เลือด (blood)
- ปริมาณเลือดภายในร่างกายประมาณ 7 -9
% ของน้ำหนักตัวเลือดประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2 ส่วน คือ
1. ส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่า น้ำเลือด หรือพลาสมา (Plasma) ประมาณ 55% น้ำเลือด
หรือ พลาสมา ประกอบด้วย โปรตีน เช่น อัลบูมิน (albumin) โกลบูลิน (globulin) และไฟบริโนเจน (Fibrinogen)
คาร์โบไฮเดรต เช่น กลูโคส ของเสีย เช่น ยูเรีย CO2 เกลือแร่ อีอ่อนต่างๆ เอนไซม์และฮอร์โมน
หน้าที่ของพลาสมา
- ลำ เลียงสารอาหารอื่น ๆ ให้กับเซลล์ และรับของเสียจากเซลล์ไปจำ กัดออกภายนอกร่างกาย
2. ส่วนที่เป็นเม็ดเลือด (blood cell) ประมาณ 45% ประกอบด้วย
2.1 เม็ดเลือดแดง (erythrocyte หรือ red blood cell)
ลักษณะ - เป็นเซลล์ที่ไม่มีนิวเคลียส รูปร่างกลมแบน ตรงกลางเว้า
จำนวน - เพศชาย 5 ล้านเซลล์/เลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร
- เพศหญิง 4.5 ล้านเซลล์/เลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร
หน้าที่ - ขนส่ง O2
- โดย Hemoglobin จะรวมตัวกับ O2 เป็น Oxyhaemoglobin
การเกิดและอายุ
- ในผู้ใหญ่ สร้างจากไขกระดูก
- เด็ก สร้างจากตับ, ม้าม และไขกระดูก
- เมื่อสร้างเสร็จใหม่ ๆ จะมี nucleus เมื่อโตเต็มที่ nucleus จะสะลายไป
- มีอายุประมาณ 120 วัน
- ถูกทำ ลาย ตับ, ม้าม และไขกระดูก
- อัตราการทำ ลาย = อัตราการเกิด
2.2 เม็ดเลือดขาว (Leucocyte หรือ white blood cell)
ลักษณะคล้ายอมีบา มีนิวเคลียส เม็ดเลือดขาว
แบ่งได้ 2 ชนิด
1. ชนิดที่มีกราบูล (Granule) หรือจุดของไลโซโซมจำนวนมากใน
Cytoplasm ถูกสร้างที่ ม้าม และไขกระดูก มีอายุ 2 - 3 วัน
2. ชนิดที่ไม่มีกราบูล (Agranule) - ไม่มีจุดของไลโซโซมใน
Cytoplasm นิวเคลียสค่อนข้างกลม ถูกสร้างจากอวัยวะนํ้าเหลือง ได้แก่ ต่อมไทมัส ต่อมนํ้าเหลือง และม้าม
จำนวน -5,000
- 10,000 เซลล์/เลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร
หน้าที่ -กำ จัด หรือทำ ลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาภายในในร่างกาย
วิธีที่ทำลายเชื้อโรค
มี 2 วิธี
1. โดยการบินแบบ
"phagocytosis"
2. โดยการสร้างสรรค์
"antibody" ขึ้นมา ซึ่งเรียกว่า "สร้างภูมิคุ้มกันโรค"
(immunity) สิ่งที่แปลกปลอมเรียกว่า
"antigen"
ภูมิคุ้มกันแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. ภูมิคุ้มกันก่อเอง (active immunity) เกิดช้า แต่คุ้มกันโรคได้นาน
- หมายถึง ภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น เมื่อร่างกายถูกกระตุ้นโดยตรงจาก
antigen หรือสิ่งแปลกปลอม antigen หรือสิ่งแปลกปลอม
ได้แก่
- วัคซีน
(vaccine) เป็นเชื่อโรคที่ทำ ให้อ่อนฤิทธิ์ หรือตายลงจนไม่สามารถทำ ให้เกิดโรคได้เช่น วัคซีนป้องกัน อหิวาตกโรค, ฝีดาษ, ไอกรน, โปลิโอ, โรคพิษสุนัขบ้า และวัณโรค
- ทอกซอยด์ (toxoid) เป็นสารพิษของแบคทีเรียที่ทำ ให้เกิดโรคบางชนิด แต่ทำ ให้หมดฤิทธิ์
เสียก่อน และยังมีความสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ เช่น เชื้อโรคบาดทะยัก
เชื้อโรคคอตีบ เป็นต้น
2. ภูมิคุ้มกันรับมา (passive
immunity) เกิดเร็ว อยู่ได้ไม่นาน เช่น เซรุ่มแก้พิษงู
3. เพลตเลต มีขนาดเล็ก คือเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 -
5 ไมโครเมตร ไม่มีนิวเคลียสรูปร่างกลมรี และแบน มีอายุประมาณ 3 - 4 วัน มีจำนวน 250,000 - 500,000 หน่วยต่อเลือด 1 ลูกบาศก์มิลลิเมตร หน้าที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด