรที่จะสร้างเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจากเหมาะลมกว่าที่ จะสร้างเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ามากถึงแม้ว่าเครือข่ายแบบ เพียร์ทูเพียร์นี้จะเหมาะกับเครือข่ายขององค์กรขนาดเล็ก แต่ก็ไม่เหมาะสมกับทุกๆ สภาพแวดล้อมเสมอไป สำหรับองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายใช้ ควรที่จะมีบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลและจัดการระบบ ซึงจะทำ หน้าที่ดังต่อไปนี้
  • ให้การช่วยเหลือผู้ใซ้เกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ และการใช้เครือข่าย
  • ดูแลข้อมูลและกำหนดการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
  • สร้างการแชร์ทรัพยากรต่างๆ
  • ดูแลรักษาซอฟต์แวร์ เช่น การติดตั้งและอัพเกรดซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมทั้งระบบปฏิบัติการ
  • บำรุงรักษาอุปกรณ์เครือข่าย และแก้ปัญหาต่างๆ ของเครือข่าย
     ในเครือข่ายหนึ่งผู้ใซ้ทุกคนสามารถกำหนดการแชร์ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครื่องตัวเองได้ ซึ่งทรัพยากร เหล่านี้จะรวมถึงไดเร็คทอรืที่จะแชร์ในฮาร์ดดิสก์ตัวเอง เครื่องพิมพ์ แฟกซ์ เป็นต้น ในสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป ของเครือข่ายแบบเพิยร์ทูเพียร์นั้นผู!ช้ที่เป็นเจ้าของเครื่องจะใช้ทรัพยากรส่วนใหญ่ของคอมพิวเตอร์ตัวเองส่วน ผู้ใช้คนอื่นจะใช้ทรัพยากรบางส่วนผ่านทางเครือข่าย แต่ถ้าเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะใช้ทรัพยากรส่วนใหญ่เพื่อ ให้บริการกับผู้ใช้ผ่านทางเครือข่าย ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่มีคนใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ นอกจากผู้ดูแลระบบทีใช้เครือง ในการจัดการต่างๆ เท่านั้น
     การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล หมายถึง การทำให้ข้อมูลปลอดจากการนำไปใช้โดยผู้ที่ไม่ได้ รับอนุญาตหรือมีสิทธี้ ส่วนวิธีการนั้นอาจมีหลายวิธี เช่น การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล หรือกำหนดรหัสลับใน การเข้าใช้ข้อมูลที่ได้แชร์ไว้ เป็นต้น ในสภาพแวดล้อมแบบเพียร์ทูเพียร์ ผู้ใช้แต่ละคนต้องกำหนดรหัสลับกับ ทุกทรัพยากรที่แชร์ไว้ ซึ่งวิธีการนี้ก็ทำให้ไม่สามารถรวมศูนย์ควบคุมเพื่อการรักษาความปลอดภัย การทำเช่น นี้อาจก่อให้เกิดช่องโหว่ เพราะผู้ใช้บางคนอาจจะไม่ได้กำหนดระดับความปลอดภัยในเครื่องตัวเองเลย ถ้าหาก ความปลอดภัยของข้อมูลมีความสำคัญ เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์จะเหมาะสมกว่า เพราะง่ายต่อการ รักษาความปลอดภัย
     เนื่องจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายประเภทนี้จะทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นผู้ใช้แต่ละคนควรที่จะได้รับการแกอบรมให้เป็นได้ทั้งผู้ใช้และผู้ดูแลระบบในเวลาเดียวกันซึ่งอาจจะเป็น การยากเนื่องจากผู้ใซ้แต่ละคนอาจมีงานอื่นที่ต้องทำมาก





ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามหน้าที่ของคอมพิวเตอร์

ประเภทของเครือข่ายยังลามารถจำแนกได้โดยใช้ลักษณะการแชร์ข้อมูลของคอมพิวเตอร์ หรือหน้าที่ของ คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องเป็นเกณฑ์ในการแบ่งประเภทของเครือข่าย ซึ่งเมื่อใช้หลักการนี้แล้วเราสามารถแบ่ง เครือข่ายออกได้เป็น 2 ประ๓ทคือ

  • เครีอข่ายแบบเท่าเทียม (Peer-to-peer Network)
  • เครือข่ายแบบผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ (Client/server Network)

หน้าที่ของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายยังแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้

