มุมแนะนำ

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สารและสมบัติของสาร

สารและสมบัติของสาร

พอลิเมอร์
คือ สารที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของสารขนาดเล็ก (มอนอเมอร์) จำนวนมาก
3.1 พลาสติก แบ่งเป็น
เทอร์มอพลาสติก มีโครงสร้างแบบโซ่ตรงหรือโซ่กิ่ง ยืดหยุ่น และโค้งงอได้ เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว สามารถเปลี่ยนรูปร่างกลับไปมาได้ เพราะสมบัติไม่มีการเปลี่ยนแปลง
เทอร์มอเซต มีโครงสร้างแบบตาข่าย มีความแข็งแรงมาก เมื่อได้รับความร้อนจะไม่อ่อนตัว แต่จะเกิดการแตกหัก ไม่สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ เพราะสมบัติมีการเปลี่ยนแปลง
3.2 ยาง แบ่งเป็น
ยางธรรมชาติ เกิดจากมอนอเมอร์ คือ ไอโซพรีน รวมตัวกันเป็นพอลิไอโซพรีน ดังนี้
มีความยืดหยุ่น ทนต่อแรงดึงทนต่อการขัดถู ทนนํ้า นํ้ามันพืชและสัตว์ แต่ไม่ทนนํ้ามันเบนซินและตัวทำละลายอินทรีย์ เมื่อได้รับความเย็นจะแข็งและเปราะ แต่เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัวและเหนียว
ยางสังเคราะห์ (ยางเทียม) เช่น
: ยาง IR (Isoprene Rubber) มีโครงสร้างเหมือนยางธรรมชาติ มีสิ่งเจือปนน้อย คุณภาพสมํ่าเสมอ
: ยาง SBR (Styrene - Butadiene Rubber) ทนต่อการขัดถูแต่ไม่ทนต่อแรงดึง ใช้ทำพื้นรองเท้า สายยาง
ปิโตรเลียม
เกิดจาก ซากพืชซากสัตว์ที่ตายทับถม แล้วถูกย่อยสลาย เกิดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
2.1 นํ้ามันปิโตรเลียม ประเทศไทยพบครั้งแรกที่ .ฝาง .เชียงใหม่ และต่อมาพบที่ .ลานกระบือ .กำแพงเพชร
การกลั่นนํ้ามันปิโตรเลียม เรียกว่า การกลั่นลำดับส่วน โดยใช้ความร้อน 350-400 oC จะได้ผลิตภัณฑ์ เรียงตามลำดับจากจุดเดือดตํ่าไปสูง ดังนี้
มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เบนซิน ก๊าด ดีเซล หล่อลื่น เตา ไข ยางมะตอย
2.2 ก๊าซธรรมชาติ ประเทศไทยพบบริเวณอ่าวไทยและมีมากในเชิงพาณิชย์ และพบที่ .นํ้าพอง .ขอนแก่น
ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน ร้อยละ 80-95
ปฏิกิริยาการเผาไหม้ คือ ปฏิกิริยาระหว่างสารไฮโดรคาร์บอนกับก๊าซออกซิเจน แบ่งเป็น
- การเผาไหม้ที่สมบูรณ์ เกิดเมื่อมีก๊าซ O2 มากเพียงพอ จะได้ CO2 และ H2O ซึ่งจะไม่มีเถ้าถ่าน และเขม่า
- การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เกิดเมื่อมีก๊าซ O2 น้อย จะได้ CO ซึ่งจะไปจับกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำให้ร่างกายเกิดการขาดออกซิเจน อาจเกิดอาการหน้ามืด เป็นลมหรือเสียชีวิตได้
2.3 เชื้อเพลิงในชีวิตประจำวัน
- ก๊าซมีเทน (CH4) ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้ในรถปรับอากาศเครื่องยนต์ยูโร-2
- ก๊าซหุงต้ม ประกอบด้วย ก๊าซโพรเพน (C3H8) และก๊าซบิวเทน (C4H10) ที่ถูกอัดด้วยความดันสูง จนมีสถานะเป็นของเหลวเรียกว่า LPG (Liquid Petroleum Gas)
