มุมแนะนำ

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
            ในปี พ.ศ. 2453 (ค.ศ.1910) เซอร์ เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Sir Ernest Rutherford) ได้ศึกษาแบบจำลองของทอมสัน และเกิดความสงสัยว่าอะตอมจะมีโครงสร้างตามแบบจำลองอะตอมของทอมสันหรือไม่ โดยตั้งสมมติฐานว่า “ถ้าอะตอมมีโครงสร้างตามแบบจำลองของทอมสันจริง ดังนั้นเมื่อยิงอนุภาคแอลฟาซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเข้าไปในอะตอม แอลฟาทุกอนุภาคจะทะลุผ่านเป็นเส้นตรงทั้งหมดเนื่องจากอะตอมมีความหนาแน่นสม่ำเสมอเหมือนกันหมดทั้งอะตอม” เพื่อพิสูจน์สมมติฐานนี้ รัทเทอร์ฟอร์ดได้ทำการยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำบางๆ โดยมีความหนาไม่เกิน 10-14 cm โดยมีฉากเรืองแสงรองรับ ปรากฏผลการทดลองดังนี้
           1.   อนุภาคส่วนมากเคลื่อนที่ทะลุแผ่นทองคำเป็นเส้นตรง
           2.   อนุภาคส่วนน้อยเบี่ยงเบนไปจากเส้นตรง
            3.อนุภาคส่วนน้อยมากสะท้อนกลับมาด้านหน้าของแผ่นทองคำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