มุมแนะนำ

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

รัฐศาสตร์และการเมืองการปกครอง



1.รัฐ คือ ชุมชนทางการเมืองที่ประกอบไปด้วย ประชากร ดินแดน รัฐบาล และอำนาจอธิปไตย
1.ดินแดน ต้องมีอาณาเขตและดินแดนที่แน่นอน ส่วนขนาดนั้นไม่มีการจำกัดเนื้อที่ ประกอบด้วยแผ่นดิน น่านนํ้า น่านฟ้า
2.ประชากร ประชากรที่เป็นพลเมองของรัฐต้องมีสิทธิ เสรีภาพและหน้าที่ตามที่รัฐกำหนดไว้
3.รัฐบาคือ คณะบุคคลที่ทำหน้าที่ปกครองรัฐ มีที่มาจากการเสือกตั้ง การแต่งตั้ง การยึดอำนาจ การสืบสายโลหิต แต่ต้องเป็นคณะบุคคลที่มีอำนาจชอบธรรมในการปกครอง
4.อำนาจอธิปไตย คืออำนาจสูงสุดภายในรัฐ การมีอำนาจสามารถปกครองตนเองได้ ส่วนโดยเป็นเอกราช ไม่ขึ้นกับรัฐอื่นๆ การปกครองที่ปราศจากการแทรกแซงจากต่างชาติ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ถ้าไม่มีอำนาจอธิปไตย ความเป็นรัฐจะหมดไป เป็นสิ่งที่ทำให้รัฐต่างจากสมาคม หรือกลุ่มอื่นๆ ความเป็นรัฐจะสิ้นสุดทันทีเมื่อรัฐนั้นไปตกอยู่ภายใต้ การปกครองของรัฐอื่น ดังนั้นอำนาจอธิปไตยจึงแบ่งแยกไม่ได้ ( 1 รัฐ ต่อ 1 อำนาจอธิปไตย)

นักวิทยาศาสตร์ในยุคต่างๆ



ยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา
คริสต์ศตวรรษที่ 14-16 ในยุคนี้การคิดค้นทางวิทยาการได้ขยายกรอบออกไปจากแนวความคิดของศาสนจักร ได้แก่
โยฮัน กูเตนเบอร์ก (Johann Gutenburg ..1400-1468) ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรก
ลีโอนาร์โด ดาวินซี (Leonardo da Vinci ..1452-1519) ชาวอิตาลี ผู้มีงานการค้นคว้าทางด้านพืชและสัตว์ นอกจากนี้ดาวินชียังได้ชื่อว่า เป็นจิตกร สถาปนิก และวิศวกรอีกด้วย
นีโคลาอุส โคเปอร์นิคัส (Nicolaus Copernicus ..1483-1543) ชาวโปแลนด์ผู้ค้นพบว่า โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งของสุริยจักรวาล
เกอราดัส เมอร์เคเตอร์ (Geradus Mercator) ..1512-1594) นักภูมิศาสตร์ชาวเบลเยี่ยม เป็นผู้นำทฤษฎีการจัดทำแผนที่โลกมาใช้ และจัดพิมพ์หนังสือแผนที่เรียกว่า แอตลาส
ยุคการปฏิวัติวิทยาศาสตร์
การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ หมายถึง การใช้วิธีการแบบวิทยาศาสตร์ อันประกอบด้วยการตั้งข้อสงสัย การพิสูจน์ การทดลองอย่างมีขั้นตอน และการมีแบบแผนที่แน่นอนสำหรับการหาคำตอบของคำถาม หรือข้อสมมุติฐานต่างๆ การปฏิวัติวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 นักค้นคว้าและนักวิทยาศาสตร์ที่มีผลงานอันเป็นพื้นฐานในการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหลายท่าน ที่สำคัญได้แก่
กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galilel ..1564-1642) ชาวอิตาลี ผู้สร้างกล้องโทรทรรศน์สำหรับดูดาวและสนับสนุนความคิดของนิโคลาอุส โคเปอร์นิคัส
วิลเลี่ยม ฮาร์วี (William Harvey ..1578-1657) ชาวอังกฤษ เป็นแพทย์ผู้ค้นพบการไหหมุนเวียนของโลหิต
