มุมแนะนำ

วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คุณสมบัติของทองแดง

ทองแดง และโลหะผสมทองแดง เป็นวัสดุทางวิศวกรรมที่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย

คุณสมบัติที่ทำให้ทองแดงมีความเหมาะสมในการนำไปใช้งานได้หลากหลายประเภท คือ ความแข็งแกร่ง, สภาพการเป็นตัวนำ, ความต้านทานการกัดกร่อน, การแปรรูป และความอ่อน
เราสามารถเพิ่มคุณสมบัติของทองแดงได้ โดยการเปลี่ยนส่วนประกอบ และวิธีการผลิต
  • สภาพการนำไฟฟ้า: ทองแดงเป็นโลหะในทางวิศวกรรมที่ถูกใช้ทำเป็นตัวนำไฟฟ้ามากที่สุด โดยที่เงิน และธาตุอื่นๆ อาจะถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง, ป้องกันการอ่อนตัว หรือเพื่อเพิ่มคุณสมบัติอื่นๆโดยที่ไม่ทำให้เสียสภาพการนำไฟฟ้า
  • สภาพการนำความร้อน: เป็นคุณสมบัติเดียวกันกับสภาพการนำไฟฟ้า โลหะผสมทองแดงอาจถูกใช้เพื่อให้มีความต้านทานการกัดกร่อน กล่าวคือความสามารถในการนำความร้อนจะลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณอัลลอยด์ ในขณะที่ความต้านทานการกัดกร่อนจะเพิ่มขึ้น
  • สี และลักษณะที่ปรากฏ: โดยทั่วไปแล้วทองแดงจะมีสีเฉพาะ และอาจเปลี่ยนสีได้โดยขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ อัลลอยด์ส่วนมากสามารถทำการเตรียมการ และบำรุงรักษามาตรฐานของพื้นผิวได้ง่าย ถึงแม้จะมีสภาวะการกัดกร่อนที่ไม่พึงประสงค์ อัลลอยด์ส่วนใหญ่ถูกใช้ในการปรับสภาพให้ทองแดงมีความเหมาะสมกับการใช้งาน ตั้งแต่การขึ้นรูป หรือภายหลังจากการชุบโลหะ โดยที่อัลลอยด์แต่ละชนิดจะให้สีเฉพาะตัวออกมาเริ่มตั้งแต่สีชมพูแซลมอน จนถึงสีเหลือง ส่วนสีทอง และเขียวจนถึงบรอนซ์ดำ จะเกิดจากสภาพอากาศ โดยการสัมผัสกับบรรยากาศสามารถทำให้พื้นผิวทองแดงเป็นสีเขียว หรือบรอนซ์ดำได้ หรือการทำอัลลอยด์พื้นผิวสนิมในรูปแบบผลิตภัณฑ์บางประเภท
  • ความต้านทานการกัดกร่อน: โลหะผสมทองแดงจะป้องการการกัดกร่อนจากน้ำ และไอน้ำได้ โลหะผสมทองแดงสามารถป้องกันการกัดกร่อนในสภาพอากาศของชนบท, ในทะเล และโรงงานอุตสาหกรรมได้ ทองแดงสามารถป้องกันน้ำเกลือ, ดิน, แร่ธาตุที่ไม่เกิดการออกซิเดชั่น, กรดอินทรีย์ และการกัดกร่อน แต่แอมโมเนีย, ฮาโลเจน, ซัลไฟด์, สารละลายที่มีแอมโมเนียไอออน และกรดออกซิไดซ์ จะทำลายทองแดงได้ เช่นเดียวกับโลหะผสมทองแดงที่ป้องกันกรดอนินทีรย์ได้เพียงเล็กน้อย โดยความสามารถในการป้องกันการกัดกร่อนของโลหะผสมทองแดงจะมาจากการสร้างแผ่น ฟิล์มบนพื้นผิวของวัสดุ และฟิล์มนี้จะทำหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนโลหะ
  • ความอ่อนสามารถปรับปรุงได้โดยทำการอบอ่อน: สามารถทำได้โดยกระบวนการอบอ่อน หรือโดยการเชื่อม หรือขั้นตอนการประสาน
  • การชุบแข็ง/การเพิ่มความแข็ง: มีรูปแบบการเพิ่มความแข็งโดยทั่วไปอยู่ 4 รูปแบบของทองแดง คือ การเพิ่มความเครียด (strain hardening), การเพิ่มความแข็งแรงโดยสารละลายของแข็ง (solid-solution hardening), การทำให้เกิดสารประกอบขนาดเล็ก (precipitation hardening) และ การเพิ่มความแข็งแรงโดยการกระจายตัวของเฟสที่สอง (dispersion strengthening) ส่วนรูปแบบที่ห้าคือ spinodal decomposition เป็นรูปแบบที่ใช้ในการค้าขายโดยตรง แต่จะประกอบด้วย ทองแดง-นิกเกิล-ดีบุก เท่านั้น การผสมกลไกการเพิ่มความแข็งแรงถูกใช้ในการเพิ่มคุณสมบัติทางกลขั้นสูงสำหรับ โลหะผสมทองแดงขั้นสูง
ขอบคุณบทความดีจาก keytometals.com

