มุมแนะนำ

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ B.Eng แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ B.Eng แสดงบทความทั้งหมด

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

แนะนำสำนักวิชา วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ไปสอบสัมภาษณ์ได้หนังสือ วิศวกรรมศาสตร์ มาเล่มนึงดีมากๆ ก็เลยเอามาให้อ่านด้วยกันเผื่อจะชอบวิศวะ อิอิ
แนะนำสำนักวิชา วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี <---- ชื่อหนังสือนะนิ คริคริ

สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ 
      หลักสูตรที่เปิดสอน

1.วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2.วิศวกรรมโทรคมานาคม
3.วิศวกรรมไฟฟ้า
4.วิศวกรรมยานยนต์
5.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
6.วิศวกรรมอากาศยาน
7.วิศวกรรมเครื่องกล
8.วิศวกรรมเมคคาทอรนิกส์
9.วิศวกรรมธรณี
10.วิศวกรรมโยธา
11.วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์
12.วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
13.วิศวกรรมเกษตรและอาหาร
14.วิศวกรรมเซรามิก
15.วิศวกรรมพอลิเมอร์
16.วิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์
17.วิศวกรรมการผลิต
18.วิศวกรรมเคมี
19.วิศวกรรมอุตสาหกรรม
20.วิศวกรรมโลหการ
21.เทคโนโลยีธรณี

รายละเอียดจะลงให้ในต่อๆไปนะครับ ^___^
***มีข้อติชมหรือเพิ่มเติมเนื้อหาอะไรโพสต์ได้ในกล่องคอมเมนต์นะครับ

วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

จุดประสงค์ของ Blog วิศวะ'คอม



วิศวะ'คอม
#จุดประสงค์ของ Blog ---> วิศวะ'คอม<--- คือเพื่อให้เพื่อนๆหรือคนที่สนใจคณะ/สาขา วิศวะกรรมคอมพิวเตอร์ หรือบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์การเรียนการศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ และแชร์ประสบการณ์ที่มีต่อ วิศวะ'คอม ได้ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้น้องๆ หลายๆคนที่สนใจในเรื่องของวิศวะ'คอมได้หาข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ด้วย ซึ่งทางผู้จัดทำ Blog นี้ขอความร่วมมือจากผู้ใหญ่, วิศวะ'คอมรุ่นพี่ ที่ใจดีทุกท่าน ร่วมสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับ วิศวะ'คอม เพื่อให้น้องๆ หรือคนที่สนใจด้านวิศวะ'คอมได้ศึกษาต่อไปด้วยครับ...

ขอบคุณครับ

ปล.ถ้าเนื้อหาใน Blog ไม่สมบูรณ์ หรือบกพร่องด้านไหน ก็ขออภัยด้วยนะครับ (มือใหม่)

Preview สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน Blog

#Preview สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน Blog : วิศวะ'คอม

1.เรียนวิศวะ'คอม จบมาทำงานอะไรได้บ้าง
2.หลักสูตรเกี่ยวกับ Computer IT มีอะไรบ้าง
3.วิศวะ'คอม, วิทย์คอมฯ, วิศวะ'ซอฟแวร์, วิทย์ไอที ต่างกันอย่างไร
4.เจาะลึกคณะ Computer IT
5.วิศวะ'คอม ปี 1 เรียนอะไรบ้าง
6.วิศวะ'คอม ปี 2 เรียนอะไรบ้าง
7.วิศวะ'คอม ปี 3 เรียนอะไรบ้าง
8.วิศวะ'คอม ปี 4 เรียนอะไรบ้าง
9.อนาคตวิศวะ'คอม
10.แนะนำมหาวิทยาลัยเด่นๆด้านวิศวะ'คอม

^___________________________________________________________________________________^

** ขาดตกบกพร่องส่วนใด ก็ช่วยกันแนะนำหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในกล่องคอมเมนต์นะครับผม :)

ทำไงดีอยากเรียนวิศวะ'คอม

      ความฝันของเด็กมัธยม ปลาย หลายๆ คน คงเคยมีความฝันว่า อยากทำเกม อยากทำเว็บ อยากเขียนโปรแกรมไว้ใช้เอง อยากนั่งทำงานหน้าคอมที่มีตัวหนังสืออะไรมั่วๆเต็มไปหมด ผมเองก็เป็นเหมือนกัน แต่ก่อนจะเป็นแบบนั้นได้ เราก็ต้องรู้จักกันก่อนว่า วิศวะ'คอมเนี่ย เค้าทำอะไรจริงๆ ซ่อมคอม ประกอบคอมเหรอ? ซึ่งบอกใบ้ก่อนล่ะกันครับว่า ไม่ใช่เรียนซ่อมคอม แต่ต้องทำเป็น แต่จะเรียนไปในแนวว่าอุปกรณ์แต่ละตัวทำงานกันยังไง เพราะฉะนั้นแล้วเวลามันเกิดเสียขึ้นจริงๆ เราก็พอจะวิเคราะห์ออกว่ามันเกิดจากส่วนไหน แต่ถ้ากรณีคอมเกิดระเบิดขึ้นนิ ก็ยกไปร้านซ่อมเถอะครับ แต่ถ้าปัญหาเบื้องต้นเนี่ย พวกเราจัดการได้สบายอยู่แล้ว :)
  
