มุมแนะนำ

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ชนชั้นต่างๆของสังคม



โครงสร้างชนชั้นของสังคม
แบ่งสมาชิกของสังคม เป็นลำดับชนชั้นตามระบบศักดินา ได้แก่ พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง ไพร่ ทาส พระสงฆ์
5.1 พระมหากษัตริย์
กษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพรักสักการะของปวงชน รวมทั้งการนำเอาลัทธิเทวราชาจากขอม และ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู มีผลทำให้พระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนสมมติเทพ มีการเปลี่ยนแปลงกฎมณเฑียรบาลพระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม และจักรวรรดิวัตร 12 ประการ
5.2 พระราชวงศ์หรือเจ้านาย
ยศของเจ้านาย มี 2 ประเภท คือ
1. สกุลยศ ได้รับตั้งแต่เกิด สกุลยศในสมัยอยุธยาตอนต้น ใช้คำว่า เจ้าเช่น เจ้าอ้าย เจ้ายี่
เจ้าสาม ต่อมาสมัยพระเอกาทศรถ ได้ปรากฏสกุลยศของเจ้านายมี 3 ชั้น คือ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า และหม่อมเจ้า
2. อิสริยยศ ได้รับพระราชทาน เนื่องจากรับใช้ราชการแผ่นดิน มักขึ้นต้นด้วยคำว่า พระ
เช่น พระราเมศวร พระบรมราชา สมัยสมเด็จพระนารายณ์ มี เจ้าทรงกรมเลิกใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5
5.3 ขุนนาง เป็นชนส่วนน้อยในสังคม
ยศ หมายถึง ฐานะหรือบรรดาศักดิ์ เช่น สมเด็จเจ้าพระยา เจ้าพระยา พระยา พระ หลวง ขุน หมื่น
ตำแหน่ง หมายถึง หน้าที่ที่รับผิดชอบ เช่น สมุหพระกลาโหม สมุหนายก เสนาบดี ปลัดทูลฉลอง เจ้ากรม
ราชทินนาม หมายถึง นามที่ได้รับพระราชทาน เช่น มหาเสนายมราช จักรีศรีองครักษ์ พลเทพ
ศักดินา หมายถึง เครื่องกำหนดฐานะหรือความรับผิดชอบต่องานราชการ โดยครอบครองที่นา
มากน้อยตามศักดินา
5.4 ไพร่ เป็นพลเมืองส่วนใหญ่ของสังคมไทยทั้งชายและหญิง มีศักดินาระหว่าง 10-25 ไร่ ต้องขึ้น
สังกัดมูลนาย มิฉะนั้นจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย
ประเภทของไพร่
1. ไพร่หลวง คือ ไพร่ที่สังกัดประจำกรม มีหน้าที่เข้าเวรรับราชการเข้าเดือนออกเดือน (ปีหนึ่งทำงาน 6 เดือน)
2. ไพร่สม คือ ไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ขุนนาง มีหน้าที่ทำงานตามที่มูลนายสั่ง
3. ไพร่ส่วย คือ ไพร่สมและไพร่หลวงที่ส่งของ (ส่วย) มาแทนการใช้แรงงาน
การเลื่อนฐานะของไพร่
1. มีความสามารถในการรบ
2. ไพร่นำช้างเผือกมาถวาย
3. ไพร่เปิดเผยการทุจริตของขุนนาง
4. ออกบวชและศึกษาพระธรรมจนจบเปรียญ แล้วลาสิกขาบทมารับราชการ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