มุมแนะนำ

วันจันทร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ต่อมในร่างกาย



ต่อมในร่างกาย
ต่อมไพเนียล (pineal gland) เป็นต่อมเล็ก ๆ สีขาวอยู่ตรงกลางของ cerebrum ต่อมไพเนียลจะผลิตฮอร์โมนได้ดีต่อได้รับการกระตุ้นจากแสงที่เข้าทางตา และมี sympathetic nerve ควบคุมต่อมไพเนียลสร้างฮอร์โมน melatonin เพื่อทำ หน้าที่ยับยั้งการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ และ
ทำ ให้สีของสัตว์เลือดเย็นจางลง ถ้ามีฮอร์โมน melatonin มาก จะเป็นหนุ่มสาวช้ากว่าปกติ
Melatonin ทำ งานตรงกันข้ามกับฮอร์โมน melanocyte stimulating hormone จากต่อมใต้สมองส่วนกลาง
ต่อมใต้สมอง (pituitary gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่สำคัญที่สุด เนื่องจากสร้างฮอร์โมนหลาย
ชนิดไปควบคุมการสร้างฮอร์โมนของต่อมไร้ต่ออื่น ๆ ต่อมใต้สมองแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ส่วนกลาง และส่วนหลัง มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิดแตกต่างกันดังนี้
ต่อมใต้สมองส่วนหน้า (anterior lobe) เป็นต่อมใต้สมองส่วนที่ใหญ่ที่สุด ภายหลังฮอร์โมน
ของต่อมนี้ถูกควบคุมโดยฮอร์โมนประสาทจาก Hypothalamus ฮอร์โมนที่สำคัญ ได้แก่
1. โกรทฮอร์โมน (growth hormone) ย่อว่า GH หรือโซมาโตโทรฟิน (somatotrophin) ย่อว่า STH
หน้าที่
- ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายให้เป็นปกติโดยเฉพาะการแบ่งเซลล์
- ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน
- ควบคุมการสร้างกระดูก
ถ้าขาด GH ในเด็กจะเป็นโรคเตี้ยแคระ (dwarfism) ในผู้ใหญ่จะเป็นโรคที่มีนํ้าตาลในเลือดน้อย ทนความเครียดของอารมณ์ไม่ได้ (Simmon’s disease)
ถ้ามี GH มากเกินไปในเด็กจะมีร่างกายใหญ่โตผิดปกติ (gigantism) มีสัดส่วนของร่างกาย
แขนและขาปกติ แต่มักมีสุขภาพไม่แข็งแรงและอายุสั้น เนื่องจากการเติบโตที่มากเกินไป เป็นการยาก ที่ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายจะรักษาสมดุลเอาไว้ได้ และ GH ทำ ให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จึงมักเป็นโรคเบาหวาน สำ หรับในผู้ใหญ่ถ้ามีมากร่างกายไม่ใหญ่โตแต่เจริญเติบโตเฉพาะใบหน้า มือ เท้า
เรียก อะโครเมกาลี (acromegaly)

2. โกนาโดโทรฟิน (gonadotropin) หรือ gonadotrophic hormone) ประกอบด้วยฮอร์โมน 2 ชนิด คือ follicle stimulating hormone (FSH) กับ luteinizing hormone (LH)
หน้าที่ของ FSH ในเพศหญิง กระตุ้นให้ follicle แบ่งเซลล์ และ follicle cell สร้าง hormone estrogen ในเพศชาย กระตุ้นการเจริญเติบโตของอัณฑะและการสร้างตัวอสุจิ
หน้าที่ของ LH ในเพศหญิง ทำ ให้เกิดการตกไข่ เกิด corpus luteum ซึ่งจะหลั่ง hormone progesterone เพื่อควบคุมการเปลี่ยนแปลงที่เยื่อบุมดลูก รองรับการฝังตัวของ embryo ในเพศชายกระตุ้น interstitial cell ในอัณฑะให้หลั่ง testosterone
3. โพรแล็กติน (prolactin) หรือ lactogenic hormone กระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนมเพื่อ
เลี้ยงลูกอ่อนหลังคลอด พบในสัตว์ปีกซึ่งมีผลกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมการเลี้ยงดูลูกอ่อน

4. อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิน (adrenocorticotrophin หรือ adrenocorticotrophic hormone)
ย่อว่า ACTH กระตุ้น adrenal cortex ของต่อมหมวกไต ให้ทำ หน้าที่สร้างฮอร์โมนตามปกติ
5. ไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน (thyroid stimulating hormone) ย่อว่า TSH ทำ หน้าที่กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้หลั่งฮอร์โมนปกติการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองถูกควบคุมโดยฮอร์โมนจาก hypothalamus ประกอบด้วย thyroid releasing hormone กระตุ้นการหลั่ง TSH และ GH inhibiting hormone ยับยั้งการหลั่ง GH ปัจจัยที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนจาก hypothalamus เช่น อุณหภูมิ แสง ความเครียด ระดับฮอร์โมน จากต่อมใต้สมองเอง และฮอร์โมนจากต่อมไร้ท่ออื่น ๆ ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของต่อมใต้สมอง และระดับน้ำตาลในเลือด
ต่อมใต้สมองส่วนกลาง (intermediate lobe) สร้าง melanocyte stimulating hormone (MSH) กระตุ้นการสังเคราะห์รงค์วัตถุสีน้ำตาล (melanin) และกระตุ้นให้melanin กระจายไปทั่วเซลล์ทำ ให้สีเข้มข้น


ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (posterior lobe) เป็นเซลล์ประสาทชนิดพิเศษที่ทำ หน้าที่สร้างฮอร์โมน
เรียกเซลล์ประสาทนี้ว่า neurosecretory cell ฮอร์โมนที่สำคัญมี 2 ชนิด คือ
1. วาโซเพรสซิน (vasopressin) หรือ antidiuretic hormone (ADH) ทำ หน้าที่ควบคุมการดูดน้ำกลับของท่อหน่วยไต และช่วยกระตุ้นหลอดเลือดให้บีบตัวเพื่อรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย
2. ออกซีโทซิน (oxytocin) ทำ หน้าที่กระตุ้นกล้ามเนื้อเรียบของอวัยวะภายในของผู้หญิง
กระตุ้นเซลล์กล้ามเนื้อรอบ ๆ ต่อมน้ำนมให้หดตัวขับน้ำนมมาเลี้ยงลูกอ่อน กระตุ้นให้กล้ามเนื้อมดลูก
บีบตัวขณะคลอด และกลับคืนเข้าสู่สภาพปกติ
ต่อมไอส์เลตออฟลางเกอร์ฮานส์ (islets of langerhans) เป็นกลุ่มเซลล์หลายแสนกลุ่มใน
ตับอ่อน แต่ละกลุ่มมีเซลล์ 2 ชนิด คือ β-cell เป็นเซลล์ขนาดเล็ก มีจำนวนมากอยู่ตรงกลางของกลุ่มและ -cell เป็นเซลล์ขนาดใหญ่ มีจำ นวนน้อย อยู่รอบนอกของกลุ่มเซลล์ ฮอร์โมนที่สำคัญ คือ
1. อินซูลิน (insulin) สร้างจาก β-cell หน้าที่รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้ปกติ และควบคุม metabolism ของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนถ้าน้ำตาลในเลือดสูง มีผลต่อตับอ่อนให้หลั่ง insulin ซึ่งจะทำ งานดังนี้ insulin ไปกระตุ้นให้สร้าง glycogen มากขึ้น กระตุ้นกล้ามเนื้อให้เพิ่มการใช้ glucose และไปกระตุ้นเนื้อเยื่อไขมันให้เปลี่ยน glucose ไปเป็นไขมัน กระบวนการทั้งหมดมีผลทำ ให้ปริมาณ glucose ในเลือดลดลง
2. กลูคากอน (glucagon) สร้างจาก -cell ทำ หน้าที่กระตุ้นเซลล์ให้หลั่ง insulin และกระตุ้น glucogen จากตับไปเป็น glucose ในเลือด


เรตินา



เซลล์รูปแท่ง (rod cell) รูปร่างยาวเป็นแท่ง ทำ หน้าที่เป็นเซลล์รับแสงสว่างที่ไวมาก
จะบอกความมืดและความสว่าง
เซลล์รูปกรวย (cone cell) รูปร่างเป็นรูปกรวย ทำ หน้าที่เป็นเซลล์ที่บอกความแตกต่าง
ของสีแต่ต้องการแสงสว่างมาก เซลล์รูปกรวยแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ เซลล์รูปกรวยที่รับแสงสีแดง
เซลล์รูปกรวยที่รับแสงสีเขียว และเซลล์รูปกรวยที่รับแสงสีนํ้าเงิน เมื่อเซลล์รูปกรวยได้รับการกระตุ้น
พร้อม กันด้วยความเข้มของแสงต่าง กัน จึงเกิดการผสมเป็นสีต่าง ขึ้น
นอกจากนี้บริเวณเรตินายังมี fovea และ blind spot fovea อยู่ตรงกลางของ retinaบริเวณนี้มีเซลล์รูปกรวยหนาแน่นกว่าบริเวณอื่น ภาพที่ตกบริเวณนี้จะชัดเจน ส่วน blind spot เป็นบริเวณที่ใยประสาทออกจากนัยน์ตาเพื่อเข้าสู่เส้นประสาทตา บริเวณนี้ไม่มี cell รับแสงสว่างเลย ภาพที่ตกบริเวณนี้จึงมองไม่เห็น

การทำงานของเซลล์ประสาท



การทำงานของเซลล์ประสาท
กระแสประสาทเคลื่อนที่ไปในใยประสาทได้ด้วยปฏิกิริยาทางไฟฟ้าเคมี (electrochemical reaction)               A.L. Hodgkin และ A.F. Huxley ได้ทดลองวัดความต่างศักย์ของเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทของปลาหมึก โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า microelectrodeจากการทดลองพบว่าความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างภายในและภายนอกเซลล์ประสาทมีค่า - 60มิลลิโวลต์ ในสภาวะพัก ซึ่งเรียกว่า resting potential หรือ polarization ถ้ามีการกระตุ้นที่จุดหนึ่งบน axon ค่าความต่างศักย์จะสูงขึ้นตามลำ ดับจนเป็น + 60 มิลลิโวลต์เรียกว่าเกิด depolarization และเรียกความต่างศักย์ที่เปลี่ยนไปว่า action potential ต่อมาความต่างศักย์ไฟฟ้าเริ่มลดลงเรียกว่าเกิด repolarization สุดท้ายกลับลงมาเป็น –60 มิลลิโวลต์ตามเดิมเรียก resting potential
เซลล์ประสาทในภาวะปกติ
Na+ อยู่ภายนอกมากกว่าภายใน
K+ อยู่ภายในมากกว่าภายนอก
Cl- เข้าออกได้อิสระ
Protein, Nucleic â มีขนาดโมเลกุลใหญ่อยู่ภายใน cell


มุมแนะนำ