มุมแนะนำ

แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิศวะกรรมศาสตร์ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ วิศวะกรรมศาสตร์ แสดงบทความทั้งหมด

วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557

คุณสมบัติของทองแดง

ทองแดง และโลหะผสมทองแดง เป็นวัสดุทางวิศวกรรมที่สามารถนำไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย

คุณสมบัติที่ทำให้ทองแดงมีความเหมาะสมในการนำไปใช้งานได้หลากหลายประเภท คือ ความแข็งแกร่ง, สภาพการเป็นตัวนำ, ความต้านทานการกัดกร่อน, การแปรรูป และความอ่อน
เราสามารถเพิ่มคุณสมบัติของทองแดงได้ โดยการเปลี่ยนส่วนประกอบ และวิธีการผลิต
  • สภาพการนำไฟฟ้า: ทองแดงเป็นโลหะในทางวิศวกรรมที่ถูกใช้ทำเป็นตัวนำไฟฟ้ามากที่สุด โดยที่เงิน และธาตุอื่นๆ อาจะถูกเพิ่มเข้ามาเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง, ป้องกันการอ่อนตัว หรือเพื่อเพิ่มคุณสมบัติอื่นๆโดยที่ไม่ทำให้เสียสภาพการนำไฟฟ้า
  • สภาพการนำความร้อน: เป็นคุณสมบัติเดียวกันกับสภาพการนำไฟฟ้า โลหะผสมทองแดงอาจถูกใช้เพื่อให้มีความต้านทานการกัดกร่อน กล่าวคือความสามารถในการนำความร้อนจะลดลงเมื่อเพิ่มปริมาณอัลลอยด์ ในขณะที่ความต้านทานการกัดกร่อนจะเพิ่มขึ้น
  • สี และลักษณะที่ปรากฏ: โดยทั่วไปแล้วทองแดงจะมีสีเฉพาะ และอาจเปลี่ยนสีได้โดยขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ อัลลอยด์ส่วนมากสามารถทำการเตรียมการ และบำรุงรักษามาตรฐานของพื้นผิวได้ง่าย ถึงแม้จะมีสภาวะการกัดกร่อนที่ไม่พึงประสงค์ อัลลอยด์ส่วนใหญ่ถูกใช้ในการปรับสภาพให้ทองแดงมีความเหมาะสมกับการใช้งาน ตั้งแต่การขึ้นรูป หรือภายหลังจากการชุบโลหะ โดยที่อัลลอยด์แต่ละชนิดจะให้สีเฉพาะตัวออกมาเริ่มตั้งแต่สีชมพูแซลมอน จนถึงสีเหลือง ส่วนสีทอง และเขียวจนถึงบรอนซ์ดำ จะเกิดจากสภาพอากาศ โดยการสัมผัสกับบรรยากาศสามารถทำให้พื้นผิวทองแดงเป็นสีเขียว หรือบรอนซ์ดำได้ หรือการทำอัลลอยด์พื้นผิวสนิมในรูปแบบผลิตภัณฑ์บางประเภท
  • ความต้านทานการกัดกร่อน: โลหะผสมทองแดงจะป้องการการกัดกร่อนจากน้ำ และไอน้ำได้ โลหะผสมทองแดงสามารถป้องกันการกัดกร่อนในสภาพอากาศของชนบท, ในทะเล และโรงงานอุตสาหกรรมได้ ทองแดงสามารถป้องกันน้ำเกลือ, ดิน, แร่ธาตุที่ไม่เกิดการออกซิเดชั่น, กรดอินทรีย์ และการกัดกร่อน แต่แอมโมเนีย, ฮาโลเจน, ซัลไฟด์, สารละลายที่มีแอมโมเนียไอออน และกรดออกซิไดซ์ จะทำลายทองแดงได้ เช่นเดียวกับโลหะผสมทองแดงที่ป้องกันกรดอนินทีรย์ได้เพียงเล็กน้อย โดยความสามารถในการป้องกันการกัดกร่อนของโลหะผสมทองแดงจะมาจากการสร้างแผ่น ฟิล์มบนพื้นผิวของวัสดุ และฟิล์มนี้จะทำหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนโลหะ
  • ความอ่อนสามารถปรับปรุงได้โดยทำการอบอ่อน: สามารถทำได้โดยกระบวนการอบอ่อน หรือโดยการเชื่อม หรือขั้นตอนการประสาน
  • การชุบแข็ง/การเพิ่มความแข็ง: มีรูปแบบการเพิ่มความแข็งโดยทั่วไปอยู่ 4 รูปแบบของทองแดง คือ การเพิ่มความเครียด (strain hardening), การเพิ่มความแข็งแรงโดยสารละลายของแข็ง (solid-solution hardening), การทำให้เกิดสารประกอบขนาดเล็ก (precipitation hardening) และ การเพิ่มความแข็งแรงโดยการกระจายตัวของเฟสที่สอง (dispersion strengthening) ส่วนรูปแบบที่ห้าคือ spinodal decomposition เป็นรูปแบบที่ใช้ในการค้าขายโดยตรง แต่จะประกอบด้วย ทองแดง-นิกเกิล-ดีบุก เท่านั้น การผสมกลไกการเพิ่มความแข็งแรงถูกใช้ในการเพิ่มคุณสมบัติทางกลขั้นสูงสำหรับ โลหะผสมทองแดงขั้นสูง
ขอบคุณบทความดีจาก keytometals.com