เลขออกเทน เป็นตัวเลขบอกคุณภาพของนํ้ามันเบนซิน โดยกำหนดให้
ไอโซออกเทน มีประสิทธิภาพการเผาไหม้ดี ทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบ มีเลขออกเทน 100
นอร์มอลเฮปเทน มีประสิทธิภาพการเผาไหม้ไม่ดี ทำให้เครื่องยนต์กระตุก มีเลขออกเทน 0
- นํ้ามันดีเซล บอกคุณภาพโดยใช้เลขซีเทน
ปฏิกิริยาเคมี
เกิดจาก สารเริ่มต้น เข้าทำปฏิกิริยากัน แล้วทำให้เกิดสารใหม่ เรียกว่า ผลิตภัณฑ์
4.1 ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
- ปฏิกิริยาการเผาไหม้ของถ่านหิน จะมีกำมะถัน (S) เมื่อเผาไหม้กำมะถันจะทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนทำให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และเมื่อทำปฏิกิริยากับนํ้าฝน ทำให้เกิดกรดกำมะถัน/กรดซัลฟิวริก (ฝนกรด)
- การเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ จะเกิดก๊าซ NO2 กลายเป็นฝนกรดไนตริกได้
- ปฏิกิริยาการเกิดสนิมเหล็ก (Fe2O3) เกิดจาก ปฏิกิริยาระหว่างเหล็กกับก๊าซออกซิเจน
- ปฏิกิริยาการสลายตัวของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (ผงฟู) ด้วยความร้อนจะได้ก๊าซ CO2 และ H2O
- สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เมื่อได้รับแสงและความร้อน จะสลายตัว ดังนั้น จึงต้องเก็บไว้ในที่มืด
- ปฏิกิริยาการสลายตัวของหินปูน (CaCO3) ด้วยความร้อน ได้ปูนขาว (CaO) ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์
- ปฏิกิริยาระหว่างหินปูนกับกรดไนตริก / กรดซัลฟิวริก ทำให้สิ่งก่อสร้างสึกและเกิดหินงอกหินย้อย

สารชีวโมเลกุล
คือ สารที่มี C และธาตุ H เป็นองค์ประกอบ มีขนาดใหญ่และพบในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น มี 4 ประเภท ได้แก่
1. ไขมัน และนํ้ามัน ประกอบด้วยธาตุ C H O มีหน้าที่ดังนี้
ป้องกันการสูญเสียนํ้า ช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น ป้องกันการสูญเสียความร้อน ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยให้ผมและเล็บมีสุขภาพดี ช่วยละลายวิตามิน A D E K (ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี )
ไขมัน เป็นสารไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเกิดจากกรดไขมัน 3 โมเลกุล กับ กลีเซอรอล 1 โมเลกุล
กรดไขมันไม่อิ่มตัว + ก๊าซออกซิเจน ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืน
แสดงว่า นํ้ามันพืช จะเกิดกลิ่นเหม็นหืนได้ง่าย แต่ในธรรมชาติจะมีวิตามินE ซึ่งเป็นสารต้านหืน
การผลิตสบู่ จากปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน ได้จาก การต้มไขมันกับเบส (โซเดียมไฮดรอกไซด์ / NaOH)
2. โปรตีน ( C H O N ) มีหน้าที่ ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ช่วยรักษาสมดุลนํ้าและกรด-เบส เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน เลือด และภูมิคุ้มกัน (1 กรัม ให้พลังงาน 4 KCal)