โรเบอร์ต บอยล์ (Robert Boyle) ..1627-1691) ชาวไอริช เป็นผู้ศึกษา ค้นคว้า และทดลองทางด้านเคมีและให้ความเห็นว่าเคมีเป็นศาสตร์ที่แตกต่างจากศาสตร์อื่นๆ ต่อมาจึงได้ชื่อว่า บิดาแห่งวิชาเคมี
เซอร์ ไอแซคนิวตัน (Sir Isaac Newton ..1642-1727) ชาวอังกฤษ เป็นผู้ค้นพบหลักการคำนวณด้วยวิธีใหม่ เป็นผู้ตั้งกฎความโน้มถ่วง และเป็นผู้คิดกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสงเป็น คนแรก
เบนจามิน แฟรงคลิน (Bejamin Franklin .. 1706-1790) ชาวอเมริกัน ผู้ค้นพบไฟฟ้าในอากาศ ซึ่งทำให้เกิดฟ้าแลบและฟ้าผ่า
ยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม
เป็นคำที่ อาร์โนลด์ ทอย์นบี (Arnold Toynbee) นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษใช้ในการบรรยายวิชาประวัติศาสตร์ของเขา หมายถึง ระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 19
เครื่องจักรไอนํ้า
เจมส์ วัตต์ ได้นำเครื่องจักรไอนํ้ามาติดตั้งในหัวรถจักรและเรือกลไฟ ซึ่งมีผลให้การคมนาคมขนส่งได้เจริญ
การทอผ้Œ
จอห์น เคย์ (John Kay ..1704-1764) ได้ประดิษฐ์กระสวยพุ่งหรือกี่กระตุก (Flying Shuttle) สามารถทอผ้าได้เร็วกว่าเดิมถึง 2 เท่า
การปั่˜›นด้Œาย
เจมส์ ฮาร์กรีฟส์ (James Hargreaves ..1722-1778) ได้ประดิษฐ์เครื่องปั่นด้าย (Spinning Jenny) ที่สามารถปั่นด้ายได้ครั้งละ 15 เส้น
ริชาร์ด อาร์คไรท์ (Richard Arkwright ..1732-1792) ได้ประดิษฐ์วอเตอร์เฟรม (Water Frame) โดยนำเครื่องจักรไอนํ้ามาใช้แทนแรงคน
แซมมวล ครอมป์ตัน (Samuel Crompton ..1735-1827) ได้นำเครื่องสปินนิ่งจินนี่ และวอเตอร์แฟรม มาพัฒนาเข้าด้วยกัน เรียกว่า สปินนิ่งมูล (Spinning Mule) ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดีและผลิตได้เร็วขึ้น
การเกษตร
เจโทร ทัล (Jethro Tull ..1675-1741) ได้ประดิษฐ์ เซลด์ดริล (Seld Drill) สำหรับหว่านเมล็ดพืช
ชาร์ลส์ ทาวน์เซนต์ (Charles Townshend ..1675-1738) ได้เสนอวิธีการปลูกพืชหมุนเวียนซึ่งจะทำให้ดินมีคุณภาพดีขึ้น
โรเบอร์ต แบคเวล (Robert Bakewell) ได้ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์มาทดลองผสมพันธุ์สัตว์ ทำให้ได้สัตว์พันธุ์ใหม่ที่มีร่างกายใหญ่โต และมีความต้านทานโรคดีขึ้น
เอไล วิตเนย์ (Eli Whitney ..1765-1825) ได้ประดิษฐ์เครื่องแยกเมล็ดฝ้ายออกจากไจ ที่เรียกว่า คอตทอน จิต (Gotton Gin) ได้สำเร็จใน ค.. 1792
การคมนาคมขนส่ง
จอห์น แอล แมคอดัม (John L. McAdom ..1756-1836) ได้ปรับปรุงการทำถนนให้มีสภาพคงทนและระบายนํ้าได้ดีกว่าเดิม
ริชาร์ด เทรวิทิก (Richard Trevithick ..1771-1833) ได้นำระบบเครื่องจักรไอนํ้ามาปรับปรุง เพื่อการเดินทางแต่ไม่สำเร็จ
จอร์จ สตีเฟนสัน (George Stephenson ..1781-1848) ได้ปรับปรุงและสร้างหัวรถจักรได้สำเร็จใน ค..1814
โรเบอร์ต ฟูลตัน (Robert Fulton ..1765-1815) ประดิษฐ์เรือกลไฟได้สำเร็จ
ยุคปัจจุบัน
เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวี (Sir Humphry Davy ..1778-1829) ได้ทำแบตเตอรี่
