มุมแนะนำ

วันเสาร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2558

เทคนิคการดูรูรับแสง ISO

เรียกได้ว่าสมัยนี้ราคาของกล้อง DSLR นั้นถือว่าถูกลงเป็นอย่างมาก ทำให้เหล่าช่างกล้องมือสมัครเล่นนั้นกำเนิดขึ้นมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่อยากเดินสายเป็นช่างกล้องมืออาชีพ หรือจะแค่ถ่ายภาพชิล ๆ อัพลง Social Media ของตัวเองก็ตาม ทุก ๆ คนจำเป็นต้องศึกษาวิธีการใช้กล้องที่เราซื้อมาก่อนอย่างแน่นอน ซึ่งหลาย ๆ คนนั้นก็ไม่แม้แต่จะเอาคู่มือออกมาอ่าน และสุดท้ายก็กลายเป็นกล้องมือถือตัวใหญ่ 1 ตัว (เพราะถ่ายแต่ Mode auto) ซึ่งจะทำให้ภาพที่ได้ออกมานั้นขาดความสวยงามตามที่ควรจะเป็น

สำหรับช่างกล้องมือสมัครเล่นหลาย ๆ ท่านจะต้องสงสัยกันอย่างแน่นอนว่า ISO คืออะไร ? Shutter speed ทำอะไรได้ ? ค่า F หรือรูรับแสง สรุปมากหรือน้อยดี ? อะไรเหล่านี้เป็นต้น อย่างแน่นอน แต่งานนี้ไม่ต้องไปหาข้อมูลให้เสียเวลา เรามาดูภาพประกอบภาพนี้เพียงภาพเดียว เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเข้าใจกันได้อย่างง่ายดายครับ



อธิบายกันอย่างง่าย ๆ คือ Aperture คือรูรับแสงของเลนส์กล้อง คิดเป็น f ยิ่งเล็ง รูยิ่งใหญ่ สงผลให้เราสามารถ่ายภาพหน้าชัด หลังเบลอได้อย่างสวยงาม (และแน่นอนว่าเลนส์กล้องที่มีค่า f น้อย ๆ นั้นแพงทะลุโลกมาก) และจะส่งผลให้ภาพที่ได้รับนั้นสว่างขึ้นอีกด้วย

ในส่วนของ shutter speed คือระยะเวลาที่ชัตเตอร์ของกล้องจะเปิดให้แสงเข้าก่อนที่จะถ่ายรูป ซึ่งแน่นอนว่ายิ่งเปิดไว้นาน ภาพที่ได้จะสว่างมาก แต่ข้อเสียคือภาพที่ได้จะเบลอถ้ามีการเคลื่อนไหว (ทั้งภาพหรือมือที่เราถือกล้อง) ซึ่งการปรับ shutter speed ต่ำ ๆ (ระดับ 1/200 วินาทีขึ้นไป) จะใช้ในกรณีที่ต้องการถ่ายภาพที่มีการเคลื่อนไหวแบบไว ๆ ให้ชัดเหมือนหยุดนิ่ง กับการปรับ shutter speed สูง ๆ (เกิน 1 วิขึ้นไป) สำหรับผู้ที่ต้องการถ่ายภาพในที่มืด ๆ เช่นพลุ ให้มีความสวยงาม โดยปกติจะต้องใช้ขาตั้งกล้องเพื่อให้ได้ภาพที่สวยงาม ไม่สั่นไหว (เพราะต้องมีการกด shutter ค้างไว้ระหว่างนั้นด้วย รับรองยังไงก็เบลอถ้าไม่ใช้ขาตั้งกล้อง )

และสุดท้ายคือ ISO ซึ่ง ISO นั้นคือการเร่งแสงขึ้นมาจากภาพโดยใช้ระบบของกล้องนั่นเอง โดยปกติจะนับเป็นตัวเลข ยิ่งค่ามาก ภาพที่ได้ยิ่งสว่างมาก แต่จะแลกมาด้วยภาพที่มี noise กระจายเต็มภาพนั่นเอง โดยทั่วไปจึงไม่ควรปรับให้สูงเกิน 800 ครับ ยกเว้นกล้องในรุ่นหลัง ๆ ที่มีระบบ Noise reduction ทำให้สามารถใช้ ISO มาก ๆ ได้อย่างไม่ต้องเกรงใจ

ซึ่งจริง ๆ แล้วการถ่ายภาพไม่ได้มีเพียงแค่ 3 ค่านี้เท่านั้น แต่ยังมีองค์ประกอบอื่น ๆ อีกมากมาย แต่ 3 ค่านี้ถือว่าเป็นหลักในการถ่ายภาพทุกอย่างบนโลกใบนี้ ก็เอาเป็นว่างานนี้ใครที่เป็นนักถ่ายภาพมือสมัครเล่นก็ลองปรับ Manual focus กันดูนะครับ บอกเลยว่าภาพที่คุณได้รับจะต่างจากทุกครั้งอย่างแน่นอน

ติวแคลคูลัส การอินทิเกรต 2 ชั้น




มุมแนะนำ