หน่วยย่อย คือ กรดอะมิโน มีทั้งหมด 20 ชนิด แบ่งเป็น
กรดอะมิโนที่จำเป็น มี 8 ชนิด ซึ่งร่างกายสร้างไม่ได้ ต้องกินจากอาหารเข้าไป
กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น มี 12 ชนิด ซึ่งร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง
การแปลงสภาพโปรตีน คือ การที่ทำให้โครงสร้างของโปรตีนถูกทำลาย เช่น แข็งตัวเมื่อได้รับความร้อน เมื่อได้รับสารละลายกรด-เบส เมื่อได้รับไอออนของโลหะหนัก
คุณค่าทางชีววิทยา หมายถึง คุณภาพของโปรตีนที่นำมาสร้างเป็นเนื้อเยื่อได้(ไข่ 100%)
3. คาร์โบไฮเดรต ( C H O ) มีหน้าที่ดังนี้
- เป็นแหล่งพลังงานหลักของคน (1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี) แบ่ง 3 ประเภท ดังนี้
3.1 มอโนแซ็กคาไรด์ ( นํ้าตาลโมเลกุลเดี่ยว ) แบ่งเป็น
นํ้าตาลที่มีสูตรเป็น C5H10O5 เรียกว่า ไรโบส
นํ้าตาลที่มีสูตรเป็น C6H12O6 เช่น กลูโคส ฟรุกโตส ( ฟรักโตส ) กาแลกโทส
3.2 ไดแซ็กคาไรด์ ( นํ้าตาลโมเลกุลคู่ )
กลูโคส + กลูโคส = มอลโทส พบในข้าว เมล็ดพืช ใช้ในการทำเบียร์ อาหารทารก
กลูโคส + ฟรุกโตส = ซูโครส หรือ นํ้าตาลทราย พบมากในอ้อย
กลูโคส + กาแลกโทส = แลกโทส พบมากในนํ้านม
3.3 พอลิแซ็กคาไรด์ (นํ้าตาลโมเลกุลใหญ่ )
แป้ง เกิดจากกลูโคสหลายพันโมเลกุลมาต่อกัน แบบสายยาวและแบบกิ่ง พบมากในพืช
- ร่างกายคนย่อยสลายได้ด้วยเอนไซม์ที่มีในนํ้าลาย (อะไมเลส)
เซลลูโลส เกิดจากกลูโคสประมาณ 50,000 โมเลกุล ต่อกันแบบสายยาว เป็นเส้นใยพืช
- ร่างกายคนย่อยสลายไม่ได้ ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหว ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม
ไกลโคเจน เกิดจากกลูโคสเป็นแสนถึงล้านโมเลกุลมาต่อกันแบบกิ่ง พบในคนและสัตว์ ที่ตับและกล้ามเนื้อ เป็นแหล่งพลังงานสำรอง โดยจะสลายกลับคืนเป็นกลูโคส เมื่อร่างกายขาดแคลนพลังงาน
4. กรดนิวคลีอิก ( C H O N P ) มีหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์
DNA ประกอบด้วย นิวคลีโอไทด์ มาเชื่อมต่อกันเกิดเป็นสายยาว 2 สายพัน กันเป็นเกลียว โดยเกาะกันด้วยคู่ไนโตรเจนเบสที่เฉพาะเจาะจง คือ อะดีนีน (A) กับ ไทมีน (T) กวานีน (G) กับ ไซโตซีน (C)

ธาตุและสารประกอบ
พันธะเคมี คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมของธาตุ โดยแบ่งเป็น
- พันธะไอออนิก : เกิดจากโลหะกับอโลหะ เช่น NaCl CaO
- พันธะโควาเลนซ์ : เกิดจากอโลหะกับอโลหะ เช่น H2 Cl2 CO2 CH4 ธาตุหมู่ 1A และ 2A เป็นโลหะ เป็นของแข็ง จุดเดือด / จุดหลอมเหลวสูง นำไฟฟ้าได้
ธาตุหมู่ 1A มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 1 จึงหลุดออกง่าย ทำให้มีประจุ +1 เช่น Na+ มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาสูงมาก ลุกไหม้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดปฏิกิริยากับนํ้ารุนแรง