คุณสมบัติของอลูมิเนียม

  • ข้อดีบางประการของอลูมิเนียมคือ ดูดี, ง่ายต่อการผลิต, ต่อต้านการกัดกร่อนได้ดี, ความหนาแน่นต่ำ, อัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง และความเหนียวที่ต้านการแตกหักสูง
  • ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ อลูมิเนียมจึงเป็นหนึ่งในวัสดุที่มีผลต่อเศรษฐกิจ และการทำโครงสร้าง ที่ใช้ในการค้าขาย และอุปกรณ์ทางการทหาร
  • เมื่อสัมผัสกับอากาศ จะทำให้เกิดชั้นฟิล์มบางๆเรียกว่า อลูมิเนียมออกไซด์ อยู่ที่ชั้นผิวของอลูมิเนียม ซึ่งชั้นผิวนี้จะสามารถป้องกันการกัดกร่อน และกรดต่างๆได้ แต่สามารถป้องกัน อัลคาลิส ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  • อลูมิเนียมบริสุทธิ์ จะมีค่าแรงดึงไม่สูงนัก แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มธาตุบางชนิดเข้าไปเช่น แม็กนีเซียม, ซิลิคอน, ทองแดง และแมงกานีส สามารถเพิ่มคุณสมบัติความแข็งแรงให้กับอลูมิเนียมได้ และได้อัลลอยด์ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานนั้นๆ
  • อลูมิเนียมเป็นตัวนำความร้อนที่ดีเยี่ยม และนำความร้อนได้ดีกว่าเหล็กถึงสามเท่า ด้วยคุณสมบัตินี้ทำให้อลูมิเนียมเป็นวัสดุที่มีความสำคัญกับทั้งงานที่ใช้ ความเย็น และความร้อน เช่น ตัวแลกเปลี่ยนความร้อน (heat-exchangers) เมื่อพูดถึงอลูมิเนียมที่ไม่ผสมธาตุใดๆแล้ว อลูมิเนียมประเภทนี้จะถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตอุปกรณ์การทำอาหาร และชุดเครื่องครัว
  • อลูมิเนียมมีน้ำหนักเพียง 1 ใน 3เท่าของเหล็ก และ ทองแดง ทำให้มันเป็นโลหะในเชิงพาณิชที่มีน้ำหนักเบาที่สุด
  • เทียบกับทองแดงแล้ว อลูมิเนียมถือว่ามีความสามารถในการนำไฟฟ้าเพียงพอที่จะใช้ทำเป็นตัวนำไฟฟ้าได้
ขอบคุณบทความดีๆจาก keytometals.com 

คุณสมบัติของเหล็ก

  • หากพูดถึงคุณสมบัติของวัสดุ จะพบว่าเหล็กเป็นวัสดุที่มีความสำคัญทางด้านวิศวกรรม และการก่อสร้างมากที่สุดในโลก

  • คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของเหล็กก็คือความสามารถในการขึ้นรูปได้ และความทนทานที่ยอดเยี่ยม รวมทั้งยืดหยุ่นได้ดี, มีค่าจุดคราก และการนำความร้อนที่ดี ตลอดจนคุณสมบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีในเหล็กกล้าไร้สนิม นั้นคือความทนทานต่อการกัดกร่อน

  • เมื่อทำการเลือกวัสดุไปใช้ในงานที่จำเพาะเจาะจงแล้ว วิศวกรต้องมีความมั่นใจในความเหมาะสมของ สภาวะการรับแรง และความทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ และนี่คือหัวข้อที่อยู่ในการบริการของเรา ความเข้าใจ และการควบคุมคุณสมบัติของวัสดุให้ได้นั้นเป็นสิ่งจำเป็น คุณสมบัติทางกลของเหล็กสามารถทำการควบคุมได้โดยอาศัยการเลือก chemส่วนประกอบทางเคมีที่เหมาะสม,กระบวนการ และกระบวนการอบร้อน หรือจนถึงการตรวจสอบโครงสร้างระดับจุลภาค
  • อัลลอยด์ และกระบวนการอบร้อนถูกใช้ในการผลิตเหล็ก ผลที่ได้นั้นจะมีความแตกต่างกันทั้งค่าคุณสมบัติ และความแข็งแกร่ง ส่วนในการทดสอบนั้นต้องดำเนินการทดสอบไปจนถึงคุณสมบัติสุดท้ายของเหล็ก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นมาตรฐานที่น่าเชื่อถือ
  • มีระบบการวัดอยู่หลายรูปแบบที่ใช้ในการระบุคุณสมบัติของเหล็ก ตัวอย่างเช่น จุดคราก, ความอ่อน และความแข็งตึง สามาหาหาได้โดยใช้การทดสอบแรงดึง ความเหนียวสามารถวัดค่าได้โดยใช้การทดสอบอิมแพ็ค ส่วนค่าความแข็ง สามารถหาได้โดยวัดจากความต้านทานในการเจาะพื้นผิวของวัสดุแข็ง
  • การทดสอบแรงดึง เป็นวิธีการในการประเมินผลตอบสนองของโครงสร้างของเหล็ก เมื่อได้รับโหลด ซึ่งผลลัพธ์จะแสดงในค่าความสัมพันธ์ระหว่าง ความเค้น และความเครียด โดยที่ค่าความสัมพันธ์ระหว่าง ความเค้น และความเครียด สามารถวัดได้จากช่วงยืดหยุ่นของวัสดุ และอัตราส่วนโมดูลัสของยัง ค่าโมดูลัสของยังที่สูงนั้น จะแสดงถึงความแตกต่างของคุณสมบัติเหล็ก ซึ่งจะอยู่ในช่วง 190-210 GPa และมีค่าเป็นสามเท่าของอลูมิเนียม
คุณสมบัติทางกายภาพของเหล็กจะมีความเกี่ยวพันธ์กับลักษณะทางกายภาพของ วัสดุ เช่น ความหนาแน่น, สภาพการนำความร้อน, โมดูลัสของสภาพยืดหยุ่น, อัตราส่วนของปัวซอง, อื่นๆ ค่าโดยทั่วไปขอคุณสมบัติทางกายภาพของเหล็กได้แก่:
  • ความหนาแน่น ρ = 7.7 ÷ 8.1 [kg/dm3]
  • โมดูลัสของสภาพยืดหยุ่น E=190÷210 [GPa]
  • อัตราส่วนของปัวซอง ν = 0.27 ÷ 0.30
  • สภาพการนำความร้อน κ = 11.2 ÷ 48.3 [W/mK]
  • สัมประสิทธิ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อน α = 9 ÷27 [10-6 / K]
ขอบคุณบทความดีๆจาก keytometals.com