    เข้าเรื่องจริงๆเลยละกันนะครับ

วิศวะคอมพิวเตอร์เรียนอะไรบ้าง 
         เรื่อง ที่เหล่าวิศวะ'คอมทั้งหลายจะได้เรียนคือเรื่องของ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเน็ตเวิร์กครับ ซึ่งจะเรียนครอบคลุมกว่าสาขาวิชาด้านคอมฯไอทีอื่นๆ และที่สังเกตเห็นคือมีการศึกษาในเรื่องของฮาร์ดแวร์เข้ามาด้วย ซึ่งการศึกษาทังระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์พร้อมๆกันสามารถที่จะแก้ไขปรับ ปรุงคอมพิวเตอร์ได้ทุกๆ อย่างครับ

เรียนวิศวะ'คอมมาทำงานอะไรได้บ้าง
        การทำงานก็ยังเลือกได้อีกว่าจะทำงานสายฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือเน็ตเวิร์ก ซึ่งแต่ละสายก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป
   สายฮาร์ดแวร์ราย ได้ข้อนข้างสูง แต่ต้องใช้ควาสามารถเยอะหน่อย เพราะบางครั้งเราไม่รู้ว่าต้องแก้ปัญหาที่ฮาร์ดแวร์หรือที่ซอฟต์แวร์ ดังนั้นคนที่จะทำงานด้านนี้ต้องเก่งมากเลยทีเดียว ^__^
   สายซอฟต์แวร์ประมาณ ว่าเป็นกรรมกรทางสมองดีๆ นี่เองครับ คือต้องนั่งเขียนโปรแกรมกันสนั่นเลยล่ะ แต่โอกาศก้าวหน้าทางการงานก็มีนะครับ แต่ต้องเรียนมีความรู้ด้านการบริหารด้วย แต่มาถึงจะเป็นหัวหน้าไม่ได้เลยเพราะจะต้องเป็นกรรมกรมาก่อนจะได้รู้ว่าอัน ไหนทำได้ อันไหนทำไม่ได้ อันนี้ใช้เวลาเ่าไหร่ อะไรแบบนี้ ^___^
   สายเน็ตเวิร์กส่วน ตัวผมชอบสายนี้มากๆ เลย เพราะไปอ่านเว็บพี่คนนึงผมก็จำชื่อไม่ได้ พี่เค้าสามารถซื้อหนังสือในเน็ตได้ในราคาถูกว่าราคาที่เป็นจริง หรือกระทั่ง reverse โปรแกรมที่โหลดมาไม่ให้มันเป็นของแท้ได้พแล้วล่ะบรรยายสรรพคุณแค่นี้ล่ะกัน เข้าเรื่องต่อเลยล่ะกัน ซึ่งงานทางด้านเน็ตเวิร์กนี้อารมณ์ก็ประมาณว่าติดตั้งดูแลระบบซึ่งข้อนข้าง จะหลากหลายขึ้นอยู่กับองค์กร บางที่ก็อาจได้อยู่แต่ในห้องเซิร์ฟเวอร์ หรือต้องเดินทางไปต่างจังหวัดบ่อยอะไรทำนองนี้ ^_____^

#มีอะไรเพิ่มเติมอยากแนะนำเพิ่มได้ในส่วนกล่องคอมเมนท์ด้านล่างนะครับผม :)

มารู้จักหลักสูตรคอมพิวเตอร์ไอที กันดีกว่า

  เริ่มกันเลยวันนี้มาทำความรู้จักว่าคณะด้าน Computer IT เนี่ย มันมีคณะ/สาขาอะไรบ้าง เผื่อบางคนไม่ถนัดหรือไม่ชอกวิศวะ'คอม ก็ยังมีทางเลือกแนวเดียวกันให้เลือกอีกมากมาย ไปดูกันเลยดีกว่าครับ ^___^
 
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วศ.บ. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Enginneering (Computer Engineering)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Eng. (Computer Engineering) 


