มุมแนะนำ

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ประเภทของเครือข่ายแบ่งตามขนาดทางภูมิศาสตร์

        ถ้าใช้ขนาดทางกายภาพเป็นเกณฑ์ เครือข่ายสามารถแบ่งออกได้เป็นสองประ๓ทคือ LAN หรือ เครือข่ายท้องถิ่น และ WAN หรือเครือข่ายบริเวณกว้าง LAN เป็นเครือข่ายขนาดเล็กที่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณจำกัด เช่น ภายในห้อง หรือภายในอาคารหนึ่ง หรืออาจจะครอบคลุมหลายอาคารที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน เช่น ในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัย ซึ่งบางทีก็เรียกว่า "เครือข่ายวิทยาเขต (Campus Network)" จำนวนของคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกันใน LAN อาจมีตั้งแต่สองเครื่องไปจนถึงหลายพ้นเครื่อง ส่วน WAN เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุม บริเวณกว้าง เช่น ในพื้นที่เมือง หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ เช่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

        หนังสือบางเล่มจะแบ่งเครือข่ายเป็น LAN, MAN, WAN ซึ่ง MAN (Metropolitan Area Network) เป็นเครือข่ายขนาดกลางระหว่าง LAN และ WAN และครอบคลุมพื้นที่เมือง ในช่วงหลังๆ เทคโนโลยีที่ใช้ใน MAN เป็นเทคโนโลยีเดียวกับเทคโนโลยีของ WAN ดังนั้นจึงได้จัดให้ MAN เป็นเครือข่ายประ๓ทเดียวกันกับ WAN ดังนั้นถ้าหนังสือเล่มใดอธิบายเกี่ยวกับ MAN ก็จะหมายถึงเครือข่ายประ๓ท WAN ในหนังสือเล่มนี้

เครือข่ายท้ออถี่น (Local Area Network)

        LAN (Local Area Network) เป็นรากฐานของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วไป กล่าวคือ เกือบทุกๆ เครือข่ายต้องมี LAN เป็นองค์ประกอบ เครือข่ายแบบ LAN อาจเป็นได้ตั้งแต่เครือข่ายแบบง่ายๆ เช่น มี คอมพิวเตอร์สองเครื่องเชื่อมต่อกันด้วยสายลัญญาณไปจนถึงเครือข่ายที่ซับซ้อนเช่นมีคอมพิวเตอร์เป็นร้อยๆ เครื่องและมีอุปกรณ์เครือข่ายอื่นๆ อีกมากแต่ลักษณะสำคัญของ LAN ก็คือเครือข่ายจะครอบคลุมพื้นที่จำกัด รูปที่ 1.13 แสดงเครือข่ายท้องถิ่นที่ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์สี่เครื่อง และมีเครื่องพิมพ์ที่แชร์กันใช้ เครื่อง เซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ในการจัดการเครือข่าย ซึ่งเครือข่ายจะรวมกันอยู่ในห้องปฏิบัติการ

        เทคโนโลยี LAN มีหลายประ๓ท เช่น Ethernet, ATM, Token Ring, FDDI เป็นต้น แต่ที่นิยมกัน มากที่สุดในปัจจุบันคือ อีเธอร์เน็ต (Ethernet) ซึ่งในอีเธอร์เน็ตเองยังจำแนกออกได้หลายประ๓ทย่อย ขึ้น อยู่กับความเร็ว โทโปโลยี (Topology) และสายสัญญาณที่ใช้ เทคโนโลยี LAN แต่ละประเภทมีทั้งข้อดีข้อเสีย ที่แตกต่างกัน การเลือกใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ควรให้เหมาะกับลักษณะการใช้งานเครือข่ายขององค์กร ซึ่งจะได้ อธิบายข้อดีข้อเสียของแต่ละประ๓ทต่อไป

อเธอร์เน็ต (Ethernet)

