มุมแนะนำ

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์



หลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์
1. การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์สากล
1.1 ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (Ancient History) หรือยุคโบราณ ตั้งแต่ 3,500 ปี ก่อนคริสต์ศักราชถึง .. 476 เมื่อกรุงโรมศูนย์กลางของจักรวรรดิโรมันต้องพ่ายแพ้การรุกรานของพวกอารยชน
1.2 ประวัติศาสตร์สมัยกลาง (Medieval History) หรือยุคกลาง ตั้งแต่ .. 476-1453 เมื่อกรุงคอนสแตนติโนเปิล เมืองหลวงของอาณาจักรโรมันตะวันออกต้องพ่ายแพ้แก่พวกเติร์ก ซึ่งนักประวัติศาสตร์บางคนเห็นว่าสมัยกลางน่าจะสิ้นสุดใน .. 1492 ปีที่คริสโตเฟอร์ โคลัมบัสค้นพบทวีปอเมริกา
1.3 ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (Modern History) หรือยุคใหม่ เริ่มจาก .. 1453 จนกระทั่งปัจจุบันและมีนักประวัติศาสตร์บางคนเห็นว่าประวัติศาสตร์สมัยใหม่ควรสิ้นสุดใน .. 1945 ซึ่งเป็นปีสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 และต่อจากนั้นควรแบ่งเป็นประวัติศาสตร์ร่วมสมัย (Contemporary History)
1.4 ประวัติศาสตร์ร่วมสมัย หรือยุคร่วมสมัย ตั้งแต่ .. 1945 จนกระทั่งปัจจุบัน
งย2. การแบ่งยุคสมัยของนักโบราณคดี
2.1 ยุคก่อนประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 4 ยุค คือ
ยุคหินแรก (Eolithic Age) ยุคป่าเถื่อนมนุษย์ยังไม่นุ่งห่มเสื้อผ้า ใช้หนังสัตว์ปกปิดร่างกายเร่ร่อนหากิน
ยุคหินเก่า (Paleolithic Age) เริ่มป้องกันตัวเอง ประดิษฐ์อาวุธ เช่น ขวานที่ทำจากหิน ค้อนไม่มีด้าม รู้จักใช้ไฟ รู้จักการนุ่งห่ม เก็บผลไม้กิน ล่าสัตว์
ยุคหินกลาง (Mesolithic Age) เริ่มสร้างที่อยู่ด้วยไม้แทนการอยู่ตามถ้ำ ทำมีดจากหิน และฉมวกใช้ล่าสัตว์เป็นอาหาร มีความเชื่อทางศาสนา รู้จักการวาดรูปตามฝาผนังถ้ำ
ยุคหินใหม่ (Neolithic Age) เริ่มรู้จักประดิษฐ์สิ่งของให้สวยงาม ตั้งหลักแหล่งตามลุ่มแม่น้ำ สร้างบ้านเรือน เพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ มีความคิดทางศาสนา มีหลักฐาน เช่น แนวเสาหินในจีน อังกฤษ และบราซิล จัดเป็นต้นกำเนิดของแหล่งวัฒนธรรมลุ่มน้ำของมนุษย์ ได้แก่ อียิปต์ เมโสโปเตเมีย
2.2 ยุคประวัติศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 ยุค คือ
ยุคสำริด (Bronze Age) เริ่มมีการประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้จากโลหะสำริด (ทองแดง + ดีบุก) รู้จักการประดิษฐ์ตัวอักษร เกิดอารยธรรมบริเวณต่างๆ ได้แก่ เมโสโปเตเมีย จีน อินเดีย กรีกโบราณ และโรมัน
ยุคเหล็ก (Iron Age) เริ่มใช้เหล็กมาทำอ าวุธและเครื่องมือที่แข็งแรงมากขึ้น
2.3 หลักเกณฑ์ของนักมนุษย์วิทยา คือ ผู้ศึกษาและฟื้นฟูอดีตของมนุษย์จากลักษณะทางกายและวัฒนธรรม โดยใช้เกณฑ์ของความก้าวหน้าที่สำคัญเป็นตัวกำหนด ดังนี้
การปฏิวัติเกษตรกรรม (คลื่นลูกที่ 1) ประมาณ 3,500 ปี ล่วงมาแล้ว มนุษย์รู้จักการเพาะปลูกตั้งถิ่นฐานอยู่เป็นชุมชน
การปฏิวัติอุตสาหกรรม (คลื่นลูกที่ 2) ประมาณ 250 ปี ล่วงมาแล้ว มนุษย์นำเครื่องจักรมาใช้แทนแรงงานคน ทำให้ผลิตได้มากขึ้น เร็วขึ้น และดีขึ้น
การปฏิวัติเกษตรกรรม (คลื่นลูกที่ 3) เริ่มประมาณปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 มนุษย์ติดต่อสื่อสารกันได้รวดเร็วทั้งภาพและเสียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