มุมแนะนำ

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โปรโตคอลคืออะไร

     การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ให้เป็นเครือข่ายด้วยสายสัญญาณนั้นเป็นขั้นตอนที่ง่ายของการสร้างเครือข่าย แต่ส่วนที่ท้าทายคือ การพัฒนามาตรฐานเพื่อให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายที่ผลิตโดยบริษัทต่างๆ สามารถ ติดต่อสื่อสารกันได้ ซึ่งมาตรฐานนี้ก็คือ โปรโตคอล (Protocol) หรือสรุปสั้นๆ    โปรโตคอลคือ กฎ ขั้นตอน และรูป แบบของข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่องใดๆ ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย

     ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของโปรโตคอล เช่น การสื่อสารกันโดยใช้โทรศัพท์ ซึ่งจะมีขั้นตอนต่างๆ ที่ต้อง ทำก่อนที่จะพูดคุยกันได้ เช่น โดยส่วนใหญ่คำแรกที่พูดเมื่อใช้โทรศัพท์คือ "ฮัลโหล" หรือคำทักทายของภาษา ท้องถิ่นอื่นๆ การทักทายกันนี้เป็นสัญญาณให้คู่สนทนาทราบว่าการเชื่อมต่อกันสำเร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ

     อีกฝ่ายจะตอบด้วยคำว่า "ฮัลโหล" เช่นกัน ซึ่งจะเป็นสัญญาณบอกให้ทราบอีกว่าการติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ ทั้งสองทาง ถ้าทั้งสองฝ่ายที่สนทนากันรู้จักกันมาก่อน การสนทนาก็จะเข้าสู่เรื่องได้ทันที แต่ถ้าหากว่าทั้งสอง ฝ่ายยังไม่รู้จักกัน ก็จะมีขั้นตอนหรือโปรโตคอลอื่นเพิ่มอีก เพื่อช่วยให้ทั้งสองฝ่ายรู้จักกันก่อนที่จะเริ่มเรื่องที่จะ สนทนากันจริงๆ

     การสนทนากันของคอมพิวเตอร์ก็ไม่ได้แตกต่างจากตัวอย่างข้างต้นมากนัก การเชื่อมต่อกันของ คอมพิวเตอร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสร้างระบบเครือข่าย แต่การสื่อสารที่มีความหมาย เซ่น การแชร์กันใช้ ทรัพยากรของแต่ละฝ่ายทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมบูรณ์วิวัฒนาการของเครือข่ายถือได้ว่าเป็นการปฏิว้ติ ครั้งใหญ่ของโครงสร้างของเทคโนโลยีสารสนเทศ

     โปรโตคอลของเครือข่ายบางทีอาจเรืยกว่า "สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture)" เนื่อง จากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นระบบที่ซับซ้อนมาก ทำให้ยากต่อการออกแบบโดยคนๆ เดียว หรือคนกลุ่มเดียว เพื่อให้การพัฒนาระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและง่ายขึ้น จึงมีการแบ่งโปรโตคอลออก เป็นชั้นๆ หรือ เลเยอร์ (Layer) การทำงานในแต่ละเลเยอร์จะไม่ซํ้าซ้อนกัน ซึ่งเลเยอร์ที่อยู่ตํ่ากว่าจะทำหน้าที่ ให้บริการ (Service) กับชั้นที่อยู่สูงกว่า โดยเลเยอร์ที่อยู่สูงกว่าไม่จำเป็นต้องทราบถึงรายละเอียดว่าเลเยอร์ ที่อยู่ตํ่ากว่ามีวิธีให้บริการอย่างไร เพียงแค่รู้ว่ามีบริการอะไรบ้าง และแต่ละบริการคืออะไรก็เพียงพอ ซึ่งแนว ความคิดนี้จะเรียกว่า "เทคโนโลยีเลเยอร์ (Layer Technology)"

เอ็กส์ตราเน็ต (Extranet)

     เอ็กส์ตราเน็ต (Extranet) เป็นเครือข่ายกึ่งอินเตอร์เน็ตกึ่งอินทราเน็ต กล่าวคือ เอ็กส์ตราเน็ตคือ เครือข่ายที่เชื่อมต่อระหว่างอินทราเน็ตของสององค์กร ดังนั้นจะมีบางส่วนของเครือข่ายที่เป็นเจ้าของร่วมกัน ระหว่างสององค์กรหรือบริษัท การสร้างอินทราเน็ตจะไม่จำกัดด้วยเทคโนโลยี แต่จะยากตรงนโยบายที่เกี่ยว กับการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ทั้งสององค์กรจะต้องตกลงกัน เช่น องค์กรหนึ่งอาจจะอนุญาตให้ผู้ ใช้ของอีกองค์กรหนึ่งล็อกอินเข้าระบบอินทราเน็ตของตัวเองหรือไม่ เป็นต้น การสร้างเอ็กส์ตราเน็ตจะเน้นที่ ระบบการรักษาความปลอดภัยข้อมูลรวมถึงการติดตั้งไฟร์วอลล์หรือระหว่างอินทราเน็ตและการเข้ารหัสข้อมูล และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นโยบายการรักษาความปลอดภัยข้อมูลและการบังคับใช้