ธาตุหมู่ 2A มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 2 จึงสูญเสียได้ง่าย ทำให้มีประจุ +2 เช่น Mg2+
ธาตุหมู่ 7A (Halogen) เป็นอโลหะ อยู่เป็นโมเลกุลมี 2 อะตอม เช่น F2 Cl2 Br2 I2 At2
มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 7 จึงสามารถรับอิเล็กตรอนได้อีก 1 กลายเป็นไอออนประจุ -1
มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก
ธาตุหมู่ 8A เป็นอโลหะ มีสถานะเป็นก๊าซ อยู่เป็นอะตอมอิสระ : He Ne Ar Kr Xe Rn
มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 8 จึงมีความเสถียรมาก ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมี จึงเรียกว่า ก๊าซเฉื่อย
โลหะแทรนซิชัน เป็นโลหะ มีสมบัติกายภาพเหมือนโลหะหมู่ 1A / 2A แต่สมบัติเคมีแตกต่างกัน
ธาตุกึ่งโลหะ คือ ธาตุที่มีสมบัติบางประการคล้ายโลหะและบางประการคล้ายอโลหะ เช่น
อะลูมิเนียม (Al) มีความหนาแน่นตํ่า จึงแข็งแรงแต่นํ้าหนักเบา นำไฟฟ้า/ความร้อนดี เช่น
บอกไซด์ :ใช้ทำโลหะอะลูมิเนียม อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องครัว ห่ออาหาร
คอรันดัม หรือ อะลูมิเนียมออกไซด์ : ทำอัญมณีที่มีสีตามชนิดของโลหะแทรนซิชัน
สารส้ม (Al(SO4)2 . 12H2O) : ใช้ในการทำนํ้าประปาหรือกวนนํ้าให้ตกตะกอน
ซิลิกอน (Si) - อะตอมยึดต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนซ์ ในรูปโครงผลึกร่างตาข่าย เป็นสารกึ่งตัวนำ ใช้ทำแผงวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า
ธาตุกัมมันตรังสี คือ ไอโซโทปของธาตุที่มีนิวตรอนต่างจากโปรตอนมากๆ ทำให้ไม่เสถียร จึงสลายตัว โดยปลดปล่อยรังสีออกมา ซึ่งตรวจหาและวัดรังสี โดยใช้ไกเกอร์มูลเลอร์เคาน์เตอร์

โลก ดาราศาสตร และอวกาศ



โลก ดาราศาสตร และอวกาศ
1. โลกและการเปลี่ยนแปลง
1.1 โครงสร้างโลก แบ่งตามลักษณะมวลสาร ได้ 3 ชั้น คือ
1. ชั้นเปลือกโลก แบ่งเป็น 2 บริเวณ คือ
ภาคพื้นทวีป ประกอบด้วย ซิลิกาและอะลูมินา
ใต้มหาสมุทร ประกอบด้วย ซิลิกาและแมกนีเซีย
2. ชั้นเนื้อโลก มีความลึก 2,900 กิโลเมตร แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ
ส่วนบน เป็นหินที่เย็นตัว ชั้นเนื้อโลกส่วนบนรวมกับชั้นเปลือกโลก เรียกว่า ชั้นธรณีภาค
ชั้นฐานธรณีภาค เป็นชั้นของหินหลอมละลายหรือหินหนืด ที่เรียกว่า แมกมา
ชั้นล่างสุด เป็นชั้นของแข็งร้อนที่แน่นและหนืด
3. ชั้นแก่นโลก แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
แก่นโลกชั้นนอก เป็นเหล็กและนิกเกิลที่เป็นของเหลวร้อน
แก่นโลกชั้นใน เป็นเหล็กและนิกเกิลที่เป็นของแข็ง
1.2 ปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยา
แนวรอยต่อที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหว มี 3 แนว คือ
1. แนวรอยต่อรอบมหาสมุทรแปซิฟิก เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงและมากที่สุด ( 80% ) เรียกว่า วงแหวนแห่งไฟ ได้แก่ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก
2. แนวรอยต่อภูเขาแอลป์ในยุโรปและภูเขาหิมาลัยในเอเซีย เกิดแผ่นดินไหว (15%) โดยจะเกิดระดับตื้นและปานกลาง ได้แก่ พม่า อัฟกานิสถาน อิหร่าน ตุรกี และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
3. แนวรอยต่อบริเวณสันกลางมหาสมุทรต่างๆ ของโลก (5%) ได้แก่ บริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก มหาสมุทรอินเดียและอาร์กติก โดยจะเกิดแผ่นดินไหวในระดับตื้น
ภูเขาไฟ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ดังนี้
เกิดจาก การปะทุของแมกมา จะมีสัญญาณบอกเหตุล่วงหน้า เช่น แผ่นดินไหว และมีเสียงคล้ายฟ้าร้อง ซึ่งเมื่อพ่นออกมา เรียกว่า ลาวา คุพุ่งเหมือนนํ้าพุร้อน เมื่อเย็นตัวกลายเป็น หินบะซอลต์ ซึ่งมีรูพรุน
เกิดจาก การระเบิดของแมกมาที่มีก๊าซ ซึ่งจะแยกเป็นฟองเหมือนนํ้าเดือดและขยายตัวจนระเบิดอย่างรุนแรง พ่นเศษหิน ผลึกแร่ เถ้าภูเขาไฟ และเมื่อเย็นตันเป็นหิน เรียกว่า หินตะกอนภูเขาไฟ ซึ่งเรียกชื่อตามขนาดและชิ้นส่วนที่พ่นออกมา เช่น หินทัฟฟ์ หินกรวดเหลี่ยมภูเขาไฟ หินกรวดมนภูเขาไฟ
2. ธรณีภาค
2.1 แผ่นธรณีภาคและการเคลื่อนที่
ปี พ..2458 ดร.อัลเฟรด เวกาเนอร์ นักอุตุนิยมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้ตั้งสมมติฐานว่า
ผืนแผ่นดินทั้งหมดบนโลกแต่เดิมเป็นแผ่นดินผืนเดียวกัน เรียกว่า พันเจีย เมื่อ 200 - 135 ล้านปีที่แล้ว แยกออกเป็น 2
ทวีปใหญ่ คือ ลอเรเซียทางตอนเหนือและกอนด์วานาทางตอนใต้ และเมื่อ 135-65 ล้านปีที่แล้ว ลอเรเซียเริ่มแยกเป็นอเมริกาเหนือและแผ่นยูเรเซีย (ยุโรป+เอเชีย) กอนด์วานาจะแยกเป็น อเมริกาใต้ แอฟริกา ออสเตรเลีย แอนตาร์กติกา และอินเดีย
แผ่นธรณีภาคมีการเคลื่อนที่ตลอดเวลา ดังนี้
1. ขอบแผ่นธรณีภาคแยกออกจากกัน
เกิดจาก การดันตัวของแมกมา ทำให้เกิดรอยแตก จนแมกมาถ่ายโอนความร้อนได้ ทำให้อุณหภูมิและความดันลดลงทำเปลือกโลกทรุดตัวกลายเป็นหุบเขาทรุด ต่อมามีนํ้าไหลมาสะสมเป็นทะเล และเกิดเป็นร่องลึก แมกมาจึงแทรกดันขึ้นมา ส่งผลให้แผ่นธรณีเคลื่อนตัวแยกออกไปทั้งสองข้าง เกิดการขยายตัวของพื้นทะเล
2. ขอบแผ่นธรณีภาคเคลื่อนเข้าหากัน มี 3 แบบ คือ
- แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทร ทำให้แผ่นหนึ่งมุดลงใต้อีกแผ่นหนึ่ง ปลายของแผ่นที่มุดลงจะหลอมกลายเป็นแมกมา และปะทุขึ้นมา ทำให้เกิดเป็นแนวภูเขาไฟกลางมหาสมุทร
- แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ทำให้แผ่นธรณีภาคใต้มหาสมุทรซึ่งหนักกว่ามุดลงข้างล่าง เกิดเป็นแนวภูเขาไฟชายฝั่ง เช่น อเมริกาใต้ (แอนดีส)
- แผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีปชนกับแผ่นธรณีภาคภาคพื้นทวีป ซึ่งทั้งสองแผ่นมีความหนามาก ทำให้แผ่นหนึ่งมุดลงแต่อีกแผ่นหนึ่งเกยขึ้นเกิดเป็นเทือกเขาเป็นแนวยาวอยู่กลางทวีป เช่น เทือกเขาหิมาลัย แอลป์
3. ธรณีประวัติ