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สรุปหลักการหาจุดสูงสุดสัมพัทธ์และจุดต่ำสุดสัมพัทธ์,จุดสูงสุดสัมบูรณ์และจุดต่ำสุดสัมบูรณ์

สรุปหลักการหาจุดสูงสุดสัมพัทธ์และจุดต่ำสุดสัมพัทธ์
1.       หา f′(x)
2.       หาค่าวิกฤตโดยการกำหนด f′(c)=0 แล้วแก้สมการหาค่า c
3.       ตรวจสอบค่าวิกฤตที่ได้โดยการใช้อนุพันธ์อันดับที่สอง หา f′′(x) แล้วแทนค่า c ลงไป หาก
f′′(c)>0 แสดงว่า f(c) เป็นค่าต่ำสุดสัมพัทธ์
f′′(c)<0 แสดงว่า f(c) เป็นค่าสูงสุดสัมพัทธ์
f′′(c)=0 ไม่สามารถสรุปได้ ต้องตรวจสอบด้วยอนุพันธ์อันดับที่หนึ่ง
การตรวจสอบด้วยอนุพันธ์อันดับที่หนึ่ง คือ  หาค่า f′(a) และ f′(b) โดยกำหนด a,b เป็นเท่าไรก็ได้ที่ a<c<b มักเลือกค่าที่หาได้ไม่ยาก เช่น ถ้า c=2 กำหนด a=1 และ b=3 หาก
f′(a)>0 และ f′(b)<0 แสดงว่า f(c) เป็นค่าสูงสุดสัมพัทธ์
f′(a)<0 และ f′(b)>0 แสดงว่า f(c) เป็นค่าต่ำสุดสัมพัทธ์
4.       เราจะได้ f(c) เป็นค่าสูงสุดสัมพัทธ์หรือค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ของฟังก์ชัน หากต้องการจุดสูงสุดสัมพัทธ์หรือจุดต่ำสุดสัมพัทธ์ ให้ตอบในรูปของคู่อันดับ (c,f(c))
ขั้นตอนการหาจุดสูงสุดสัมบูรณ์และจุดต่ำสุดสัมบูรณ์บนช่วงปิด [a,b] ใดๆ ของฟังก์ชัน y=f(x)
1.       หาค่าวิกฤต c
2.       นำค่าวิกฤตมาแทนค่าในฟังก์ชันเพื่อหา f(c)
3.       หาค่าของ f(a) และ f(b)
4.       เปรียบเทียบค่าที่ได้จากในข้อที่ 1 และ 2 เพื่อดูว่า
ค่าใดมีค่ามากที่สุด ค่านั้นคือค่าสูงสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชัน f
ค่าใดมีค่าน้อยที่สุด ค่านั้นคือค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชัน f
5.       หากต้องการจุดสูงสุดสัมบูรณ์และจุดต่ำสุดสัมบูรณ์ให้ตอบในรูปคู่อันดับ

สรุปง่ายๆ คือ ** สุดขีดสัมพัทธ์ ให้เอาค่าระว่างค่าวิกฤตไปหาความชัน ใน f'(x) แล้วลองร่างกราฟคร่าวๆดูว่าที่ช่วงไหนเป็นจุดหรือหรือจุดตํ่า เมื่อทราบแล้วก็เอาค่าวิกฤตที่จุดนั้นไปไปหาจุดตํ่าสุดหรือสูงสุดแต่ละตัวใน f(x) ชึ่งผลออกมาจะได้เป็นคู่อันดับ (x,y)
                 ** สุดขีดสัมบูรณ์ ให้เอาค่าวิกฤตที่ได้ไปแทนใน f(x) แล้วเปรียบเทียบกัน จุดที่ค่ามากกว่าจะเป็นจุดสูงสุดสัมบูรณ์ จุดที่ค่าน้อยกว่าจะเป็นจุดตํ่าสุดสัมบูรณ์ แล้วตอบเป็นคู่กันอับ (x,y)