อินทราเน็ท (Intranet)

     ตรงกันข้ามกับอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลที่ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เช่น เว็บ, อีเมล, FTP เป็นต้น อินทราเน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP สำหรับการรับส่งข้อมูลเช่นเดียวกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งโปรโตคอลนี้สามารถใช้ได้กับฮาร์ดแวร์หลายประเภท และสายสัญญาณหลายประเภท ฮาร์ดแวร์ที่ใช้สร้าง เครือข่ายไม่ใช่ปัจจัยหลักของอินทราเน็ต แต่เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำให้อินทราเน็ตทำงานได้ อินทราเน็ตเป็น เครือข่ายที่องค์กรสร้างขึ้นสำหรับให้พนักงานขององค์กรใช้เท่านั้นการแชร์ข้อมูลจะอยู่เฉพาะในอินทราเน็ตเท่านั้น หรือถ้ามีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโลกภายนอกหรืออินเตอร์เน็ต องค์กรนั้นสามารถที่จะกำหนดนโยบายได้ ในขณะที่การแชร์ข้อมูลในอินเตอร์เน็ตนั้นยังไม่มีองค์กรใดที่สามารถควบคุมการแลกเปลี่ยนข้อมูลได้

     เมื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต พน้กงานของบริษัทสามารถติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกเพื่อการ ค้นหาข้อมูลหรือทำธุรกิจต่างๆ การใช้โปรโตคอล TCP/IP ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใช้เครือข่ายจากที่ห่างไกลได้ (Remote Access) เช่น จากที่บ้าน หรือในเวลาที่ต้องเดินทางเพื่อติดต่อธุรกิจ การเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต โดยการใช้โมเด็มและสายโทรศัพท์ ก็เหมือนกับการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต แต่แตกต่างกันที่เป็นการเชื่อม ต่อเข้ากับเครือข่ายส่วนบุคคลแทนที่จะเป็นเครือข่ายสาธารณะอย่างเช่นอินเตอร์เน็ต การเชื่อมต่อกันได้ ระหว่างอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตถือเป็นประโยชน์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง

     ระบบการรักษาความปลอดภัยเป็นสิ่งที่แยกอินทราเน็ตออกจากอินเตอร์เน็ต เครือข่ายอินทราเน็ต ขององค์กรจะถูกปกป้องโดยไฟร์วอลล์ (Firewall) ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่กรอง ข้อมูลที่แลกเปลี่ยนกันระหว่างอินทราเน็ตและอินเตอร์เน็ตเมื่อทั้งสองระบบมีการเชื่อมต่อกัน ดังนั้นองค์กร สามารถกำหนดนโยบายเพื่อควบคุมการเข้าใช้งานอินทราเน็ตได้

     อินทราเน็ตสามารถสนองความต้องการของผู้ใช้ในองค์กรได้หลายอย่าง ความง่ายในการตีพิมพ์บนเว็บ ทำให้เป็นที่นิยมในการประกาศข่าวสารขององค์กร เช่นข่าวภายในองค์กรกฎ ระเบียบ และมาตรฐาน การปฏิบัติงาน ต่างๆ เป็นต้น หรือแม้กระทั่งการเข้าถึงฐานข้อมูลขององค์กรก็ง่ายเช่นกัน ผู้ใช้สามารถทำงานร่วมกันได้ง่าย และ มีประสิทธิภาพมากขึ้น ซอฟต์แวร์ที่เรียกว่ากรุ๊ปแวร์ (Groupware) เป็นอีกส่วนหนึ่งที่สำคัญของอินทราเน็ต เพราะเป็นซอฟต์แวร์ที่อนุญาตให้สมาชิกในกลุ่มทำงานร่วมกันในโปรเจ็กต์ที่ได้รับมอบหมาย แลกเปลี่ยนข้อมูล ประชุมระยะไกล (Video Conferencing) และสร้างระเบียบปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานในการทำงานได้ด้วย ''ซอฟต์แวร์ฟรี เช่น นิวส์กรุ๊ป (newsgroups) ยิ่งกระตุ้นการขยายตัวของเครือข่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งความยิ่งใหญ่ ของอินเตอร์เน็ตทำให้อินทราเน็ตขยายตัวขึ้นเช่นกัน ความง่ายในการเลือกแชร์ข้อมูลและการติดต่อสื่อสาร ระหว่างบุคคลยิ่งจะทำให้การใช้อินทราเน็ตเป็นที่นิยมมากขึ้นเท่านั้น

มุมแนะนำ