มุมแนะนำ

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิทยาศาสตร์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิทยาศาสตร์ แสดงบทความทั้งหมด

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

Man and Environment SUT part2

กำเนิดและวิวัฒนาการของโลก สิ่งมีชีวิตและมนุษย์ 
สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ
ประชากรมนุษย์และพลวัตประชากร
การวางแผนและการจัดการสิ่งแวดล้อม
การจัดการทรัพยากรมนุษย์

Man and Environment SUT part1






วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุป Man&Envi Part1



“ยาปฏิชีวนะ” ไม่ใช่ “ยาแก้อักเสบ”
ยาปฏิชีวนะ เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น เพนนิซิลิน อะม็อกซีซิลิน เตตร้าซัยคลินไม่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ
·        ยาแก้อักเสบ (ยาต้านการอักเสบ) เป็นยาที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดไข้ บรรเทาปวด ลดบวม  เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟน ไม่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย 
·        คนส่วนใหญ่มักเรียก ยาปฏิชีวนะ ผิดว่าเป็น ยาแก้อักเสบ เพราะเมื่อติดเชื้อแบคทีเรียแล้ว กินยาปฏิชีวนะ (เช่น โรคต่อมทอนซิลอักเสบเป็นหนอง) ยาปฏิชีวนะจะไปฆ่าเชื้อแบคทีเรีย  ที่เป็นสาเหตุของโรค เมื่อเชื้อตายไปอาการคออักเสบ (เจ็บคอ คอแดง เป็นหนอง) จะลดลงเอง โดยอัตโนมัติ คนจึงมักเรียกผิดว่าเป็น ยาแก้อักเสบ 
·        ดังนั้น เราไม่ควรเรียก ยาปฏิชีวนะ ว่า ยาแก้อักเสบ อีกต่อไป เพราะ 
1. ทำให้เราเข้าใจผิดและใช้ยาผิด คิดว่าเมื่อเกิดการอักเสบไม่ว่าจากสาเหตุใด เช่น ผิวหนัง อักเสบจากการแพ้สารเคมี หรือปวดกล้ามเนื้อจากการยกของหนัก ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ เพราะเข้าใจผิดว่ายาปฏิชีวนะมีฤทธิ์ลดการอักเสบ ซึ่งไม่ถูกต้อง 
2. ทำให้คนอื่นเข้าใจผิด และใช้ยาผิดไปด้วย
***“ยาปฏิชีวนะ” ที่มักเรียกกันผิดๆ ว่า ยาแก้อักเสบ” ทําให้ใช้ยาผิด***

3 โรค... หายเองได้ ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะ
หวัดเจ็บคอ ส่วนใหญ่ (กว่าร้อยละ 80) เกิดจากเชื้อไวรัส มีอาการ เช่น น้ำมูกไหล ไอ เสียงแหบ เจ็บคอ มีไข้ โดยทั่วไป โรคนี้จะเป็นนานประมาณ 7-10 วัน โดยในวันที่ 3-4 จะมีอาการมากสุด แต่หลังจากนั้นอาการจะดีขึ้นเอง 
·        แต่ถ้าเจ็บคอ มีหนองที่ต่อมทอนซิล ต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรโตและกดเจ็บ    หรืออาการแย่ลง ต้องไปพบแพทย์  
ท้องเสีย เกือบทั้งหมด (ประมาณร้อยละ 99) เกิดจากไวรัส หรืออาหาร  เป็นพิษ มีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำ อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย รักษาโดยดื่มน้ำเกลือแร่ ไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ 
·        แต่ถ้ามีไข้ และอุจจาระมีมูกปนเลือด ต้องไปพบแพทย์  
แผลเลือดออก เช่น แผลมีดบาด แผลถลอก บาดแผลเล็กน้อยจากอุบัติเหตุ  ซึ่งล้างทำความสะอาดได้ถูกต้อง และสุขภาพของเราแข็งแรงดี ไม่ต้องใช ้ ยาปฏิชีวนะ เพราะป้องกันการติดเชื้อไม่ได้ และไม่ได้ทำให้แผลหายเร็วขึ้น  
·        แต่ถ้าเป็นแผลที่เท้า ตะปูตำ สัตว์กัด หรือโดนสิ่งสกปรก เช่น มูลสัตว์   หรือมีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ต้องไปพบแพทย์ 