วิศวกรรมซอฟต์แวร์
สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาตรบัณฑิต (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. (วิศวกรรมซอฟต์แวร์) ----
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Software Engineering)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Software Engineering) 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. เทคโนโลยีสารสนเทศ) ----
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Information Technology)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Information Technology
 ****บางแห่งเปิดสอนในแบบวิศวะด้วย****
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วศ.บ. (วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Enginneering (Information and Communication Engineering)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Eng. (Information and Communication Engineering)
วิทยาการคอมพิวเตอร์
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) ----
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Computer Science)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Computer Science

ปล.นอกจากนี้ยังก็ยังมีหลายสถาบันตั้งชื่อคณะ/สาขาที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ก็ต้องไปหาข้อมูลเฉพาะมหาวิทยาลัยอีกทีนะครับ >__<

---->ขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดี หนังสือ Born to be วิศวะคอมฯ, สำนักพิมพ์บายยัวร์เซลฟ์ พับลิชชิ่ง

มีความคิดเห็นแนะนำหรือเพิ่มเติมได้ในกล่องคอมเมนต์ด้านล่างได้นะครับ :)

เจาะลึก!!!เรียนสายคอมจะตกงานไหมเนี่ย....

วิศวะ'คอม มหาวิทยาลัยเทคโนโยีสุรนารี

      แน่นอนคำถามนี้ผมเชื่อว่าหลายๆ คนก็ต้องเคยสงสัยกันมาบ้างล่ะว่า เรียนสายคอมพิวเตอร์มาแล้วจบมาจะมีตกงานไหม ซึ่งคำตอบก็คือตำแหน่งงานมีมากพอแน่นอนครับ แต่อยู่ที่ตัวคุณแล้วล่ะว่ามีความสามารถพอรึเปล่า เลือกงานรึเปล่า ภูมิลำเนาเอื้อต่อการทำงานมั๊ยซึ่งจะมีด้านเวลาในการเดินทางแหละครับ เพราะบางคนบ้านอยู่ไกลจากที่ทำงาน ก็เลยทำให้ต้องมาทำงานสาย หรือ บ้านอยู่ในเขตชุมชมแออัดการเดินทางก็จะไม่สะดวกสบาย กลัวรถติดบ้าง ซึ่งขอแนะนำเลยนะครับว่าถ้าเลือกได้ให้ลองสำรวจการเดินทางไปบริษัทหรือหน่วย งานที่จะไปสมัครงานไว้ก่อนจะได้ไม่ต้องเหนื่อยในภายครับ
     ส่วนเรื่องตำแหน่งงาน ปัจจุบันจะเห็นว่าคนจบสายคอมฯ มาก็เยอะแล้วจะมีตำแหน่งงานให้เรารึเปล่า ใช่ครับปัจจุบันมีคนเรียนจบสายคอมฯ ค่อนข้างมาก แต่ตำแหน่งงานของคนจบมาเหล่านี้ก็มีเยอะเหมือนกัน ถ้าคิดไม่ออกลองนึกดูว่า บริษัทหนึ่งๆ ไหนจะต้องจ้างวิศวะ'คอม มาออกแบบระบบเน็ตเวิร์ก ออกแบบเว็บไซค์ เขียนโปรแกรม และอื่นๆต่างๆนานา แล้วบริษัทในไทยก็ไม่ได้มีบริษิทเดียวด้วยนิ เห็นรึยังครับว่าเรียนสายคอมมาแล้วไม่ตกงานแน่นอนครับขอแค่ไม่เลือกงานก็ เป็นพอ

สายงานและเงินเดือน ------> วิศวกรคอม โปรแกรมเมอร์ เทสซอฟแวร์ ทดสอบ หาจุดผิด เขียนโปรแกรม ทำรายงานผล
- เงินเดือนเอกชน ปริญญาตรี ขั้นต่ำ 15,000 บาท , ปริญญาโท ขั้นต่ำ 25,000 บาท


#มาดูฐานเงินเดือนของเหล่า วิศวะ'คอม กันดีกว่าคัรบ

วิศวกรคอมพิวเตอร์ สาย
เงินเดือน
ต่ำสุด(บาท)
สูงสุด(บาท)
โรงงานทั่วไป
15,000
40,000
ออกแบบผลิตภัณฑ์
15,000
55,000
เขียนแบบแปลน
12,000
30,000
ออกไซต์งาน
15,000
50,000
ตรง (คอมพิวเตอร์)
48,000
55,000
ประมาณการ
15,000
40,000
สถาปัตยกรรม
20,000
50,000
บำรุงและซ่อมแซม
15,000
50,000
โปรเจ็ค
18,000
40,000
ควบคุมคุณภาพ
15,000
40,000
โครงสร้าง
20,000
40,000
เน็ตเวิร์ก
25,000
50,000
ซอฟต์แวร์
18,000
65,000
ควบคุมระบบ
20,000
55,000
แอพพลิเคชั่น
20,000
50,000