ขอบคุณเนื้อหาดีๆจาก : https://opendurian.com

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปสูตรแคลคูลัส & ตรีโกณมิติ

สรุปสูตรแคลคูลัส & ตรีโกณมิติ
 คลิ๊กเพื่อขยายภาพ
สรุปสูตรแคลคูลัส & ตรีโกณมิติ
คลิ๊กเพื่อขยายภาพ

การเคลื่อนที่แบบหมุน การหมุนของวัตถุแข็งเกร็ง






 










ข้อสอบแพทย์ โรงพยาบาลรามาฯ



ขอบคุณเนื้อหาจากผู้ใหญ่ใจดี : GTRmath

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

ข้อสอบ CU-Science (เกรง)

ข้อสอบ CU-Science (เกรง)

Man&Technology

เนื้อหาวิชา  Man&Technology เป็นไฟล์ pdf
บทนำ + มนุษย์ในยุคสมัยต่างๆ
พลังงานและสิ่งแวดล้อม
วัสดุนาโน
สังคมยุคอุตสาหกรรม
อเลิกตรอน โปรตอน ไอออน
เทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีวัสดุ
เทคโนโลยีวัสดุ และวัสดุชั้นสูง
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
เทคโนโลยีเครื่องเร่งอนุภาค

ขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

แจกหนังสือ Serway, Jewett - Physics for Scientists and Engineers with Modern Physics, 9th Ed

แจกหนังสือ Serway, Jewett - Physics for Scientists and Engineers with Modern Physics, 9th Ed
ใครอยากได้แค่โพสต์ลิงค์ http://thebag101.blogspot.com/ ใน Facebook แล้วตั้งโพตส์เป็นสาธารณะจากนั้นคอมเมนต์ ชื่อ Facebook พร้อมอีเมลล์ไว้ในคอมเมนต์ด้านล้างเลยครับเดี๋ยวส่งไปให้

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

Man and Environment SUT part2

กำเนิดและวิวัฒนาการของโลก สิ่งมีชีวิตและมนุษย์ 
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
ประชากรมนุษย์และพลวัตประชากร
การวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อม
การจัดการทรัพยากรมนุษย์

Man and Environment SUT part1






วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

แคลคูลัส 1 หลัง midterm

แคลคูลัส 1 หลัง midterm

การอินทิเกรตฟังก์ชันซายน์และโคซายน์
การอินทิเกรตฟังก์ชันซายน์และโคซายน์
การอินทิเกรตโดยการเปลี่ยนตัวแปร(ต่อ)
การอินทิเกรตโดยการเปลี่ยนตัวแปร
การอินทิเกรตโดยการแทนด้วยฟังก์ชันตรีโกณมิติ
การอินทิเกรตโดยการแบ่งส่วน
สมการเชิงอนุพันธ์อันดับหนึ่ง
สูตรอินทิเกรต
แบบฝึกหัดการหาปริมาตร - Disk Method
แบบฝึกหัดทบทวนปลายภาค206111
แบบฝึกหัดฝึกฝนและทบทวนการอินทิเกรต
Improper Integrals
lect-10-September-2014
lect-10-September-2014

ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แคลคูลัส 1 ก่อน midterm

แคลคูลัส 1 ก่อนมิดเทอม

1.กฎของโลปิตาล-เพิ่มเติม
2.กฎลูกโซ่-เพิ่มเติม
3.กฎลูกโซ่
4.กฎโลปิตาล
5.การหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันแฝง
6.ดิฟเฟอเรนเชียล
7.นิยามของอนุพันธ์-สำหรับทำแบบฝึกหัด
8.ฟังก์ชันลอการิทึมและเอกซ์โปเนนเชียล-เพิ่มเติม
9.ลิมิตอนันต์และลิมิตที่อนันต์
10.ลิมิตและความต่อเนื่อง
11.สรุปสูตรอนุพันธ์เบื้องต้น
12.สูตรอนุพันธ์เบื้องต้น
13.สูตรเบื้องต้นของอนุพันธ์
14.อนุพันธ์-ฟังก์ชันตรีโกณมิติ
15.อนุพันธ์-ฟังก์ชันลอการิทึมและเอกซ์โปเนนเชียล
16.อนุพันธ์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ-เพิ่มเติม
17.อนุพันธ์ของฟังก์ชันอินเวอร์สของฟังก์ชันตรีโกณมิติ
18.อนุพันธ์ของฟังก์ชันอินเวอร์สตรีโกณมิติ-เพิ่มเติม
19.อนุพันธ์ของฟังก์ชันแฝง-เพิ่มเติม
20.อนุพันธ์ของฟังก์ชันแฝง
21.อนุพันธ์ของฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิก
22.อนุพันธ์ในรูปของอัตราการเปลี่ยนแปลง
23.อนุพันธ์ในรูปฟังก์ชัน
24.แบบฝึกหัด-รวมอนุพันธ์-ชุด1
25.แบบฝึกหัดทบทวน-Midterm-แจกในห้อง

ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุป Man&Envi Part1



“ยาปฏิชีวนะ” ไม่ใช่ “ยาแก้อักเสบ”
ยาปฏิชีวนะ เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น เพนนิซิลิน อะม็อกซีซิลิน เตตร้าซัยคลินไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ
·        ยาแก้อักเสบ (ยาต้านการอักเสบ) เป็นยาที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวม  เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 
·        คนส่วนใหญ่มักเรียก ยาปฏิชีวนะ ผิดว่าเป็น ยาแก้อักเสบ เพราะเมื่อติดเชื้อแบคทีเรียแล้ว กินยาปฏิชีวนะ (เช่น โรคต่อมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง) ยาปฏิชีวนะจะไปฆ่าเชื้อแบคทีเรีย  ที่เป็นสาเหตุของโรค เมื่อเชื้อตายไปอาการคออักเสบ (เจ็บคอ คอแดง เป็นหนอง) จะลดลงเอง โดยอัตโนมัติ คนจึงมักเรียกผิดว่าเป็น ยาแก้อักเสบ 
·        ดังนั้น เราไม่ควรเรียก ยาปฏิชีวนะ ว่า ยาแก้อักเสบ อีกต่อไป เพราะ 
1. ทำให้เราเข้าใจผิดและใช้ยาผิด คิดว่าเมื่อเกิดการอักเสบไม่ว่าจากสาเหตุใด เช่น ผิวหนัง อักเสบจากการแพ้สารเคมี หรือปวดกล้ามเนื้อจากการยกของหนัก ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะเข้าใจผิดว่ายาปฏิชีวนะมีฤทธิ์ลดการอักเสบ ซึ่งไม่ถูกต้อง 
2. ทำให้คนอื่นเข้าใจผิด และใช้ยาผิดไปด้วย
***“ยาปฏิชีวนะ” ที่มักเรียกกันผิดๆ ว่า ยาแก้อักเสบ” ทําให้ใช้ยาผิด***

3 โรค... หายเองได้ ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ
หวัดเจ็บคอ ส่วนใหญ่ (กว่าร้อยละ 80) เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการ เช่น น้ำมูกไหล ไอ เสียงแหบ เจ็บคอ มีไข้ โดยทั่วไป โรคนี้จะเป็นนานประมาณ 7-10 วัน โดยในวันที่ 3-4 จะมีอาการมากสุด แต่หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้นเอง 
·        แต่ถ้าเจ็บคอ มีหนองที่ต่อมทอนซิล ต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรโตและกดเจ็บ    หรืออาการแย่ลง ต้องไปพบแพทย์  
ท้องเสีย เกือบทั้งหมด (ประมาณร้อยละ 99) เกิดจากไวรัส หรืออาหาร  เป็นพิษ มีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย รักษาโดยดื่มน้ำเกลือแร่ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ 
·        แต่ถ้ามีไข้ และอุจจาระมีมูกปนเลือด ต้องไปพบแพทย์  
แผลเลือดออก เช่น แผลมีดบาด แผลถลอก บาดแผลเล็กน้อยจากอุบัติเหตุ  ซึ่งล้างทำความสะอาดได้ถูกต้อง และสุขภาพของเราแข็งแรงดี ไม่ต้องใช ้ ยาปฏิชีวนะ เพราะป้องกันการติดเชื้อไม่ได้ และไม่ได้ทำให้แผลหายเร็วขึ้น  
·        แต่ถ้าเป็นแผลที่เท้า ตะปูตำ สัตว์กัด หรือโดนสิ่งสกปรก เช่น มูลสัตว์   หรือมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ต้องไปพบแพทย์ 