ยาปฏิชีวนะ” เป็น “ยาอันตราย” ... อย่าใช้ถ้าไม่จำเป็น
·        ยาปฏิชีวนะ” เป็น “ยาอันตราย” ลองดูข้างกล่องยาจะเห็นคำว่า “ยาอันตราย” ในกรอบสีแดง และเตือนว่ายานี้อาจทำให้เกิดการแพ้ และ เป็นอันตรายถึงตายได้  
·        อันตรายจากยาปฏิชีวนะ เช่น แพ้ยา ติดเชื้ออื่นแทรกซ้อน และเชื้อดื้อยา  
·        เชื้อดื้อยา แปลว่า ยาปฏิชีวนะชนิดนี้ใช้ไม่ได้ผลอีกต่อไป เพราะแบคทีเรีย  เกิดปรับตัวให้ทนต่อยา และถ้ายังใช้ยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อต่อไป สุดท้าย ไม่มียาใดรักษาได้  
·        เชื้อดื้อยาแพร่กระจายได้ คนที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ได้แก่ เด็ก คนแก่ คนที่เป็นเบาหวาน และคนที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล เราหยุดเชื้อดื้อยาและอันตรายจากการใช้ยาปฏิชีวนะได้ ดังนี้ 
o   หยุดกินยาปฏิชีวนะอย่างพร่ำเพรื่อ คือ ไม่ใช้ยาปฏิชีวนะในโรคที่ไม่จำเป็นต้องใช้ เช่น หวัดเจ็บคอ ท้องเสีย และแผลเลือดออก 
o   อย่ากินยาปฏิชีวนะแบบเผื่อๆ ไว้ คือ ยังไม่รู้ว่าป่วยเป็นอะไร ก็กินยาปฏิชีวนะกันไว้ก่อนหรือเผื่อไว้ก่อน เราต้องนึกเสมอว่า    “ยาปฏิชีวนะใช้ฆ่าเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น” ถ้าเจ็บป่วยจากสาเหตุอื่น ยาปฏิชีวนะรักษาไม่ได้  
o   อย่าซื้อยาปฏิชีวนะกินเอง เพราะยาปฏิชีวนะแต่ละชนิดเหมาะกับเชื้อแบคทีเรียแต่ละอย่าง แพทย์และเภสัชกรจะบอกเรา ได้ว่ายาปฏิชีวนะชนิดใดเหมาะสมกับเชื้อโรคไหน  
o   อย่าแนะนำหรือแบ่งยาปฏิชีวนะของเราให้คนอื่น เพราะเราไม่รู้ว่าเขาป่วยจากเชื้อแบคทีเรียหรือไม่ เป็นเชื้อประเภทไหน ยาใดที่เหมาะกับเขา เขาแพ้ยาอะไร และมีโรคประจำตัวหรือไม่
เจ็บคอ ... ส่วนใหญ่ไม่ต้องกินยาปฏิชีวนะก็หายได้
เจ็บคอจากการติดเชื้อ “แบคทีเรีย” พบน้อยกว่า
·        ลิ้นไก่บวมแดง มีจุดหนองที่ต่อมทอนซิล ทอนซิลบวมแดง คอแดง มีฝ้าสีเทาที่ลิ้น เป็นบริเวณกว้าง
อาการ ส่วนใหญ่ไม่มีอาการไอ และมักไม่มีน้ำมูก แต่ จะมีต่อมน้ำเหลืองใต้ขากรรไกรโตและกดเจ็บ 
วิธีรักษา ปรึกษาเภสัชกรหรือไปพบแพทย์ เพื่อวินิจฉัยว่าควรใช้ยาปฏิชีวนะหรือไม่
เจ็บคอจากการติดเชื้อ “ไวรัส” พบบ่อยกว่า
·        ทอนซิลบวมแดง คอแดง
อาการ ส่วนใหญ่มักมีน้ำมูกและไอ อาจมีเสียงแหบและ  เจ็บคอร่วมด้วย 
วิธีรักษา หายเองได้ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย การพักผ่อน และกลั้วคอด้วยน้ำเกลือจะช่วยให้หายเร็วขึ้น
ยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ โดยเป้าหมายหลักของการใช้ยาคือ  ผลในการรักษาโรคหรือบรรเทาอาการผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น แต่การใช้ยานั้นส่วนใหญ่จะต้องได้รับคำแนะนำหรืออยู่ภายใต้การดูแลของ บุคลากรทางสาธารณสุข เนื่องจากยานั้นเป็นสิ่งที่มีผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง ซึ่งนอกเหนือจากผลในการรักษาแล้วยังมีผลกระทบในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งสามารถก่อให้เกิด อาการไม่พึงประสงค์จากยา (Adverse Drug Reaction หรือ ADR)  โดยตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วถือว่าสามารถเกิดขึ้นได้ในยาทุกชนิด

อาการไม่พึงประสงค์จากยา (Adverse Drug Reaction) หรือ ADR
        ตามคำนิยามขององค์การอนามัยโลก คือ ปฏิกิริยา ที่เป็นผลมาจากการใช้ยา และเป็นอันตรายต่อร่างกายของมนุษย์โดยไม่ได้จงใจให้เกิดขึ้น  และจำกัดความเฉพาะการใช้ยาในขนาดปกติ  ไม่รวมอุบัติการณ์ที่เกิดจากการใช้ยาที่ผิดวิธี ผิดข้อบ่งใช้  หรือการใช้ยาเกินขนาด ดังนั้นคำว่า อาการไม่พึงประสงค์จากยานี้จึงเป็นคำที่มีความหมายกว้างและครอบคลุมถึงการ เกิดอันตรายจากการใช้ยาทั้งชนิดที่คาดการณ์ได้ และคาดการณ์ไม่ได้  ซึ่งการแพ้ยา หรือการเกิดผลข้างเคียงของยา ก็จัดเป็นอาการไม่พึงประสงค์ของยาด้วยเช่นกัน