ไมเคิล ฟาราเดย์ (Michoel Faraday ..1791-1867) ค้นพบเบนซิน การนำเบนซินมาใช้เป็นเชื้อเพลิง
รูดอล์ฟ ดีเซล (Rudolf Diesel) นักประดิษฐ์ชาวเยอรมัน ได้ประดิษฐ์เครื่องยนต์และจดทะเบียนดีเซลขึ้นมา ทำให้หลายชาติสามารถใช้เครื่องจักรดีเซลในการขับเคลื่อนขบวนรถไฟที่วิ่งไปได้
การสื่อสารและโทรคมนาคม
แซมมวล มอร์ส (Sammuel Morse ..1791-1872) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์เครื่องส่งโทรเลขได้สำเร็จเป็นคนแรก
อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ (Alexander Graham Bell ..1847-1922) ครูชาวสกอตต์ซึ่งเป็นผู้สอนหนังสือเด็กหูหนวกและเป็นใบ้ในสหรัฐอเมริกา ได้ประดิษฐ์โทรศัพท์ขึ้นเป็นคนแรก
โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomos Aiva Edison ..1847-1931) นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ได้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า
กูกลิดอลโม มาร์โคนี (Guglielmo Marconi ..1874-1937) นักประดิษฐ์ชาวอิตาลี ก็ได้สร้างเครื่องส่งวิทยุโทรเลข เพื่อการสื่อสารขึ้นมา จนกระทั่งปัจจุบันการสื่อสารและโทรคมนาคมได้พัฒนาขึ้นเพื่อให้ติดต่อกันได้สะดวกทั่วโลก
เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ (Edward Jenner ..1827-1823) ชาวอังกฤษ ได้ค้นพบวิธีการทำวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ
ลอร์ด โจเซฟ ลิสเตอร์ (Lord Joseph Lister ..1827-1912) พบวิธีการฆ่าเชื้อโรคในการผ่าตัด
หลุยส์ปาสเตอร์ (Louis Pasteur ..1822-1895) ผู้คิดทำเซรุ่ม สำหรับฉีดแก้พิษงูและพิษสุนัขบ้า
รังสีเอกซ์ (X-rays) ซึ่งค้นพบโดย รอนท์เกน (Reontgen ใน ค..1895) นำไปสู่การค้นพบของ ปีแอร์ คูรี่ (Pierre Curie..1959-1906) และแมรี คูรี่ นำธาตุยูเรเนียมมาใช้ในการรักษาโรคมะเร็ง
แสงเลเซอร์ โดย ธีโอดอร์ เอช. ไมแมน (Theodore H. Maiman ..1927-?) ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์

ชีวิตกับสิ่งแวดล้Œอม สิ่งมีชีวิตกับการดำรงชีวิต



ชีวิตกับสิ่งแวดล้Œอม สิ่งมีชีวิตกับการดำรงชีวิต
1. สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้Œอม
โลก มีระบบนิเวศน์หลากหลายรวมกัน เป็นระบบขนาดใหญ่ เรียกว่า ชีวภาค(Biophere) เช่น
- บริเวณเส้นศูนย์สูตร มีอุณหภูมิสูงและแสงแดดมาก ทำให้มีฝนตกชุก เกิดป่าฝนเขตร้อน
- บริเวณที่สูงหรือตํ่าจากเส้นศูนย์สูตร เรียกว่า เขตอบอุ่น มีอุณหภูมิและแสงแดดจำกัด จึงไม่หลากหลาย
- ขั้วโลกเหนือ เรียกว่า เขตทุนดรา มีอุณหภูมิและแสงแดดน้อย พื้นนํ้าเป็นนํ้าแข็ง มีพืชคลุมดิน
ในห่วงโซ่อาหาร จะมีการถ่ายทอดพลังงานจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคลำดับต่าง ๆ โดยจะถ่ายทอดไปเพียง 10% ส่วนพลังงานอีก 90% จะถูกใช้ในการดำรงชีวิต นอกจากนี้ ในห่วงโซ่อาหาร จะมีการถ่ายทอดโลหะหนัก จากยาฆ่าแมลงและสารพิษด้วย โดยจะมีปริมาณสะสมเพิ่มขึ้นตามลำดับการกินของสิ่งมีชีวิต
2. การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
