มุมแนะนำ

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-Peer Network)

     เครือข่ายประเภทนี้จะไม่มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์และไม่มีการแบ่งชั้นความสำคัญของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อม ต่อเข้ากับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีสิทธิเท่าเทียมกันในการจัดการใช้เครือข่าย ซึ่งเรียกว่า เพียร์ (Peer) นั่นเอง คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์แล้วแต่การใช้งานของผู้ใช้ เครือข่ายประ๓ทนี้ ไม่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลและจัดการระบบ หน้าที่นี้จะกระจายไปยังผู้ใช้แต่ละคน เนื่องจาก ผู้ใช้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเป็นคนกำหนดว่าข้อมูลหรือทรัพยากรใดบ้างของเครื่องนั้นที่ต้องการแชร์กับ ผู้ใช้คนอื่นๆ
     การใช้งานแบบเพียร์ทูเพียร์ บางทีก็เรียกว่า "เวิร์คกรุ๊ป (Workgroup)" หรือกลุ่มของคนที่ทำงาน ร่วมกันเป็นทีม ซึ่งส่วนมากจะมีจำนวนน้อยกว่าสิบคน เครือข่ายประ๓ทนี้จะเป็นแบบง่ายๆ ไม่ซับช้อนมาก เนื่องจากคอมทิวเตอร์ทุกเครื่องทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ฉะนั้นจึงไม่จำเป็นที่ต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งมีราคาแพงมาก ดังนั้นราคารวมของเครือข่ายจึงถูกกว่าเครือข่ายแบบไคลเอนทํเซิร์ฟเวอร์ เพราะต้องมีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่มีราคาแพงทำหน้าที่จัดการเครือข่าย
     ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นซอฟต์แวร์ที่มีฟังก์ชันและระบบ รักษาความปลอดภัยเท่ากับระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เซ่น ระบบปฏิบติการที่ใซในคอมพิวเตอร์ ที่อยู่ในเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์อาจจะใช้แค่วินโดวล์95/98/Me ในขณะที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์อาจต้องใช้วินโดวส์ เซิร์ฟเวอร์ 2000/2003 ซึ่งราคาของระบบปฏิบัติการนี้จะแพงกว่ากันมาก
  • เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์นี้เหมาะสำหรับสภาพแวดล้อมดังต่อไปนี
  • มีผู้ใช้เครือข่าย 10 คน หรือน้อยกว่า
  • มีทรัพยากรเครือข่ายที่ต้องแซร์กันไม่มากนัก เซ่น ไฟล์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งยังไม่จำเป็นต้อง มีเครื่องเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่ทางด้านนี้โดยเฉพาะ
  • ยังไม่มีความจำเป็นในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
  • การขยายตัวของเครือข่ายไม่มากนักในอนาคตอันใกล้
    เมื่อสถานการณ์เป็นดังที่ว่านี้ ก็ควรที่จะสร้างเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ เนื่องจากเหมาะลมกว่าที่ จะสร้างเครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูงกว่ามากถึงแม้ว่าเครือข่ายแบบ เพียร์ทูเพียร์นี้จะเหมาะกับเครือข่ายขององค์กรขนาดเล็ก แต่ก็ไม่เหมาะสมกับทุกๆ สภาพแวดล้อมเสมอไป สำหรับองค์กรที่มีคอมพิวเตอร์และเครือข่ายใช้ ควรที่จะมีบุคลากรที่ทำหน้าที่ดูแลและจัดการระบบ ซึงจะทำ หน้าที่ดังต่อไปนี้
  • ให้การช่วยเหลือผู้ใซ้เกี่ยวกับการใช้ซอฟต์แวร์ต่างๆ และการใช้เครือข่าย
  • ดูแลข้อมูลและกำหนดการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
  • สร้างการแชร์ทรัพยากรต่างๆ
  • ดูแลรักษาซอฟต์แวร์ เช่น การติดตั้งและอัพเกรดซอฟต์แวร์ต่างๆ รวมทั้งระบบปฏิบัติการ
  • บำรุงรักษาอุปกรณ์เครือข่าย และแก้ปัญหาต่างๆ ของเครือข่าย
     ในเครือข่ายหนึ่งผู้ใซ้ทุกคนสามารถกำหนดการแชร์ทรัพยากรที่มีอยู่ในเครื่องตัวเองได้ ซึ่งทรัพยากร เหล่านี้จะรวมถึงไดเร็คทอรืที่จะแชร์ในฮาร์ดดิสก์ตัวเอง เครื่องพิมพ์ แฟกซ์ เป็นต้น ในสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป ของเครือข่ายแบบเพิยร์ทูเพียร์นั้นผู!ช้ที่เป็นเจ้าของเครื่องจะใช้ทรัพยากรส่วนใหญ่ของคอมพิวเตอร์ตัวเองส่วน ผู้ใช้คนอื่นจะใช้ทรัพยากรบางส่วนผ่านทางเครือข่าย แต่ถ้าเป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะใช้ทรัพยากรส่วนใหญ่เพื่อ ให้บริการกับผู้ใช้ผ่านทางเครือข่าย ซึ่งโดยทั่วไปจะไม่มีคนใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์ นอกจากผู้ดูแลระบบทีใช้เครือง ในการจัดการต่างๆ เท่านั้น
     การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล หมายถึง การทำให้ข้อมูลปลอดจากการนำไปใช้โดยผู้ที่ไม่ได้ รับอนุญาตหรือมีสิทธี้ ส่วนวิธีการนั้นอาจมีหลายวิธี เช่น การควบคุมการเข้าถึงข้อมูล หรือกำหนดรหัสลับใน การเข้าใช้ข้อมูลที่ได้แชร์ไว้ เป็นต้น ในสภาพแวดล้อมแบบเพียร์ทูเพียร์ ผู้ใช้แต่ละคนต้องกำหนดรหัสลับกับ ทุกทรัพยากรที่แชร์ไว้ ซึ่งวิธีการนี้ก็ทำให้ไม่สามารถรวมศูนย์ควบคุมเพื่อการรักษาความปลอดภัย การทำเช่น นี้อาจก่อให้เกิดช่องโหว่ เพราะผู้ใช้บางคนอาจจะไม่ได้กำหนดระดับความปลอดภัยในเครื่องตัวเองเลย ถ้าหาก ความปลอดภัยของข้อมูลมีความสำคัญ เครือข่ายแบบไคลเอนท์เซิร์ฟเวอร์จะเหมาะสมกว่า เพราะง่ายต่อการ รักษาความปลอดภัย
     เนื่องจากคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องในเครือข่ายประเภทนี้จะทำหน้าที่เป็นทั้งไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ ดังนั้นผู้ใช้แต่ละคนควรที่จะได้รับการแกอบรมให้เป็นได้ทั้งผู้ใช้และผู้ดูแลระบบในเวลาเดียวกันซึ่งอาจจะเป็น การยากเนื่องจากผู้ใซ้แต่ละคนอาจมีงานอื่นที่ต้องทำมาก





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