          คนส่วนใหญ่มักมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับการแพ้ยา เมื่อใดก็ตามที่มีอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการใช้ยา เช่น หลังทานยาแล้วง่วงนอน ใจสั่น คลื่นไส้ อาเจียน แสบท้อง หรือมีผื่นขึ้น ก็จะเข้าใจกันว่าเป็นอาการแพ้ยาทั้งสิ้น ซึ่งความจริงแล้วอาการต่าง ๆ เหล่านี้เรียกรวม ๆ ได้ว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา โดยอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยานั้นแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ อาการข้างเคียงจากยา (Side effect) และ  การแพ้ยา (Drug allergy) ซึ่งการปฏิบัติตัวและการจัดการกับอาการข้างเคียงจากยาและการแพ้ยานั้นจะมีความแตกต่างกัน
อาการข้างเคียงจากยา (Side effect)
          หมายถึง ผลใดๆ ที่ไม่ได้จงใจให้เกิดขึ้นจากยา ซึ่งเกิดขึ้นในการใช้ตามขนาดปกติในมนุษย์ และสัมพันธ์กับคุณสมบัติทางเภสัชวิทยาของยา หรือกล่าวให้เข้าใจง่ายๆ ว่าเกิดจากฤทธิ์ของยาเอง เช่น ทานยาแก้ปวด Ibuprofen แล้วมีอาการแสบท้องเนื่องจากยาระคายกระเพาะ เรียกว่าเป็นผลข้างเคียงจากยา อาจแก้ไขโดยทานยาหลังอาหารทันที ห้ามทานตอนท้องว่าง ในผู้ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น เคยเป็นโรคกระเพาะอาจต้องทานยาลดการหลั่งกรดร่วมด้วย ยารักษาความดันโลหิตสูง ซึ่งมีฤทธิ์ในการลดความดันโลหิตของผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงให้เป็นปกติ แต่บางครั้งอาจทำให้ความดันโลหิตต่ำ จนมีผลทำให้ผู้ป่วยมีอาการข้างเคียงจากความดันโลหิตต่ำจากยาได้ เช่น ลุกขึ้นแล้วหน้ามืด ใจสั่น หรือยารักษาโรคเบาหวาน ถ้าใช้เกินขนาด หรือผู้ป่วยทานอาหารน้อยลง อาจทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ ผู้ป่วยจะมีอาการใจเต้น ใจสั่น เหงื่อออก ถ้ามีอาการมากอาจจะหมดสติ ยาบางชนิดมีผลข้างเคียง ทำให้ง่วงนอน เช่น ยาในกลุ่มยาแก้แพ้ เช่น Chlorpheniramine, Hydroxyzine หลังทานยาควรหลีกเลี่ยงการขับรถ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน เช่น Doxycycline อาจแก้ไขโดยทานยาพร้อมอาหาร หรือหลังอาหารทันที เพื่อป้องกันไม่ให้ยาออกฤทธิ์ทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าอาการข้างเคียงจากยาเป็นอาการที่เกิดจากฤทธิ์ของยาเอง และสามารถจัดการแก้ไขได้โดยการปรับเปลี่ยนวิธีทานยา และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วย ไม่จำเป็นต้องห้ามใช้ยาเสมอไป
การแพ้ยา (Drug allergy)
          เป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายต่อต้านยาที่ได้รับเข้าไป ไม่ สามารถคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่าผู้ใดจะแพ้ยาตัวไหน ลักษณะอาการแพ้ยา เช่น หลังทานยาแล้วมีผื่นคัน เปลือกตาบวม ริมฝีปากบวม มีแผลบริเวณเยื่ออ่อน ผิวหนังไหม้ เป็นต้น โดยหากพบว่าทานยาแล้วมีอาการแพ้ยาควรหยุดยาที่ต้องสงสัยทั้งหมด และพบแพทย์เพื่อรักษาอาการแพ้ที่เกิดขึ้นอย่างถูกวิธี และห้ามทานยาที่แพ้ซ้ำอีก เพราะจะทำให้เกิดการแพ้ซ้ำ และอาการแพ้อาจรุนแรงขึ้นจนบางครั้งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ควรมีการจดบันทึกชื่อยาไว้ แจ้งแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งว่าท่านแพ้ยาชื่ออะไร

ข้อแตกต่างระหว่างการแพ้ยาและผลข้างเคียงจากยา สามารถยกตัวอย่างคร่าวๆ ดังนี้

ยา Phenytoin
          ซึ่งเป็นยากันชัก ขนาดยาปกติไม่เกิน 600 มิลลิกรัมต่อวัน ผลข้างเคียงที่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดโดยทั่วไป คือ อาการมึนงง, มองภาพไม่ชัด, เหงือกบวม เป็นต้น แต่การแพ้ยาที่เกิดขึ้นเป็นรายบุคคลนั้นอาจเป็นอาการ Stevens-Johnson Syndrome หรือ SJS ซึ่งเป็นปฏิกิริยาที่เกิดจากเม็ดเลือดขาวชนิด T-cell ของระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้เกิดผื่นแพ้ทางผิวหนัง และมีการหลุดลอกของเยื่อบุต่างๆ

แพ้ยาทำให้เกิดไข้
          ท่านที่เป็นโรคติดเชื้อและซื้อยารับประทาน หลังจากรับประทานไประยะหนึ่งไข้ไม่ลง ซึ่งอาจจะเกิดจากแพยาก็ได้ ยาที่เกิดอาจจะเป็นไข้ต่ำ ๆ ตลอด หรือไข้สูงเป็นช่วง ๆ ยาที่มักจะทำให้เกิดไข้คือยากลุ่มปฏิชีวนะ เมื่อหยุดยา 24-48 ชั่วโมงไข้ก็จะลงเอง

ยาที่ทำให้เกิดผลภูมิแพ้ที่ตับ
          ปฏิกิริยาภูมิแพ้อาจจะทำให้เกิดการอักเสบของตับ โดยตับจะโตและเจ็บเมื่อเจาะเลือดตรวจจะพบว่ามีค่า SGOT,SGPT สูงและอาจจะมีดีซ่าน ยาที่ทำให้เกิดตับอักเสบที่พบบ่อย  ได้แก่  phenotiazine, sulfonamide, halathane, phenyltoin, Isoniazid

