มุมแนะนำ

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สารและสมบัติของสาร

สารและสมบัติของสาร

พอลิเมอร์
คือ สารที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งเกิดจากการรวมตัวของสารขนาดเล็ก (มอนอเมอร์) จำนวนมาก
3.1 พลาสติก แบ่งเป็น
เทอร์มอพลาสติก มีโครงสร้างแบบโซ่ตรงหรือโซ่กิ่ง ยืดหยุ่น และโค้งงอได้ เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัว สามารถเปลี่ยนรูปร่างกลับไปมาได้ เพราะสมบัติไม่มีการเปลี่ยนแปลง
เทอร์มอเซต มีโครงสร้างแบบตาข่าย มีความแข็งแรงมาก เมื่อได้รับความร้อนจะไม่อ่อนตัว แต่จะเกิดการแตกหัก ไม่สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ เพราะสมบัติมีการเปลี่ยนแปลง
3.2 ยาง แบ่งเป็น
ยางธรรมชาติ เกิดจากมอนอเมอร์ คือ ไอโซพรีน รวมตัวกันเป็นพอลิไอโซพรีน ดังนี้
มีความยืดหยุ่น ทนต่อแรงดึงทนต่อการขัดถู ทนนํ้า นํ้ามันพืชและสัตว์ แต่ไม่ทนนํ้ามันเบนซินและตัวทำละลายอินทรีย์ เมื่อได้รับความเย็นจะแข็งและเปราะ แต่เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัวและเหนียว
ยางสังเคราะห์ (ยางเทียม) เช่น
: ยาง IR (Isoprene Rubber) มีโครงสร้างเหมือนยางธรรมชาติ มีสิ่งเจือปนน้อย คุณภาพสมํ่าเสมอ
: ยาง SBR (Styrene - Butadiene Rubber) ทนต่อการขัดถูแต่ไม่ทนต่อแรงดึง ใช้ทำพื้นรองเท้า สายยาง
ปิโตรเลียม
เกิดจาก ซากพืชซากสัตว์ที่ตายทับถม แล้วถูกย่อยสลาย เกิดเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
2.1 นํ้ามันปิโตรเลียม ประเทศไทยพบครั้งแรกที่ .ฝาง .เชียงใหม่ และต่อมาพบที่ .ลานกระบือ .กำแพงเพชร
การกลั่นนํ้ามันปิโตรเลียม เรียกว่า การกลั่นลำดับส่วน โดยใช้ความร้อน 350-400 oC จะได้ผลิตภัณฑ์ เรียงตามลำดับจากจุดเดือดตํ่าไปสูง ดังนี้
มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เบนซิน ก๊าด ดีเซล หล่อลื่น เตา ไข ยางมะตอย
2.2 ก๊าซธรรมชาติ ประเทศไทยพบบริเวณอ่าวไทยและมีมากในเชิงพาณิชย์ และพบที่ .นํ้าพอง .ขอนแก่น
ส่วนใหญ่เป็นก๊าซมีเทน ร้อยละ 80-95
ปฏิกิริยาการเผาไหม้ คือ ปฏิกิริยาระหว่างสารไฮโดรคาร์บอนกับก๊าซออกซิเจน แบ่งเป็น
- การเผาไหม้ที่สมบูรณ์ เกิดเมื่อมีก๊าซ O2 มากเพียงพอ จะได้ CO2 และ H2O ซึ่งจะไม่มีเถ้าถ่าน และเขม่า
- การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ เกิดเมื่อมีก๊าซ O2 น้อย จะได้ CO ซึ่งจะไปจับกับฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง ทำให้ร่างกายเกิดการขาดออกซิเจน อาจเกิดอาการหน้ามืด เป็นลมหรือเสียชีวิตได้
2.3 เชื้อเพลิงในชีวิตประจำวัน
- ก๊าซมีเทน (CH4) ใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ใช้ในรถปรับอากาศเครื่องยนต์ยูโร-2
- ก๊าซหุงต้ม ประกอบด้วย ก๊าซโพรเพน (C3H8) และก๊าซบิวเทน (C4H10) ที่ถูกอัดด้วยความดันสูง จนมีสถานะเป็นของเหลวเรียกว่า LPG (Liquid Petroleum Gas)
เลขออกเทน เป็นตัวเลขบอกคุณภาพของนํ้ามันเบนซิน โดยกำหนดให้
ไอโซออกเทน มีประสิทธิภาพการเผาไหม้ดี ทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบ มีเลขออกเทน 100
นอร์มอลเฮปเทน มีประสิทธิภาพการเผาไหม้ไม่ดี ทำให้เครื่องยนต์กระตุก มีเลขออกเทน 0
- นํ้ามันดีเซล บอกคุณภาพโดยใช้เลขซีเทน
ปฏิกิริยาเคมี
เกิดจาก สารเริ่มต้น เข้าทำปฏิกิริยากัน แล้วทำให้เกิดสารใหม่ เรียกว่า ผลิตภัณฑ์
4.1 ปฏิกิริยาเคมีในชีวิตประจำวัน
- ปฏิกิริยาการเผาไหม้ของถ่านหิน จะมีกำมะถัน (S) เมื่อเผาไหม้กำมะถันจะทำปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนทำให้เกิดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์และเมื่อทำปฏิกิริยากับนํ้าฝน ทำให้เกิดกรดกำมะถัน/กรดซัลฟิวริก (ฝนกรด)
- การเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์ จะเกิดก๊าซ NO2 กลายเป็นฝนกรดไนตริกได้
- ปฏิกิริยาการเกิดสนิมเหล็ก (Fe2O3) เกิดจาก ปฏิกิริยาระหว่างเหล็กกับก๊าซออกซิเจน
- ปฏิกิริยาการสลายตัวของโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต (ผงฟู) ด้วยความร้อนจะได้ก๊าซ CO2 และ H2O
- สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ เมื่อได้รับแสงและความร้อน จะสลายตัว ดังนั้น จึงต้องเก็บไว้ในที่มืด
- ปฏิกิริยาการสลายตัวของหินปูน (CaCO3) ด้วยความร้อน ได้ปูนขาว (CaO) ใช้ในการผลิตปูนซีเมนต์
- ปฏิกิริยาระหว่างหินปูนกับกรดไนตริก / กรดซัลฟิวริก ทำให้สิ่งก่อสร้างสึกและเกิดหินงอกหินย้อย