        อเธอร์เน็ต (Ethernet) ได้ถูกคิดค้นขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1970 และยังคงเป็นเทคโนโลยีชั้นนำของ เครือข่ายท้องถิ่น อีเธอร์เน็ตตั้งอยู่บใ4มาตรฐานการส่งข้อมูลหรือโปรโตคอล CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection) โปรโตคอลนี้ถูกใช้สำหรับการเข้าใช้สื่อกลางในการส่งสัญญาณที่แชร์กัน ระหว่างสถานีหรือโหนดต่างๆ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ เมื่อโหนดใดๆ ต้องการที่จะส่งข้อมูลจะต้องคอยฟังก่อน (Carrier Sense) ว่ามีโหนดอื่นกำลังส่งข้อมูลอยู่หรือไม ถ้ามีให้รอจนกว่าเครื่องนั้นส่งข้อมูลเสร็จก่อน แล้วค่อย เรื่มส่งข้อมูล และในขณะที่กำลังส่งข้อมูลอยู่นั้นต้องตรวจสอบว่ามีการซนกันของข้อมูลเกิดขึ้นหรือไม่ (Collision Detection) ถ้ามีการชนกันของข้อมูลเกิดขึ้นให้หยุดทำการส่งข้อมูลทันที แล้วค่อยเริ่มกระบวนการ ส่งข้อมูลใหม่อีกครั้ง เนื่องจากอีเธอร์เน็ตจะใช้สื่อกลางร่วมกัน ซึ่งเรียกว่า "บัส (Bus)" ฉะนั้นจึงมีโหนดที่ส่ง ข้อมูลได้แค่โหนดเดียวในขณะใดขณะหนึ่ง การซนกันของข้อมูลเกิดขึ้นเนื่องจากมีมากกว่าหนึ่งโหนดที่ทำการ ส่งข้อมูลไปบนสื่อกลางในเวลาเดียวกัน ผลที่'ได้คือ ข้อมูลจะกลายเป็นขยะหรืออ่านไม่ได้ทันที เมื่อมีจำนวน โหนดเพิ่มมากขึ้นความน่าจะเป็นที่ข้อมูลจะซนกันก็เพิ่มขึ้นตามลำดับ

        ตามมาตรฐานแล้วอีเธอร์เน็ตจะมีอัตราการส่งข้อมูลหรือแบนดํวิธที่ 10 Mbps (สิบล้านบิตต่อวินาที) ในขณะที่ฟาสต่อีเธอร์เน็ต (Fast Ethernet) มีการทำงานคล้ายๆ กัน เพียงแต่มีอัตราข้อมูลที่สูงกว่า 10 เท่า หรือ 100 Mbps ส่วนกิกะบิตอีเธอร์เน็ต (Gigabit Ethernet) มีอัตราข้อมูลสูงสุดคือ 1,000 Mbps หรือ 1 Gbps และในขณะที่กำลังเขียนหนังสือเล่มนี้กำลังมีการพัฒนาอีเธอร์เน็ตที่ความเร็ว 10 Gbps ซึ่งเรืยกว่า เทน กิกะบิตอีเธอร์เน็ต (10G Ethernet)

        นอกจากข้อแตกต่างในเรื่องของความเร็วแล้ว อีเธอร์เน็ตยังแบ่งย่อยออกเป็นแชร์อีเธอร์เน็ต (Shared Ethernet) และสวิตช์อีเธอร์เน็ต (Switched Ethernet) โดยแชร์อีเธอร์เน็ตมีการใช้ตัวกลางร่วมกันคล้ายๆ กับถนน ที่มีเลนเดียว ดังนั้นจึงมีรถวิ่งบนถนนได้แค่คันเดียวในขณะใดขณะหนึ่ง ในความหมายเครือข่ายก็คือ ในขณะใด ขณะหนึ่งจะมีแค่สถานีเดียวที่สามารถส่งข้อมูลได้ อุปกรณ์เครือข่ายที่ใช้สำหรับแชร์อีเธอร์เน็ตคือ อับ (Hub) ส่วน สวิตช์อีเธอร์เน็ต (Switched Ethernet) จะเปรียบได้กับถนนที่มีหลายเลน ดังนั้นจึงมีรถหลายคันที่สามารถวิ่งบน ถนนได้ในเวลาเดียวกัน ส่วนอุปกรณ์ที่ใช้*'เนสวิตช์อีเธอร์เน็ตก็คงจะเป็นสวิตช์นั่นเอง

โทเคนริง (Token Ring)

        เครือข่ายแบบโทเคนริง (Token Ring) ซึ่งจะมีลักษณะการเชื่อมต่อแบบวงแหวนนี้ ถือได้ว่าเป็น เครือข่ายที่กำลังล้าสมัยเพราะมีการใช้น้อยลง โทเคนริงนิยมมากในการสร้างเครือข่ายสมัยแรกๆ เนื่องจาก ข้อดีของการส่งข้อมูลในเครือข่ายแบบนี้จะไม่มีการชนกันของข้อมูล เหมือนกับเครือข่ายแบบอีเธอร์เน็ต แต่ข้อ เสียของเครือข่ายประ๓ทนี้จะอยู่ที่ความสามารถในการขยายเครือข่าย (Scalability) และการบริหารและจัด การเครือข่ายจะค่อนข้างยาก เครือข่ายประ๓ทนี้ยังมืใช้อยู่กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของบริษัท IBM ที่เป็นระบบ เมนเฟรมและมินิคอมพิวเตอร์