^_____________________________________^


ไอที สาย
เงินเดือน
ต่ำสุด(บาท)
สูงสุด(บาท)
ที่ปรึกษากับลูกค้า
25,000
50,000
ดาต้าแวร์เฮาส์
20,000
60,000
วิเคราะห์ข้อมูล
25,000
35,000
ดาต้าเบส แอดมิน
18,000
55,000
สื่อมีเดีย
12,000
15,000
ที่ปรึกองค์กร
25,000
70,000
วิเคราะห์สารสนเทศภูมิศาสตร์
15,000
20,000
แอพพลิเคชั่นซับพอร์ต
24,000
40,000
ผู้จัดการ
35,000
80,000
วิเคราะห์ความปลอดภัย
20,000
50,000
จัดการความปลอดภัย
40,000
60,000
ซับพอร์ต
10,000
30,000
เน็ตเวิร์ก แอดมิน
20,000
60,000
โปรแกรมเมอร์
18,000
80,000
โปรแกรมเมอร์/พัฒนา(.NET)
18,000
60,000
โปรแกรมเมอร์/พัฒนา(ABAP)
24,000
60,000
โปรแกรมเมอร์/พัฒนา(C, C++)
25,000
65,000
โปรแกรมเมอร์/พัฒนา(JAVA)
20,000
45,000
โปรแกรมเมอร์/พัฒนา(Mobile  App)
28,000
60,000
โปรแกรมเมอร์/พัฒนา(Oracle/ SQL)
25,000
50,000
โปรแกรมเมอร์/พัฒนา(PHP)
25,000
50,000
โปรแกรมเมอร์/พัฒนาตามสเป็ค
20,000
40,000
โปรเจ็ค
20,000
40,000
ผู้บริหารโปรเจ็ค
50,000
100,000
ทดสอบซอฟต์แวร์
17,000
40,000
พัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปทางธุรกิจ
35,000
80,000
สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์
20,000
60,000
ระบบ แอดมิน
20,000
50,000
วิเคราะห์ระบบ
20,000
50,000
ที่ปรึกษาด้านเทคนิค
20,000
65,000
ออกแบบเว็บไซต์
15,000
40,000
เว็บมาสเตอร์
15,000
30,000

^___________________________________________^

*** ขอบคุณผู้ใหญ่ใจดี Unigang สำหรับข้อมูลในเรื่องเงินเดือนวิศวะ'คอม ครับผม

มี ข้อเสนอแนะติชมหรือต้องการเพิ่มเติมได้ในกล่องคอมเมนต์ด้านล่างนะครับ ช่วยกันแบ่งงปันความรู้ประเทศไทยจะได้มีคนเก่งๆ เพิ่มมากขึ้นครับ :)

คำถามโลกแตก!!!!



 เนื่อง จาก ที่รัก ผมถามมาว่าเรียนวิศวะ'คอมเนี่ย เน้นๆแล้วทำงานอะไร เป็นอะไรได้บ้าง ผมก็เลยยกบทความของผู้ใหญ่ใจดีมาให้อ่านซะเลย จะได้หายงงกัน ^____^

บทสรุปของคำถามโลกแตก
"เรียนสาขาไหนดี CS 
(วิทยาการคอมพิวเตอร์), CE (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์), MISE (วิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต), IT (เทคโนโลยีสารสนเทศ), SE (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)"

น้องๆ นักเรียนหลาย คนหันมาให้ความสนใจกับคอมพิวเตอร์ ทั้งอยากรู้ อยากเรียน อยากทำงานด้านนี้ ซึ่งแต่ละหลักสูตรต่างก็มีหลากหลายมากมายไปหมด ทั้ง วิทย์คอมฯ วิศวะคอมฯ Database คอมพิวเตอร์เน็ตเวิร์ค เทคโนโลยีสารสนเทศ  รวมทั้ง ICT แล้วแบบไหนกันที่ตรงตามความต้องการและความสามารถของเรา บทความจึงขอแนะนำสาขาหลักๆในศาสตร์การเรียนการสอนเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ดังนี้ 
             1. วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (computer science)
             2.
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (computer engineering)
             3.
วิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต (Multimedia and Internet System Engineering)
             4.
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ Information System)
             5.
วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (software engineering)

ซึ่งแต่ละสถาบันการศึกษาก็อาจมีหลักสูตร หรือชื่อสาขาวิชาที่แตกต่างกันไปบ้าง แต่หลักๆแล้วก็ไม่แตกต่างกันมากนัก