เซลล์สิ่งมีชีวิต มีส่วนประกอบที่เหมือนกัน คือ
- เยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่ ห่อหุ้มเซลล์และควบคุมการผ่านสารเข้าออก
- นิวเคลียส เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของเซลล์และเป็นแหล่งเก็บสารพันธุกรรม
- ไมโทคอนเดรีย เป็นแหล่งผลิตสารพลังงานสูง
- ไรโบโซม ทำหน้าที่ สังเคราะห์โปรตีน
- ร่างแหเอนโดพลาซึม ทำหน้าที่สังเคราะห์และลำเลียงโปรตีน บางส่วนสังเคราะห์ไขมัน
- กอลจิคอมเพล็กซ์ ทำหน้าที่ ปรับเปลี่ยนโปรตีนและไขมัน แล้วส่งไปยังปลายประสาท
เซลล์สิ่งมีชีวิต มีส่วนประกอบที่ต่างกัน คือ
ในเซลล์พืช จะมี
: ผนังเซลล์ ทำให้เซลล์คงรูปร่างและมีการเจริญในแนวตั้ง มีโครงสร้างหลัก คือ เซลลูโลส
: คลอโรพลาสต์ ทำหน้าที่ สังเคราะห์นํ้าตาลโดยใช้พลังงานแสง
: แวคิวโอล ทำหน้าที่ บรรจุนํ้าและสารชนิดต่าง
ในเซลล์สัตว์ จะมี
: ไลโซโซม ทำหน้าที่ บรรจุเอนไซม์ที่มีสมบัติในการย่อยสลาย
2.1 การลำเลียงสารผ่านเซลล์ มี 4 ประเภท
2.2.1 การแพร่ คือ การที่สารเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูง ไปสู่ที่มีความเข้มข้นตํ่า
ออสโมซิส คือ การแพร่ของนํ้าผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ จากบริเวณที่มีนํ้ามากไปสู่นํ้าน้อย แบ่งเป็น
- ไฮโพโทนิค คือ สารที่มีความเข้มข้นตํ่าหรือนํ้ามาก นํ้าจะไหลเข้า ทำให้เซลล์ใหญ่โดยถ้าเป็นเซลล์พืช จะเต่ง แต่เซลล์สัตว์ จะแตก
- ไฮเพอร์โทนิค คือ สารที่มีความเข้มข้นสูงหรือนํ้าน้อย นํ้าจะไหลออก ทำให้เซลล์เหี่ยว
- ไอโซโทนิค คือ สารที่มีความเข้มข้นเท่ากับภายในเซลล์ นํ้าจะไหลเข้า = ไหลออก ทำให้เซลล์คงเดิม
2.2.2 การลำเลียงแบบฟาซิลิเทต ( Facilitated Transport) คือ การลำเลียงสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นตํ่า โดยมีโปรตีนตัวพาอยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ซึ่งไม่ต้องอาศัยพลังงาน โดยมีอัตราเร็วมากกว่าการแพร่
2.2.3 การลำเลียงแบบใช้พลังงาน (Active Transport) คือ การลำเลียงสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นตํ่าไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นสูง โดยมีโปรตีนตัวพาอยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์และต้องอาศัยพลังงาน
2.2.4 การลำเลียงสารแบบไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ คือ การลำเลียงสารที่มีขนาดใหญ่ เช่น โปรตีนคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะไม่สามารถผ่านโปรตีนตัวพาได้ แต่จะใช้เยื่อหุ้มเซลล์โอบล้อม ดังนี้
- กระบวนการเอนโดไซโทซิส (Endocytosis) เป็นการลำเลียงสารเข้าเซลล์
- กระบวนการเอกโซไซโทซิส (Exocytosis) เป็นการลำเลียงสารออกเซลล์
2.2 กลไกการรักษาดุลยภาพ
2.3.1 การรักษาดุลยภาพของนํ้าในพืชโดยการคายนํ้าออกที่ปากใบ และการดูดนํ้าเข้าทางราก
2.3.2 การรักษาดุลยภาพของนํ้าในร่างกายคน