ยาปฏิชีวนะ” เป็น “ยาอันตราย” ... อย่าใช้ถ้าไม่จำเป็น
·        ยาปฏิชีวนะ” เป็น “ยาอันตราย” ลองดูข้างกล่องยาจะเห็นคำว่า “ยาอันตราย” ในกรอบสีแดง และเตือนว่ายานี้อาจทำให้เกิดการแพ้ และ เป็นอันตรายถึงตายได้  
·        อันตรายจากยาปฏิชีวนะ เช่น แพ้ยา ติดเชื้ออื่นแทรกซ้อน และเชื้อดื้อยา  
·        เชื้อดื้อยา แปลว่า ยาปฏิชีวนะชนิดนี้ใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป เพราะแบคทีเรีย  เกิดปรับตัวให้ทนต่อยา และถ้ายังใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อต่อไป สุดท้าย ไม่มียาใดรักษาได้  
·        เชื้อดื้อยาแพร่กระจายได้ คนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ได้แก่ เด็ก คนแก่ คนที่เป็นเบาหวาน และคนที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล เราหยุดเชื้อดื้อยาและอันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะได้ ดังนี้ 
o   หยุดกินยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ คือ ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในโรคที่ไม่จำเป็นต้องใช้ เช่น หวัดเจ็บคอ ท้องเสีย และแผลเลือดออก 
o   อย่ากินยาปฏิชีวนะแบบเผื่อๆ ไว้ คือ ยังไม่รู้ว่าป่วยเป็นอะไร ก็กินยาปฏิชีวนะกันไว้ก่อนหรือเผื่อไว้ก่อน เราต้องนึกเสมอว่า    “ยาปฏิชีวนะใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น” ถ้าเจ็บป่วยจากสาเหตุอื่น ยาปฏิชีวนะรักษาไม่ได้  
o   อย่าซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง เพราะยาปฏิชีวนะแต่ละชนิดเหมาะกับเชื้อแบคทีเรียแต่ละอย่าง แพทย์และเภสัชกรจะบอกเรา ได้ว่ายาปฏิชีวนะชนิดใดเหมาะสมกับเชื้อโรคไหน  
o   อย่าแนะนำหรือแบ่งยาปฏิชีวนะของเราให้คนอื่น เพราะเราไม่รู้ว่าเขาป่วยจากเชื้อแบคทีเรียหรือไม่ เป็นเชื้อประเภทไหน ยาใดที่เหมาะกับเขา เขาแพ้ยาอะไร และมีโรคประจำตัวหรือไม่
เจ็บคอ ... ส่วนใหญ่ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะก็หายได้
เจ็บคอจากการติดเชื้อ “แบคทีเรีย” พบน้อยกว่า
·        ลิ้นไก่บวมแดง มีจุดหนองที่ต่อมทอนซิล ทอนซิลบวมแดง คอแดง มีฝ้าสีเทาที่ลิ้น เป็นบริเวณกว้าง
อาการ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการไอ และมักไม่มีน้ำมูก แต่ จะมีต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรโตและกดเจ็บ 
วิธีรักษา ปรึกษาเภสัชกรหรือไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยว่าควรใช้ยาปฏิชีวนะหรือไม่
เจ็บคอจากการติดเชื้อ “ไวรัส” พบบ่อยกว่า
·        ทอนซิลบวมแดง คอแดง
อาการ ส่วนใหญ่มักมีน้ำมูกและไอ อาจมีเสียงแหบและ  เจ็บคอร่วมด้วย 
วิธีรักษา หายเองได้ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย การพักผ่อน และกลั้วคอด้วยน้ำเกลือจะช่วยให้หายเร็วขึ้น
ยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ โดยเป้าหมายหลักของการใช้ยาคือ  ผลในการรักษาโรคหรือบรรเทาอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แต่การใช้ยานั้นส่วนใหญ่จะต้องได้รับคำแนะนำหรืออยู่ภายใต้การดูแลของ บุคลากรทางสาธารณสุข เนื่องจากยานั้นเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง ซึ่งนอกเหนือจากผลในการรักษาแล้วยังมีผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งสามารถก่อให้เกิด อาการไม่พึงประสงค์จากยา (Adverse Drug Reaction หรือ ADR)  โดยตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วถือว่าสามารถเกิดขึ้นได้ในยาทุกชนิด

อาการไม่พึงประสงค์จากยา (Adverse Drug Reaction) หรือ ADR
        ตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลก คือ ปฏิกิริยา ที่เป็นผลมาจากการใช้ยา และเป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์โดยไม่ได้จงใจให้เกิดขึ้น  และจำกัดความเฉพาะการใช้ยาในขนาดปกติ  ไม่รวมอุบัติการณ์ที่เกิดจากการใช้ยาที่ผิดวิธี ผิดข้อบ่งใช้  หรือการใช้ยาเกินขนาด ดังนั้นคำว่า อาการไม่พึงประสงค์จากยานี้จึงเป็นคำที่มีความหมายกว้างและครอบคลุมถึงการ เกิดอันตรายจากการใช้ยาทั้งชนิดที่คาดการณ์ได้ และคาดการณ์ไม่ได้  ซึ่งการแพ้ยา หรือการเกิดผลข้างเคียงของยา ก็จัดเป็นอาการไม่พึงประสงค์ของยาด้วยเช่นกัน