ภาพ Computer Laboratories ที่มา www.ucsi.edu.my

1. วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (computer science)
          สิ่งต่างๆที่เราใช้งานอยู่ทุกวันนี้ ไม่ว่าจะเป็น ระบบปฏิบัติการล่าสุดกับ Windows , PageMaker, AutoCAD, Java Programing, The Sims, intel pentium 4,ซอฟต์แวร์คำนวณการจัดเรียงสินค้าใส่ตู้คอนเทนเนอร์ ฯลฯ ล้วนมาจากการพัฒนาวิชาการทางด้านคอมพิวเตอร์นั้นเอง


ภาพ Java Programming ที่มา downarchive.com

             วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ เป็น ภาควิชาหนึ่งของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการศึกษาแนวคิด และทำการพิสูจน์อย่างมีแบบแผน ในการค้นคว้าทฤษฏีการคำนวณ และทฤษฏีการประมวลผลสารสนเทศ ทั้งด้านซอฟต์แวร์, ฮาร์ดแวร์ และ เครือข่าย เพื่ออธิบายระบบและกระบวนการขั้นตอนในการทำงานของคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดิจิ ตัล อื่นๆ เช่น สถาปัตยกรรมด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์, การคิดค้นภาษาใหม่หรือปรับปรุงภาษาคอมพิวเตอร์แบบเก่าให้มีคุณภาพมากขึ้น, กรรมวิธีในการแก้ปัญหาalgorithm, ทฤษฏีการพัฒนาซอฟต์แวร์, ทฤษฎีภาษาคอมพิวเตอร์, กระบวนการประมวลผลของข้อมูลที่ไปประมวลผลที่คอมพิวเตอร์, ทฤษฏีเครือข่าย, เทคนิคในการติดต่อกับมนุษย์หรือผู้ใช้ทั่วไป เพื่อเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการนำมาใช้ในการสร้างอุปกรณ์และนวัตกรรม ให้สาขาวิชาอื่นๆนำไปต่อยอดตามศาสตร์และศิลป์ของตนเอง
ตัวอย่างวิชาที่เรียน
             กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาศึกษาทั่วไป เช่น ชีวิวิทยา, เคมีทั่วไป, เรขาคณิตวิเคราะห์และแคลคูลัส, หลักสถิติ, ปฏิบัติการฟิสิกส์, ฟิสิกส์พื้นฐานขั้นมหาวิทยาลัย, พีชคณิตเชิงเส้น และเทคโนโลยีสารสนเทศ  
             วิชาเฉพาะทาง เช่น การวิเคราะห์และการออกแบบระบบงาน, การสื่อสารข้อมูลและข่ายงาน, ระบบฐานข้อมูล, โครงสร้างโปรแกรม, โครงสร้างข้อมูลอัลกอริทึม, สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์, ภาษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การออกแบบดิจิตอลทฤษฎี, การคำนวณชั้นสูง, หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์, โครงสร้างคอมพิวเตอร์เบื้องต้น, ระบบคอมพิวเตอร์เบื้องต้นและภาษาแอสแซมบลี, โครงสร้างข้อมูลและหลักพื้นฐานของอัลกอริทึม, ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, การออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์ และเครือข่ายสื่อสารคอมพิวเตอร์

แนวทางประกอบอาชีพ เช่น  
              นักเขียนโปรแกรม, นักวิเคราะห์ระบบ, นักวิศวกรระบบ, นักบริหารระบบปฏิบัติการ, นักพัฒนาระบบ, นักบริหารเครือข่าย, ที่ปรึกษาด้านคอมพิวเตอร์, ผู้จำหน่ายฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์, ผู้ช่วยเหลือสนับสนุนลูกค้า เรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการและเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์, นักออกแบบระบบ และนักวิจัยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น


2. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (computer engineering)
             LCD Monitor, mp4 player, Touch Pad, PDA Phon, เครื่องถ่ายรังสีเอ็กซ์ นี่คือตัวอย่างสิ่งในชีวิตประจำวันที่ได้มาจากการศึกษาทางด้านวิศวกรรม คอมพิวเตอร์