เมื่อร่างกายเกิดภาวะขาดนํ้า ทำให้เลือดข้น มีความดันเลือดตํ่า สมองไฮโพทาลามัสจะกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนท้าย ให้หลั่งฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก ออกมา เพื่อไปกระตุ้นให้ท่อหน่วยไตดูดนํ้ากลับคืน
2.3.3 การรักษาดุลยภาพของกรด-เบสในร่างกายคน
ถ้าร่างกายมีระดับเมแทบอลิซึมสูง (ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ในร่างกาย) ทำให้เกิดก๊าซ CO2 มาก เกิดเป็นกรดคาร์บอนิก ซึ่งแตกตัวให้ H+ ออกมา ส่งผลให้ pH ในเลือดตํ่าลง หน่วยไตจึงทำหน้าที่ขับ H+ ออกมาทางปัสสาวะ
2.3.4 การรักษาดุลยภาพของนํ้าและแร่ธาตุในสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่อาศัยในนํ้า เช่น อะมีบา พารามีเซียม มีโครงสร้างเรียกว่า คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล (Contractile Vacuole) ทำหน้าที่ กำจัดนํ้าและของเสียออกจากเซลล์
ปลานํ้าจืด :มีปัสสาวะมาก แต่เจือจาง และที่เหงือกมีเซลล์คอยดูดแร่ธาตุที่จำเป็นกลับคืน
ปลานํ้าเค็ม : มีปัสสาวะน้อย แต่เข้มข้น และมีผิวหนังและเกล็ดหนา เพื่อป้องกันแร่ธาตุ
นกทะเล มีต่อมนาซัล สำหรับขับเกลือออกในรูปนํ้าเกลือ ทางรูจมูกและปาก
2.3.5 การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิภายในร่างกาย (อุณหภูมิปกติ 35.8-37.7 oC)
เมื่ออากาศร้อน ลดอัตราเมแทบอลิซึมและการเผาผลาญอาหาร หลอดเลือดฝอยขยายตัว ผิวจึงมีสีแดง และต่อมเหงื่อขับเหงื่อเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อที่โคนขนจะคลายตัว ทำให้ขนเอนราบ
เมื่ออากาศเย็น เพิ่มอัตราเมแทบอลิซึมและการเผาผลาญอาหาร หลอดเลือดฝอยจะหดตัว ผิวจึงมีสีซีด และลดการทำงานของต่อมเหงื่อ กล้ามเนื้อที่โคนขนจะหดตัว ดึงให้ขนลุก
3. ภูมิคุŒมกันของร่างกาย
เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เรียกว่า แอนติเจน
เซลล์เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ ป้องกันและทำลายเชื้อโรค โดยสร้างมาจากไขกระดูก และอวัยวะนํ้าเหลือง ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มฟาโกไซต์ (phagocyte) จะใช้เยื่อหุ้มเซลล์โอบล้อมเชื้อโรค แล้วนำเข้าสู่เซลล์ เพื่อย่อยสลาย
2. กลุ่มลิมโฟไซต์ (lymphocyte) จะสร้างแอนติบอดี ซึ่งเป็นสารโปรตีน ทำหน้าที่ต่อต้านแอนติเจน
ระบบนํ้าเหลือง อวัยวะนํ้าเหลือง เป็นแหล่งผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาว ประกอบด้วย
ต่อมนํ้าเหลือง เช่น คอ (เรียกว่า ทอนซิล) รักแร้ โคนขา
ม้าม เป็นอวัยวะนํ้าเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ใต้กระบังลมด้านซ้าย
ต่อมไทมัส เป็นเนื้อเยื่อนํ้าเหลือง ทำหน้าที่ สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟไซต์
ร่างกายเรามีภูมิคุ้มกันตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ โดยสร้างแอนติบอดีได้เองและได้รับจากแม่ และเมื่อคลอดจะได้จากการดื่มนมแม่ แต่จะป้องกันได้เฉพาะบางโรคเท่านั้น จึงจำเป็นต้องได้รับภูมิคุ้มกันเพิ่มเติม โดยแบ่งเป็น
