มุมแนะนำ

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ข้อห้ามสำหรับการติดตั้งลูกกรงเหล็กดัด

ข้อห้ามสำหรับการติดตั้งลูกกรงเหล็กดัด
บ้านหรืออาคารที่มีหน้าต่างเป็นกระจก นิยมติดเหล็กดัดเพื่อป้องกันขโมย
แต่หลายครั้งที่ได้ทราบข่าวเพลิงไหม้ และมีผู้ติดอยู่ภายในไม่สามารถหนีออกมาได้
ก็เนื่องจากติดเหล็กดัดการติดเหล็กดัดนั้นไม่ใช่สักแต่ว่าติด แต่ทราบหรือไม่ว่า.. พระราชบัญญัติ
ควบคุมอาคาร กฏกระทรวงฉบับที่ 21 ที่เพิ่มเติมเมื่อปี พ.ศ. 2532
มีการออกกฏหมายควบคุมอาคาร (กฏกระทรวงฉบับที่ 21) เมื่อปี 2532 ออกมาว่า อาคารทุกชั้นที่ติดเหล็กดัดจะต้องมีช่องเหล็กดัด ที่สามารถเปิดได้จากข้างใน
ขนาดไม่น้อยกว่า 60x80 ซ.ม. เพื่อเป็นทางหนีไฟ
แม้ว่ากฏหมายนี้จะออกมาหลังจากเหตุการณ์ไฟไหม้ใหญ่ ที่โรงงานห้องแถว
ใจกลางเมือง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2531 แล้วมีผู้เสียชีวิตหลายศพ
เพราะไม่อาจหนีออกมาได้เนื่องจากติดเหล็กดัด
แต่ก็ดีกว่าไม่คิดหาทางแก้ไขใดๆ เลย
กฏหมายนั้น ถ้าถูกตราขึ้นจากความเห็นชอบของคนส่วนใหญ่
และบังคับใช้ได้จริง นอกจากจะช่วยให้พวกเราอยู่ร่วมกัน
ในสังคมได้อย่างสงบสุขแล้ว ยังเพื่อความปลอดภัยด้วย
ที่มา : หนังสือ 108 คำถามเรื่องบ้านกับสถาปนิกไทย โดย ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์
****www.thebag101.blogspot.com****

ดูโทรทัศน์มาก อาจทำให้เสียชีวิตได้ง่าย

ดูโทรทัศน์มาก อาจทำให้เสียชีวิตได้ง่าย
ผลวิจัยโดย David Dunstan นักวิจัยชาวออสเตรเลีย จากสถาบัน Baker IDI
Heart and Diabetes ในเมลเบิร์น (Melbourne) ที่สำรวจจากชายหญิง ที่มีสุขภาพดีอายุ 25 ปีขึ้นไป จำนวน 8,800 คน เป็นเวลา 6 ปี พบว่า 80% ของผู้ที่ดูโทรทัศน์มากกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มเสียชีวิต
ด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด มากกว่าผู้ที่ดูโทรทัศน์น้อยกว่า 2 ชั่วโมงต่อวัน
และในการดูโทรทัศน์ที่เพิ่มขึ้นทุก 1 ชั่วโมง จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต
ด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดถึง 18%

เนื่องจากการทำกิจกรรมที่นั่งเฉยๆ เช่น ดูโทรทัศน์นานๆ ทำให้พวกเราไม่ขยับตัว
เป็นเวลานาน ทำให้กระบวนการเผาผลาญในร่างกายช้าลง และส่งผลให้เกิดการ
เพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ
คำแนะนำสำหรับกรณีนี้ คือ หลีกเลี่ยงการการนั่งเป็นเวลานาน เปลี่ยนอิริยาบท
ขยับร่างกายในส่วนที่ไม่ค่อยได้ขยับบ้าง หรือในขณะชมโทรทัศน์ควร
ทำกิจกรรมอื่นที่ได้ขยับตัวบ้าง เช่น พับเสื้อผ้าที่ซักแล้ว หรือเปลี่ยนช่องโทรทัศน์
ด้วยการลุกเดินไปกดเองแทนการใช้รีโมท
ที่มาภาพ : http://www.sxc.hu/photo/999215
ที่มา : นิตยสาร Lisa weekly ฉบับวันที่ 3 ก.พ. 2010, Extended TV watching linked to higher risk of deathMedia CentreWatching TV Linked to Higher Risk of Death

****www.thebag101.blogspot.com****

ที่มาของชื่อ ปลั๊กสามตา

ที่มาของชื่อ ปลั๊กสามตา
เต้ารับ (Socket-outlet หรือ Receptacle) หรือปลั๊กตัวเมีย คือ
ขั้วรับสำหรับหัวเสียบจากเครื่องใช้ไฟฟ้า ปกติเต้ารับจะติดตั้งอยู่กับที่ เช่น
ติดอยู่กับผนังอาคาร อาจมีทั้งแบบ 2 รู หรือ 3 รู

เต้าเสียบ (Plug) หรือปลั๊กตัวผู้ คือ ขั้วหรือหัวเสียบที่มีสายไฟติดอยู่กับ
เครื่องใช้ไฟฟ้า มีขาโลหะยื่นออกมา 2 ขา หรือ 3 ขา เพื่อเสียบเข้ากับเต้ารับ
ทำให้สามารถใช้เครื่องใช้ไฟฟ้านั้นได้

ส่วน ปลั๊กสามตา มีคำเรียกอย่างเป็นทางการว่า "รางเต้ารับ" หรือ "เต้ารับ
ที่ทำเป็นชุด" ในภาษาอังกฤษเรียก Extension Socket  ในอดีตที่ติดตลาด
ได้รับความนิยม และเห็นบ่อยที่สุด คือ แบบตลับกลมๆ หมุนเก็บสายไฟ
ไว้ด้านในได้ และมีช่องเสียบปลั๊กแบบ 2 ขา อยู่ทั้งหมด 3 ช่อง จึงทำให้นิยม
เรียกกันว่า "ปลั๊กสามตา"

ปัจจุบันปลั๊กสามตาพัฒนารูปลักษณ์ทันสมัยขึ้น พร้อมเพิ่มช่องเสียบเป็น 4 ช่อง
หรือ 6 ช่อง มีให้เลือกหลายรูปแบบ หลายราคา แต่ยังนิยมเรียกชื่อเดิม
ซึ่งในการเลือกซื้อควรเลือกที่ได้มาตรฐาน มอก. 166/2549 มีสปริงของเต้ารับ
(หรือตัวล็อกขาเต้าเสียบ) ทำจากทองเหลือง ตัวกล่องฉนวนทำจากพลาสติก ABS
และมีระบบตัดไฟอัติโนมัติ หรือมีฟิวส์ในตัว เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิด
เพลิงไหม้ในกรณีไฟฟ้าลัดวงจร
ปลั๊กสามตาแบบเดิม

มุมแนะนำ