คุณสมบัติของอลูมิเนียม

  • ข้อดีบางประการของอลูมิเนียมคือ ดูดี, ง่ายต่อการผลิต, ต่อต้านการกัดกร่อนได้ดี, ความหนาแน่นต่ำ, อัตราความแข็งแรงต่อน้ำหนักสูง และความเหนียวที่ต้านการแตกหักสูง
  • ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ อลูมิเนียมจึงเป็นหนึ่งในวัสดุที่มีผลต่อเศรษฐกิจ และการทำโครงสร้าง ที่ใช้ในการค้าขาย และอุปกรณ์ทางการทหาร
  • เมื่อสัมผัสกับอากาศ จะทำให้เกิดชั้นฟิล์มบางๆเรียกว่า อลูมิเนียมออกไซด์ อยู่ที่ชั้นผิวของอลูมิเนียม ซึ่งชั้นผิวนี้จะสามารถป้องกันการกัดกร่อน และกรดต่างๆได้ แต่สามารถป้องกัน อัลคาลิส ได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น
  • อลูมิเนียมบริสุทธิ์ จะมีค่าแรงดึงไม่สูงนัก แต่อย่างไรก็ตามการเพิ่มธาตุบางชนิดเข้าไปเช่น แม็กนีเซียม, ซิลิคอน, ทองแดง และแมงกานีส สามารถเพิ่มคุณสมบัติความแข็งแรงให้กับอลูมิเนียมได้ และได้อัลลอยด์ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้งานนั้นๆ
  • อลูมิเนียมเป็นตัวนำความร้อนที่ดีเยี่ยม และนำความร้อนได้ดีกว่าเหล็กถึงสามเท่า ด้วยคุณสมบัตินี้ทำให้อลูมิเนียมเป็นวัสดุที่มีความสำคัญกับทั้งงานที่ใช้ ความเย็น และความร้อน เช่น ตัวแลกเปลี่ยนความร้อน (heat-exchangers) เมื่อพูดถึงอลูมิเนียมที่ไม่ผสมธาตุใดๆแล้ว อลูมิเนียมประเภทนี้จะถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตอุปกรณ์การทำอาหาร และชุดเครื่องครัว
  • อลูมิเนียมมีน้ำหนักเพียง 1 ใน 3เท่าของเหล็ก และ ทองแดง ทำให้มันเป็นโลหะในเชิงพาณิชที่มีน้ำหนักเบาที่สุด
  • เทียบกับทองแดงแล้ว อลูมิเนียมถือว่ามีความสามารถในการนำไฟฟ้าเพียงพอที่จะใช้ทำเป็นตัวนำไฟฟ้าได้
ขอบคุณบทความดีๆจาก keytometals.com 

คุณสมบัติของเหล็ก

  • หากพูดถึงคุณสมบัติของวัสดุ จะพบว่าเหล็กเป็นวัสดุที่มีความสำคัญทางด้านวิศวกรรม และการก่อสร้างมากที่สุดในโลก

  • คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของเหล็กก็คือความสามารถในการขึ้นรูปได้ และความทนทานที่ยอดเยี่ยม รวมทั้งยืดหยุ่นได้ดี, มีค่าจุดคราก และการนำความร้อนที่ดี ตลอดจนคุณสมบัติที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่มีในเหล็กกล้าไร้สนิม นั้นคือความทนทานต่อการกัดกร่อน