3.1 อายุทางธรณีวิทยา แบ่งเป็น 2 แบบ
- อายุสัมบูรณ์ เป็นอายุของหินหรือซากดึกดำบรรพ์ที่สามารถบอกจำนวนปีที่แน่นอน ซึ่งคำนวณได้จากครึ่งชีวิตของธาตุกัมมันตรังสี ได้แก่ ธาตุ C-14 K-40
- อายุเปรียบเทียบ ใช้บอกอายุของหิน ว่าหินชุดใดมีอายุมากหรือน้อยกว่ากัน โดยอาศัยข้อมูลจากซากดึกดำบรรพ์ที่ทราบอายุแน่นอน ลักษณะลำดับชั้นหินและโครงสร้างของชั้นหิน
3.2 ซากดึกดำบรรพ์ คือ ซากและร่องรอยของสิ่งมีชีวิต ที่ตายทับถมอยู่ในชั้นหินตะกอน
พืชและสัตว์ที่จะเปลี่ยนสภาพเป็นซากดึกดำบรรพ์ได้ต้องมีโครงร่างที่แข็ง เพื่อว่าแร่ธาตุต่างๆ จะสามารถแทรกซึมเข้าไปในช่องว่างนั้นได้ ทำให้ทนทานต่อการผุพังและต้องถูกฝังกลบอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะทำให้ซากสิ่งมีชีวิตชะลอการสลายตัว โดยซากของสัตว์ทะเลจะพบมากที่สุด เพราะว่าเมื่อจมลงจะถูกโคลนและตะกอนเม็ดละเอียดทับถม ซึ่งตะกอนละเอียดจะทำให้ซากสิ่งมีชีวิตเสียหายน้อยที่สุด
ประเทศไทยพบซากดึกดำบรรพ์ เช่น ซากไดโนเสาร์ พบครั้งแรกที่ อ.ภูเวียง จ.ขอนแก่น เป็นไดโนเสาร์เดิน 4 เท้า มี คอ-หาง ยาว กินพืชเป็นอาหาร ตั้งชื่อว่า ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน
- ร่องรอยของสิ่งมีชีวิตที่พิมพ์รอยอยู่ในตะกอนที่แข็งตัวเป็นหิน เช่น รอยเท้าไดโนเสาร์ที่ภูหลวง จ.เลย และที่ภูแฝก จ.กาฬสินธุ์ หรือรอยเปลือกหอยต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังมีซากดึกดำบรรพ์ที่ไม่กลายเป็นหิน เช่น ซากช้างแมมมอธ ซากแมลงในยางไม้หรืออำพัน
4. เอกภพ
4.1 กำเนิดเอกภพ ทฤษฏีกำเนิดเอกภพ บิกแบง” (Big Bang) กล่าวว่า เมื่อเกิดการระเบิดใหญ่ ทำให้พลังงานเปลี่ยนเป็นสสาร เนื้อสารที่เกิดขึ้นจะในรูปของอนุภาคพื้นฐานชื่อ ควาร์ก อิเล็กตรอน
นิวทริโน และโฟตอนเมื่อเกิดอนุภาคจะเกิดปฏิอนุภาคที่มีประจุตรงข้าม เมื่ออนุภาคพบปฏิอนุภาคชนิดเดียวกัน จะหลอมสลายเป็นพลังงานจนหมด แต่ในธรรมชาติมีอนุภาคมากกว่าปฏิอนุภาค จึงทำให้ยังมีอนุภาคเหลือ หลังบิกแบง 10-6 วินาที อุณหภูมิจะลดลงเป็นสิบล้านล้านเคลวิน ทำให้ควาร์กรวมตัวกลายเป็นโปรตอน (นิวเคลียสของไฮโดรเจน) และนิวตรอน หลังบิกแบง 3 นาที อุณหภูมิจะลดลงเป็นร้อยล้านเคลวิน เกิดการรวมตัวเป็นนิวเคลียสของฮีเลียม หลังบิกแบง 300,000 ปี อุณหภูมิจะลดลงเหลือ 10,000 เคลวิน นิวเคลียสของไฮโดรเจนและฮีเลียม จะดึงอิเล็กตรอนเข้ามา ทำให้เกิดเป็นอะตอมของไฮโดรเจนและฮีเลียม หลังบิกแบง 1,000 ล้านปี จะเกิดกาแล็กซีต่างๆ โดยภายในกาแล็กซีจะมีธาตุไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นสารเบื้องต้น ในการกำเนิดเป็นดาวฤกษ์รุ่นแรก ๆ
ข้อสังเกตและประจักษ์พยาน ที่สนับสนุนทฤษฏีบิกแบง
1. การขยายตัวของเอกภพ ค้นพบโดยฮับเบิล นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกา
2.อุณหภูมิพื้นหลังของเอกภพ ปัจจุบันลดลงเหลือ 2.73 เคลวิน
