มุมแนะนำ

วันจันทร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ตัวต้านทานไฟฟ้า


แอลดีอาร์ (light dependent resistor; LDR)
แอลดีอาร์เป็นตัวต้านทานที่ความต้านทานขึ้นกับความสว่างของแสงที่ตกกระทบ  แอลดีอาร์มีความต้านทานสูงในที่มืด แต่มีความต้านทานตาในที่สว่าง จึงเป็นตัวรับรู้ความสวาง (light sensor) ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์สำหรับควบคุมการปิด ปิด-เปิดด้วยแสง
เทอร์มิสเตอร์ (thermister)
เทอร์มิสเตอร์เป็นตัวต้านทานที่ความต้านทานขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม เทอร์มิสเตอร์แบบ NTC (negative temperature coefficient) มีความต้านทานสูงเมื่ออุณหภูมิต่ำ แต่มีความต้านทานต่ำเมื่ออุณหภูมิสูง กล่าวคือค่าความต้านทานของเทอร์มิสเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ เทอร์มิสเตอร์จึงเป็นตัวรับรู้อุณหภูมิ (temperature sensor) ในเทอร์มอมิเตอร์บางชนิด
ไดโอด (diode)
ไดโอดทำจากสารกึ่งตัวนำ (semiconductors) ไดโอดมีขั้วไฟฟ้าบวกและขั้วไฟฟ้าลบ เมื่อนำไดโอด แบตเตอร์รีและแอมมิเตอร์มาต่อเป็นวงจรโดยต่อขั้วบวกและขั้วลบของแบตเตอร์รีกับขั้วไฟฟ้าบวกและขั้วไฟฟ้าลบของไดโอดตามลำดับ  จะพบว่า มีกระแสไฟฟ้าในวงจร การต่อลักษณะนี้เรียกว่า โบแอสตรง(forward bias) เมื่อสลับขั้วของไดโอด จะพบว่า ไม่มีกระแสไฟฟ้าโนวงจร การต่อลักษณะนี้เรียกว่า ไบแอสกลับ (reverse bias)

ความจริงของแก๊สโซฮอล์


ความจริงเรื่อง แก๊สโซฮอล์
ก่อนที่จะทราบความจริงเรื่อง แก๊สโซฮอล์เรามารู้ความเป็นมาของแสโซฮอล์ก่อนเป็นส่วนผสมระหว่างเอทานอนกับน้ำมันเบนซิล ซึ่งแก๊สโซฮอล์ที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ คือการนำมาใช้แทนน้ำมันเบนซิน 95 ทั่วไป ซึ่งก็คือ การนำเอาน้ำมันเบนซิล 91 ผสมกับเอทานอลให้ได้ค่าออกเทนเพิ่มขึ้นเป็น 95 สำหรับที่มาของชื่อคือ แก๊สโซลีน(Gasoline)+แอลกอฮอล์ (alcohol) ซึ่งเดิมทีจะใช้ชื่อ เบนโซฮอล์ (benzohol) ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นแก๊สโซฮอล์อย่างในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามในแต่ละประเทศก็จะมีชื่อต่างกัน เช่น สหรัฐอเมริกาเรียกว่า E-10 คือ มีเอทานอลผสมในน้ำมันเบนซิล 10 % แต่สำหรับประเทศไทยไม่ว่าจะมีส่วนผสมของเอทานอลในน้ำมันเบนซิลเท่าไรก็จะเรียก แก๊สโซฮอล์