  • เมื่อทำการเลือกวัสดุไปใช้ในงานที่จำเพาะเจาะจงแล้ว วิศวกรต้องมีความมั่นใจในความเหมาะสมของ สภาวะการรับแรง และความทนต่อสภาพแวดล้อมต่างๆ และนี่คือหัวข้อที่อยู่ในการบริการของเรา ความเข้าใจ และการควบคุมคุณสมบัติของวัสดุให้ได้นั้นเป็นสิ่งจำเป็น คุณสมบัติทางกลของเหล็กสามารถทำการควบคุมได้โดยอาศัยการเลือก chemส่วนประกอบทางเคมีที่เหมาะสม,กระบวนการ และกระบวนการอบร้อน หรือจนถึงการตรวจสอบโครงสร้างระดับจุลภาค
  • อัลลอยด์ และกระบวนการอบร้อนถูกใช้ในการผลิตเหล็ก ผลที่ได้นั้นจะมีความแตกต่างกันทั้งค่าคุณสมบัติ และความแข็งแกร่ง ส่วนในการทดสอบนั้นต้องดำเนินการทดสอบไปจนถึงคุณสมบัติสุดท้ายของเหล็ก เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นมาตรฐานที่น่าเชื่อถือ
  • มีระบบการวัดอยู่หลายรูปแบบที่ใช้ในการระบุคุณสมบัติของเหล็ก ตัวอย่างเช่น จุดคราก, ความอ่อน และความแข็งตึง สามาหาหาได้โดยใช้การทดสอบแรงดึง ความเหนียวสามารถวัดค่าได้โดยใช้การทดสอบอิมแพ็ค ส่วนค่าความแข็ง สามารถหาได้โดยวัดจากความต้านทานในการเจาะพื้นผิวของวัสดุแข็ง
  • การทดสอบแรงดึง เป็นวิธีการในการประเมินผลตอบสนองของโครงสร้างของเหล็ก เมื่อได้รับโหลด ซึ่งผลลัพธ์จะแสดงในค่าความสัมพันธ์ระหว่าง ความเค้น และความเครียด โดยที่ค่าความสัมพันธ์ระหว่าง ความเค้น และความเครียด สามารถวัดได้จากช่วงยืดหยุ่นของวัสดุ และอัตราส่วนโมดูลัสของยัง ค่าโมดูลัสของยังที่สูงนั้น จะแสดงถึงความแตกต่างของคุณสมบัติเหล็ก ซึ่งจะอยู่ในช่วง 190-210 GPa และมีค่าเป็นสามเท่าของอลูมิเนียม
คุณสมบัติทางกายภาพของเหล็กจะมีความเกี่ยวพันธ์กับลักษณะทางกายภาพของ วัสดุ เช่น ความหนาแน่น, สภาพการนำความร้อน, โมดูลัสของสภาพยืดหยุ่น, อัตราส่วนของปัวซอง, อื่นๆ ค่าโดยทั่วไปขอคุณสมบัติทางกายภาพของเหล็กได้แก่:
  • ความหนาแน่น ρ = 7.7 ÷ 8.1 [kg/dm3]
  • โมดูลัสของสภาพยืดหยุ่น E=190÷210 [GPa]
  • อัตราส่วนของปัวซอง ν = 0.27 ÷ 0.30
  • สภาพการนำความร้อน κ = 11.2 ÷ 48.3 [W/mK]
  • สัมประสิทธิ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อน α = 9 ÷27 [10-6 / K]
ขอบคุณบทความดีๆจาก keytometals.com

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สรุปหลักการหาจุดสูงสุดสัมพัทธ์และจุดต่ำสุดสัมพัทธ์,จุดสูงสุดสัมบูรณ์และจุดต่ำสุดสัมบูรณ์

สรุปหลักการหาจุดสูงสุดสัมพัทธ์และจุดต่ำสุดสัมพัทธ์
1.       หา f′(x)
2.       หาค่าวิกฤตโดยการกำหนด f′(c)=0 แล้วแก้สมการหาค่า c
3.       ตรวจสอบค่าวิกฤตที่ได้โดยการใช้อนุพันธ์อันดับที่สอง หา f′′(x) แล้วแทนค่า c ลงไป หาก
f′′(c)>0 แสดงว่า f(c) เป็นค่าต่ำสุดสัมพัทธ์
f′′(c)<0 แสดงว่า f(c) เป็นค่าสูงสุดสัมพัทธ์
f′′(c)=0 ไม่สามารถสรุปได้ ต้องตรวจสอบด้วยอนุพันธ์อันดับที่หนึ่ง
การตรวจสอบด้วยอนุพันธ์อันดับที่หนึ่ง คือ  หาค่า f′(a) และ f′(b) โดยกำหนด a,b เป็นเท่าไรก็ได้ที่ a<c<b มักเลือกค่าที่หาได้ไม่ยาก เช่น ถ้า c=2 กำหนด a=1 และ b=3 หาก
f′(a)>0 และ f′(b)<0 แสดงว่า f(c) เป็นค่าสูงสุดสัมพัทธ์
f′(a)<0 และ f′(b)>0 แสดงว่า f(c) เป็นค่าต่ำสุดสัมพัทธ์
4.       เราจะได้ f(c) เป็นค่าสูงสุดสัมพัทธ์หรือค่าต่ำสุดสัมพัทธ์ของฟังก์ชัน หากต้องการจุดสูงสุดสัมพัทธ์หรือจุดต่ำสุดสัมพัทธ์ ให้ตอบในรูปของคู่อันดับ (c,f(c))
ขั้นตอนการหาจุดสูงสุดสัมบูรณ์และจุดต่ำสุดสัมบูรณ์บนช่วงปิด [a,b] ใดๆ ของฟังก์ชัน y=f(x)
1.       หาค่าวิกฤต c
2.       นำค่าวิกฤตมาแทนค่าในฟังก์ชันเพื่อหา f(c)
3.       หาค่าของ f(a) และ f(b)
4.       เปรียบเทียบค่าที่ได้จากในข้อที่ 1 และ 2 เพื่อดูว่า
ค่าใดมีค่ามากที่สุด ค่านั้นคือค่าสูงสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชัน f
ค่าใดมีค่าน้อยที่สุด ค่านั้นคือค่าต่ำสุดสัมบูรณ์ของฟังก์ชัน f
5.       หากต้องการจุดสูงสุดสัมบูรณ์และจุดต่ำสุดสัมบูรณ์ให้ตอบในรูปคู่อันดับ

