ตรงกันข้ามกับอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้าง เครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็น เครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้นการแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเตอร์เน็ต องค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์ข้อมูลในอินเตอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้
เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต พน้กงานของบริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเพื่อการ ค้นหาข้อมูลหรือทำธุรกิจต่างๆ การใช้โปรโตคอล TCP/IP ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากที่ห่างไกลได้ (Remote Access) เช่น จากที่บ้าน หรือในเวลาที่ต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ การเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต โดยการใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์ ก็เหมือนกับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต แต่แตกต่างกันที่เป็นการเชื่อม ต่อเข้ากับเครือข่ายส่วนบุคคลแทนที่จะเป็นเครือข่ายสาธารณะอย่างเช่นอินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่อกันได้ ระหว่างอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตถือเป็นประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง
ระบบการรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่แยกอินทราเน็ตออกจากอินเตอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ต ขององค์กรจะถูกปกป้องโดยไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่กรอง ข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตเมื่อทั้งสองระบบมีการเชื่อมต่อกัน ดังนั้นองค์กร สามารถกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมการเข้าใช้งานอินทราเน็ตได้
อินทราเน็ตสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ในองค์กรได้หลายอย่าง ความง่ายในการตีพิมพ์บนเว็บ ทำให้เป็นที่นิยมในการประกาศข่าวสารขององค์กร เช่นข่าวภายในองค์กรกฎ ระเบียบ และมาตรฐาน การปฏิบัติงาน ต่างๆ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการเข้าถึงฐานข้อมูลขององค์กรก็ง่ายเช่นกัน ผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่าย และ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซอฟต์แวร์ที่เรียกว่ากรุ๊ปแวร์ (Groupware) เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของอินทราเน็ต เพราะเป็นซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้สมาชิกในกลุ่มทำงานร่วมกันในโปรเจ็กต์ที่ได้รับมอบหมาย แลกเปลี่ยนข้อมูล ประชุมระยะไกล (Video Conferencing) และสร้างระเบียบปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการทำงานได้ด้วย ''ซอฟต์แวร์ฟรี เช่น นิวส์กรุ๊ป (newsgroups) ยิ่งกระตุ้นการขยายตัวของเครือข่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งความยิ่งใหญ่ ของอินเตอร์เน็ตทำให้อินทราเน็ตขยายตัวขึ้นเช่นกัน ความง่ายในการเลือกแชร์ข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร ระหว่างบุคคลยิ่งจะทำให้การใช้อินทราเน็ตเป็นที่นิยมมากขึ้นเท่านั้น
เนื้อหา การเรียน การสอน ฟรีๆมากมาย เพื่อคนที่เรียนหนังสือ อ่านฟรี เนื้อหา วิชาเคมี วิชาสังคม วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาชีววิทยา และ หนังสือ ให้ อ่านฟรี
มุมแนะนำ
วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557
อินเทอร์เน็ต (Internet)
