มุมแนะนำ

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

พันธะโคเวเลนต์


พันธะโคเวเลนต์
1).ธาตุคู่พันธะ: เกิดจาการเข้าทำพันธะของธาตุอโลหะและ ธาตุอโลหะ (อโลหะ+อโลหะ)
2).สารประกอบที่ได้: เรียกว่าสารประกอบโคเวเลนต์
3).การใช้งานอิเล็กตรอน: เกิดอะตอมของธาตุอโลหะพยายามจะทำให้ตัวเองมีอิเล็กตรอนครบแปด จึงไปขอใช้อิเล็กตรอนกับธาตุโลหะอะตอมอื่น(อาจเป็นธาตุเดียวกันหรือต่างกันก็ได้)โดยการที่จะไปขอใช้นั้นต้องนำอิเล็กตรอนไปแลกด้วย จึงเกิดอิเล็กตรอนจำนวนหนึ่งที่มีการใช้งานร่วมกันของอะตอมอโลหะทั้งสองอะตอม เรียกว่า พันธะโคเวเลนต์
4).สูตรสารประกอบ: ธาตุคู่พันธะหนึ่งๆสามารถเกิดพันธะได้หลายแบบ(พันธะเดี่ยว,พันธะคู่,พันธะสาม)ดังนั้น สารประกอบโคเวเลนต์จึงไม่มีสูตรสารประกอบที่แน่นอน
5).ค่าΔEN: ต่างกันน้อย จนถึงไม่แตกต่างเลย(เกิดกับพันธะโคเวเลนต์ที่ธาตุเดียวกันทำพันธะกัน)
6).ความแข็งแรงของพันธะ: พันธะโคเวเลนนต์มีความแข็งแรงน้อยกว่าพันธะโลหะแลพันธะไอออนิก เพราะไม่ได้เกิดจากไอออนบวกและลบดึงดูดกันอย่างชัดเจน แต่เกิดจากนิวเคลียสของธาตุคู่รวมพันธะดึงดูดกัน
7).ลักษณะของสารประกอบ: สารประกอบโคเวเลนต์มีได้ทั้ง3สถานะที่ RTP(Room Temperature and Pressure)ไม่นำไฟฟ้าทั้งในสภาพของแข็งและของเหลว จุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำ เนื่องจากการเปลี่ยนสถานะป็นการทำลายแรงระหว่างโมเลกุล ไม่ได้ทำลายพันธะโคเวเลนต์
8).หน่วยเล็กที่สุดของสารประกอบโคเวเลนต์: โมเลกุล


นํ้า


น้ำ
ประเภทของน้ำแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
                1.น้ำอ่อน(Soft water) คือ น้ำที่ให้ฟองสบู่ได้มาก ไม่มีไคลสบู่ และล้างสบู่ออกได้ยาก เช่น น้ำกลั่น น้ำฝน น้ำประปา
                2.น้ำกระด้าง(Hard water) คือ น้ำที่ให้ฟองสบู่ได้น้อย และไม่มีไคลสบู่ เช่น น้ำคลอง น้ำทะเล น้ำกระด้างเป็นน้ำที่มีแคลเซียมคอไรด์ แคลเซียมซัลเฟต แคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต แมกนีเซียมคลอไรด์ แมกนีเซียมซัลเฟต แมกนีเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต
                น้ำกระด้างแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
                1.น้ำกระด้างชั่วคราว คือ น้ำกระด้างเมื่อต้มแล้วหายกระด้าง
                2.น้ำกระด้างถาวร คือ น้ำกระด้างเมื่อต้มแล้วไม่หายกระด้าง
น้ำกระด้างชั่วคราว มีสารพวกแคลเซียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต หรือ แมกนีเซียมไฮโรเจนคาร์บอเนตละลายอยู่ เมื่อได้รับความร้อนจะเปลี่ยนเป็นสารพวกคาร์บอเนตตกตะกอน
น้ำกระด้างถาวร มีสารพวกแคลเซียมคลอไรด์ แคลเซียมซัลเฟต แมกนีเซียมคลอไรด์ แมกนีเซียมชัลเฟตละลายอยู่ เมื่อได้รับความร้อนไม่สลายตัว


การระเหย


    การระเหย (Evaporation)
·         หมายถึง: การเปลี่ยนของเหลวเป็นแก๊สอย่างช้าๆ ที่อุณหภูมิของเหลวต่ำกว่าจุดเดือด เป็นกระบวนการดูดความร้อนเสมอ
·         ปัจจัยที่มีผลต่อการระเหย: 1.อุณหภูมิยิ่งสูงยิ่งระเหยมาก
              2.ของเหลวยิ่งมีพื้นที่ผิวหน้ามาก ยิ่งระเหยมาก
                                                                 3.ของเหลวแรงระหว่างโมเลกุลต่ำ ระเหยได้ง่าย
                                                                  4.จำนวนโมเลกุลแก๊สเหนือผิวหน้า ยิ่งน้อยยิ่งระเหยได้ดี
ความดันไอ(Vapor Pressure)
·         หมายถึง: แรงดันไอของของเหลวที่กระทำต่อพื้นผิวภาชนะ 1หน่วยตารางเมตร
·         เกิดจาก: การที่ของเหลวระเหยกลายเป็นไอ และไอของเหลวนั้นออกแรงดันภาชนะ
·         ปัจจัยที่มีผลต่อความดันไอ: 1.แรงระหว่างโมเลกุลของของเหลว ถ้าแรงระหว่างโมเลกุลต่ำความดันไอจะมาก
             2.อุณหภูมิของของเหลว ถ้าอุณหภูมิสูงความดันไอจะเพิ่ม
             3.พื้นที่ผิวหน้าไม่มีผลต่อความดันไอ(แต่มีผลต่อการระเหย)

มุมแนะนำ