สรุปการทำงานของฮอร์โมนต่างๆ
1.ฮอร์โมนโปรแลกติน (Prolactin hormone)
มีส่วนช่วยในการเจริญเติบโตของต่อมสร้างน้ำนมในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลังคลอด
และมีผลต่อเมทาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรตเหมือน GH แต่น้อยกว่า
2.ฮอร์โมนอะดรีโนคอร์ติโคโทนฟิน (Adrenocorticotrophin hormone)
กระตุ้นอะดรีนัล คอร์แทกซ์ของต่อมหมวกไตให้ทำงานตามปกติ
หลั่งฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ จากต่อมหมวกไตส่วนอะดรีนัลคอร์เทกซ์
ซึ่งเกี่ยวข้องกับเมทาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ทำให้สีผิวเข้มคล้ายเมลาโนไซต์
3.ฮอร์โมนกระตุ้นไทรอยด์ (Thyroid stimulating hormone) กระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมน
เช่น ควบคุมการสร้างฮอร์โมนไทรอกซิน
4.ฮอร์โมนกระตุ้นเมลาโนไซต์ (Melanocyte stimulating hormone)
กระตุ้นให้รงควัตถุในเซลล์มีลาโนไซต์กระจายตัวออกนอกเซลล์
ทำให้สีผิวของสัตว์เข้มขึ้น
5.วาโซเพรสซิน (Vasopressin,ADH) ช่วยควบคุมสมดุลของน้ำ
และความเข้มข้นของเกลือแร่ กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อเรียบในผนังเส้นเลือด
ทำให้เส้นเลือดบีบตัวส่งผลให้ความดันโลหิตสูง
6.เบตาเซลล์ (อินซูลิน) มีผลให้น้ำตาล กลูโคส
ซึมเยื่อหุ้มเซลล์ของทุกๆเซลล์ได้โดยง่าย ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำลง กระตุ้นและเพิ่มอัตราการใช้น้ำตาลกลูโคสในเซลล์ต่างๆให้มากขึ้น
7.แอลฟาเซลล์ (กลูคากอน) ทำงานตรงข้ามกับอินซูลิน
เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการสลายโปรตีนและเปลี่ยนกรดอะมิโนเป็นกลูโคส
กระตุ้นการสลายไขมันในตับ
8.ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคคอยด์ (Glucocorticoid hormone) กระตุ้นการเปลียนคาร์โบไฮเดรตและไกลโคเจนเป็นกลูโคส
ควบคุมสมดุลเกลือแร่
9.ฮอร์โมนมิเนราโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoid hormone) ควบคุมน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย
เร่งการดูดซึมโซเดียมกลับ เพิ่มการขับโพแทสเซียมออกที่หลอดเลือดฝอยของไตส่วนปลาย
10.ฮอร์โมนอะดรีนาลิน (Adrenalin hormone) มีผลกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรงโดยเพิ่มการเต้นของหัวใจ
เพิ่มน้ำตาลในเลือด เพิ่มการใช้ออกซิเจน
11.ฮอร์โมนนอร์อะดรีนาลิน (Noradrenalin)
มีผลคล้ายอะดรีนาลิน แต่อะดรีนาลินมีผลดีกว่า
12.ฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroid hormone) ควบคุมการเผาผลาญสารอาหารต่างๆ
กระตุ้นการเปลี่ยนไกลโคเจนเป็นกลูโคส มีผลในการเพิ่มปริมาณไมโทคอนเดรีย
ควบคุมเมทาบอลิซึมทั่วไปในร่างกาย กระตุ้นเมแทมอร์โฟซิสของสัตว์คครึ่งบกครึ่งน้ำ
13.ฮอร์โมนแคลซิโตนิน ควบคุมเมแทบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสเฟต
ทำให้ระดับแคลเซียมและฟอสเฟตในเลือดลดลง ช่วยป้องกันการทำลายกระดูกมากเกินไปในระยะมีครรภ์
14.ฮอร์โมนพาราทอร์โมน (Patathormone hormone) ทำให้เกิดการทำลายของกระดูก
เพิ่มการดูดซึมแคลเซียมกลับที่หลอดเลือดฝอยของไต
16.ฮอร์โมนเมลาโตนิน ควบการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ร่วมกับต่อมอื่นๆ
ช่วงก่อนวัยหนุมวัยสาวจะยับยั้งการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์
15.ฮอร์โมนไทโมซิน (Thymocin hormone) สร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านเชื้อโรค
หรือสิ่งแปลกปลอมในร่างกายคน
16.ฮอร์โมนเอสโตเจน (Estrogen hormone) เพศหญิงทำให้เกิดการขยายใหญ่ของเต้านม
ทำให้มีการเจริญของกล้ามเนื้อเยื่อบุท่อนำไข่
17.ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone
hormone) ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุมดลูกชั้นใน
ทำให้ท่อนำไขหดตัวเร็วขึ้น กระตุนการสร้างน้ำนม ยับยั้งการหลั่งโกนาโดโทรฟิน
18.ฮอร์โมนกระตุ้นฟอลลิเกิล (Follicle stimulating hormone) กระตุ้นฟอลลิเกิลในรังไข่ให้เจริญเติบโต
ในเพศชายกระตุ้นหลอดสร้างตัวอสุจิของอัณฑะให้เจริญเติบโตและสร้างอสุจิขึ้น
19.ฮอร์โมนลูติไนซ์ (Luteinzing
hormone) เพศหญิงกระตุ้นการสร้างฟอลลิเกิลร่วมกับ FSH กระตุ้นให้เกิดคอร์พัส
ลูเตียม เพศชายกระตุ้นให้ตัวอสุจิเจริญเต็มที่