อินเตอร์เน็ตเป็นเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วโลกซึ่งมีคอมพิวเตอร์เป็นล้านๆ เครื่องเชื่อมต่อเข้ากับระบบ และยังขยายตัวขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี อินเตอร์เน็ตมีผู้ใช้ทั่วโลกหลายร้อยล้านคน และผู้ใช้เหล่านี้สามารถแลกเปลี่ยน ข้อมูลข่าวสารกันได้อย่างอิสระ โดยที่ระยะทางและเวลาไม่เป็นอุปสรรค นอกจากนี้ผู้ใช้ยังสามารถเข้าดูข้อมูล ต่างๆ ที่ถูกตีพิมพํในอินเตอร์เน็ตได้ อินเตอร์เน็ตเชื่อมแหล่ง-ข้อมูลต่างๆ เข้าด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ มหาวิทยาลัย หน่วยงานของรัฐบาล หรือแม้กระทั่งแหล่งข้อมูลบุคคล องค์กรธุรกิจหลายองค์กรได้ใช้อินเตอร์ เน็ตช่วยในการทำการค้า เซ่น การติดต่อซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตหรืออีคอมเมิร์ช (E-Commerce) ซึ่งเป็นอีก ซ่องทางหนึ่งสำหรับการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยม เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่าและมีฐานลูกค้าที่ใหญ่มาก ส่วนข้อเสียของอินเตอร์เน็ตคือ ความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกอย่างที่แลก เปลี่ยนผ่านอินเตอร์เน็ตได้
อินเตอร์เน็ตใช้โปรโตคอลที่เรียกว่า "TCP/IP (Transport Connection Protocol/Internet Protocol)" ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้เป็นผลจากโครงการหนึ่งของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ โครง การนื่มีชื่อว่า ARPANET (Advanced Research Projects Agency Network) ในปี ค.ศ. 1975 จุดประสงค์ ของโครงการนี้เพื่อเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ที่อยู่ห่างไกลกันและภายหลังจึงได้กำหนดให้เป็นโปรโตคอลมาตรฐาน ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ในปัจจุบันอินเตอร์เน็ตได้กลายเป็นเครือข่ายสาธารณะ ซึ่งไม่มีผู้ใดหรือองค์กรใดองค์กรหนึ่งเป็น เจ้าของอย่างแท้จริง การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตต้องเชื่อมต่อผ่านองค์กรที่เรืยกว่า "ISP (Internet Service Provider)" ซึ่งจะทำหน้าที่ให้บริการในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต เนื่องจากอินเตอร์เน็ตเป็น เครือข่ายสาธารณะจึงไม่มีหลักประกันความปลอดภัยของข้อมูลที่ส่งผ่านอินเตอร์เน็ต นั่นคือ ข้อมูลทุกอย่าง ที่ส่งผ่านเครือข่าย ทุกคนสามารถดูได้ นอกเสียจากจะมีการเข้ารหัสลับซึ่งผู้ใช้ต้องทำเอง
เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ (Client/server Network)
ถ้าระบบเครือข่ายมีคอมพิวเตอร์จำนวนไม่มากนัก ควรสร้างเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์เนื่องจากง่าย และค่าใช้จ่ายจะถูกกว่า แต่เมื่อเครือข่ายมีการขยายใหญ่ขึ้น จำนวนผู้ใช้มากขึ้น การดูแลและจัดการระบบ ก็จะซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เครือข่ายจำเป็นที่ต้องมีเซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่จัดการเรื่องต่างๆ และให้บริการอื่นๆ เครื่อง เซิร์ฟเวอร์นั้นควรที่จะเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงและสามารถให้บริการกับผู้ใช้ได้หลายๆ คนในเวลาเดียว กัน และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในการเข้ามาใช้บริการและทรัพยากรต่างๆ ของผู้ใช้ เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์เป็นระบบที่ส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นมาตรฐานของการสร้างเครือข่ายใน ปัจจุบันแล้ว
ถึงแม้ว่าการติดตั้ง การกำหนดค่าต่างๆ และการดูแลและจัดการเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ จะค่อนข้างยากกว่าแบบเพียร์ทูเพียร์ก็ตาม แต่เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ก็มีข้อได้เปรียบอยู่หลายข้อ ดังต่อไปนี้
เซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่ให้บริการด้านต่างๆ แก่ผู้ใช้ ในขณะเดียวกันก็ควบคุมและรักษาความปลอดภัย ข้อมูลด้วย เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์จะรวมศูนย์การดูแลและจัดการเครือข่ายพร้อมทั้งควบคุมการเข้า ถึงข้อมูลและทรัพยากรที่มีการแชร์ในเครือข่าย เนื่องจากว่าทรัพยากรเหล่านี้ถูกเก็บรวมไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ จึงทำให้ง่ายต่อการด้นหาและจัดการมากกว่าทรัพยากรที่ถูกเก็บไว้กระจัดกระจายตามเครื่องไคลเอนท์ต่างๆ เหมือนดังในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์
