มุมแนะนำ

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

โปรโตคอลคืออะไร

     การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ให้เป็นเครือข่ายด้วยสายสัญญาณนั้นเป็นขั้นตอนที่ง่ายของการสร้างเครือข่าย แต่ส่วนที่ท้าทายคือ การพัฒนามาตรฐานเพื่อให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายที่ผลิตโดยบริษัทต่างๆ สามารถ ติดต่อสื่อสารกันได้ ซึ่งมาตรฐานนี้ก็คือ โปรโตคอล (Protocol) หรือสรุปสั้นๆ    โปรโตคอลคือ กฎ ขั้นตอน และรูป แบบของข้อมูลที่ใช้ในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์สองเครื่องใดๆ ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย

     ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดของโปรโตคอล เช่น การสื่อสารกันโดยใช้โทรศัพท์ ซึ่งจะมีขั้นตอนต่างๆ ที่ต้อง ทำก่อนที่จะพูดคุยกันได้ เช่น โดยส่วนใหญ่คำแรกที่พูดเมื่อใช้โทรศัพท์คือ "ฮัลโหล" หรือคำทักทายของภาษา ท้องถิ่นอื่นๆ การทักทายกันนี้เป็นสัญญาณให้คู่สนทนาทราบว่าการเชื่อมต่อกันสำเร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ

     อีกฝ่ายจะตอบด้วยคำว่า "ฮัลโหล" เช่นกัน ซึ่งจะเป็นสัญญาณบอกให้ทราบอีกว่าการติดต่อสื่อสารเป็นไปได้ ทั้งสองทาง ถ้าทั้งสองฝ่ายที่สนทนากันรู้จักกันมาก่อน การสนทนาก็จะเข้าสู่เรื่องได้ทันที แต่ถ้าหากว่าทั้งสอง ฝ่ายยังไม่รู้จักกัน ก็จะมีขั้นตอนหรือโปรโตคอลอื่นเพิ่มอีก เพื่อช่วยให้ทั้งสองฝ่ายรู้จักกันก่อนที่จะเริ่มเรื่องที่จะ สนทนากันจริงๆ

     การสนทนากันของคอมพิวเตอร์ก็ไม่ได้แตกต่างจากตัวอย่างข้างต้นมากนัก การเชื่อมต่อกันของ คอมพิวเตอร์เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการสร้างระบบเครือข่าย แต่การสื่อสารที่มีความหมาย เซ่น การแชร์กันใช้ ทรัพยากรของแต่ละฝ่ายทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์สมบูรณ์วิวัฒนาการของเครือข่ายถือได้ว่าเป็นการปฏิว้ติ ครั้งใหญ่ของโครงสร้างของเทคโนโลยีสารสนเทศ

     โปรโตคอลของเครือข่ายบางทีอาจเรืยกว่า "สถาปัตยกรรมเครือข่าย (Network Architecture)" เนื่อง จากระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเป็นระบบที่ซับซ้อนมาก ทำให้ยากต่อการออกแบบโดยคนๆ เดียว หรือคนกลุ่มเดียว เพื่อให้การพัฒนาระบบเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและง่ายขึ้น จึงมีการแบ่งโปรโตคอลออก เป็นชั้นๆ หรือ เลเยอร์ (Layer) การทำงานในแต่ละเลเยอร์จะไม่ซํ้าซ้อนกัน ซึ่งเลเยอร์ที่อยู่ตํ่ากว่าจะทำหน้าที่ ให้บริการ (Service) กับชั้นที่อยู่สูงกว่า โดยเลเยอร์ที่อยู่สูงกว่าไม่จำเป็นต้องทราบถึงรายละเอียดว่าเลเยอร์ ที่อยู่ตํ่ากว่ามีวิธีให้บริการอย่างไร เพียงแค่รู้ว่ามีบริการอะไรบ้าง และแต่ละบริการคืออะไรก็เพียงพอ ซึ่งแนว ความคิดนี้จะเรียกว่า "เทคโนโลยีเลเยอร์ (Layer Technology)"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