  • เซอร์ฟเวอร์ (Server) คือคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ ให้แก,คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
  • ไคลเอนท์ (Client) คือคอมพิวเตอร์ที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ของเซิร์ฟเวอร์

        โดยปกติเมื่อมีคอมพิวเตอร์หลายๆเครื่องถูกเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายแล้วมักจะมีคอมพิวเตอร์เครื่อง หนึ่งที่เป็น "เซิร์ฟเวอร์" ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการต่างๆ เซ่น เป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บข้อมูล ไฟล์ หรือ โปรแกรมต่างๆ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับทรัพยากรที่อยู่ในระบบเครือข่าย เช่น เครื่องพิมพ์ CD-ROM เป็นต้น ซึ่งการใช้ทรัพยากรเหล่านี้ร่วมกันทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในอุปกรณ์เหล่านี้ได้ ล่วน คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์เพื่อที่จะใช้บริการดังกล่าวเรืยกว่า "ไคลเอนท์” การที่เซิร์ฟเวอร์จะให้ บริการแก่ผู้ใช้หลายๆ คนจำเป็นต้องเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพดีพอ ดังนั้นเครื่องที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ปกติจะมีราคา แพงกว่าเครื่องไคลเอนท์ทั่วไป

        ในระบบเครือข่ายขนาดเล็กที่มีคอมพิวเตอร์จำนวนไม่กี่เครื่อง ไม่จำเป็นต้องมีคอมพิวเตอร์ที่ทำ หน้าที่เป็นเซิร์ฟเวอร์อย่างเดียวเลมอไป การสื่อสารอาจเป็นไปในรูปแบบเพียร์ทูเพียร์ หรือคอมพิวเตอร์แต่ละ เครื่องทำหน้าที่เป็นทั้งเซิร์ฟเวอร์และไคลเอนทํในเวลาเดียวกัน คำว่า "Peer" แปลว่าเท่าเทียมกัน ดังนั้น เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะทำหน้าที่คล้ายกัน คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายแบบนี้ยังคง สามารถที่จะรับส่งข้อมูลถึงกันและกันได้สามารถถ่ายโอนไฟล์ไปยังฮาร์ดดิสก์ของอีกเครื่องหนึ่งได้หรือแม้แต่ ใช้เครื่องพิมพ์ร่วมกันได้ อย่างไรก็ตามเมื่อเครือข่ายมีการขยายใหญ่ขึ้น การมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะมีความ สะดวกต่อการจัดการระบบเครือข่าย เช่น การจัดการพื้นที่เก็บข้อมูล การควบคุมการใช้เครื่องพิมพ์ และการ อัพเกรดโปรแกรมต่างๆ เป็นต้น

        เครือข่ายทั้งสองประ๓ทคือ เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ และเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์นั้นมี ข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ซึ่งการเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของเครือข่าย สิ่งที่ต้องพิจารณามีดังนี้

  • จำนวนผู้ใช้ หรือจำนวนคอมพิวเตอร์
  • การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
  • การดูแลและจัดการระบบ
  • ปริมาณข้อมูลที่รับส่งผ่านเครือข่าย
  • ความต้องการใช้ทรัพยากรเครือข่ายของผู้ใช้แต่ละคน
  • งบประมาณ

ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามขนาดทางภูมิศาสตร์

        ถ้าใช้ขนาดทางกายภาพเป็นเกณฑ์ เครือข่ายสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประ๓ทคือ LAN หรือ เครือข่ายท้องถิ่น และ WAN หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง LAN เป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณจำกัด เช่น ภายในห้อง หรือภายในอาคารหนึ่ง หรืออาจจะครอบคลุมหลายอาคารที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน เช่น ในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย ซึ่งบางทีก็เรียกว่า "เครือข่ายวิทยาเขต (Campus Network)" จำนวนของคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันใน LAN อาจมีตั้งแต่สองเครื่องไปจนถึงหลายพ้นเครื่อง ส่วน WAN เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุม บริเวณกว้าง เช่น ในพื้นที่เมือง หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ เช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

        หนังสือบางเล่มจะแบ่งเครือข่ายเป็น LAN, MAN, WAN ซึ่ง MAN (Metropolitan Area Network) เป็นเครือข่ายขนาดกลางระหว่าง LAN และ WAN และครอบคลุมพื้นที่เมือง ในช่วงหลังๆ เทคโนโลยีที่ใช้ใน MAN เป็นเทคโนโลยีเดียวกับเทคโนโลยีของ WAN ดังนั้นจึงได้จัดให้ MAN เป็นเครือข่ายประ๓ทเดียวกันกับ WAN ดังนั้นถ้าหนังสือเล่มใดอธิบายเกี่ยวกับ MAN ก็จะหมายถึงเครือข่ายประ๓ท WAN ในหนังสือเล่มนี้