วัคซีน  ผลิตจากเชื้อโรคที่ถูกทำให้อ่อนกำลัง หรือ ผลิตจากจุลินทรีย์ที่ตายแล้ว หรือ ผลิตจากสารพิษที่หมดพิษหรือทอกซอยด์ เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายจะเป็นแอนติเจน ไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี โดยใช้เวลา 4-7 วัน
เซรุ่ม  ผลิตจากแอนติบอดี เพื่อฉีดให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันทันที ซึ่งเตรียมได้จากการฉีดสารพิษหรือเชื้อโรคเข้าไปในตัวสัตว์ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายของสัตว์ ได้สร้างแอนติบอดี แล้วจึงนำ มาฉีดให้กับผู้ป่วย
เลือดของคน แบ่งเป็น 4 หมู่ ได้แก่ หมู่ A B AB O
หมู่เลือด      แอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง    แอนติบอดีในนํ้าเลือด
A                   A                          B
B                   B                          A
AB                  AB                        ไม่มี
O                   ไม่มี                        AB
4. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
เซลล์ร่างกายของคน 1 เซลล์ จะมี 46 โครโมโซม โดยเหมือนกันเป็นคู่ๆ เรียกว่า โฮโมโลกัสโครโมโซม
การแบ่งเซลล์แบบไมโตซิส คือ การแบ่งเซลล์ร่างกาย
- ได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ มีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส คือ การแบ่งเซลล์สืบพันธุ์
- ได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์ มีโครโมโซมลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง
เซลล์ร่างกายของคน 1 เซลล์ มี 46 โครโมโซม หรือ 23 คู่ แบ่งเป็น
+ โครโมโซมร่างกายหรือออโตโซม (22 คู่แรก)
A เป็นแอลลีนเด่น เช่น ลักยิ้ม นิ้วเกิน คนแคระ ท้าวแสนปม
a เป็นแอลลีนด้อย เช่น ผิวเผือก ธาลัสซีเมีย (เลือดจาง)
+ โครโมโซมเพศ (คู่ที่ 23) โดย เพศหญิง เป็น XX เพศชาย เป็น XY
ลักษณะที่ผิดปกติจะถูกควบคุมด้วยยีนด้อย บนโครโมโซม X
XC เป็นแอลลีนปกติ
Xc เป็นแอลลีนผิดปกติ เช่น ตาบอดสี ฮีโมฟีเลีย (โรคเลือดไหลไม่หยุด) ภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส 6 ฟอสเฟต (G6PD)
หมู่เลือด (ฟีโนไทป์)        จีโนไทป์
A                          IAIA / IAi
B                          IBIB / IBi
AB                        IAIB
O                          i i
4.4 การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
4.4.1 มิวเทชัน (mutation) : เป็นการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในระดับยีนหรือโครโมโซม ทำให้ลูกมีลักษณะบางอย่างแตกต่างไปจากรุ่นพ่อ-แม่ โดยมีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากรังสีหรือสารเคมี
4.4.2 การคัดเลือกตามธรรมชาติ ของชาร์ลส์ ดาร์วิน เสนอ ว่า สิ่งมีชีวิตจะออกลูกเป็นจำนวนมาก และมีความแปรผันในแต่ละรุ่น แล้วเกิดการแก่งแย่งสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะที่เหมาะสม จะสามารถเอาชีวิตรอดได้ และจะถ่ายทอดลักษณะที่เหมาะสม ไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อไปเช่น นกจาบที่อยู่ตามหมู่เกาะกาลาปากอส พบว่า มีจงอยปากแตกต่างกันตามลักษณะอาหารของนก