นักดาราศาสตร์ แบ่งกาแล็กซี ออกเป็น 4 ประเภท
1. กาแล็กซีกังหันหรือสไปรัล เช่น กาแล็กซีทางช้างเผือก กาแล็กซีแอนโดรเมดา กาแล็กซี M -81 (M ย่อมาจาก เมสสิแอร์ (Messier) เป็นนักล่าดาวหางชาวฝรั่งเศส)
2. กาแล็กซีกังหันมีแกนหรือบาร์สไปรัล เช่น กาแล็กซี NGC – 7479 (NGC ย่อมาจาก The New General Catalogue)
3. กาแล็กซีรูปไข่ เช่น กาแล็กซี M–87
4. กาแล็กซีไร้รูปทรง เช่น กาแล็กซีแมกเจลเเลนใหญ่
5. ดาวฤกษ์
เป็นก้อนก๊าซร้อนขนาดใหญ่ มีองค์ประกอบส่วนใหญ่ เป็นธาตุไฮโดรเจน
5.1 วิวัฒนาการของดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์ที่มีมวลน้อย เช่น ดวงอาทิตย์ ให้แสงสว่างน้อย จึงมีการใช้เชื้อเพลิงน้อย ทำให้มีช่วงชีวิตยาว และจบชีวิตลงโดยไม่มีการระเบิด แต่จะกลายเป็นดาวแคระ
ดาวฤกษ์ที่มีมวลมาก จะมีขนาดใหญ่ ให้แสงสว่างมาก จึงมีการใช้เชื้อเพลิงมาก ทำให้มีช่วงชีวิตสั้น และจบชีวิตลงด้วย การระเบิดอย่างรุนแรง เรียกว่า ซูเปอร์โนวา (supernova) หลังจากนั้น ดาวที่มีมวลมาก จะกลายเป็นดาวนิวตรอน ดาวที่มีมวลสูงมาก ๆ จะกลายเป็นหลุมดำ
กำเนิดและวิวัฒนาการของดวงอาทิตย์
1. เมื่อเนบิวลายุบตัว ที่แก่นกลางจะมีอุณหภูมิสูงเป็นแสนองศาเซลเซียส เรียกว่า ดาวฤกษ์ก่อนเกิด
2. ปัจจุบันที่แก่นกลางมีอุณหภูมิสูงเป็น 15 ล้านเคลวิน ทำให้เกิด ปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์
คือ ปฏิกิริยาหลอมไฮโดรเจน 4 นิวเคลียส กลายเป็นฮีเลียม 1 นิวเคลียสและเกิดพลังงานออกมามหาศาล จนทำให้เกิดสมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงกับแรงดันของก๊าซ เกิดเป็นดวงอาทิตย์ มีสีเหลือง
3. ในอนาคต เมื่อไฮโดรเจนลดลง ทำให้ดาวยุบตัวลง ทำให้แก่นกลางมีอุณหภูมิสูงขึ้นเป็น 100 ล้านเคลวิน จนเกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ ที่มีการหลอมฮีเลียม ให้กลายเป็นคาร์บอน ในขณะเดียวกันรอบนอกของดาว ก็จะมีอุณหภูมิสูงขึ้นถึง 15 ล้านเคลวิน ทำให้เกิดปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียส ที่มีหลอม
ไฮโดรเจนให้กลายเป็นฮีเลียมครั้งใหม่จึงเกิดพลังงานออกมาอย่างมหาศาลและทำให้ดวงอาทิตย์มีขนาดใหญ่ขึ้นเป็น 100 เท่า และเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีแดง เรียกว่า ดาวยักษ์แดง ซึ่งจะปลดปล่อยพลังงานออกมามาก ทำให้ช่วงชีวิตค่อนข้างสั้น
4. ในช่วงท้าย แก่นกลางจะยุบตัวลงกลายเป็นดาวแคระขาว ซึ่งมีขนาดเล็กลงเป็น 1 ใน 100
5. ความสว่างจะลดลงตามลำดับ และในที่สุดก็จะหยุดส่องแสงสว่าง กลายเป็นดาวแคระดำ (black dwarf)
5.2 ความสว่างและอันดับความสว่างของดาวฤกษ์
ดาวฤกษ์ที่ริบหรี่ที่สุดที่มองเห็นด้วยตาเปล่า มีอันดับความสว่าง 6
ดาวฤกษ์ที่สว่างที่สุด มีอันดับความสว่าง 1
ดวงอาทิตย์ มีอันดับความสว่าง - 26.7
ถ้าอันดับความสว่างต่างกัน x อันดับ จะมีความสว่างต่างกันประมาณ (2.5)x เท่า
5.3 สีและอุณหภูมิผิวของดาวฤกษ์ แบ่งออกเป็น 7 ชนิดหลัก ๆ ดังนี้