สารชีวโมเลกุล
คือ สารที่มี C และธาตุ H เป็นองค์ประกอบ มีขนาดใหญ่และพบในสิ่งมีชีวิตเท่านั้น มี 4 ประเภท ได้แก่
1. ไขมัน และนํ้ามัน ประกอบด้วยธาตุ C H O มีหน้าที่ดังนี้
ป้องกันการสูญเสียนํ้า ช่วยทำให้ผิวชุ่มชื้น ป้องกันการสูญเสียความร้อน ช่วยทำให้ร่างกายอบอุ่น ช่วยให้ผมและเล็บมีสุขภาพดี ช่วยละลายวิตามิน A D E K (ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี )
ไขมัน เป็นสารไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเกิดจากกรดไขมัน 3 โมเลกุล กับ กลีเซอรอล 1 โมเลกุล
กรดไขมันไม่อิ่มตัว + ก๊าซออกซิเจน ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืน
แสดงว่า นํ้ามันพืช จะเกิดกลิ่นเหม็นหืนได้ง่าย แต่ในธรรมชาติจะมีวิตามินE ซึ่งเป็นสารต้านหืน
การผลิตสบู่ จากปฏิกิริยาสะปอนนิฟิเคชัน ได้จาก การต้มไขมันกับเบส (โซเดียมไฮดรอกไซด์ / NaOH)
2. โปรตีน ( C H O N ) มีหน้าที่ ช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ช่วยรักษาสมดุลนํ้าและกรด-เบส เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ ฮอร์โมน เลือด และภูมิคุ้มกัน (1 กรัม ให้พลังงาน 4 KCal)
หน่วยย่อย คือ กรดอะมิโน มีทั้งหมด 20 ชนิด แบ่งเป็น
กรดอะมิโนที่จำเป็น มี 8 ชนิด ซึ่งร่างกายสร้างไม่ได้ ต้องกินจากอาหารเข้าไป
กรดอะมิโนที่ไม่จำเป็น มี 12 ชนิด ซึ่งร่างกายสามารถสังเคราะห์ได้เอง
การแปลงสภาพโปรตีน คือ การที่ทำให้โครงสร้างของโปรตีนถูกทำลาย เช่น แข็งตัวเมื่อได้รับความร้อน เมื่อได้รับสารละลายกรด-เบส เมื่อได้รับไอออนของโลหะหนัก
คุณค่าทางชีววิทยา หมายถึง คุณภาพของโปรตีนที่นำมาสร้างเป็นเนื้อเยื่อได้(ไข่ 100%)
3. คาร์โบไฮเดรต ( C H O ) มีหน้าที่ดังนี้
- เป็นแหล่งพลังงานหลักของคน (1 กรัมให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี) แบ่ง 3 ประเภท ดังนี้
3.1 มอโนแซ็กคาไรด์ ( นํ้าตาลโมเลกุลเดี่ยว ) แบ่งเป็น
นํ้าตาลที่มีสูตรเป็น C5H10O5 เรียกว่า ไรโบส
นํ้าตาลที่มีสูตรเป็น C6H12O6 เช่น กลูโคส ฟรุกโตส ( ฟรักโตส ) กาแลกโทส
3.2 ไดแซ็กคาไรด์ ( นํ้าตาลโมเลกุลคู่ )
กลูโคส + กลูโคส = มอลโทส พบในข้าว เมล็ดพืช ใช้ในการทำเบียร์ อาหารทารก
กลูโคส + ฟรุกโตส = ซูโครส หรือ นํ้าตาลทราย พบมากในอ้อย
กลูโคส + กาแลกโทส = แลกโทส พบมากในนํ้านม
3.3 พอลิแซ็กคาไรด์ (นํ้าตาลโมเลกุลใหญ่ )
แป้ง เกิดจากกลูโคสหลายพันโมเลกุลมาต่อกัน แบบสายยาวและแบบกิ่ง พบมากในพืช
- ร่างกายคนย่อยสลายได้ด้วยเอนไซม์ที่มีในนํ้าลาย (อะไมเลส)
เซลลูโลส เกิดจากกลูโคสประมาณ 50,000 โมเลกุล ต่อกันแบบสายยาว เป็นเส้นใยพืช
- ร่างกายคนย่อยสลายไม่ได้ ช่วยกระตุ้นให้ลำไส้ใหญ่เคลื่อนไหว ทำให้อุจจาระอ่อนนุ่ม
ไกลโคเจน เกิดจากกลูโคสเป็นแสนถึงล้านโมเลกุลมาต่อกันแบบกิ่ง พบในคนและสัตว์ ที่ตับและกล้ามเนื้อ เป็นแหล่งพลังงานสำรอง โดยจะสลายกลับคืนเป็นกลูโคส เมื่อร่างกายขาดแคลนพลังงาน
4. กรดนิวคลีอิก ( C H O N P ) มีหน่วยย่อย เรียกว่า นิวคลีโอไทด์
DNA ประกอบด้วย นิวคลีโอไทด์ มาเชื่อมต่อกันเกิดเป็นสายยาว 2 สายพัน กันเป็นเกลียว โดยเกาะกันด้วยคู่ไนโตรเจนเบสที่เฉพาะเจาะจง คือ อะดีนีน (A) กับ ไทมีน (T) กวานีน (G) กับ ไซโตซีน (C)