เครือข่ายท้ออถี่น (Local Area Network)

        LAN (Local Area Network) เป็นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป กล่าวคือ เกือบทุกๆ เครือข่ายต้องมี LAN เป็นองค์ประกอบ เครือข่ายแบบ LAN อาจเป็นได้ตั้งแต่เครือข่ายแบบง่ายๆ เช่น มี คอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อกันด้วยสายลัญญาณไปจนถึงเครือข่ายที่ซับซ้อนเช่นมีคอมพิวเตอร์เป็นร้อยๆ เครื่องและมีอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ อีกมากแต่ลักษณะสำคัญของ LAN ก็คือเครือข่ายจะครอบคลุมพื้นที่จำกัด รูปที่ 1.13 แสดงเครือข่ายท้องถิ่นที่ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์สี่เครื่อง และมีเครื่องพิมพ์ที่แชร์กันใช้ เครื่อง เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการจัดการเครือข่าย ซึ่งเครือข่ายจะรวมกันอยู่ในห้องปฏิบัติการ

        เทคโนโลยี LAN มีหลายประ๓ท เช่น Ethernet, ATM, Token Ring, FDDI เป็นต้น แต่ที่นิยมกัน มากที่สุดในปัจจุบันคือ อีเธอร์เน็ต (Ethernet) ซึ่งในอีเธอร์เน็ตเองยังจำแนกออกได้หลายประ๓ทย่อย ขึ้น อยู่กับความเร็ว โทโปโลยี (Topology) และสายสัญญาณที่ใช้ เทคโนโลยี LAN แต่ละประเภทมีทั้งข้อดีข้อเสีย ที่แตกต่างกัน การเลือกใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ควรให้เหมาะกับลักษณะการใช้งานเครือข่ายขององค์กร ซึ่งจะได้ อธิบายข้อดีข้อเสียของแต่ละประ๓ทต่อไป

อเธอร์เน็ต (Ethernet)

        อเธอร์เน็ต (Ethernet) ได้ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1970 และยังคงเป็นเทคโนโลยีชั้นนำของ เครือข่ายท้องถิ่น อีเธอร์เน็ตตั้งอยู่บใ4มาตรฐานการส่งข้อมูลหรือโปรโตคอล CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) โปรโตคอลนี้ถูกใช้สำหรับการเข้าใช้สื่อกลางในการส่งสัญญาณที่แชร์กัน ระหว่างสถานีหรือโหนดต่างๆ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ เมื่อโหนดใดๆ ต้องการที่จะส่งข้อมูลจะต้องคอยฟังก่อน (Carrier Sense) ว่ามีโหนดอื่นกำลังส่งข้อมูลอยู่หรือไม ถ้ามีให้รอจนกว่าเครื่องนั้นส่งข้อมูลเสร็จก่อน แล้วค่อย เรื่มส่งข้อมูล และในขณะที่กำลังส่งข้อมูลอยู่นั้นต้องตรวจสอบว่ามีการซนกันของข้อมูลเกิดขึ้นหรือไม่ (Collision Detection) ถ้ามีการชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นให้หยุดทำการส่งข้อมูลทันที แล้วค่อยเริ่มกระบวนการ ส่งข้อมูลใหม่อีกครั้ง เนื่องจากอีเธอร์เน็ตจะใช้สื่อกลางร่วมกัน ซึ่งเรียกว่า "บัส (Bus)" ฉะนั้นจึงมีโหนดที่ส่ง ข้อมูลได้แค่โหนดเดียวในขณะใดขณะหนึ่ง การซนกันของข้อมูลเกิดขึ้นเนื่องจากมีมากกว่าหนึ่งโหนดที่ทำการ ส่งข้อมูลไปบนสื่อกลางในเวลาเดียวกัน ผลที่'ได้คือ ข้อมูลจะกลายเป็นขยะหรืออ่านไม่ได้ทันที เมื่อมีจำนวน โหนดเพิ่มมากขึ้นความน่าจะเป็นที่ข้อมูลจะซนกันก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ

        ตามมาตรฐานแล้วอีเธอร์เน็ตจะมีอัตราการส่งข้อมูลหรือแบนดํวิธที่ 10 Mbps (สิบล้านบิตต่อวินาที) ในขณะที่ฟาสต่อีเธอร์เน็ต (Fast Ethernet) มีการทำงานคล้ายๆ กัน เพียงแต่มีอัตราข้อมูลที่สูงกว่า 10 เท่า หรือ 100 Mbps ส่วนกิกะบิตอีเธอร์เน็ต (Gigabit Ethernet) มีอัตราข้อมูลสูงสุดคือ 1,000 Mbps หรือ 1 Gbps และในขณะที่กำลังเขียนหนังสือเล่มนี้กำลังมีการพัฒนาอีเธอร์เน็ตที่ความเร็ว 10 Gbps ซึ่งเรืยกว่า เทน กิกะบิตอีเธอร์เน็ต (10G Ethernet)

        นอกจากข้อแตกต่างในเรื่องของความเร็วแล้ว อีเธอร์เน็ตยังแบ่งย่อยออกเป็นแชร์อีเธอร์เน็ต (Shared Ethernet) และสวิตช์อีเธอร์เน็ต (Switched Ethernet) โดยแชร์อีเธอร์เน็ตมีการใช้ตัวกลางร่วมกันคล้ายๆ กับถนน ที่มีเลนเดียว ดังนั้นจึงมีรถวิ่งบนถนนได้แค่คันเดียวในขณะใดขณะหนึ่ง ในความหมายเครือข่ายก็คือ ในขณะใด ขณะหนึ่งจะมีแค่สถานีเดียวที่สามารถส่งข้อมูลได้ อุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้สำหรับแชร์อีเธอร์เน็ตคือ อับ (Hub) ส่วน สวิตช์อีเธอร์เน็ต (Switched Ethernet) จะเปรียบได้กับถนนที่มีหลายเลน ดังนั้นจึงมีรถหลายคันที่สามารถวิ่งบน ถนนได้ในเวลาเดียวกัน ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้*'เนสวิตช์อีเธอร์เน็ตก็คงจะเป็นสวิตช์นั่นเอง

โทเคนริง (Token Ring)

        เครือข่ายแบบโทเคนริง (Token Ring) ซึ่งจะมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบวงแหวนนี้ ถือได้ว่าเป็น เครือข่ายที่กำลังล้าสมัยเพราะมีการใช้น้อยลง โทเคนริงนิยมมากในการสร้างเครือข่ายสมัยแรกๆ เนื่องจาก ข้อดีของการส่งข้อมูลในเครือข่ายแบบนี้จะไม่มีการชนกันของข้อมูล เหมือนกับเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต แต่ข้อ เสียของเครือข่ายประ๓ทนี้จะอยู่ที่ความสามารถในการขยายเครือข่าย (Scalability) และการบริหารและจัด การเครือข่ายจะค่อนข้างยาก เครือข่ายประ๓ทนี้ยังมืใช้อยู่กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM ที่เป็นระบบ เมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์

ATM

        ATM ย่อมาจาก "Asynchronous Transfer Mode" ไม่ได้หมายถึงตู ATM (Automatic Teller Machine) ที่เราใช้ถอนเงินสดจากธนาคาร แต่บางทีตู้ ATM ที่เราใช้ถอนเงินสดอาจจะเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ด้วยระบบเครือข่ายแบบ ATM ก็ได้ ATM เป็นมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่กำหนดโดย ITU-T (International Telecommunication บทion-Telecommunication standard Sector) ชงจะรวมบริการต่างๆ เซ่น ข้อมูล เสียง วิดีโอเข้าด้วยกันแล้วส่งเป็นเซลล์ (Cell) ข้อมูลที่มีขนาดเล็กและคงที่ เป็นเครือข่ายที่รองรับแบนด็วิธตง แต่ Mbps จนถึง Gbps ปัจจุบันยังมีการใช้ ATM ไม่มากเท่ากับอีเธอร์เน็ต แต่มีแนวโน้มว่า ATM อาจจะเป็น อีกทางเลือกอีกอย่างหนึ่งที่นิยมในเครือข่ายในอนาคตก็ได้

เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network)

        ตรงกันข้ามกับ LAN เครือข่ายบริเวณกว้างหรือ WAN (อ่านว่า แวน) เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุม พื้นที่บริเวณกว้าง หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ ตัวอย่างเซ่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรารู้จักกันดี WAN จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่ห่างไกลกัน เซ่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานย่อยที่อยู่ห่าง ไกลกัน เป็นต้น รูปที่ 1.14 เป็นรูปที่แสดงลักษณะของเครือข่ายแบบ WAN