สรุปง่ายๆ คือ ** สุดขีดสัมพัทธ์ ให้เอาค่าระว่างค่าวิกฤตไปหาความชัน ใน f'(x) แล้วลองร่างกราฟคร่าวๆดูว่าที่ช่วงไหนเป็นจุดหรือหรือจุดตํ่า เมื่อทราบแล้วก็เอาค่าวิกฤตที่จุดนั้นไปไปหาจุดตํ่าสุดหรือสูงสุดแต่ละตัวใน f(x) ชึ่งผลออกมาจะได้เป็นคู่อันดับ (x,y)
                 ** สุดขีดสัมบูรณ์ ให้เอาค่าวิกฤตที่ได้ไปแทนใน f(x) แล้วเปรียบเทียบกัน จุดที่ค่ามากกว่าจะเป็นจุดสูงสุดสัมบูรณ์ จุดที่ค่าน้อยกว่าจะเป็นจุดตํ่าสุดสัมบูรณ์ แล้วตอบเป็นคู่กันอับ (x,y)


ขอบคุณเนื้อหาดีๆจาก : https://opendurian.com

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

แคลคูลัส 1 หลัง midterm

แคลคูลัส 1 หลัง midterm

การอินทิเกรตฟังก์ชันซายน์และโคซายน์
การอินทิเกรตฟังก์ชันซายน์และโคซายน์
การอินทิเกรตโดยการเปลี่ยนตัวแปร(ต่อ)
การอินทิเกรตโดยการเปลี่ยนตัวแปร
การอินทิเกรตโดยการแทนด้วยฟังก์ชันตรีโกณมิติ
การอินทิเกรตโดยการแบ่งส่วน
สมการเชิงอนุพันธ์อันดับหนึ่ง
สูตรอินทิเกรต
แบบฝึกหัดการหาปริมาตร - Disk Method
แบบฝึกหัดทบทวนปลายภาค206111
แบบฝึกหัดฝึกฝนและทบทวนการอินทิเกรต
Improper Integrals
lect-10-September-2014
lect-10-September-2014

ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

แคลคูลัส 1 ก่อน midterm

แคลคูลัส 1 ก่อนมิดเทอม

1.กฎของโลปิตาล-เพิ่มเติม
2.กฎลูกโซ่-เพิ่มเติม
3.กฎลูกโซ่
4.กฎโลปิตาล
5.การหาอนุพันธ์ของฟังก์ชันแฝง
6.ดิฟเฟอเรนเชียล
7.นิยามของอนุพันธ์-สำหรับทำแบบฝึกหัด
8.ฟังก์ชันลอการิทึมและเอกซ์โปเนนเชียล-เพิ่มเติม
9.ลิมิตอนันต์และลิมิตที่อนันต์
10.ลิมิตและความต่อเนื่อง
11.สรุปสูตรอนุพันธ์เบื้องต้น
12.สูตรอนุพันธ์เบื้องต้น
13.สูตรเบื้องต้นของอนุพันธ์
14.อนุพันธ์-ฟังก์ชันตรีโกณมิติ
15.อนุพันธ์-ฟังก์ชันลอการิทึมและเอกซ์โปเนนเชียล
16.อนุพันธ์ของฟังก์ชันตรีโกณมิติ-เพิ่มเติม
17.อนุพันธ์ของฟังก์ชันอินเวอร์สของฟังก์ชันตรีโกณมิติ
18.อนุพันธ์ของฟังก์ชันอินเวอร์สตรีโกณมิติ-เพิ่มเติม
19.อนุพันธ์ของฟังก์ชันแฝง-เพิ่มเติม
20.อนุพันธ์ของฟังก์ชันแฝง
21.อนุพันธ์ของฟังก์ชันไฮเพอร์โบลิก
22.อนุพันธ์ในรูปของอัตราการเปลี่ยนแปลง
23.อนุพันธ์ในรูปฟังก์ชัน
24.แบบฝึกหัด-รวมอนุพันธ์-ชุด1
25.แบบฝึกหัดทบทวน-Midterm-แจกในห้อง

ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สรุป Man&Technology

วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้ง
กระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ 
เทคโนโลยี หมายถึง การนำความรู้ ทักษะ และทรัพยากร มาสร้างสิ่งของเครื่องใช้ หรือวิธีการ โดยผ่านกระบวนการเพื่อแก้ปัญหา สนองความต้องการ หรือเพิ่มความสามารถในการทำงานของมนุษย์และเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย
วิศวกรรม หมายถึง การสร้างสรรค์โดยการนำเอาหลักวิทยาศาสตร์มาใช้ออกแบบ พัฒนาสิ่งต่างๆหรือกระบวนการผลิต หรือกิจกรรมใดๆ ซึ่งใช้สิ่งต่างๆเหล่านี้ให้ประโยชน์ให้เต็มที่เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือยุคที่มนุษย์ล่าสัตว์และทำการเกษตรโดยใช้แรงงานสัตว์และมนุษย์
สังคมจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
  • 1.พวกคนป่า จะเป็นพวกที่ล่าสัตว์และเก็บพืชผักเพื่อดำรงชีพ
  • 2.พวกศิวิไลซ์ (พวกที่มีความเจริญ) จะมีการทำเกษตรกรรม อยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน มีการแบ่งชนชั้นและปกครองกันแบบอำนาจนิยมเบ็ดเสร็จ
ยุคอุตสาหกรรม คือยุคที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องจักรต่างๆเพื่อทุนแรงในการทำงานและเพิ่มปริมาณการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมกรม
ยุคหลังอุตสาหกรรม คือยุคที่ภาคสังคมเน้นการให้บริการ (service sector) เพราะให้ผลกำไรได้มากกว่าภาคการผลิตหรืออุตสาหกรรม (industrial or manufacturing sector) 

