มุมแนะนำ

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

พันธะโคเวเลนต์


พันธะโคเวเลนต์
1).ธาตุคู่พันธะ: เกิดจาการเข้าทำพันธะของธาตุอโลหะและ ธาตุอโลหะ (อโลหะ+อโลหะ)
2).สารประกอบที่ได้: เรียกว่าสารประกอบโคเวเลนต์
3).การใช้งานอิเล็กตรอน: เกิดอะตอมของธาตุอโลหะพยายามจะทำให้ตัวเองมีอิเล็กตรอนครบแปด จึงไปขอใช้อิเล็กตรอนกับธาตุโลหะอะตอมอื่น(อาจเป็นธาตุเดียวกันหรือต่างกันก็ได้)โดยการที่จะไปขอใช้นั้นต้องนำอิเล็กตรอนไปแลกด้วย จึงเกิดอิเล็กตรอนจำนวนหนึ่งที่มีการใช้งานร่วมกันของอะตอมอโลหะทั้งสองอะตอม เรียกว่า พันธะโคเวเลนต์
4).สูตรสารประกอบ: ธาตุคู่พันธะหนึ่งๆสามารถเกิดพันธะได้หลายแบบ(พันธะเดี่ยว,พันธะคู่,พันธะสาม)ดังนั้น สารประกอบโคเวเลนต์จึงไม่มีสูตรสารประกอบที่แน่นอน
5).ค่าΔEN: ต่างกันน้อย จนถึงไม่แตกต่างเลย(เกิดกับพันธะโคเวเลนต์ที่ธาตุเดียวกันทำพันธะกัน)
6).ความแข็งแรงของพันธะ: พันธะโคเวเลนนต์มีความแข็งแรงน้อยกว่าพันธะโลหะแลพันธะไอออนิก เพราะไม่ได้เกิดจากไอออนบวกและลบดึงดูดกันอย่างชัดเจน แต่เกิดจากนิวเคลียสของธาตุคู่รวมพันธะดึงดูดกัน
7).ลักษณะของสารประกอบ: สารประกอบโคเวเลนต์มีได้ทั้ง3สถานะที่ RTP(Room Temperature and Pressure)ไม่นำไฟฟ้าทั้งในสภาพของแข็งและของเหลว จุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำ เนื่องจากการเปลี่ยนสถานะป็นการทำลายแรงระหว่างโมเลกุล ไม่ได้ทำลายพันธะโคเวเลนต์
8).หน่วยเล็กที่สุดของสารประกอบโคเวเลนต์: โมเลกุล


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