ยาที่ทำให้เกิดโรคปอด
          ผู้ป่วยที่ใช้ยาเป็นประจำเช่นยา nitrofurantoin sulfasalaxine นาน ๆ อาจะทำให้เกิดโรคที่ปอด ทำให้เกิด ไข้ ไอ และมีผื่น เมื่อเจาะเลือดพบว่า eosinphil ในเลือดสูง การรักาาให้หยุดยานั้นเสีย

การแพ้ยา penicillin
           ยากลุ่ม penicillin เป็นยาที่แพ้ได้บ่อยที่สุด การเกิดภูมิแพ้ได้หลายแบบ IgE,Immune Complex,Cytotoxic เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแพ้ยา penicillin อาการแพ้มีได้หลายแบบ
ลมพิษ
1.คัน
2.ผื่นได้หลายๆแบบ
3.แพ้แบบรุนแรงได้แก่ หนังตา ปากบวมที่เรียกว่า angioedema กล่องเสียงบวม(laryngeal edema) หลอดลมเกร็ง  ความดันโลหิตต่ำ
4.บางรายผื่นเป็นมากทำให้เกิดลอกทั้งตัวที่เรียกว่า steven johnson syndrome
5.ในทางห้องทดลองพบว่าผู้ที่แพ้penicillin สามารถแพ้ยากลุ่ม cephalosporin ดังนั้นหากสามารกเลือกยากลุ่มอื่นได้น่าจะเป็นการปลอดภัย
6.การแพ้ยา cephalosporin ก็ไม่จำเป็นต้องแพ้ penicillin

          penicillin เมื่อให้ในโรคต่อไปนี้จะทำให้เกิดผื่นได้ง่าย
          * ติดเชื้อไวรัสโดยเฉพาะ infectiuos mononucleosis
          * มะเร็งเม็ดเลือดขาว
          * กรดยูริกในเลือดสูง
          * ให้ยาpenicillin ร่วมกับ allopurinol
แพ้ยา sulfonamide
           ยา sulfonamide เป็นยาผสมในยาหลายชนิดได้แก่ ยาปฏิชีวนะ(bactrim) ยาแก้ปวด ยาขับปัสสาวะ ยาลดน้ำตาลในเลือด
การแพ้ aspirin   
          อาการของผู้ที่แพ้ aspirin มีได้หลายรูปแบบ
1.ผื่นลมพิษ
2.angioedema หน้าหนังจาปากบวม
3.น้ำมูกไหล
4.หลอดลมเกร็งทำให้แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หากเป็นมากอาจจะมีตัวเขียว ริมฝีปากเขียว
5.ความดันโลหิตต่ำ
6.ผู้ที่เป็นโรคหอบหืด หรือไซนัสอักเสบจะแพ้ได้ถึงร้อยละ30-40

การวินิจฉัยอาการแพ้ยา
        การวินิจฉัยว่าแพ้ยาหรือไม่จะอาศัยประวัติและการตรวจร่างกายเป็น สิ่งสำคัญที่สุดครับ ประวัติการได้รับยาตั้งแต่เริ่มรับยาจนกระทั่งเกิดอาการแพ้ยา อาจจะอาการคันตามตัว แสบตา ผื่น ปวดข้อ การตรวจร่างกายต้องดูลักษณะของผื่น การกระจายของผื่น ไข้ อาการอื่นๆ
อาการแพ้ยามักจะเกิดหลังจากได้รับยาไปไม่นาน แต่อาการแพ้ยาอาจจะเกิดหลังจากได้รับยาไปแล้วเป็นเวลาสัปดาห์ก็ได้
*จะต้องทราบประวัติการรับประทานยาทั้งหมด ชนิดของยาที่รับประทานอยู่ ขนาดของยา รวมทั้งยาที่ซื้อมารับประทานเอง ยาชุด หรือสมุนไพร
*อาการลมพิษอาจจะเป็นอาการของโรคซึ่งอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับการแพ้ยาก็ได้


การตรวจวินิจฉัย
*ไม่มีการตรวจวินิจฉัยที่ชัดเจน สิ่งที่กระทำได้ดีที่สุด คือการหยุดยาที่สงสัยทันที และติดตามว่าผื่นหรืออาการแพ้ยาลดลงหรือไม่
*การเจาะเลือดตรวจ CBC จะพบว่าอาจจะมีเม็ดเลือดขาวต่ำ เกร็ดเลือดต่ำ หรือมี  eosinophilia ซึ่งบ่งว่ามีการแพ้ยา
*สำหรับ ผู้ที่แพ้ยารุนแรงจะต้องมีการเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับ และไต บางรายที่มีการอักเสลของเส้นเลือดจะต้องมีการX ray ปอด และการตรวจโปรตีนในปัสสาวะ
*ในรายที่อาการแพ้ยาเหมือนอาการของโรค SLE จะต้องมีการตรวจเลือดเพื่อแยกโรค SLE
*การทดสอบทางผิวหนัง และการรับประทานยาเพื่อทดสอบการแพ้ยาไม่นิยมทำ และอาจจะเป็นอันตราย