ความคัดแย้งในสังคมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ปรัปตัวได้กับปรับตัวไม่ได้ สำหรับกลุ่มที่ปรัปตัวไม่ได้จะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีรุนแรง เช่น 
อเมริกา : ความตึงเครียดทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างสังคมเกษตรกรรม (ทางใต้) และสังคมอุตสาหกรรม (ทางเหนือ) ทำให้เกิดสงครามกลางเมืองในปี ค.ศ. 1861
ญี่ปุ่น : ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1868 เกิดการโค่นทิ้ง ระบบเจ้าขุนมูลนาย ในปี ค.ศ. 1876 เกิดกบฏซัตซูมา ในปี ค.ศ. 1877 มีการปรับสร้างรัฐธรรมนูญแบบตะวันตก ในปี ค.ศ. 1889 สังคมอุตสาหกรรมได้เข้าแทนที่สังคมเกษตรกรรม
รัสเซีย : ปี ค.ศ. 1917 เกิดการต่อสู้เพื่อระบบอุตสาหกรรม โดยพวกบอลเชวิคได้กวาดล้างระบบทาสที่ดินและระบบเจ้าขุนมูลนาย กวาดล้างระบบเกษตรกรรม แล้วเอาระบบอุตสาหกรรมเข้ามาแทนที่

สิ่งที่หายไปหลังไปหลังยุคอุตสาหกรรม หรือ ธรรมนูญที่ถูกทำลาย มี 6 อย่างคือ 
1.การวางมาตรฐาน (STANDARDIZATION) ในยุคอุตสาหกรรมนั้นได้วางมาตรฐานให้แก่สิ้นค้าทุกชนิด รวมถึงการงานต่าง เช่น จำนวนเวลา เงินเดือน เป็นต้น เพราะสังคมยุคอุตสาหกรรมนั้นมองว่าการวางมาตรฐานนั้นมีประโยชน์มากและพยามนำไปใช้กับทุกๆสิ่ง
2.ความชำนานเฉพาะด้าน (SPECIALIZATION) เมื่อมีมาตรฐานเกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องมีผู้ชำนาญการพิเศษเฉพาะทาง เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้นมีการสร้างมืออาชีพ (Professionalization) มากขึ้นผู้เชี่ยวชาญได้แยกแขนงวิชาของตนเองออกไป และกีดกันไม่ให้คนนอกรู้เห็นและงานบางประเภทนั้นถึงคนงานไม่มีแขนไม่มีขาก็สามารถทำงานได้ มีคนวิจารณ์ว่า โรงงานทำให้หมดความเป็นคน   
3.การสร้างความพร้อมเพรียงกัน (SYNCHRONIZATION) ในยุคอุตสาหกรรมนั้นกล่าวว่า เวลา = เงิน เครื่องจักรแพงๆไม่สารมารถตั้งอยู่เฉยๆโดยไม่ทำงาน มันจะทำงานในจังหวะของมันเองและจะทำให้เกิดหลักเกณฑ์ กฎแห่งการประสานจังหวะความพร้อมเพรียงกัน
4.กฎแห่งการรวมหน่วย (CONCENTRATION) ยุคอุตสาหกรรมนั้นได้ผูกตัวเองอยู่กับพลังงานเชื้อเพลิงที่รวมไว้ที่ศูนย์หรือหน่วยใหญ่ ลักษณะที่เห็นได้ชัดในด้านประชากรที่รวมกันในภายใต้หลังคาเดียวกันและการรวมกระแสเงินทุน
5.การสร้างค่าสูงสุด (MAXIMIZATION) โลกอุตสาหกรรมนั้นมองว่าความเป็น “ที่สุด”นั้นคือความสำเร็จอย่างยิ่ง ความศรัทธาใน “คุณค่าสูงสุด”เกิดจากสมมุติฐานแบบกำปั่นทุบดินของยุคก่อนอุตสาหกรรมเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “ประสิทธิภาพ”และการรวบรวมข้อมูลต่างๆเข้าด้วนกันมาเป็นเครื่องมือทางสถิติที่เรียกว่า “ผลผลิตรวมยอดของประชาติ”(GNP)
6.การรวมเข้าที่ศูนย์กลาง (Centralization) เป็นการร่วมอำนาจและการลงทุนไว้ที่จุด
ศูนย์กลาง

รูปแบบการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 4 ช่องหลักคือ
1.ในยุคเกษตรกรรม การสื่อสารจำกัดเฉพาะชนชั้นสูง
2.ในยุคอุตสาหกรรม ระบบผูกขาดการสื่อสารได้ถูกทำลายลง และระบบไปรษณีย์มีความสำคัญเพิ่มยิ่งขึ้น
3.ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โทรศัพท์และโทรเลขได้ถูกประดิษฐ์ขึ้น และมีการใช้อย่างเต็มพิกัด
4.ในปัจจุบันมีการผลิตสื่อเพื่อมหาชน โดยผู้ส่งสารไม่รู้จักผู้รับสาร ทำให้เกิดสื่อมวลชน