4.4.3 การคัดเลือกพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์โดยคน
การคัดเลือกพันธุ์ปลาทับทิม : พัฒนาโดยการคัดพันธุ์ปลานิลจากทั่วโลก
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวเจ้า เมื่อใช้รังสีแกมมา ทำให้เกิดมิวเทชัน ทำให้ได้ข้าวพันธุ์ กข 6 ที่เป็นข้าวเหนียว ข้าวพันธุ์ กข 15
4.5 เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ได้แก่
4.5.1 พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering ) : คือ การตัดต่อยีน เรียกว่า สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หรือ GMO
4.5.2 การโคลน: หมายถึง การสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ ที่มีลักษณะเหมือนสิ่งมีชีวิตต้นแบบทุกประการ
4.5.3 ลายพิมพ์ DNA : เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของบุคคล เปลี่ยนแปลงไม่ได้และไม่มีใครเหมือนกัน (ยกเว้น ฝาแฝดแท้ ) ใช้ในการพิสูจน์ผู้ต้องสงสัย หรือหาความสัมพันธ์ทางสายเลือด
4.5.4 การทำแผนที่ยีน หรือ แผนที่จีโนม : เพื่อให้รู้ตำแหน่งของยีนในโครโมโซม เพราะว่าเมื่อระบุได้ว่ายีนใดบ้างที่ผิดปกติก็ใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมตัดต่อยีนที่พึงประสงค์เข้าไปแทนยีนที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรค เรียกวิธีรักษาแบบนี้ว่า การบำบัดรักษาด้วยยีน (gene therapy)
5. ความหลากหลายทางชีวภาพ
นักชีววิทยา จัดจำแนกหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต ออกได้เป็น 5 อาณาจักร ดังนี้
อาณาจักรสัตว์ : เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์และเซลล์รวมกันเป็นเนื้อเยื่อ : เป็นผู้บริโภค
อาณาจักรพืช : เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์และเซลล์รวมกันเป็นเนื้อเยื่อ : เป็นผู้ผลิต
: มีผนังเซลล์ ซึ่งมีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ
อาณาจักรโพรทิสตา : เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์
: บางชนิดสร้างอาหารได้ แต่บางชนิดต้องกินอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น
อาณาจักรเห็ดรา และยีสต์ : ยีสต์มีเซลล์เดียว เห็ดรามีหลายเซลล์
: เป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร แต่บางชนิดเป็นปรสิต
อาณาจักรมอเนอรา : เป็นสิ่งมีชีวิตที่เซลล์ไม่มีนิวเคลียส : เป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร บางชนิดสร้างอาหารได้เอง ได้แก่ แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงิน
ไวรัส ไม่มีอาณาจักร เพราะ ไม่มีลักษณะเป็นเซลล์ แต่เป็นอนุภาค ที่ใช้โปรตีนห่อหุ้มสารพันธุกรรมไว้ สามารถเพิ่มจำนวนได้เฉพาะเมื่ออยู่ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น

มุมแนะนำ