ATM

        ATM ย่อมาจาก "Asynchronous Transfer Mode" ไม่ได้หมายถึงตู ATM (Automatic Teller Machine) ที่เราใช้ถอนเงินสดจากธนาคาร แต่บางทีตู้ ATM ที่เราใช้ถอนเงินสดอาจจะเชื่อมต่อกับศูนย์กลาง ด้วยระบบเครือข่ายแบบ ATM ก็ได้ ATM เป็นมาตรฐานการรับส่งข้อมูลที่กำหนดโดย ITU-T (International Telecommunication บทion-Telecommunication standard Sector) ชงจะรวมบริการต่างๆ เซ่น ข้อมูล เสียง วิดีโอเข้าด้วยกันแล้วส่งเป็นเซลล์ (Cell) ข้อมูลที่มีขนาดเล็กและคงที่ เป็นเครือข่ายที่รองรับแบนด็วิธตง แต่ Mbps จนถึง Gbps ปัจจุบันยังมีการใช้ ATM ไม่มากเท่ากับอีเธอร์เน็ต แต่มีแนวโน้มว่า ATM อาจจะเป็น อีกทางเลือกอีกอย่างหนึ่งที่นิยมในเครือข่ายในอนาคตก็ได้

เครือข่ายบริเวณกว้าง (Wide Area Network)

        ตรงกันข้ามกับ LAN เครือข่ายบริเวณกว้างหรือ WAN (อ่านว่า แวน) เป็นเครือข่ายที่ครอบคลุม พื้นที่บริเวณกว้าง หรืออาจจะครอบคลุมทั่วโลกก็ได้ ตัวอย่างเซ่น เครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เรารู้จักกันดี WAN จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อระหว่าง LAN ที่อยู่ห่างไกลกัน เซ่น การเชื่อมต่อเครือข่ายของสำนักงานย่อยที่อยู่ห่าง ไกลกัน เป็นต้น รูปที่ 1.14 เป็นรูปที่แสดงลักษณะของเครือข่ายแบบ WAN

        LAN เป็นเทคโนโลยีสำหร้บการเชื่อมต่อเครือข่ายภายในอาคาร หรือพื้นที่ที่มีรัศมีประมาณ 2-3 กิโลเมตร ส่วน WAN เป็นเครือข่ายที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระยะไกล เซ่น เครือข่ายภายในหรือระหว่างเมือง หรือแม้ กระทั่งการเชื่อมต่อระหว่างประเทศทั่วโลก เทคโนโลยีที่จัดอยู่ในประ๓ท WAN เซ่นรีโมทแอ็กเซสล์ (Remote Access), สายคู่เช่า (Leased Line), ISDN (Integrated Service Digital Network), ADSL (Asynchronous Digital Subscribe Line), Frame Relay และระบบดาวเทียม เป็นต้น

        รีโมทแอ็กเซสเป็นเครือข่ายที่ใช้ระบบโทรศัพท์เป็นสื่อ (Dial up) ทำให้ผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลสามารถเชื่อม ต่อเข้ากับศูนย์กลางเครือข่ายได้ การเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ตก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของรีโมท แอ็กเซล กล่าวคือผู้ใช้สามารถที่จะเข้าถึงอินเตอร์เน็ตโดยการใช้โมเด็มหมุนไปที่ ISP (Internet Service Provider) เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตได้ ผู้ใช้'หลายๆ คนที่อยู่บนเครือข่ายท้องถิ่นสามารถต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต โดย ผ่านเราท์เตอร์ โดยทั่วไปเครือข่าย LAN มีอัตราการล่งข้อมูลที่สูงกว่าเครือข่าย WAN ตัวอย่างเซ่น อีเธอร์เน็ต มีอัตราการส่งข้อมูลที่ 10 Mbps ในขณะที่ความเร็วสูงสุดของโมเด็มในปัจจุบันอยู่ที่ 56 Kbps ซึ่ง น้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์ของแบนดํวิธของอีเธอร์เน็ต แม้กระทั่งการเชื่อมต่อแบบ T-1 ยังมีอัตราข้อมูลแค่ 1.5 Mbps อย่างไรก็ตามโดยธรรมซาติของการสื่อสารข้อมูลล่วนใหญ่จะอยู่ภายในเครือข่ายท้องถิ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