ธาตุและสารประกอบ
พันธะเคมี คือ แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมของธาตุ โดยแบ่งเป็น
- พันธะไอออนิก : เกิดจากโลหะกับอโลหะ เช่น NaCl CaO
- พันธะโควาเลนซ์ : เกิดจากอโลหะกับอโลหะ เช่น H2 Cl2 CO2 CH4 ธาตุหมู่ 1A และ 2A เป็นโลหะ เป็นของแข็ง จุดเดือด / จุดหลอมเหลวสูง นำไฟฟ้าได้
ธาตุหมู่ 1A มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 1 จึงหลุดออกง่าย ทำให้มีประจุ +1 เช่น Na+ มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาสูงมาก ลุกไหม้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดปฏิกิริยากับนํ้ารุนแรง
ธาตุหมู่ 2A มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 2 จึงสูญเสียได้ง่าย ทำให้มีประจุ +2 เช่น Mg2+
ธาตุหมู่ 7A (Halogen) เป็นอโลหะ อยู่เป็นโมเลกุลมี 2 อะตอม เช่น F2 Cl2 Br2 I2 At2
มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 7 จึงสามารถรับอิเล็กตรอนได้อีก 1 กลายเป็นไอออนประจุ -1
มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก
ธาตุหมู่ 8A เป็นอโลหะ มีสถานะเป็นก๊าซ อยู่เป็นอะตอมอิสระ : He Ne Ar Kr Xe Rn
มีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเป็น 8 จึงมีความเสถียรมาก ไม่ว่องไวต่อปฏิกิริยาเคมี จึงเรียกว่า ก๊าซเฉื่อย
โลหะแทรนซิชัน เป็นโลหะ มีสมบัติกายภาพเหมือนโลหะหมู่ 1A / 2A แต่สมบัติเคมีแตกต่างกัน
ธาตุกึ่งโลหะ คือ ธาตุที่มีสมบัติบางประการคล้ายโลหะและบางประการคล้ายอโลหะ เช่น
อะลูมิเนียม (Al) มีความหนาแน่นตํ่า จึงแข็งแรงแต่นํ้าหนักเบา นำไฟฟ้า/ความร้อนดี เช่น
บอกไซด์ :ใช้ทำโลหะอะลูมิเนียม อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องครัว ห่ออาหาร
คอรันดัม หรือ อะลูมิเนียมออกไซด์ : ทำอัญมณีที่มีสีตามชนิดของโลหะแทรนซิชัน
สารส้ม (Al(SO4)2 . 12H2O) : ใช้ในการทำนํ้าประปาหรือกวนนํ้าให้ตกตะกอน
ซิลิกอน (Si) - อะตอมยึดต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนซ์ ในรูปโครงผลึกร่างตาข่าย เป็นสารกึ่งตัวนำ ใช้ทำแผงวงจรไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้า
ธาตุกัมมันตรังสี คือ ไอโซโทปของธาตุที่มีนิวตรอนต่างจากโปรตอนมากๆ ทำให้ไม่เสถียร จึงสลายตัว โดยปลดปล่อยรังสีออกมา ซึ่งตรวจหาและวัดรังสี โดยใช้ไกเกอร์มูลเลอร์เคาน์เตอร์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