มุมแนะนำ

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

เวลาต้มอาหารนาน ๆคุณค่าอาหารจะยังคงอยู่หรือไม่


เวลาต้มอาหารนาน ๆคุณค่าอาหารจะยังคงอยู่หรือไม่

ผักมีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น ช่วยในการขับถ่ายทำให้ไม่อ้วน เป็นต้น แต่บางคนนิยมรับประทานผักที่ต้มนาน ๆ เช่น ต้มจับฉ่าย คำถามคือ ผักที่ต้มนาน ๆ จะยังคงคุณค่าสารอาหารอยู่หรือไม่
.ดร.อรอนงค์ นัยวิกุล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร คณะอุตสาหกรรมเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อธิบายว่า การต้ม หรือตุ๋น อาหารนาน ๆ ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของอาหารและวิธีการปรุงอาหารแต่ละชนิด เช่น การหุงข้าวกล้องใช้เวลานานกว่าข้าวขาวเนื่องจากในข้าวกล้องมีเยื่อหุ้มเมล็ด ซึ่งเยื่อหุ้มเมล็ดนี้จะทำหน้าที่ป้องกันการซึมข้าวของน้ำ ทำให้น้ำซึมเข้าไปในเมล็ดข้าวช้ากว่าในข้าวขาวจึงใช้เวลาในการหุงนานกว่า
แต่ถ้าเปรียบเทียบคุณค่าทางอาหารระหว่างข้าวขาวกับข้าวกล้องแล้ว ข้าวกล้องจะให้คุณค่าทางอาหารมากกว่าข้าวขาว ในกรณีของต้มจับฉ่ายต้องแยกพิจารณาออกเป็น2 กรณี กรณีที่ 1 คือ เนื้อสัตว์ต้ม จับฉ่ายจะอร่อยก็ต้องมีเนื้อหมูซึ่งเนื้อหมูถ้าตุ๋นหรือต้มนานๆ ก็ยังให้คุณค่าของโปรตีนอยู่ เมื่อถูกความร้อนนานๆ โปรตีนจะแตกตัวเป็นกรดอะมิโน ที่มีโมเลกุลเล็กลงช่วยให้กระเพาะของเราย่อยง่ายขึ้น กรณีที่ 2 คือ ผักที่ใส่ลงไป ในผักมีวิตามิน ความร้อนจะทำให้ผักสูญเสียวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบี ถ้าผักที่ต้มหรือตุ๋นนานๆ วิตามินในผักก็จะลดลง แต่ในกรณีของเนื้อเราจะได้โปรตีนจากการต้มหรือตุ๋นไม่แตกต่างกัน เพราะฉะนั้นในการบริโภคผักควรจะบริโภคผักสดหรืออาจจะนำมาลวก แต่ถ้านำผักไปต้มนานๆ จะทำให้ผักสูญเสียวิตามินจะเหลือแค่เส้นใยอาหารเท่านั้น
การต้มผักให้นิ่ม สารอาหารต่าง ๆ โดยเฉพาะวิตามินและแร่ธาตุจะละลายออกไปอยู่ในน้ำต้มผักบ้าง ดังนั้นน้ำต้มผักจะมีคุณค่ามากน้อยแค่ไหนขึ้นกับชนิดของผักที่นำมาต้ม และใช้อุณหภูมิสูงมากน้อยแค่ไหน ถ้าใช้อุณหภูมิสูงและใช้เวลาต้มนานมากจะทำให้วิตามินบางตัวถูกทำลายไปบ้าง ขณะเดียวกันแร่ธาตุบางตัวก็ต้องใช้เวลานานจึงจะละลายตัวออกมาในน้ำต้มผักวิตามินแต่ละตัวจะสูญเสียไปไม่เท่ากัน


คาสต์ (karst topography)


คาสต์ (karst topography)

ประเด็นน่าสนใจ ในเรื่องของ ภูมิประเทศแบบคาสต์ (karst topography) เป็นศัพท์ที่มาจากภาษาเยอรมัน ที่ปรับปรุงมาจากภาษาสลาวิกเก่าใช้เรียกพื้นที่บริเวณประเทศสโลวาเกีย หมายถึงแผ่นดินที่แห้งแล้งปราศจากพืช (barren land)พื้นที่หลายบริเวณของผิวโลก ประกอบด้วยหินปูนหรือหินที่สามารถทปฏิกิริยากับน้ำฝนและน้ำใต้ดิน ส่งผลทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศเฉพาะ ซึ่งเกิดขึ้นทั้งผิวโลก และใต้พื้นโลก โดย คาสต์ เป็นลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหลุม เป็นเขา ที่พัฒนาขึ้นจากกระบวนการกร่อนของน้ำใต้ดินเป็นหลัก ในบริเวณพื้นที่ที่ประกอบด้วยหินคาร์บอเนต หินเกลือจืด (ยิปซั่ม และเกลือหิน)ลักษณะภูมิลักษณ์ที่สำคัญของคาสต์ มีดังต่อไปนี้
1. หลุมยุบ (sinkhole หรือ doline หรือ leach hole)
2. ยูวาลา (uvala) หรือ หลุมยุบที่เชื่อมต่อกัน
3. ถ้ำ (caves) ถ้ำหลวง กลุ่มถ้ำ หรือโพรงใต้ดินขนาดใหญ่ (cavern)
4. น้ำพุ น้ำผุดธารน้ำลอด
5. ธารน้ำดิน (disappearing streams)
6. ภูเขาหินปูนที่สูงชัน
7. ดินแดง ดินเทอร์รา โรซา (terra rosa)
กระบวนการเกิดโดยทั่วไป เมื่อน้ำฝนเริ่มไหล และซึมผ่านลงในพื้นที่ที่ประกอบด้วยหินปูน (หรือหินที่สามารถละลายน้ำได้)น้ำฝนจะเริ่มทำปฏิกิริยากับแร่ประกอบหิน (แคลไซต์หรือ โดโลไมต์) โดยกระบวนการผุผังทางเคมี (chemicalweathering) เนื่องจากน้ำฝนและน้ำใต้ดินมีสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ (กรดคาร์บอนิก) รอยแตกและระนาบการวางตัวของชั้นหินปูนเป็นบริเวณที่น้ำซึมผ่านได้ง่ายเมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดโพรงขนาดใหญ่และช่องว่างใต้ผิวโลก และเกิดการยุบตัวเป็นหลุมยุบ และภูเขา (พื้นที่สูง)ในการสอนครูผู้สอนควรนำรูปภาพลักษณะองค์ประกอบของคาสต์มาแสดงให้นักเรียนเห็นเพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับธรณีวิทยาต่อไป