พลังงาน คือ ความสามารถในการทำงานและพลังงาน เป็นที่รู้จักและปรากฏหลากหลาย รูปแบบ เช่น พลังงานจลน์ พลังงานศักย์ ความร้อนฯ และพลังนนั้นก่อให้เกิดแรงหรือความร้อน หน่วยในการวัดพลังงานมีหนว่ยมี 2 หนว่ยคือ
1.หน่วยในระบบ SI – จูล (Joule หรือชื่่อย่อ J)
2.หน่วยที่ใช้ทั่วไป – แคลลอรี (Calorie, 1 Cal = 4.184 J) และ กำลัง x เวลา เช่น kW-h

*วิธีคิดกำลังไฟในบ้าน ตัวอย่างเช่น     
พลังงานไฟฟ้า (หน่วย) = กำลังไฟฟ้า (กิโลวัตต์ ) x เวลา ( ชั่วโมง )
กำลังไฟฟ้า = 2,000 วัตต์ =  = 2 กิโลวัตต์
เวลาที่ใช้ = 2 ชั่วโมง
แทนค่า พลังงานไฟฟ้า = 2 X 2 = 4 หน่วย
จะใช้พลังงานไฟฟ้าไป 4 หน่วย
 ถ้าพลังงานไฟฟ้าหน่วยละ 2.50 บาท จะเสียเงินค่าพลังงานไฟฟ้า = 4 X 2.50 = 10 บาท

Green House Effects แปลเป็นภาษาไทยก็คือสภาวะเรื่อนกระจกมีผลในแง่ดีกับโลกคือ ทำให้อุณหภูมิบนผิวโลกสูงเพียงพอที่ทำให้สิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่บนผิวโลกได้ แต่ถ้ามากไปก็ก่อให้เกิดปัญหา
สภาวะโลกร้อน (Global Warming)
คุณสมบัติของแก๊สเรือนกระจก เป็นแก๊สที่สามารถดูดกลืนหรือปลดปล่อยแสงในช่วง
อินฟราเรดได้ส่วนใหญ่คือแก๊สที่ประกอบไปด้วยสองหรือสามอะตอม เช่น CO 

พลังงานทดแทน คือ พลังงานที่ใช้แล้วไม่หมดไป มี
• พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy)
• พลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ (Solar Thermal Energy)
• พลังงานลม (Wind Energy)
• พลังงานน้ า (Hydro power)
• พลังงานชีวมวล (Biomass Energy)
• เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel)
• พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal energy)
พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) คือ พลังงานจากดวงอาทิตย์จัดเป็นพลังงานหมุนเวียนที่สำคัญที่สุดเป็นพลังงานสะอาดไม่ทำปฏิกิริยาใดๆอันจะทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ ฉะนั้นจึงถูกนำมาผลิตไฟฟ้าและเป็นพลังงานทางเลือกที่มีมาสักพักใหญ่ๆแล้ว
พลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ (Solar Thermal Energy) คือ คือพลังงานความร้องจากดวงอาทิตย์ที่นำไปใช้ผลิตไฟฟ้าคล้ายๆกับพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Energy) แต่พลังงานความร้อนแสงอาทิตย์จะนำเอาความร้อนไปต้มนํ้าและนํ้า ไอนํ้าที่ได้ไปผลิตไฟฟ้า
พลังงานลม (Wind Energy) คือ พลังงานที่ได้จากการลมพัดทำให้กังหันลมหมุนด้วยไดนาโมและนำพลังงานจากการหมุนไดนาโมไปผลิตไฟฟ้า  
พลังงานนํ้า (Hydro Energy) คือ คือพลังงานความที่ได้จากการใช้นํ้าหมุนกังหนและนํ้าพลังงานจากการหมุนไปผลิตไฟฟ้าหลักการเดียวกับการใช้พลังงานลม
พลังงานชีวมวล (Biomass) คือ พลังงานเชื้อเพลิงที่มาจากชีวะหรือสิ่งมีชีวิตรวมถึงมูลสัตว์และของเสียซึ่งนำสิ่งเหล่านี้ไปเผาให้ความร้อนและนำความร้อนที่ได้มาไปต้มนํ้าเพื่อเอาไอนํ้ามาผลิตกระแสไฟฟ้า
เชื้อเพลิงชีวภาพ (BioFuel) คือ พลังงานที่ได้จากพืชพลังงานมาผลิตพลังเป็นพลังงานนํ้ามันต่างๆ เช่น ไบโอดีเซล เมธิลเอสเทอร์ B5
พลังงานความร้อนใต้พิภพ คือ พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นพลังงานความร้อนที่สะสมในแกนโลก
พืชพลังงาน คือ พืชที่นำไปผลิตเป็นพลังงาน เช่น อ้อย ข้าวโพด มันส าปะหลัง  ข้าวฟ่างหวานเอาไปทาเอธานอล นํ้ามันสบู่ดำ มะพร้าว ทานตะวัน ถั่วเหลือง เมล็คเรพ และน้ ามันปาล์ม เอาไปผลิตไบโอดีเซล นอกเหนือจากพืชพลังงานแล้วยังสามารถใช้ นํ้ามันพืชและนํ้ามันสัตว์ที่ใช้แล้วไปผลิตไบโอดีเซลได้
ไบโอดีเซล คือ สารผสมระหว่างนํ้ามันดีเซล กับสารสังเคราะห์มาจากนํ้ามัน/ไขมันธรรมชาติ ที่เรียกว่า “เมธิลเอสเทอร์” (Methyl Ester)
เมธิลเอสเทอร์ เป็นเชื้อเพลิงเหลวที่ผลิตจากนํ้ามันพืชและไขมันสัตว์ นำมาทำปฏิกิริยาเคมี “transesterrification” ร่วมกับเมธานอลจนเกิดเป็นสารเอสเทอร์ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับนํ้ามันดีเซล 