การรักษาอาการแพ้ยา

       สำหรับผู้ทีอาการแพ้เฉียบพลัน

*ให้หยุดยานั้นทันที
*หากมีอาการแพ้รุนแรงแบบ anaphylaxis ซึ่งอาจจะเป็นอันตรายถึงกับชีวิต ต้องไดรับยา epinephrine
*สำหรับผู้ที่มีผื่นลมพิษหรือ angioedema ให้ยาแก้แพ้รับประทาน
*ให้ยา steroid ชนิดรับประทาน

       สำหรับผู้ที่แพ้ไม่เฉียบพลัน
*ให้หยุดยาที่สงสัย หลังหยุดยาผื่นอาจจะยังเกิดขึ้นต่อไปได้อีก
*หากผื่นเป็นน้อยให้ยาแก้แพ้ชนิดเดียวก็น่าจะพอ
*สำหรับผู้ที่มีผื่นมากและมีท่าจะเป็นมากขึ้นก็สามารถให้กิน steroid ชนิดกินระยะสั่นๆ

          แต่ทั้งหมดนี้ไม่ว่าจะเป็น ผื่นแพ้, anaphylaxis shock, อาการท้องเสีย, อากการเหงือกบวม สามารถเรียกกว้างๆ ได้ว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์จากยา (ADR) ทั้งสิ้น












วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุป Man&Technology

วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้ง
กระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ 
เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ ทักษะ และทรัพยากร มาสร้างสิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธีการ โดยผ่านกระบวนการเพื่อแก้ปัญหา สนองความต้องการ หรือเพิ่มความสามารถในการทำงานของมนุษย์และเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย
วิศวกรรม หมายถึง การสร้างสรรค์โดยการนำเอาหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ออกแบบ พัฒนาสิ่งต่างๆหรือกระบวนการผลิต หรือกิจกรรมใดๆ ซึ่งใช้สิ่งต่างๆเหล่านี้ให้ประโยชน์ให้เต็มที่เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือยุคที่มนุษย์ล่าสัตว์และทำการเกษตรโดยใช้แรงงานสัตว์และมนุษย์
สังคมจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
  • 1.พวกคนป่า จะเป็นพวกที่ล่าสัตว์และเก็บพืชผักเพื่อดำรงชีพ
  • 2.พวกศิวิไลซ์ (พวกที่มีความเจริญ) จะมีการทำเกษตรกรรม อยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน มีการแบ่งชนชั้นและปกครองกันแบบอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จ
ยุคอุตสาหกรรม คือยุคที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรต่างๆเพื่อทุนแรงในการทำงานและเพิ่มปริมาณการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมกรม
ยุคหลังอุตสาหกรรม คือยุคที่ภาคสังคมเน้นการให้บริการ (service sector) เพราะให้ผลกำไรได้มากกว่าภาคการผลิตหรืออุตสาหกรรม (industrial or manufacturing sector) 

ความคัดแย้งในสังคมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ปรัปตัวได้กับปรับตัวไม่ได้ สำหรับกลุ่มที่ปรัปตัวไม่ได้จะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีรุนแรง เช่น 
อเมริกา : ความตึงเครียดทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสังคมเกษตรกรรม (ทางใต้) และสังคมอุตสาหกรรม (ทางเหนือ) ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในปี ค.ศ. 1861
ญี่ปุ่น : ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1868 เกิดการโค่นทิ้ง ระบบเจ้าขุนมูลนาย ในปี ค.ศ. 1876 เกิดกบฏซัตซูมา ในปี ค.ศ. 1877 มีการปรับสร้างรัฐธรรมนูญแบบตะวันตก ในปี ค.ศ. 1889 สังคมอุตสาหกรรมได้เข้าแทนที่สังคมเกษตรกรรม
รัสเซีย : ปี ค.ศ. 1917 เกิดการต่อสู้เพื่อระบบอุตสาหกรรม โดยพวกบอลเชวิคได้กวาดล้างระบบทาสที่ดินและระบบเจ้าขุนมูลนาย กวาดล้างระบบเกษตรกรรม แล้วเอาระบบอุตสาหกรรมเข้ามาแทนที่

