สัณฐานของโลก
โลกมีรูปทรงเกือบเป็นทรงกลม
คือ วัดเส้นผ่านศูนย์กลางของโลกจากขั้วเหนือไปยังขั้วใต้ได้ยาว 12,714 กิโลเมตร
แต่ถ้าวัดเส้นผ่านศูนย์กลางที่แนวศูนย์สูตรได้ยาว 12,757 กิโลเมตร
แสดงว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของโลกบริเวณศูนย์กลางประมาณ 43 กิโลเมตร แสดงวารูปทางของโลกบริเวณขั้วโลกแบนไปเล็กน้อย
และป่องตรงศูนย์สูตรเล็กน้อย โดยโลกมีขนาดใกล้เคียงกับดาวศุกร์
โครงสร้างของโลก
1.แก่นโลก (Core)
เป็นจุดกึ่งกลางโลก ซึ่งเป็นส่วนในสุดของโลก แบ่งออกเป็น 2 ชั้น
1.1แก่นโลกส่วนใน (inner core) มีลักษณะเป็นทรงกลม มีความหนาประมาณ 1,255 กิโลเมตร เนื่องจากมีแรงกดมาก
จึงสันนิษฐานว่าเป็นของแข็ง
ประกอบด้วยธาตุโลหะผสมระหว่างเหล็กกับนิกเกิลเป็นส่วนใหญ่
1.2แก่นโลกส่วนนอก (Outer core) สันนิษฐานว่าเป็นของเหลว มีความหนาประมาณ
2,200กิโลเมตร ประกอบด้วยโลหะหลอมเหลวจำพวกเหล็ก เป็นชั้นที่ได้รับแรงกดดันมาก
มีอุณหภูมิสูงถึง 2,200-2,750 ̊C
แก่นโลกส่วนนี้มีการหมุนอยู่ตลอดเวลา
สามารถดันชั้นเปลือกโลกให้เคลื่อนที่ออกมาถึงชั้นเปลือกโลกได้ เช่น
กรณีการเกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟปะทุ เป็นต้น
2.เนื้อโลก (Mantle)
มีความหนาประมาณ 2,895 กิโลเมตร ประกอบด้วยแร่ธาตุต่างๆ ที่มีลักษณะยืดหยุ่น
ได้แก่ เหล็กและนิกเกิล
ชั้นเนื้อโลกหรือแมนเทิล
มีสภาวะของความไม่เสถียร คือ มีการเคลื่อนไหว การเลื่อนไหลของหินหนืดอยู่ตลอดเวลา
ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดพลังงานปริมาณมหาศาลที่ส่งผลต่อมาถึงเปลือกโลกซึ่งมีตวามบอบบางเมื่อเทียบกับขนากของโลก
และโดยปกติเปลือกโลกจะสามารภต้านทานพลังงานดังกล่าวได้
แต่บางครั้งที่มีพลังงานมากเกินกว่าที่โลกจะต้านทานได้ จึงทำให้ต้องปรับดุลยภาพ
ทำให้เปิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟปะทุ ทวีปเลื่อนตามบริเวณแนวรอยต่อของแผ่นเปลือกโลก
3.เปลือกโลก (Cruse)
เป็นส่วนที่แข็งด้านนอกสุด มีความหนาประมาณ 8-40 กิโลเมตร
ประกอบด้วยหินและแร่ต่างๆ ประกอบด้วยแผ่นดิน 1ส่วน และผืนน้ำ 3ส่วน
โดยมีความหนาในส่นของผืนน้ำประมาณ 8-16 กิโลเมตร และผืนในส่วนแผ่นดินประมาณ 16-40
กิโลเมตร
****www.thebag101.blogspot.com****
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น