          คนส่วนใหญ่มักมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการแพ้ยา เมื่อใดก็ตามที่มีอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใช้ยา เช่น หลังทานยาแล้วง่วงนอน ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน แสบท้อง หรือมีผื่นขึ้น ก็จะเข้าใจกันว่าเป็นอาการแพ้ยาทั้งสิ้น ซึ่งความจริงแล้วอาการต่าง ๆ เหล่านี้เรียกรวม ๆ ได้ว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา โดยอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยานั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ อาการข้างเคียงจากยา (Side effect) และ  การแพ้ยา (Drug allergy) ซึ่งการปฏิบัติตัวและการจัดการกับอาการข้างเคียงจากยาและการแพ้ยานั้นจะมีความแตกต่างกัน
อาการข้างเคียงจากยา (Side effect)
          หมายถึง ผลใดๆ ที่ไม่ได้จงใจให้เกิดขึ้นจากยา ซึ่งเกิดขึ้นในการใช้ตามขนาดปกติในมนุษย์ และสัมพันธ์กับคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของยา หรือกล่าวให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเกิดจากฤทธิ์ของยาเอง เช่น ทานยาแก้ปวด Ibuprofen แล้วมีอาการแสบท้องเนื่องจากยาระคายกระเพาะ เรียกว่าเป็นผลข้างเคียงจากยา อาจแก้ไขโดยทานยาหลังอาหารทันที ห้ามทานตอนท้องว่าง ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เคยเป็นโรคกระเพาะอาจต้องทานยาลดการหลั่งกรดร่วมด้วย ยารักษาความดันโลหิตสูง ซึ่งมีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตของผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงให้เป็นปกติ แต่บางครั้งอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำ จนมีผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงจากความดันโลหิตต่ำจากยาได้ เช่น ลุกขึ้นแล้วหน้ามืด ใจสั่น หรือยารักษาโรคเบาหวาน ถ้าใช้เกินขนาด หรือผู้ป่วยทานอาหารน้อยลง อาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยจะมีอาการใจเต้น ใจสั่น เหงื่อออก ถ้ามีอาการมากอาจจะหมดสติ ยาบางชนิดมีผลข้างเคียง ทำให้ง่วงนอน เช่น ยาในกลุ่มยาแก้แพ้ เช่น Chlorpheniramine, Hydroxyzine หลังทานยาควรหลีกเลี่ยงการขับรถ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เช่น Doxycycline อาจแก้ไขโดยทานยาพร้อมอาหาร หรือหลังอาหารทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ยาออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าอาการข้างเคียงจากยาเป็นอาการที่เกิดจากฤทธิ์ของยาเอง และสามารถจัดการแก้ไขได้โดยการปรับเปลี่ยนวิธีทานยา และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ไม่จำเป็นต้องห้ามใช้ยาเสมอไป
การแพ้ยา (Drug allergy)
          เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านยาที่ได้รับเข้าไป ไม่ สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าผู้ใดจะแพ้ยาตัวไหน ลักษณะอาการแพ้ยา เช่น หลังทานยาแล้วมีผื่นคัน เปลือกตาบวม ริมฝีปากบวม มีแผลบริเวณเยื่ออ่อน ผิวหนังไหม้ เป็นต้น โดยหากพบว่าทานยาแล้วมีอาการแพ้ยาควรหยุดยาที่ต้องสงสัยทั้งหมด และพบแพทย์เพื่อรักษาอาการแพ้ที่เกิดขึ้นอย่างถูกวิธี และห้ามทานยาที่แพ้ซ้ำอีก เพราะจะทำให้เกิดการแพ้ซ้ำ และอาการแพ้อาจรุนแรงขึ้นจนบางครั้งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ควรมีการจดบันทึกชื่อยาไว้ แจ้งแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งว่าท่านแพ้ยาชื่ออะไร

ข้อแตกต่างระหว่างการแพ้ยาและผลข้างเคียงจากยา สามารถยกตัวอย่างคร่าวๆ ดังนี้

ยา Phenytoin
          ซึ่งเป็นยากันชัก ขนาดยาปกติไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อวัน ผลข้างเคียงที่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดโดยทั่วไป คือ อาการมึนงง, มองภาพไม่ชัด, เหงือกบวม เป็นต้น แต่การแพ้ยาที่เกิดขึ้นเป็นรายบุคคลนั้นอาจเป็นอาการ Stevens-Johnson Syndrome หรือ SJS ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell ของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดผื่นแพ้ทางผิวหนัง และมีการหลุดลอกของเยื่อบุต่างๆ

แพ้ยาทำให้เกิดไข้
          ท่านที่เป็นโรคติดเชื้อและซื้อยารับประทาน หลังจากรับประทานไประยะหนึ่งไข้ไม่ลง ซึ่งอาจจะเกิดจากแพยาก็ได้ ยาที่เกิดอาจจะเป็นไข้ต่ำ ๆ ตลอด หรือไข้สูงเป็นช่วง ๆ ยาที่มักจะทำให้เกิดไข้คือยากลุ่มปฏิชีวนะ เมื่อหยุดยา 24-48 ชั่วโมงไข้ก็จะลงเอง

ยาที่ทำให้เกิดผลภูมิแพ้ที่ตับ
          ปฏิกิริยาภูมิแพ้อาจจะทำให้เกิดการอักเสบของตับ โดยตับจะโตและเจ็บเมื่อเจาะเลือดตรวจจะพบว่ามีค่า SGOT,SGPT สูงและอาจจะมีดีซ่าน ยาที่ทำให้เกิดตับอักเสบที่พบบ่อย  ได้แก่  phenotiazine, sulfonamide, halathane, phenyltoin, Isoniazid

ยาที่ทำให้เกิดโรคปอด
          ผู้ป่วยที่ใช้ยาเป็นประจำเช่นยา nitrofurantoin sulfasalaxine นาน ๆ อาจะทำให้เกิดโรคที่ปอด ทำให้เกิด ไข้ ไอ และมีผื่น เมื่อเจาะเลือดพบว่า eosinphil ในเลือดสูง การรักาาให้หยุดยานั้นเสีย