        LAN เป็นเทคโนโลยีสำหร้บการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในอาคาร หรือพื้นที่ที่มีรัศมีประมาณ 2-3 กิโลเมตร ส่วน WAN เป็นเครือข่ายที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกล เซ่น เครือข่ายภายในหรือระหว่างเมือง หรือแม้ กระทั่งการเชื่อมต่อระหว่างประเทศทั่วโลก เทคโนโลยีที่จัดอยู่ในประ๓ท WAN เซ่นรีโมทแอ็กเซสล์ (Remote Access), สายคู่เช่า (Leased Line), ISDN (Integrated Service Digital Network), ADSL (Asynchronous Digital Subscribe Line), Frame Relay และระบบดาวเทียม เป็นต้น

        รีโมทแอ็กเซสเป็นเครือข่ายที่ใช้ระบบโทรศัพท์เป็นสื่อ (Dial up) ทำให้ผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลสามารถเชื่อม ต่อเข้ากับศูนย์กลางเครือข่ายได้ การเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ตก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของรีโมท แอ็กเซล กล่าวคือผู้ใช้สามารถที่จะเข้าถึงอินเตอร์เน็ตโดยการใช้โมเด็มหมุนไปที่ ISP (Internet Service Provider) เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้ ผู้ใช้'หลายๆ คนที่อยู่บนเครือข่ายท้องถิ่นสามารถต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต โดย ผ่านเราท์เตอร์ โดยทั่วไปเครือข่าย LAN มีอัตราการล่งข้อมูลที่สูงกว่าเครือข่าย WAN ตัวอย่างเซ่น อีเธอร์เน็ต มีอัตราการส่งข้อมูลที่ 10 Mbps ในขณะที่ความเร็วสูงสุดของโมเด็มในปัจจุบันอยู่ที่ 56 Kbps ซึ่ง น้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของแบนดํวิธของอีเธอร์เน็ต แม้กระทั่งการเชื่อมต่อแบบ T-1 ยังมีอัตราข้อมูลแค่ 1.5 Mbps อย่างไรก็ตามโดยธรรมซาติของการสื่อสารข้อมูลล่วนใหญ่จะอยู่ภายในเครือข่ายท้องถิ่น

องค์ประกอบพื้นฐานของเครือข่าย

การที่คอมพิวเตอร์จะเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้ ต้องมีองค์ประกอบพื้นฐานดังต่อไปนี้

  • คอมพิวเตอร์ อย่างน้อย 2 เครื่อง
  • เน็ตเวิร์คการ์ด หรือ NIC (Network Interface Card) เป็นการ์ดที่เสียบเข้ากับช่องบนเมนบอร์ด ของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์และเครือข่าย
  • สื่อกลางและอุปกรณ์สำหรับการรับส่งข้อมูล เซ่น สายสัญญาณ สายสัญญาณที่นิยมใน เครือข่าย เช่น สายโคแอ็กเชียล สายคู่เกลียวบิด และสายใยแก้วนำแสง เป็นต้น ส่วนอุปกรณ์ เครือข่าย เช่น อับ สวิตซ์ เราท์เตอร์ เกตเวย์ เป็นต้น
  • โปรโตคอล (Protocol) โปรโตคอลเป็นภาษาที่คอมพิวเตอร์ใช้สื่อสารกันผ่านเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ที่สามารถสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นที่ต้องใช้ "ภาษา,' หรือโปรโตคอลเดียวกัน เช่น OSI, TCP/IP, IPX/SPX เป็นต้น
  • ระบบปฏิบัติการเครือข่าย หรือ NOS (Network Operating System) ระบบปฏิบัติการเครือ ข่ายจะเป็นดัวที่คอยจัดการเกี่ยวกับการใช้งานเครือข่ายของผู้ใช้แต่สะคน หรือเป็นตัวจัดการ และควบคุมการใช้ทรัพยากรต่างๆ ของเครือข่าย ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่เป็นที่นิยม เช่น Windows Server 2003, Novell NetWare, Solaris และ Red Hat Linux เป็นต้น

ทำไมต้องสร้างเครือข่าย

คอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันมีประสิทธิภาพสูงมาก สามารถทำงานหลายๆ อย่างในเวลาเดียวกัน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็วบางคนอาจจะสงสัยว่ายังมีความจำเป็นที่ต้องเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายอีก หรือ คำตอบง่ายๆ ก็คือ มีแน่นอน การเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายนั้นมีข้อดีหรือประโยชน์ดังนี้

  • สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ
  • สามารถแชร์ทรัพยากร เช่น เครื่องพิมพ์ ฮาร์ดดิสก์ซีดีไรเตอร์ไว้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็น ต้น
  • ประหยัดเนื่องจากสามารถแชร์ทรัพยากรร่วมกันได้
  • สามารถแชร์เอกสาร เช่นบันทึกข้อความ ตารางข้อมูลต่างๆ ใบส่งของบัญชีต่างๆใบรายการสินค้า เป็นต้น
  • สามารถใช้จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรืออีเมล ในการติดต่อผู้ที่อยู่ห่างไกลได้อย่างรวดเร็ว
  • การสนทนาผ่านเครือข่าย หรือการแชต (Chat)
  • การประชุมระยะไกล (Videoconference)
  • การแชร์ไฟล์ต่างๆ เช่น รูปภาพ วิดีโอ เพลง เป็นต้น
  • การแชร์ซอฟต์แวร์ต่างๆ เช่น ไมโครซอฟต์ออฟฟิศ โปรแกรมฐานข้อมูล เป็นต้น

นี่เป็นเพียงประโยชน์บางส่วนที่เกิดจากการเชื่อมคอมพิวเตอร์เป็นเครือข่าย ยังมีอีกหลายๆ อย่าง ที่ยังไม่ได้กล่าวถึง ในหัวข้อต่อไปจะเป็นรายละเอียดของประโยชน์หลักๆ ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์คืออะไร



         เครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network) คือระบบที่มีคอมพิวเตอร์อย่างน้อยลองเครื่องเชื่อม ต่อกันโดยใช้สื่อกลาง และสามารถสื่อลารข้อมูลกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละ เครื่องสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกันได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทรัพยากร (Resources) ที่มีอยู่ใน เครือข่ายร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ ซีดีรอม สแกนเนอร์ ฮาร์ดดิสก์ เป็นต้น การใช้ทรัพยากรเหล่านี้ร่วมกัน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากเมื่อมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอื่นๆ ที่อยู่ห่างไกล เซ่น ระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็น เครือข่ายที่เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้กับคนทั่วโลก โดยใช้แอพพลิเคชัน เซ่น เว็บ อีเมล FTP เป็นต้น

          แนวคิดการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์นั้นเริ่มมาจากการที่ผู้ใช้ต้องการที่จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว คอมพิวเตอร์เดี่ยวๆ เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถในการประมวลข้อมูลใน ปริมาณมากอย่างรวดเร็วอยู่แล้ว แต่ข้อเสียคือ ผู้ใซไม่สามารถแชร์ข้อมูลนั้นกับคนอื่นอย่างมีประสิทธิภาพได้ ก่อนที่จะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะแลกเปลี่ยนข้อมูลกันโดยใช้วิธีการสิงเอกสารที่เป็นกระดาษไปให้ผู้ใช้ อีกคนหนึ่ง เมื่อผู้ใช้คนนั้นได้รับเอกสารแล้ว ก็จะทำการแปลงเอกสารให้อยู่ในรูปแบบที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ เช่น การพิมพ์ หรือการสแกนรูปภาพ ซึ่งขั้นตอนการรับส่งและแปลงเอกสารนี้อาจใช้เวลามากเกินไปเมื่อเทียบกับ ความเร็วของคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

          อีกวิธีหนึ่งที่ดีกว่าการใช้การส่งเอกสารคือ การใช้แผ่นดิสก์แทน โดยการบันทึกข้อมูลที่ต้องการแลก เปลี่ยนกันลงบนแผ่นดิสก์ (Floppy Disk) แล้วส่งให้ผู้ใช้คนอื่น วิธีนี้'ไม่ต้องเสียเวลาในการแปลงข้อมูล เพราะ คอมพิวเตอร์สามารถอ่านข้อมูลจากแผ่นดิสก์ได้เลย เป็นการประหยัดเวลาได้ในระดับหนึ่ง แต่เวลาใน การส่งแผ่นดิสก์ยังช้ามากเมื่อเทียบกับความเร็วของคอมพิวเตอร์ การใช้คอมพิวเตอรในลักษณะนี้เรืยกว่า "Sneakernet" หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้คนเป็นสื่อรับส่งข้อมูล การใช้คอมพิวเตอร์ในลักษณะนี้อาจถือ ได้ว่าเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ แต่เป็นเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพตํ่ามาก

มุมแนะนำ