ภาพ Computer Engineering ที่มา maqtanim.files.wordpress.com

             วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เป็น ศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ สร้างเครื่องหรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้ความรู้ทั้งซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ การสื่อสาร ควบคู่กับความรู้ทางด้านวิศวกรรม โดยมีรากฐานจาก Computer Science เป็นสาขาที่แตกตัวมาจากวิศวกรรมไฟฟ้า หรืออธิบายให้เห็นภาพก็คือ เหล่าเทคโนโลยี เริ่มมาจากประยุกต์ความรู้ทางฟิสิกส์ จนมาเป็นไฟฟ้า แล้วก็เรื่อยมาจนเป็นอิเส็กค์ทรอนิคส์ จากนั้นก็นำความรู้ทางฟิสิกส์ ไฟฟ้า คณิตศาสตร์ เป็นพื้นฐานในสร้าง Hardware และอุปกรณ์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ นั้นก็คือ วิศวกรคอมพิวเตอร์เน้นทางด้านฮารด์แวร์มากกว่าซอฟต์แวร์ และมีโดดเด่นทางด้านวิศวกรรม
ตัวอย่างวิชาที่เรียน
             กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาศึกษาทั่วไป เช่น แคลคูลัส, เคมีทั่วไป, ปฏิบัติการเคมีทั่วไป, ฟิสิกส์ทั่วไป, ปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป และคณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
             กลุ่มวิชาเฉพาะทาง เช่น การเขียนแบบวิศวกรรม, คอมพิวเตอร์สำหรับวิศวกร, การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์, ทฤษฎีวงจรไฟฟ้า, อิเล็กทรอนิกส์, ความน่าจะเป็นและสถิติวิศวกรรม, สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม, การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์, ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, การออกแบบวงจร VLSI, ระบบไมโครโปรเซสเซอร์, ระบบดิจิตอล, โครงงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์, อาชญากรรมและการป้องกันทางคอมพิวเตอร์ และการออกแบบคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

แนวทางประกอบอาชีพ เช่น  
             วิศวกรคอมพิวเตอร์, วิศวกรควบคุมดูแลระบบคอมพิวเตอร์, นักเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์, ผู้ผลิตงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย, นักพัฒนาอุปกรณ์เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์, นักบริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์, นักบริหารและจัดการฐานข้อมูล, นักออกแบบวงจร เช่น วงจรการขึ้นลงของลิฟท์ การออกแบบไมโครคอมพิวเตอร์ในรถยนต์


ภาพ To have a strong basic computer understanding, we need to know about software and hardware. ที่มา i40.tinypic.com

สำหรับข้อสงสัยที่น้องนักเรียนมักถามกันบ่อยๆว่าอะไรคือข้อแตกต่างชัดๆระหว่าง วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ และ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คืออะไร
             สำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จะให้ความสนใจทางสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์เป็นหลัก คือ เน้น Hardware เป็นส่วนใหญ่นั้นเอง คล้ายว่าเป็นการเรียนเพื่อสร้างอุปกรณ์

             ส่วนวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ จะให้ความสนใจด้านการวิเคราะห์ออกแบบระบบ คือ เน้น Software เป็นหลัก สนใจทางด้านระบบคอมพิวเตอร์มากกว่าทางด้าน physical คล้ายว่าเป็นการเรียนใช้งานอุปกรณ์

3. วิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต (Multimedia and Internet System Engineering)
            เป็นศาสตร์ที่นำเอาองค์ความรู้ของการผลิตสื่อมัลติมีเดีย รวมทั้งบริการผ่านเทคโนโลยีสื่อสารและคอมพิวเตอร์สมัยใหม่ ใช้ ทักษะการออกแบบสื่อตามจุดมุ่งหมาย มีความเชี่ยวชาญทางการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อรวมสื่อการพัฒนาเนื้อหา และบริการผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีรับความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับสื่อนั้น เช่น  การบันทึกสื่อ การลดขนาดสื่อมัลติมีเดีย เครือข่ายอินเทอร์เน็ต หลักการและการทำงานของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่และโครงข่ายสื่อสารความ เร็วสูง การผลิตและทดสอบเกมคอมพิวเตอร์  และการประยุกต์อุปกรณ์สมัยใหม่ร่วมกับสื่อมัลติมีเดีย


ภาพ Engineering Program in Multimedia and Internet System Engineering ที่มา eng.bu.ac.th

ตัวอย่างวิชาที่เรียน
             กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาศึกษาทั่วไป เช่น แคลคูลัส, เคมีทั่วไป, ปฏิบัติการเคมีทั่วไป, ฟิสิกส์สมัยใหม่, ปฏิบัติการฟิสิกส์สมัยใหม่, คณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมระบบและมัลติมีเดียและเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
             วิชาเฉพาะทาง เช่น การเขียนแบบวิศวกรรม, ทักษะการสร้างสรรค์สื่อมัลติมีเดีย, พื้นฐานระบบคอมพิวเตอร์, ทฤษฎีสัญญาณและเสียง, การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์, การเขียนโปรแกรมสำหรับวิศวกรรมเครือข่าย, เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตการผลิตสื่อมัลติมีเดีย, วงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์,เครือข่ายไร้สายและเคลื่อนที่, ระบบดิจิตอล, ความน่าจะเป็นและสถิติวิศวกรรม, การจัดการสารสนเทศและบริการ, ระบบสื่อสารด้วยมัลติมีเดีย, การเขียนโปรแกรมระบบมัลติมีเดีย, เทคโนโลยีเครื่องบริการเว็บ, คอมพิวเตอร์กราฟิกและอนิเมชัน, เทคนิคพิเศษสำหรับมัลติมีเดีย, วิศวกรรมระบบเสียงและภาพ, ความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย,โครงงานวิศวกรรมมัลติมีเดียและ ระบบอินเทอร์เน็ต, ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ และหลักการสื่อสาร 