B5 คือ ไบโอดีเซลที่มีส่วนผสมของ นํ้ามันดีเซล 95% และ เมธิลเอสเทอร์ 5%
แก็สโซฮอล์ 91 = แอลกอฮอล์ 10% + เบนซิน
แก็สโซฮอล์ 95 = แอลกอฮอล์ 10% + เบนซิน  = E10
E20 = แอลกอฮอล์ 20% + เบนซิน
E85 = แอลกอฮอล์ 85% + เบนซิน
ถ่านหิน คือ หินตะกอนชนิดหนึ่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมของซากพืชในยุคดึกดำบรรพ์เป็นเวลายาวนานหลายล้านปี จนตะกอนนั้น ได้เปลี่ยนสภาพไปและมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นธาตุคาร์บอน โดยมีธาตุอื่นๆทั้ง ที่เป็นก๊าซและของเหลวปนอยู่ด้วยในสัดส่วนที่น้อยกว่าและเป็นแร่เชื้อ เพลิงสามารถติดไฟได้แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่
1. พีต (Peat) (เป็นถ่านที่แย่ที่สุด)
2. ลิกไนต์ (Lignite) (เป็นถ่านที่ประเทศไทยใช้)
3. ซับบิทูมินัส (Subbituminous)
4. บิทูมินัส (Bituminous)
5. แอนทราไซต์ (Anthracite) (เป็นถ่านที่ดีที่สุด)
ปิโตเลียม คือนํ้ามันที่ได้จากหินซึ่งปิโตรเลียมนั้นเป็นสารผสมระหว่างสารประกอบไฮโดรคาร์บอนและสารอินทรีย์หลายชนิดที่เกิดตามธรรมชาติทั้งในสถานะของเหลวและแก๊ส ได้แก่ นํ้ามันดิบ (Crude oil) และแก๊สธรรมชาติ(Natural gas)
 
การกำเนิดปิโตเลียม : เกิดขึ้นจากการสลายไฮโดรคาร์บอนด้วยความร้อนในปฏิกิริยาดูดความ
ร้อนเป็นหลักที่อุณหภูมิหรือ ความดันสูงหลายปฏิกิริยา

สัดส่วนในการกลั่นปิโตเลียมในหอกลั่น ก๊าซหุงต้ม 5 % เบนซิน 22 % นํ้ามันเครื่องบิน 11 %
ดีเซล 38 % นํ้ามันเตา 21 % และเป็นเชื้อเพลิงการกลั่น 3 % ตามลำดับ

วิธีการสำรวจปิโตเลียม มี 3 วิธี 
 1.การสำรวจเส้นแรงโน้มถ่วง (Gravity Survey)
 2.การสำรวจเส้นแรงแม่เหล็กโลก (Magnetic Survey)
 3.การสำรวจคลื่นไหวกระเทือน (Seismic Survey)*เป็นวิธีที่ดีที่สุด
เครื่องเร่งอนุภาค คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้เร่งอนุภาคที่มีประจุ(ไฟฟ้า)ให้มีพลังงานเพิ่มขึ้น โดยที่อนุภาคที่มีประจุได้แก่ อิเล็กตรอน โพสิตรอน หรือไอออน
อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เครื่องเร่งในชีวิตประจำวัน เช่น ทีวี เครื่องฉายรังสี X-ray ในโรงพยาบาลหรือสนามบิน

ปรากฏการของแสง เช่น ปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก เป็นปรากฏการณ์ที่อิเล็กตรอนหลุดออกจากสสาร (เรียกสสารเหล่านี้ว่า โฟโตอีมิสสีฟ) เมื่อสสารนั้นสัมผัสกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่สูง (ความยาวคลื่นตํ่า พลังงานสูง เช่น รังสีอัลตราไวโอเล็ต) และเรียกอิเล็กตรอนที่หลุดออกมาว่า โฟโตอิเล็กตรอน
โฟตอน คือ อนุภาคของแสง เกิดจากปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก
การแบ่งช่วงของแสง เราสามารถแบ่งได้โดยความยาวคลื่น