การแพ้ยา penicillin
           ยากลุ่ม penicillin เป็นยาที่แพ้ได้บ่อยที่สุด การเกิดภูมิแพ้ได้หลายแบบ IgE,Immune Complex,Cytotoxic เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแพ้ยา penicillin อาการแพ้มีได้หลายแบบ
ลมพิษ
1.คัน
2.ผื่นได้หลายๆแบบ
3.แพ้แบบรุนแรงได้แก่ หนังตา ปากบวมที่เรียกว่า angioedema กล่องเสียงบวม(laryngeal edema) หลอดลมเกร็ง  ความดันโลหิตต่ำ
4.บางรายผื่นเป็นมากทำให้เกิดลอกทั้งตัวที่เรียกว่า steven johnson syndrome
5.ในทางห้องทดลองพบว่าผู้ที่แพ้penicillin สามารถแพ้ยากลุ่ม cephalosporin ดังนั้นหากสามารกเลือกยากลุ่มอื่นได้น่าจะเป็นการปลอดภัย
6.การแพ้ยา cephalosporin ก็ไม่จำเป็นต้องแพ้ penicillin

          penicillin เมื่อให้ในโรคต่อไปนี้จะทำให้เกิดผื่นได้ง่าย
          * ติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะ infectiuos mononucleosis
          * มะเร็งเม็ดเลือดขาว
          * กรดยูริกในเลือดสูง
          * ให้ยาpenicillin ร่วมกับ allopurinol
แพ้ยา sulfonamide
           ยา sulfonamide เป็นยาผสมในยาหลายชนิดได้แก่ ยาปฏิชีวนะ(bactrim) ยาแก้ปวด ยาขับปัสสาวะ ยาลดน้ำตาลในเลือด
การแพ้ aspirin   
          อาการของผู้ที่แพ้ aspirin มีได้หลายรูปแบบ
1.ผื่นลมพิษ
2.angioedema หน้าหนังจาปากบวม
3.น้ำมูกไหล
4.หลอดลมเกร็งทำให้แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หากเป็นมากอาจจะมีตัวเขียว ริมฝีปากเขียว
5.ความดันโลหิตต่ำ
6.ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด หรือไซนัสอักเสบจะแพ้ได้ถึงร้อยละ30-40

การวินิจฉัยอาการแพ้ยา
        การวินิจฉัยว่าแพ้ยาหรือไม่จะอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเป็น สิ่งสำคัญที่สุดครับ ประวัติการได้รับยาตั้งแต่เริ่มรับยาจนกระทั่งเกิดอาการแพ้ยา อาจจะอาการคันตามตัว แสบตา ผื่น ปวดข้อ การตรวจร่างกายต้องดูลักษณะของผื่น การกระจายของผื่น ไข้ อาการอื่นๆ
อาการแพ้ยามักจะเกิดหลังจากได้รับยาไปไม่นาน แต่อาการแพ้ยาอาจจะเกิดหลังจากได้รับยาไปแล้วเป็นเวลาสัปดาห์ก็ได้
*จะต้องทราบประวัติการรับประทานยาทั้งหมด ชนิดของยาที่รับประทานอยู่ ขนาดของยา รวมทั้งยาที่ซื้อมารับประทานเอง ยาชุด หรือสมุนไพร
*อาการลมพิษอาจจะเป็นอาการของโรคซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับการแพ้ยาก็ได้


การตรวจวินิจฉัย
*ไม่มีการตรวจวินิจฉัยที่ชัดเจน สิ่งที่กระทำได้ดีที่สุด คือการหยุดยาที่สงสัยทันที และติดตามว่าผื่นหรืออาการแพ้ยาลดลงหรือไม่
*การเจาะเลือดตรวจ CBC จะพบว่าอาจจะมีเม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำ หรือมี  eosinophilia ซึ่งบ่งว่ามีการแพ้ยา
*สำหรับ ผู้ที่แพ้ยารุนแรงจะต้องมีการเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับ และไต บางรายที่มีการอักเสลของเส้นเลือดจะต้องมีการX ray ปอด และการตรวจโปรตีนในปัสสาวะ
*ในรายที่อาการแพ้ยาเหมือนอาการของโรค SLE จะต้องมีการตรวจเลือดเพื่อแยกโรค SLE
*การทดสอบทางผิวหนัง และการรับประทานยาเพื่อทดสอบการแพ้ยาไม่นิยมทำ และอาจจะเป็นอันตราย

การรักษาอาการแพ้ยา

       สำหรับผู้ทีอาการแพ้เฉียบพลัน

*ให้หยุดยานั้นทันที
*หากมีอาการแพ้รุนแรงแบบ anaphylaxis ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงกับชีวิต ต้องไดรับยา epinephrine
*สำหรับผู้ที่มีผื่นลมพิษหรือ angioedema ให้ยาแก้แพ้รับประทาน
*ให้ยา steroid ชนิดรับประทาน

       สำหรับผู้ที่แพ้ไม่เฉียบพลัน
*ให้หยุดยาที่สงสัย หลังหยุดยาผื่นอาจจะยังเกิดขึ้นต่อไปได้อีก
*หากผื่นเป็นน้อยให้ยาแก้แพ้ชนิดเดียวก็น่าจะพอ
*สำหรับผู้ที่มีผื่นมากและมีท่าจะเป็นมากขึ้นก็สามารถให้กิน steroid ชนิดกินระยะสั่นๆ

          แต่ทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็น ผื่นแพ้, anaphylaxis shock, อาการท้องเสีย, อากการเหงือกบวม สามารถเรียกกว้างๆ ได้ว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์จากยา (ADR) ทั้งสิ้น












มุมแนะนำ