มุมแนะนำ

วันจันทร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความหมายของสีถุงขยะ


ความหมายของสีถุงขยะ
ถุงสีเขียว รวบรวมขยะมูลฝอยที่เน่าเสีย และย่อยสลายได้เร็ว สามารถนำไปทำปุ๋ยหมักได้ เช่น ผัก ผลไม้ เศษอาหาร ใบไม้
ถุงสีเหลือง รวบรวมขยะมูลฝอยมี่สามารถนำมารีไซเคิลหรือขายได้ เช่น แก้ว กระดาษ พลาสติก โลหะ อลูมิเนียม
ถุงสีแดง รวบรวมขยะมูลฝอยที่มีอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เช่น หลอดฟลูออเรสเซนต์ ขวดยา ถ่านไฟฉาย กระป๋อง สีสเปรย์ กระป๋องสารฆ่าแมลง ภาชนะบรรจุสารอันตรายต่างๆ
ถุงสีฟ้า รวบรวมขยะมูลฝอยที่ย่อยสลายไม่ได้ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่ากับการรีไซเคิล เช่น พลาสติกห่อลูกอม ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ถุงพลาสติก โฟมและฟอยล์ที่เปื้อนอาหาร
**ถังขยะที่มีสีเหมือนสีถุงขยะ การใช้งานก็เหมือนกันครับ**

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2555

รวมเอกสารการเรียน pdf [mf]

รวมเอกสารการเรียนของสถานบันกวดวิชาแห่งหนึ่งครับเป็น pdf มากมาย สำหรับการเรียนเท่านั้นน่ะครับ

ลิงค์โหลดครับ http://www.mediafire.com/?inukjo56zupdla6
เครดิตจากผู้ใหญ่ใจดี www.clickforclever.com

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

เรื่องของลม


เรื่องของลม
            ลมเกิดจากความกดอากาศที่ต่างๆไม่เท่ากันอากาศที่มีความกดดันสูง (อุณหภูมิต่ำ) จะไหลไปยังที่ที่มีความกดอากาศต่ำ (อุณหภูมิสูง)
ลมชนิดต่างๆ
1.ลมประจำฤดู คือลมที่พัดประจำตามฤดูกาล เช่น ลมมรสุมฤดูร้อน ลมมรสุมฤดูหนาว
2.ลมประจำถิ่น คือ ลมที่เกิดขึ้นเฉพาะแห่ง เช่น ลมว่าวของไทยพัดจากอ่าวไทยไปสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในเดือน มี.ค.-เม.ย.
3.ลมประจำวัน
ลมบก เกิดในเวลากลางคืน เป็นลมที่พัดจากพื้นดินสู่ทะเล
ลมทะเล เกิดในเวลากลางวัน เป็นลมที่พัดจากทะเลมาหาฝั่งพื้นดิน
4.ลมประจำภูมิภาคต่างๆ ของโลก ได้แก่ ลมขั้วโลก แถบเส้นศูนย์สูตรเป็นเขตสงบลมเรียกว่า โดลดรัม
5.ลมพายุฝนฟ้าคะนอง เกิดตามลักษณะการเกิดลม แต่มีพิเศษลงไปอีกคือ ขณะที่ฝนตกผ่านอากาศลงมาอากาศจะเย็นตัว และหดตัวเข้าหากัน เกิดเป็นศูนย์กลางของพายุฝนขึ้น
6.พายุไซโคลน คือ ลมที่พัดหมุนเข้าสู่บริเวณความกดอากาศต่ำในทิศทวนเข็มนาฬิกา มีชื่อเรียกแตกต่างกันตามบริเวณที่เกิด และอัตราเร็ว แบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้
            6.1พายุดีเปรสชัน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางไม่เกิน 61 กิโลเมตร/ชั่วโมง
            6.2พายุโซนร้อน ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลาง 61-119 กิโลเมตร/ชั่วโมง
            6.3พายุไต้ฝุ่น ความเร็วลมใกล้ศูนย์กลางเกิน 119 กิโลเมตร/ชั่วโมง พายุขนาดใหญ่เป็นชนิดเดียวกันกับไซโคลน หรือเฮอริเคน ชื่อขึ้นอยู่กับสถานที่เกิด
                        6.3.1 เกิดในทะเลจีนใต้ เรียก ไต้ฝุ่น
                        6.3.2 เกิดในมหาสมุทรอินเดีย เรียก ไซโคลน
                        6.3.3 เกิดในหมู่เกาะอินเดียตะวันตก เรียก เฮอริเคน
                        6.3.4 เกิดในทวิปอเมริกา เรียก ทอร์นาโด
                        6.3.5 เกิดในทะเลมหาสมุทร เรียก วอเตอร์สเปาด์
มาตราที่ใช้วัดอัตราเร็วของลมคือ กม./ชม. และนอต (ไมล์ทะเล/ชั่วโมง) 1 นอต=1.85กม./ชม.
7.พายุแอนติไซโคลน คือ ลมที่พัดหมุนจากบริเวณความกดอากาศสูงไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา


มุมแนะนำ