การเปลี่ยนแปลงเชิงภูมิศาสตร์


ภูเขาไฟปะทุ (Volcano Eruption)
ภูเขาไฟ (volcano) เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สัมพันธ์กับการเกิดแผ่นดินไหวโดยทั่วไปการปะทุของภูเขาไฟมักมีแผ่นดินไหวเกิดขึ้นร่วมด้วยภู่เขาไฟเกิดจากหินหนืดทีอยู่ในชันแมนเทิล (ชันใต้เปลือกโลก) ถูกแรงอัดให้แทรกออกมาตามรอยแตกขึ้นสู่ผิวโลกด้วยวิธีการปะทุ ไหล หรือพุออกมา โดยถ้าหากออกมาพ้นเปลือกโลกเรียกว่า ลาวาหลาก (lava flow) แต่ถ้ายังอยู่ใต้เปลือกโลก เรียกว่า แมกมา (magma) การปะทุของภูเขาไฟจะมีหินหนืด ไอน้ำ ฝุ่นละออง เศษหิน และแก๊สต่าง ๆ พุ่งออกมาด้วย
ผลกระทบจากปรากฏการณ์ภูเขาไฟปะทุ
ผลกระทบด้านลบ ได้แก่
•             ทำลายชีวิตและทรัพย์สิน
•             เกิดมลภาวะทางอากาศจากแก๊สที่ออกมา เช่น แก๊สชัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นต้น
•             เกิดฝนกรดจากแก๊สต่าง ๆ ที่ฟ้งออกมาทำปฏิกิริยากับฝนที่ตก
ผลกระทบด้านบวก ได้แก่
•             มีโอกาสพบแร่เศรษฐกิจตามแนวสัมผัส เช่น ทองคำ พลอย เป็นต้น
•             นำเอาวัตถุต้นกำเนิดดินที่มีธาตุอาหารอุดมสมบูรณ์ขึ้นมาด้วย ทำให้เป็นแหล่งเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น เกาะชวาของประเทศอินโดนีเซีย ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย เป็นต้น
ภูเขาไฟในโลก
ปรากฏการณ์ภูขาไฟปะทุในโลก ส่วนใหญ่จะเกิดตามแนวการชนกันของแผ่นเปลือกโลกที่ทอดตัวอยู่รอบมหาสมุทรแปซิฟิก ที่เรียกว่า วงแหวนไฟ (ring of fire) ซึ่งเป็นบริเวณเปลือกโลกที่มีภูเขาไฟที่ยังคุกรุ่นอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ภูเขาไฟปะทุในฮาวาย ไม่ได้เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก แต่เกิดจากบริเวณที่เรียกว่า จุดร้อน (hot spots) ซึ่งเป็นบริเวณที่เปลือกโลกชั้นในมีความร้อนสูงมาก จนทำให้แมกมาดันตัวขึ้นสู่พื้นผิวโลก เกิดเป็นภูเขาไฟ เป็นต้น

สินามิ (Tsunami)
สินาม มาจากภาษาญี่ปุ่น แปลว่า คลี'นทีชัดเขาท่าเรือ (harbour wave) คำนี้บัญญัติขึ้นโดยชาวประมงญี่ปุ่นผู้ชึ่งแล่นเรือกลับเข้าฝังมายังท่าเรือ และพบว่าทุกสิงทุกอย่างบนท่าเรือถูกทำลายพังพินาศไปจนหมดสิน โดยในระหว่างที่ลอยเรืออยู่กลางทะเลจะไม่รู้สึกหรือสังเกตพบความผิดปกติของคลื่น เนื่องจากคลื่นสึนามิไม่ใช่ปรากฏการณ์ระดับผิวนํ้าในเขตนาลึก เพราะคลื่นที่เกิดขึ้นจะมีขนาดของคลื่นเล็กมากเมืออยู่ในฟืนนำนอกชายฝัง ทำให้คลื่นสึนามิที่เกิดขึ้นไม่สามารถลังเกตเห็นด้ในขณะที่ลอยเรืออยู่บนผิวนํ้ากลางทะเลลึกการเกิดสึนามิ มีสาเหตุที่สำคัญ 4 ประการ คือ
1)            การปะทุของภูเขาไฟใต้มหาสมุทรที่มีระดับรุนแรง
2)            แผ่นดินไหวที่มีศูนย์กลางอยู่ลึกลงไปใต้มหาสมุทร
3)            การเกิดดินถล่มใต้พี้นมหาสมุทรโดยฉับพลัน
4)            การตกของดาวหางหรืออุกกาบาตขนาดใหญ่ลงสู่พื้นทะเลหรือมหาสมุทร

มุมแนะนำ