ดาวที่มีอายุน้อย จะมีอุณหภูมิผิวสูง มีสีขาว นํ้าเงิน
ดาวที่มีอายุมาก ใกล้ถึงจุดสุดท้ายของชีวิต จะมีอุณหภูมิผิวตํ่า มีสีแดง
O B A F G K M
ม่วง คราม นํ้าเงิน ขาว เหลือง แสด แดง
6. กำเนิดระบบสุริยะ
นักดาราศาสตร์ แบ่งเขตพื้นที่รอบดวงอาทิตย์ เป็น 4 เขต คือ
1. ดาวเคราะห์ชั้นใน ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และ ดาวอังคาร มีขนาดเล็กและมีพื้นผิวแข็งหรือเป็นหินแบบเดียวกับโลก
2. แถบดาวเคราะห์น้อย คือ บริเวณระหว่างวงโคจรของดาวอังคารและดาวพฤหัสบดี
เป็นเศษที่เหลือจากการพอกพูนเป็นดาวเคราะห์หิน แล้วถูกดึงดูดจากแรงรบกวนของดาวพฤหัสบดี ซึ่งมีขนาดใหญ่และเกิดมาก่อน ทำให้ไม่สามารถจับตัวกันมีขนาดใหญ่ได้
3. ดาวเคราะห์ชั้นนอก หรือ ดาวเคราะห์ยักษ์ เป็นดาวที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ ดาวพฤหัสบดี ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส และดาวเนปจูน มีองค์ประกอบหลัก คือ ก๊าซไฮโดรเจนและฮีเลียมทั้งดวง
ดาวพลูโต เป็นดาวเคราะห์ชั้นนอกที่อยู่ไกลและเล็กที่สุด มีสมบัติคล้ายดาวเคราะห์น้อย
4. เขตของดาวหาง เป็นเศษที่เหลือจากดาวเคราะห์ยักษ์ มีจำนวนมากอยู่รอบนอกระบบสุริยะ
ดวงอาทิตย์ : เป็นดาวฤกษ์สีเหลือง ชนิดสเปกตรัม G มีอุณหภูมิผิวประมาณ 6,000 เคลวิน
- แสงสว่างที่เปล่งออกมา ทำให้เรามองเห็นดาวเคราะห์ได้ โดยใช้เวลาเดินทาง 8.3 นาที
- ลมสุริยะ ประกอบด้วยอนุภาคโปรตอนและอิเล็กตรอน มาจากการแผ่รังสีของดวงอาทิตย์ ซึ่งจะมาถึงโลกภายในเวลา 20-40 ชั่งโมง ซึ่งจะส่งผลทำให้เกิดปรากฏการณ์แสงเหนือ-แสงใต้ ไฟฟ้าแรงสูงดับที่ขั้วโลก เกิดการรบกวนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของดาวเทียม และทำให้เกิดการติดขัดในการสื่อสารของคลื่นวิทยุ
7. เทคโนโลยีอวกาศ
7.1 ดาวเทียมและยานอวกาศ
การส่งดาวเทียมและยานอวกาศขึ้นสู่อวกาศ จะต้องเอาชนะแรงดึงดูดของโลก ความเร็วมากกว่า 7.91 กิโลเมตรต่อวินาทีถ้าหากจะให้ยานอวกาศออกไปโคจรรอบดวงอาทิตย์ จะต้องใช้ความเร็วที่ 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที เรียกว่า ความเร็วหลุดพ้น
.. 2446 ไชออลคอฟสกี ชาวรัสเซีย ได้ค้นคว้าเกี่ยวกับเชื้อเพลิงในจรวด เสนอว่า ใช้เชื้อเพลิงเหลว แยกเชื้อเพลิงและสารที่ช่วยในการเผาไหม้ออกจากกัน นำจรวดมาต่อเป็นชั้นๆ จะช่วยลดมวลของจรวดลง โดยเมื่อจรวดชั้นแรกใช้เชื้อเพลิงหมดก็ปลดทิ้งไป และให้จรวดชั้นต่อไปทำหน้าที่ต่อ แล้วปลดทิ้งไปเรื่อยๆ โดย จรวดชั้นสุดท้ายที่ติดกับดาวเทียมหรือยานอวกาศ จะต้องมีความเร็วสูงพอที่จะเอาชนะแรงดึงดูดของโลกได้
.. 2469 โรเบิร์ต กอดดาร์ด ชาวอเมริกัน สามารถสร้างจรวดเชื้อเพลิงเหลว โดยใช้ไฮโดรเจนเหลวเป็นเชื้อเพลิงและออกซิเจนเหลวเป็นสารที่ช่วยในการเผาไหม้ และแยกอยู่ต่างถังกัน
สหภาพโซเวียต สามารถใช้จรวดสามท่อนส่งดาวเทียม ได้เป็นประเทศแรก

มุมแนะนำ