สิ่งที่หายไปหลังไปหลังยุคอุตสาหกรรม หรือ ธรรมนูญที่ถูกทำลาย มี 6 อย่างคือ 
1.การวางมาตรฐาน (STANDARDIZATION) ในยุคอุตสาหกรรมนั้นได้วางมาตรฐานให้แก่สิ้นค้าทุกชนิด รวมถึงการงานต่าง เช่น จำนวนเวลา เงินเดือน เป็นต้น เพราะสังคมยุคอุตสาหกรรมนั้นมองว่าการวางมาตรฐานนั้นมีประโยชน์มากและพยามนำไปใช้กับทุกๆสิ่ง
2.ความชำนานเฉพาะด้าน (SPECIALIZATION) เมื่อมีมาตรฐานเกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องมีผู้ชำนาญการพิเศษเฉพาะทาง เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมีการสร้างมืออาชีพ (Professionalization) มากขึ้นผู้เชี่ยวชาญได้แยกแขนงวิชาของตนเองออกไป และกีดกันไม่ให้คนนอกรู้เห็นและงานบางประเภทนั้นถึงคนงานไม่มีแขนไม่มีขาก็สามารถทำงานได้ มีคนวิจารณ์ว่า โรงงานทำให้หมดความเป็นคน   
3.การสร้างความพร้อมเพรียงกัน (SYNCHRONIZATION) ในยุคอุตสาหกรรมนั้นกล่าวว่า เวลา = เงิน เครื่องจักรแพงๆไม่สารมารถตั้งอยู่เฉยๆโดยไม่ทำงาน มันจะทำงานในจังหวะของมันเองและจะทำให้เกิดหลักเกณฑ์ กฎแห่งการประสานจังหวะความพร้อมเพรียงกัน
4.กฎแห่งการรวมหน่วย (CONCENTRATION) ยุคอุตสาหกรรมนั้นได้ผูกตัวเองอยู่กับพลังงานเชื้อเพลิงที่รวมไว้ที่ศูนย์หรือหน่วยใหญ่ ลักษณะที่เห็นได้ชัดในด้านประชากรที่รวมกันในภายใต้หลังคาเดียวกันและการรวมกระแสเงินทุน
5.การสร้างค่าสูงสุด (MAXIMIZATION) โลกอุตสาหกรรมนั้นมองว่าความเป็น “ที่สุด”นั้นคือความสำเร็จอย่างยิ่ง ความศรัทธาใน “คุณค่าสูงสุด”เกิดจากสมมุติฐานแบบกำปั่นทุบดินของยุคก่อนอุตสาหกรรมเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “ประสิทธิภาพ”และการรวบรวมข้อมูลต่างๆเข้าด้วนกันมาเป็นเครื่องมือทางสถิติที่เรียกว่า “ผลผลิตรวมยอดของประชาติ”(GNP)
6.การรวมเข้าที่ศูนย์กลาง (Centralization) เป็นการร่วมอำนาจและการลงทุนไว้ที่จุด
ศูนย์กลาง

รูปแบบการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 4 ช่องหลักคือ
1.ในยุคเกษตรกรรม การสื่อสารจำกัดเฉพาะชนชั้นสูง
2.ในยุคอุตสาหกรรม ระบบผูกขาดการสื่อสารได้ถูกทำลายลง และระบบไปรษณีย์มีความสำคัญเพิ่มยิ่งขึ้น
3.ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โทรศัพท์และโทรเลขได้ถูกประดิษฐ์ขึ้น และมีการใช้อย่างเต็มพิกัด
4.ในปัจจุบันมีการผลิตสื่อเพื่อมหาชน โดยผู้ส่งสารไม่รู้จักผู้รับสาร ทำให้เกิดสื่อมวลชน

พลังงาน คือ ความสามารถในการทำงานและพลังงาน เป็นที่รู้จักและปรากฏหลากหลาย รูปแบบ เช่น พลังงานจลน์ พลังงานศักย์ ความร้อนฯ และพลังนนั้นก่อให้เกิดแรงหรือความร้อน หน่วยในการวัดพลังงานมีหนว่ยมี 2 หนว่ยคือ
1.หน่วยในระบบ SI – จูล (Joule หรือชื่่อย่อ J)
2.หน่วยที่ใช้ทั่วไป – แคลลอรี (Calorie, 1 Cal = 4.184 J) และ กำลัง x เวลา เช่น kW-h

*วิธีคิดกำลังไฟในบ้าน ตัวอย่างเช่น     
พลังงานไฟฟ้า (หน่วย) = กำลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์ ) x เวลา ( ชั่วโมง )
กำลังไฟฟ้า = 2,000 วัตต์ =  = 2 กิโลวัตต์
เวลาที่ใช้ = 2 ชั่วโมง
แทนค่า พลังงานไฟฟ้า = 2 X 2 = 4 หน่วย
จะใช้พลังงานไฟฟ้าไป 4 หน่วย
 ถ้าพลังงานไฟฟ้าหน่วยละ 2.50 บาท จะเสียเงินค่าพลังงานไฟฟ้า = 4 X 2.50 = 10 บาท

Green House Effects แปลเป็นภาษาไทยก็คือสภาวะเรื่อนกระจกมีผลในแง่ดีกับโลกคือ ทำให้อุณหภูมิบนผิวโลกสูงเพียงพอที่ทำให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่บนผิวโลกได้ แต่ถ้ามากไปก็ก่อให้เกิดปัญหา
สภาวะโลกร้อน (Global Warming)
คุณสมบัติของแก๊สเรือนกระจก เป็นแก๊สที่สามารถดูดกลืนหรือปลดปล่อยแสงในช่วง
อินฟราเรดได้ส่วนใหญ่คือแก๊สที่ประกอบไปด้วยสองหรือสามอะตอม เช่น CO 

