มุมแนะนำ

วันพุธที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2555

คาสต์ (karst topography)


คาสต์ (karst topography)

ประเด็นน่าสนใจ ในเรื่องของ ภูมิประเทศแบบคาสต์ (karst topography) เป็นศัพท์ที่มาจากภาษาเยอรมัน ที่ปรับปรุงมาจากภาษาสลาวิกเก่าใช้เรียกพื้นที่บริเวณประเทศสโลวาเกีย หมายถึงแผ่นดินที่แห้งแล้งปราศจากพืช (barren land)พื้นที่หลายบริเวณของผิวโลก ประกอบด้วยหินปูนหรือหินที่สามารถทปฏิกิริยากับน้ำฝนและน้ำใต้ดิน ส่งผลทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศเฉพาะ ซึ่งเกิดขึ้นทั้งผิวโลก และใต้พื้นโลก โดย คาสต์ เป็นลักษณะภูมิประเทศที่เป็นหลุม เป็นเขา ที่พัฒนาขึ้นจากกระบวนการกร่อนของน้ำใต้ดินเป็นหลัก ในบริเวณพื้นที่ที่ประกอบด้วยหินคาร์บอเนต หินเกลือจืด (ยิปซั่ม และเกลือหิน)ลักษณะภูมิลักษณ์ที่สำคัญของคาสต์ มีดังต่อไปนี้
1. หลุมยุบ (sinkhole หรือ doline หรือ leach hole)
2. ยูวาลา (uvala) หรือ หลุมยุบที่เชื่อมต่อกัน
3. ถ้ำ (caves) ถ้ำหลวง กลุ่มถ้ำ หรือโพรงใต้ดินขนาดใหญ่ (cavern)
4. น้ำพุ น้ำผุดธารน้ำลอด
5. ธารน้ำดิน (disappearing streams)
6. ภูเขาหินปูนที่สูงชัน
7. ดินแดง ดินเทอร์รา โรซา (terra rosa)
กระบวนการเกิดโดยทั่วไป เมื่อน้ำฝนเริ่มไหล และซึมผ่านลงในพื้นที่ที่ประกอบด้วยหินปูน (หรือหินที่สามารถละลายน้ำได้)น้ำฝนจะเริ่มทำปฏิกิริยากับแร่ประกอบหิน (แคลไซต์หรือ โดโลไมต์) โดยกระบวนการผุผังทางเคมี (chemicalweathering) เนื่องจากน้ำฝนและน้ำใต้ดินมีสมบัติเป็นกรดอ่อนๆ (กรดคาร์บอนิก) รอยแตกและระนาบการวางตัวของชั้นหินปูนเป็นบริเวณที่น้ำซึมผ่านได้ง่ายเมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดโพรงขนาดใหญ่และช่องว่างใต้ผิวโลก และเกิดการยุบตัวเป็นหลุมยุบ และภูเขา (พื้นที่สูง)ในการสอนครูผู้สอนควรนำรูปภาพลักษณะองค์ประกอบของคาสต์มาแสดงให้นักเรียนเห็นเพื่อกระตุ้นให้เกิดความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับธรณีวิทยาต่อไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