มุมแนะนำ

วันพฤหัสบดีที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิธีติดโฆษณา Yengo ลงบน blogger

วิธีติดโฆษณา Yengo ลงบน blogger
      หลายคนคงสงสัยว่าเออ..การติดโฆษณา yengo บน blogger หรือ blog อื่นๆ ทำอย่างไร วันนี้ก็จะมาอธิบายแบบคร่าวๆ นะครับ เรามาทำพร้อมกันเลยครับสำหรับการติดโฆษณา yengo ลงบน Blog
1.ขั้นแรกเลยนะครับ log in เข้า www.yengo.com ตาม step เลยครับ
โฆษณา Yengo
2.ใส่ อีเมลล์ และ รหัส ที่ใช้สมัคร account
ติดโฆษณา Yengo
3.จากนั้นก็จะเข้ามาหน้านี้นะครับ สำหรับใครที่ยังไม่มี ชื่อเว็บก็ให้เพิ่มตามภาพเลยครับ (ในส่วนนี้จะขอข้ามนะครับ) คลิ๊กชื่อเว็บไซค์ หรือ blog ของเราครับ
ใส่โค๊ด Yengo
4.จะได้หน้าแบบนี้ครับ สำหรับใคนที่ยังไม่เคยสร้าง Title ไว้ก่อนให้คลิ๊ก Create new ครับ ถ้ามีแล้วก็คลิ๊ก Title ที่ต้องการครับ
Yengo ลง blog
5.ปรับแต่งตามใจนะครับ ส่วนทีปรับก็คือ รูปแบบของโฆษณาที่ปรากฏ จากนั้นก็คลิ๊ก save changes
จะได้โค๊ดสองส่วนด้านขวามือ (กรณีมีอันเดียวก็ใช้แค่อันเดียวได้) ให้ Copy โค๊ดส่วนแรกไว้ครับ
blogger Yengo
6.ให้โค๊ด HTML ตาม โดย เพิ่ม gadget แบบ HTML/จาวาสคริปต์ แล้ววางโค๊ดส่วนแรกไว้ก่อน (อย่าพึงปิดนะครับ)
โฆษณา Yengo Blogger
7.กลับไป Copy โค๊ดส่วนที่สองมา ใส่ระหว่าง <div id="DIV_YNG_45717">................</div>
insert code Yengo
8.Save  แล้วกลับไปดูผลลัพธ์ครับ
Code Yengo to blog

ขอบคุณสำหรับการเยี่ยมชม Blog thebag101.blogspot.com ครับ

ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นเมื่อผู้จัดทำเผยแพร่สื่อ

วันพุธที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แบบจำลองอะตอมของโบร์

แบบจำลองอะตอมของโบร์
แบบจำลองตะตอมของโบร์
ผลการทดลอง
         1.   เมื่อเผาสารประกอบของโลหะชนิดเดียวกันจะเห็นสีของเปลวไฟหรือเส้นสเปกตัมสีเดียวกัน
         2.   เส้นสเปกตัมเกิดจากส่วนที่เป็นโลหะในสารประกอบชนิดนั้นๆ
         3.   ธาตุแต่ละชนิดมีเส้นสเปกตัมเป็นลักษณะเฉพาะตัวไม่ซ้ำกัน
สเปกตัม หมายถึง แถบสีหรือเส้นสีที่ได้จากการผ่านพลังงานแสงเข้าไปในสเปกโตรสโคป แล้วทำให้พลังงานแสงแยกออกเป็นแถบสีที่เรียงกันตามความยาวคลื่น
      แบบจำลองอะตอมพัฒนาแบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ดทำให้โบร์ค้นพบว่า “อิเล็กตรอนจะเรียงตัวออกเป็นชั้นๆ ตามระดับชั้นพลังงาน” โดยจะมีลักษณะดังต่อไปนี้
1.   อิเล็กตรอนจะอยู่เป็นชั้นๆ แต่ละชั้นเรียกว่า “ระดับพลังงาน”
2.   แต่ละระดับพลังงานจะบบจุอิเล็กตรอนได้ 2n2 (แต่ใช้ได้ถึงชั้นที่ n=4 เท่านั้น)
3.   อิเล็กตรอนชั้นนอกสุดจะเรียกว่า “วาเลนซ์อิเล็กตรอน” ซึ่งเป็นอิเล็กตรอนที่จะเกิดปฏิกิริยาต่างๆ ได้
4.   อิเล็กตรอนวงในจะเสถียรมากกว่าวงนอกเพราะอยู่ใกล้นิวเคลียส (เพราะมีแรงดึงดูดจากโปรตอนในนิวเคลียส)
5.   ระดับพลังงานวงในจะห่างกันมากแต่วงนอกจะอยู่ชิดกันมาก
6.   การเปลี่ยนระดับชั้นพลังงานของอิเล็กตรอนไม่จำเป็นต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงเฉพาะชั้นที่อยู่ติดกัน อาจข้ามชั้นได้

แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด

แบบจำลองอะตอมของรัทเทอร์ฟอร์ด
            ในปี พ.ศ. 2453 (ค.ศ.1910) เซอร์ เออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด (Sir Ernest Rutherford) ได้ศึกษาแบบจำลองของทอมสัน และเกิดความสงสัยว่าอะตอมจะมีโครงสร้างตามแบบจำลองอะตอมของทอมสันหรือไม่ โดยตั้งสมมติฐานว่า “ถ้าอะตอมมีโครงสร้างตามแบบจำลองของทอมสันจริง ดังนั้นเมื่อยิงอนุภาคแอลฟาซึ่งมีประจุไฟฟ้าเป็นบวกเข้าไปในอะตอม แอลฟาทุกอนุภาคจะทะลุผ่านเป็นเส้นตรงทั้งหมดเนื่องจากอะตอมมีความหนาแน่นสม่ำเสมอเหมือนกันหมดทั้งอะตอม” เพื่อพิสูจน์สมมติฐานนี้ รัทเทอร์ฟอร์ดได้ทำการยิงอนุภาคแอลฟาไปยังแผ่นทองคำบางๆ โดยมีความหนาไม่เกิน 10-14 cm โดยมีฉากเรืองแสงรองรับ ปรากฏผลการทดลองดังนี้
           1.   อนุภาคส่วนมากเคลื่อนที่ทะลุแผ่นทองคำเป็นเส้นตรง
           2.   อนุภาคส่วนน้อยเบี่ยงเบนไปจากเส้นตรง
            3.อนุภาคส่วนน้อยมากสะท้อนกลับมาด้านหน้าของแผ่นทองคำ

มุมแนะนำ