ดาวอังคารใหญ่เท่าจันทร์เพ็ญ


จะเห็นดาวอังคารใหญ่เท่าจันทร์เพ็ญ
เรื่องนี้เข้าใจผิดอย่างชัดๆ เพราะไม่มีดาวดวงใดที่ปรากฏเป็นดวงกลมโตเท่าดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์ ที่เราเห็นดวงจันทร์เพ็ญเป็นรูปวงกลมมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุมประมาณ 30 ลิปดา เท่าดวงอาทิตย์ทั้ง ๆ ที่ดวงอาทิตย์มีเส้นผ่านศูนย์กลางที่แท้จริงประมาณ 400 เท่าของดวงจันทร์ เพราะดวงจันทร์อยู่ใกล้โลกมากกว่าดวงอาทิตย์ โดยระยะทางของดวงอาทิตย์ยาวกว่าระยะทางของดวงจันทร์ประมาณ 400 เท่าดาวเคราะห์อยู่ในระบบสุริยะจึงอยู่ใกล้โลก แต่ไม่ใกล้ขนาดดวงจันทร์ ในตำแหน่งใกล้โลกที่สุดของดาวเคราะห์แต่ละดวงปรากฏว่าดาวศุกร์โตที่สุด (มีขนาดเชิงมุมประมาณเกือบ1 ลิบดา) รองลงไปคือ ดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ ส่วนดาวอังคารมีขนาดเชิงมุมน้อยกว่า 25 พิลิปดา แล้วจะไปเห็นดาวอังคารโตเท่าจันทร์เพ็ญได้อย่างไรเรื่องเล่าลือผิด ๆ นี้เกิดจากการส่งข่าวทางอีเมลล์ซึ่งเกิดขึ้นก่อนการเข้าใกล้กันที่สุดของโลกกับดาวอังคารเมื่อวันที่ 27สิงหาคม ค.. 2003 เป็นสถิติที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลกที่สุดในรอบ 60,000 ปี เมื่อส่องผ่านกล้องโทรทรรศน์จะเห็นดาวอังคารเป็นดวงกลมโต ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเชิงมุม 25.1พิลิปดา ใหญ่ที่สุด ใหญ่กว่าทุกครั้งที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลก แต่ก็ยังเล็กกว่าจันทร์เพ็ญ เมื่อเทียบกันแล้ว จันทร์เพ็ญใหญ่กว่าดาวอังคารไม่น้อยกว่า 75 เท่า
ในอีเมล์ฉบับแรกที่ส่งข่าวดาวอังคาร กล่าวว่า ถ้ากล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยาย 75 เท่า จะเห็นดาวอังคารโตเท่าจันทร์เพ็ญที่ดูด้วยตาเปล่า นั่นคือ เอา 75 คูณด้วย25.1 พิลิปดา จะได้ 31.4 ลิปดา ซึ่งโตกว่าขนาดปรากฏของดวงจันทร์เมื่อดูด้วยตาเปล่า ข้อความนี้จึงเป็นจริงสำหรับภาพจากกล้องโทรทรรศน์แต่โชครายคือคำที่เกี่ยวกับกล้องโทรทรรศน์และกำลังขยายโดยกล้องโทรทรรศน์ไมปรากฏอยู่ในคำบอกกล่าวอื่น ๆ ในเวลาต่อมา คงเหลือไว้เพียงแต่คำว่าจะเห็นดาวอังคารโตกว่าดวงจันทร์ ข่าวอีเมลแบบนี้แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว แม้กระทั่งบัดนี้ข่าวทางอีเมลเกี่ยวกับดาวอังคารจะปรากฏโตเท่าดวงจันทร์เพ็ญก็ยังมีอยู่ทุกครั้งที่ดาวอังคารอยู่ใกล้โลกที่สุด นี่คือข่าวที่เป็นมาตั้งแต่ค.. 2003 จนถึงปัจจุบัน


มุมแนะนำ