ข้อดีของหลอด LED เทียบกับหลอดฟูลออเรสเซนต์
1.มีความสว่างมากกว่า
2.มีขนาดเล็กกว่าง่ายต่อการนำไปประยุกต์ใช้และง่ายต่อการที่ออกแบบให้มีการโฟกัสแสง
3.ไม่ใช้ฟิลเตอร์ในการสร้างสีเหมือนหลอดฟลูออเรสเซนซ์ ทำให้ลดต้นทุนได้มากกว่า
4.เปิดและปิดได้เร็วกว่าหลอดฟลูออเรสเซนซ์
5.สามารถลดความสว่างของหลอดไปไฟได้แต่หลอดฟลูออเรสเซนน์นั้นไม่สามารถทำได้
6.มีความร้อนน้อยกว่า
7.มีอายุการใช้งานมากกว่าหลายเท่าตัว
8.ทนทานต่อการกระแทก
 ข้อเสีย
 1.มีราคาแพงกว่า
 2.ประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ไม่ชอบอุณภูมิสูงหรือตํ่าเกินไป
 3.สเปกตรัมแสงสีขาวเพี้ยนไปจากธรรมชาติและความสว่างยังขึ้นอยู่ศักย์ไฟฟ้า
 4.ใช้ไฟกระแสตรงและยังต้องต่อขั้วบวก/ลบให้ถูกต้อง
 เลเซอร์ ที่ใช้ในปัจจุบันจะใช้ในการตัด เจาะ เชื่อม ส่วนในทางการแพทย์ก็จะใช้ในการผ่าตัดเล็กๆและการลบรอยแผล รอยไหม้และไฝต่างๆ การสื่อโทรคมนาคมและในอุปกรณ์ในชีวิตประจําวัน อีกมากมาย เช่น เลเซอร์พอยน์เตอร์ เลเซอร์พรินเตอร์ เครื่องเสียงคอมแพกดิสก์ เครื่องวิดีโอเลเซอร์
ดิสก์ เครื่องสแกนบาร์โค๊ด เครื่องเล่น CD DVD Blu-Ray และอื่นๆอีกมากมาย
 ปฏิกิริยานิวเคลียร์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.นิวเคลียร์ฟิวชัน เป็นปฏิกิริยาที่นิวเคลียสของธาตุที่เบาสองนิวเคลียสมารวมกัน แล้วกลายเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่าพร้อมกับมีพลังมหาศาลออกมาด้วย การเกิดปฏิกิริยานี้นิวเคลียสเบานั้นจะมีความเร็วสูงมากหรืออยู่ในสภาพที่มีความร้อนสูงมากหลายร้อยล้านองศาจึงจะรวมกันได้ ปัจจุบันธาตุที่เบาที่เกิดปฏิกิริยาฟิวชันคือไฮโดรเจน
2.นิวเคลียร์ฟิชชัน เป็นกระบวนการเกิดขึ้นที่นิวเคลียสของอะตอม ฟิชชันเกิดขึ้นเมื่อนิวเคลียสแบ่งออกเป็นนิวเคลียสที่เล็กลง 2 หรือ 3 นิวเคลียส โดยทำให้เกิดผลพลอยได้ในรูปอนุภาคหรือรังสี
ออกมาด้วย ฟิชชันจะมีการปลดปล่อยพลังงานปริมาณมากออกมา
**ระเบิดนิวเคลียร์ถูกใช้ครั้งแรกที่ประเทศญี่ปุ่น ที่เมืองฮิโรชิมาด้วยระเบิด Little Boy และ
**ครั้งที่สองใช้ที่ประเทศญี่ปุ่น ที่เมืองนากาซากิด้วยระเบิด Fat Man 

**การที่จะทำให้เกิดการฟิชชั่นของระเบิดนิวเคลียร์นั้นทำได้โดย ทำให้มวลของธาตุกัมมันตรังสีเกินค่ามวลวิกฤต (U-235 และ Pu-239 มีค่า 52 kg และ 10 kg ตามลำดับ) เมื่อเกินแล้วจะเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ของฟิชชันเกินค่าที่ควบคุมได้จึงทำเกิดการระเบิดในทันที

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ฟิสิกส์ : ฟิสิกส์นิวเคลียร์

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

ฟิสิกส์ : ฟิสิกส์อะตอม

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

ฟิสิกส์ : แม่เหล็กไฟฟ้า,สนามแม่เหล็ก,เส้นแรงไฟฟ้า,จุดสะเทิน,ความเข้มสนามแม่เหล็ก,การสร้างสนามแม่เหล็ก

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

thebag101.blogspot.com

ฟิสิกส์ : ไฟฟ้ากระแสตรง,ความต่างศักย์,และแรงเคลื่อนไฟฟ้า

thebag101.blogspot.com
(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย)

ฟิสิกส์ : แรงระหว่างประจุ,สนามไฟฟ้า,จุดสะเทินในสนามไฟฟ้า,ปริมาณทางไฟฟ้าสถิต,ความต่างศักย์,สนามไฟฟ้า

http://thebag101.blogspot.com/

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

http://thebag101.blogspot.com/

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

http://thebag101.blogspot.com/

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

http://thebag101.blogspot.com/

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

http://thebag101.blogspot.com/

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย) 

http://thebag101.blogspot.com/

ฟิสิกส์ : ของไหล,สมการอัตราการไหล,สมการแบร์นูลลี่,แรงลอยตัว,แรงตึงผิว,กฏของพาสคัล,แบรอมิเตอร์,หลอดรูปตัวยู,การลักนํ้า,แมนอมิเตอร์

http://thebag101.blogspot.com/

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย)
http://thebag101.blogspot.com/

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย)

http://thebag101.blogspot.com/

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย)

http://thebag101.blogspot.com/

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย)

http://thebag101.blogspot.com/

(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย)
http://thebag101.blogspot.com/

ฟิสิกส์ : ของแข็ง,ความเค้น,ความเครียด

http://thebag101.blogspot.com/
(คลิ๊กรูปเพื่อขยาย)

มุมแนะนำ