ความปลอดภัยของข้อมูลอาจเป็นหนึ่งในจุดประสงค์หลักที่ทำให้ต้องเลือกเครือข่ายแบบไคลเอนท์ เซิร์ฟเวอร์ เพราะในสภาวะแวดล้อมอย่างนี้ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดนโยบายการรักษาความปลอดภัย และ บังคับใช้กับผู้ใช้ทุกคนในเครือข่ายได้ ทำให้การรักษาความปลอดภัยง่ายขึ้น
ข้อมูลถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กรถ้าข้อมูลเกิดความเสียหายอาจมืผลกระทบต่อ องค์กรมาก ความเสียหายที่อาจเกิดกับข้อมูลนั้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่เราสามารถป้องกันความเสียหาย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ วิธีหนึ่งก็คือการสำรองข้อมูล เพื่อเมื่อเซิร์ฟเวอร์ล้มเหลวก็สามารถกู้คืนได้ การเก็บสำรอง ข้อมูลสามารถทำได้วันละหลายๆ ครั้ง หรือสัปดาห์ละครัง ขึ้นอยู่กับความสำคัญของข้อมูลและความถี่ของ การเปลี่ยนแปลงข้อมูล ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดให้เซิร์ฟเวอร์ทำการบันทึกข้อมูลสำรองโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะตั้ง ณ จุดใดในเครือข่าย
เนื่องจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มีโปรแกรมอเนกประสงค์ที่ใช้ในการจัดการเครือข่ายหลายอย่าง จึงทำให้ เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์สามารถรองรับผู้ใช้ได้เป็นพันๆ คน ซึ่งในสภาพแวดล้อมอย่างนี้ไม่สามารถ ทำได้ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจากการจัดการเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นั้นไม่ใช่แบบรวมศูนย์ ทำให้การจัดการผู้ใช้นับพันนั้นเป็นงานที่เป็นไปไม่ได้
ถึงแม้ว่าการติดตั้ง การกำหนดค่าต่างๆ และการดูแลและจัดการเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ จะค่อนข้างยากกว่าแบบเพียร์ทูเพียร์ก็ตาม แต่เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ก็มีข้อได้เปรียบอยู่หลายข้อ ดังต่อไปนี้
เซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่ให้บริการด้านต่างๆ แก่ผู้ใช้ ในขณะเดียวกันก็ควบคุมและรักษาความปลอดภัย ข้อมูลด้วย เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์จะรวมศูนย์การดูแลและจัดการเครือข่ายพร้อมทั้งควบคุมการเข้า ถึงข้อมูลและทรัพยากรที่มีการแชร์ในเครือข่าย เนื่องจากว่าทรัพยากรเหล่านี้ถูกเก็บรวมไว้ที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ จึงทำให้ง่ายต่อการด้นหาและจัดการมากกว่าทรัพยากรที่ถูกเก็บไว้กระจัดกระจายตามเครื่องไคลเอนท์ต่างๆ เหมือนดังในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์
ความปลอดภัยของข้อมูลอาจเป็นหนึ่งในจุดประสงค์หลักที่ทำให้ต้องเลือกเครือข่ายแบบไคลเอนท์ เซิร์ฟเวอร์ เพราะในสภาวะแวดล้อมอย่างนี้ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดนโยบายการรักษาความปลอดภัย และ บังคับใช้กับผู้ใช้ทุกคนในเครือข่ายได้ ทำให้การรักษาความปลอดภัยง่ายขึ้น
ข้อมูลถือได้ว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กรถ้าข้อมูลเกิดความเสียหายอาจมืผลกระทบต่อ องค์กรมาก ความเสียหายที่อาจเกิดกับข้อมูลนั้นอาจเกิดจากหลายสาเหตุ แต่เราสามารถป้องกันความเสียหาย ที่อาจจะเกิดขึ้นได้ วิธีหนึ่งก็คือการสำรองข้อมูล เพื่อเมื่อเซิร์ฟเวอร์ล้มเหลวก็สามารถกู้คืนได้ การเก็บสำรอง ข้อมูลสามารถทำได้วันละหลายๆ ครั้ง หรือสัปดาห์ละครัง ขึ้นอยู่กับความสำคัญของข้อมูลและความถี่ของ การเปลี่ยนแปลงข้อมูล ผู้ดูแลระบบสามารถกำหนดให้เซิร์ฟเวอร์ทำการบันทึกข้อมูลสำรองโดยอัตโนมัติ ไม่ว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะตั้ง ณ จุดใดในเครือข่าย
เนื่องจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์มีโปรแกรมอเนกประสงค์ที่ใช้ในการจัดการเครือข่ายหลายอย่าง จึงทำให้ เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์สามารถรองรับผู้ใช้ได้เป็นพันๆ คน ซึ่งในสภาพแวดล้อมอย่างนี้ไม่สามารถ ทำได้ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจากการจัดการเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นั้นไม่ใช่แบบรวมศูนย์ ทำให้การจัดการผู้ใช้นับพันนั้นเป็นงานที่เป็นไปไม่ได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)