แนวทางประกอบอาชีพ เช่น
             วิศวกรดูแลและพัฒนาระบบมัลติมีเดีย, วิศวกรระบบภาพและเสียง, ผู้ผลิตเกมคอมพิวเตอร์, วิศวกรระบบเครือข่าย, ผู้ผลิตงานด้านคอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย, วิศวกรเครือข่ายสื่อสารความเร็วสูง, ผู้ผลิตสื่อดิจิตอล, ผู้พัฒนาระบบแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที, นักเขียนโปรแกรมด้านมัลติมีเดีย และผู้จัดการระบบสารสนเทศ 


4. เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ Information System) 
             เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) หรือบางสถาบันจะเปิดสอนในชื่อหลักสูตร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)

             ไอที (IT) หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ สาขา นี้มุ่งเน้นให้ผู้เรียน มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เน้นเทคโนโลยีเครือข่าย เทคโนโลยีซอฟต์แวร์ และการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึง การรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี เพื่อนำข้อมูลนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เช่น การทำ Simulation หรือ โปรแกรมการจำลองการทำงานต่าง ๆ อย่างการจำลองการทำงานของตลาดหุ้น, การจำลองการทำงานของเครื่องบิน


ภาพ Systems analysis ที่มา ignaga.wordpress.com

หรืออธิบายสั้นๆ ได้ว่า เป็นการจัดการข้อมูล โดยศึกษาโปรแกรมต่างๆ เพื่อใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาจัดระบบ


ตัวอย่างวิชาที่เรียน
             กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาศึกษาทั่วไป เช่น  ความน่าจะเป็นและสถิติ, แคลคูลัส, คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ, มนุษย์และสิ่งแวดล้อม, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายธุรกิจ, สถิติธุรกิจ, หลักการบัญชี, เคมีทั่วไป และคณิตศาสตร์ไม่ต่อเนื่อง
             วิชาเฉพาะทาง เช่น หลักการสืบค้นสารสนเทศ, เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์, โครงสร้างข้อมูลและหลักพื้นฐานของอัลกอริทึม, การวิเคราะห์และออกแบบระบบ, หลักการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์สารสนเทศ ระบบปฏิบัติการ, เครือข่ายคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคม, ระบบการจัดการฐานข้อมูล, ปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับคอมพิวเตอร์, การสื่อสารข้อมูลและ, การสื่อสารข้อมูลและเครือข่าย เทคโนโลยีเครือข่ายและอินเทอร์เน็ต, การออกแบบส่วนต่อประสานกับมนุษย์, ความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ, เทคโนโลยีมัลติมีเดีย, การออกแบบปฏิสัมพันธ์บนอุปกรณ์ไร้สาย, การออกแบบและสร้างเว็บ

เดี๋ยวจะมีเจาะลึกจริงๆว่าแต่ละปีเค้าเรียนอะไรกันบ้างอีกนะครับ
แนวทางประกอบอาชีพ เช่น
             ผู้บริหารระบบคอมพิวเตอร์, นักวิเคราะห์ระบบ, ผู้พัฒนาระบบสื่อ, นักเขียนโปรแกรม, นักพัฒนาระบบ, นักออกแบบระบบ, นักบริหารเครือข่าย, นักวิจัยคอมพิวเตอร์, ผู้ช่วยเหลือสนับสนุนลูกค้า ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการและเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ ผู้จำหน่ายฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ 


5. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ (software engineering) 
             เนื่องจากเทคโนโลยีการผลิตซอฟต์แวร์พัฒนาอย่างรวดเร็ว นับวันจะมีขนาดและความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้น จึง จำ เป็นที่ต้องมีพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาวิศวกรรมซอฟต์แวร์ขึ้นเพื่อที่จะควบ คุมและดำเนินการผลิต ให้ได้ซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพตามต้องการและเป็นมาตรฐานสากล


ภาพ Top Ten Software Engineering Ideas, in Jacksonville ที่มา www.yourdonreport.com

             วิศวกรรมซอฟต์แวร์ จะ เน้นที่กระบวนการวิศวกรรมสำหรับระบบซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ เป็นศาสตร์เกี่ยวกับการประยุกต์ความรู้และเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ การบริหารจัดการโครงการ และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน โดยเริ่มด้วยการวิเคราะห์ความต้องการ, การตั้งเป้าหมายของระบบ, การออกแบบ, การพัฒนา, การทดสอบ, การประเมินผล, การติดตามโครงการ, การประเมินต้นทุน, การรักษาความปลอดภัย, การบำรุงรักษาระบบซอฟต์แวร์ ตลอดจนถึงถึงการคิดราคาซอฟต์แวร์
ตัวอย่างวิชาที่เรียน
             กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และวิชาศึกษาทั่วไป เช่น แคลคูลัส, พีชคณิตเชิงเส้น, เคมีทั่วไป, ปฏิบัติการเคมีทั่วไป, ฟิสิกส์ทั่วไป และปฏิบัติการฟิสิกส์ทั่วไป
             วิชาเฉพาะทาง เช่น วิศวกรรมซอฟต์แวร์, การกำหนดและการจัดการความต้องการทางซอฟต์แวร์, การวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุ, สถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์, กระบวนการซอฟต์แวร์และการประกันคุณภาพ, การจัดการโครงงานซอฟต์แวร์, การทวนสอบและทดสอบซอฟต์แวร์, กลยุทธ์และสถาปัตยกรรมการทำธุรกิจผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์, วิศวกรรมเทคโนโลยีมัลติมีเดีย, การพัฒนาระบบประยุกต์ไร้สาย และการออกแบบและการพัฒนาระบบเครือข่ายในองค์กร

แนวทางประกอบอาชีพ เช่น
             นักเขียนโปรแกรม, นักพัฒนาระบบ, นักวิเคราะห์ระบบ, นักออกแบบระบบ, วิศวกรระบบ, นักบริหารระบบปฏิบัติการ, นักบริหารเครือข่าย, ที่ปรึกษาด้านคอมพิวเตอร์, นักวิจัยคอมพิวเตอร์, ผู้ช่วยเหลือสนับสนุนลูกค้า, ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง กับวิทยาการและเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์ และผู้จำหน่ายฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ 





แน่ นอน ว่าจะเลือกเรียนในสาขาใด ต้องคำนึงถึงตลาดแรงงานที่รองรับด้วยว่า เวลานี้ประเทศไทยยืนอยู่ ณ จุดใด และมีแน้วโน้มไปในทิศทางไหน และต้องไม่ลืมว่าลำพังการเอนท์ติด หรือได้เข้าเรียนไม่ใช่จุดสำเร็จของชีวิต แต่อาจเป็นพียงจุดเริ่มในการเปิดประตูสู่อาชีพเท่านั้น


สุดท้ายแล้ว ถ้ายังไม่เข้าใจ เดี๋ยวพี่จะสรุปโดยย่อที่สุดให้นะครับ ^^
             1. วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือ วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ = เน้นการเรียนทฤษฏีการเขียนโปรแกรม จุดกำเนิดของโปรแกรม วิธีการ และขึ้นตอนการเขียนโปรแกรมขั้นสูง
             2. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ = เน้นการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ในชีวิตประจำวัน เช่น เครื่องคิดเลข หุ่นยนต์ ระบบคอมพิวเตอร์แบบฝังตัว(เหมือนเครื่องซักผ้าอัตโนมัติ)
             3. วิศวกรรมมัลติมีเดียและระบบอินเทอร์เน็ต = เน้นการเรียนระบบมัลติมีเดีย เช่น วีดีโอ สร้างขึ้นมาได้อย่างไร มีระบบอะไรบ้าง และศึกษาระบบอินเตอร์เน็ต เน้นไปทางด้านการสร้างเว็บไซต์เพื่อระบบมัลติมีเดี่ย 
             4. เทคโนโลยีสารสนเทศ = เน้นการเรียนรู้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การตั้งค่าเร้าท์เตอร์ การติดตั้งเซฟเวอร์ลีนุกซ์ เป็นต้น
             5. วิศวกรรมซอฟต์แวร์ = เน้นการคิดวิเคราะห์แบบวิศวกรรม เพื่อใช้ในการเขียนโปรแกรม เช่น การออกแบบโปรแกรมๆ หนึ่ง ตามที่ลูกค้าต้องการ จากนั้น จะส่งแบบที่ออกแบบไว้ ให้กับโปรแกรมเมอร์(วิทยาการคอมพิวเตอร์) เขียนโค๊ดต่อไป และถ้ามีการออกแบบให้มีการใช้งานกับอุปกรณ์ ก็ต้องทำงานร่วมกับนักวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
หวังว่าคงจะเข้าใจนะครับ ^^


มีข้อติชมหรือต้องการเพิ่มเติมตรงไหนก็เขียนไว้ใน Comment ได้เลยนะครับ ^____^ 

มุมแนะนำ