พลังงานทดแทน คือ พลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดไป มี
• พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy)
• พลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ (Solar Thermal Energy)
• พลังงานลม (Wind Energy)
• พลังงานน้ า (Hydro power)
• พลังงานชีวมวล (Biomass Energy)
• เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel)
• พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal energy)
พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) คือ พลังงานจากดวงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุดเป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฏิกิริยาใดๆอันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ฉะนั้นจึงถูกนำมาผลิตไฟฟ้าและเป็นพลังงานทางเลือกที่มีมาสักพักใหญ่ๆแล้ว
พลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ (Solar Thermal Energy) คือ คือพลังงานความร้องจากดวงอาทิตย์ที่นำไปใช้ผลิตไฟฟ้าคล้ายๆกับพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) แต่พลังงานความร้อนแสงอาทิตย์จะนำเอาความร้อนไปต้มนํ้าและนํ้า ไอนํ้าที่ได้ไปผลิตไฟฟ้า
พลังงานลม (Wind Energy) คือ พลังงานที่ได้จากการลมพัดทำให้กังหันลมหมุนด้วยไดนาโมและนำพลังงานจากการหมุนไดนาโมไปผลิตไฟฟ้า  
พลังงานนํ้า (Hydro Energy) คือ คือพลังงานความที่ได้จากการใช้นํ้าหมุนกังหนและนํ้าพลังงานจากการหมุนไปผลิตไฟฟ้าหลักการเดียวกับการใช้พลังงานลม
พลังงานชีวมวล (Biomass) คือ พลังงานเชื้อเพลิงที่มาจากชีวะหรือสิ่งมีชีวิตรวมถึงมูลสัตว์และของเสียซึ่งนำสิ่งเหล่านี้ไปเผาให้ความร้อนและนำความร้อนที่ได้มาไปต้มนํ้าเพื่อเอาไอนํ้ามาผลิตกระแสไฟฟ้า
เชื้อเพลิงชีวภาพ (BioFuel) คือ พลังงานที่ได้จากพืชพลังงานมาผลิตพลังเป็นพลังงานนํ้ามันต่างๆ เช่น ไบโอดีเซล เมธิลเอสเทอร์ B5
พลังงานความร้อนใต้พิภพ คือ พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นพลังงานความร้อนที่สะสมในแกนโลก
พืชพลังงาน คือ พืชที่นำไปผลิตเป็นพลังงาน เช่น อ้อย ข้าวโพด มันส าปะหลัง  ข้าวฟ่างหวานเอาไปทาเอธานอล นํ้ามันสบู่ดำ มะพร้าว ทานตะวัน ถั่วเหลือง เมล็คเรพ และน้ ามันปาล์ม เอาไปผลิตไบโอดีเซล นอกเหนือจากพืชพลังงานแล้วยังสามารถใช้ นํ้ามันพืชและนํ้ามันสัตว์ที่ใช้แล้วไปผลิตไบโอดีเซลได้
ไบโอดีเซล คือ สารผสมระหว่างนํ้ามันดีเซล กับสารสังเคราะห์มาจากนํ้ามัน/ไขมันธรรมชาติ ที่เรียกว่า “เมธิลเอสเทอร์” (Methyl Ester)
เมธิลเอสเทอร์ เป็นเชื้อเพลิงเหลวที่ผลิตจากนํ้ามันพืชและไขมันสัตว์ นำมาทำปฏิกิริยาเคมี “transesterrification” ร่วมกับเมธานอลจนเกิดเป็นสารเอสเทอร์ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับนํ้ามันดีเซล 

B5 คือ ไบโอดีเซลที่มีส่วนผสมของ นํ้ามันดีเซล 95% และ เมธิลเอสเทอร์ 5%
แก็สโซฮอล์ 91 = แอลกอฮอล์ 10% + เบนซิน
แก็สโซฮอล์ 95 = แอลกอฮอล์ 10% + เบนซิน  = E10
E20 = แอลกอฮอล์ 20% + เบนซิน
E85 = แอลกอฮอล์ 85% + เบนซิน
ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมของซากพืชในยุคดึกดำบรรพ์เป็นเวลายาวนานหลายล้านปี จนตะกอนนั้น ได้เปลี่ยนสภาพไปและมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นธาตุคาร์บอน โดยมีธาตุอื่นๆทั้ง ที่เป็นก๊าซและของเหลวปนอยู่ด้วยในสัดส่วนที่น้อยกว่าและเป็นแร่เชื้อ เพลิงสามารถติดไฟได้แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. พีต (Peat) (เป็นถ่านที่แย่ที่สุด)
2. ลิกไนต์ (Lignite) (เป็นถ่านที่ประเทศไทยใช้)
3. ซับบิทูมินัส (Subbituminous)
4. บิทูมินัส (Bituminous)
5. แอนทราไซต์ (Anthracite) (เป็นถ่านที่ดีที่สุด)
ปิโตเลียม คือนํ้ามันที่ได้จากหินซึ่งปิโตรเลียมนั้นเป็นสารผสมระหว่างสารประกอบไฮโดรคาร์บอนและสารอินทรีย์หลายชนิดที่เกิดตามธรรมชาติทั้งในสถานะของเหลวและแก๊ส ได้แก่ นํ้ามันดิบ (Crude oil) และแก๊สธรรมชาติ(Natural gas)
 
การกำเนิดปิโตเลียม : เกิดขึ้นจากการสลายไฮโดรคาร์บอนด้วยความร้อนในปฏิกิริยาดูดความ
ร้อนเป็นหลักที่อุณหภูมิหรือ ความดันสูงหลายปฏิกิริยา

สัดส่วนในการกลั่นปิโตเลียมในหอกลั่น ก๊าซหุงต้ม 5 % เบนซิน 22 % นํ้ามันเครื่องบิน 11 %
ดีเซล 38 % นํ้ามันเตา 21 % และเป็นเชื้อเพลิงการกลั่น 3 % ตามลำดับ

วิธีการสำรวจปิโตเลียม มี 3 วิธี 
 1.การสำรวจเส้นแรงโน้มถ่วง (Gravity Survey)
 2.การสำรวจเส้นแรงแม่เหล็กโลก (Magnetic Survey)
 3.การสำรวจคลื่นไหวกระเทือน (Seismic Survey)*เป็นวิธีที่ดีที่สุด
เครื่องเร่งอนุภาค คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้เร่งอนุภาคที่มีประจุ(ไฟฟ้า)ให้มีพลังงานเพิ่มขึ้น โดยที่อนุภาคที่มีประจุได้แก่ อิเล็กตรอน โพสิตรอน หรือไอออน
อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เครื่องเร่งในชีวิตประจำวัน เช่น ทีวี เครื่องฉายรังสี X-ray ในโรงพยาบาลหรือสนามบิน

ปรากฏการของแสง เช่น ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก เป็นปรากฏการณ์ที่อิเล็กตรอนหลุดออกจากสสาร (เรียกสสารเหล่านี้ว่า โฟโตอีมิสสีฟ) เมื่อสสารนั้นสัมผัสกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง (ความยาวคลื่นตํ่า พลังงานสูง เช่น รังสีอัลตราไวโอเล็ต) และเรียกอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาว่า โฟโตอิเล็กตรอน
โฟตอน คือ อนุภาคของแสง เกิดจากปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
การแบ่งช่วงของแสง เราสามารถแบ่งได้โดยความยาวคลื่น

ข้อดีของหลอด LED เทียบกับหลอดฟูลออเรสเซนต์
1.มีความสว่างมากกว่า
2.มีขนาดเล็กกว่าง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้และง่ายต่อการที่ออกแบบให้มีการโฟกัสแสง
3.ไม่ใช้ฟิลเตอร์ในการสร้างสีเหมือนหลอดฟลูออเรสเซนซ์ ทำให้ลดต้นทุนได้มากกว่า
4.เปิดและปิดได้เร็วกว่าหลอดฟลูออเรสเซนซ์
5.สามารถลดความสว่างของหลอดไปไฟได้แต่หลอดฟลูออเรสเซนน์นั้นไม่สามารถทำได้
6.มีความร้อนน้อยกว่า
7.มีอายุการใช้งานมากกว่าหลายเท่าตัว
8.ทนทานต่อการกระแทก
 ข้อเสีย
 1.มีราคาแพงกว่า
 2.ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ไม่ชอบอุณภูมิสูงหรือตํ่าเกินไป
 3.สเปกตรัมแสงสีขาวเพี้ยนไปจากธรรมชาติและความสว่างยังขึ้นอยู่ศักย์ไฟฟ้า
 4.ใช้ไฟกระแสตรงและยังต้องต่อขั้วบวก/ลบให้ถูกต้อง
 เลเซอร์ ที่ใช้ในปัจจุบันจะใช้ในการตัด เจาะ เชื่อม ส่วนในทางการแพทย์ก็จะใช้ในการผ่าตัดเล็กๆและการลบรอยแผล รอยไหม้และไฝต่างๆ การสื่อโทรคมนาคมและในอุปกรณ์ในชีวิตประจําวัน อีกมากมาย เช่น เลเซอร์พอยน์เตอร์ เลเซอร์พรินเตอร์ เครื่องเสียงคอมแพกดิสก์ เครื่องวิดีโอเลเซอร์
ดิสก์ เครื่องสแกนบาร์โค๊ด เครื่องเล่น CD DVD Blu-Ray และอื่นๆอีกมากมาย
 ปฏิกิริยานิวเคลียร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.นิวเคลียร์ฟิวชัน เป็นปฏิกิริยาที่นิวเคลียสของธาตุที่เบาสองนิวเคลียสมารวมกัน แล้วกลายเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่าพร้อมกับมีพลังมหาศาลออกมาด้วย การเกิดปฏิกิริยานี้นิวเคลียสเบานั้นจะมีความเร็วสูงมากหรืออยู่ในสภาพที่มีความร้อนสูงมากหลายร้อยล้านองศาจึงจะรวมกันได้ ปัจจุบันธาตุที่เบาที่เกิดปฏิกิริยาฟิวชันคือไฮโดรเจน
2.นิวเคลียร์ฟิชชัน เป็นกระบวนการเกิดขึ้นที่นิวเคลียสของอะตอม ฟิชชันเกิดขึ้นเมื่อนิวเคลียสแบ่งออกเป็นนิวเคลียสที่เล็กลง 2 หรือ 3 นิวเคลียส โดยทำให้เกิดผลพลอยได้ในรูปอนุภาคหรือรังสี
ออกมาด้วย ฟิชชันจะมีการปลดปล่อยพลังงานปริมาณมากออกมา
**ระเบิดนิวเคลียร์ถูกใช้ครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น ที่เมืองฮิโรชิมาด้วยระเบิด Little Boy และ
**ครั้งที่สองใช้ที่ประเทศญี่ปุ่น ที่เมืองนากาซากิด้วยระเบิด Fat Man 

**การที่จะทำให้เกิดการฟิชชั่นของระเบิดนิวเคลียร์นั้นทำได้โดย ทำให้มวลของธาตุกัมมันตรังสีเกินค่ามวลวิกฤต (U-235 และ Pu-239 มีค่า 52 kg และ 10 kg ตามลำดับ) เมื่อเกินแล้วจะเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ของฟิชชันเกินค่าที่ควบคุมได้จึงทำเกิดการระเบิดในทันที

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ฟิสิกส์ : ฟิสิกส์นิวเคลียร์

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

ฟิสิกส์ : ฟิสิกส์อะตอม

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

ฟิสิกส์ : แม่เหล็กไฟฟ้า,สนามแม่เหล็ก,เส้นแรงไฟฟ้า,จุดสะเทิน,ความเข้มสนามแม่เหล็ก,การสร้างสนามแม่เหล็ก

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

มุมแนะนำ