มุมแนะนำ

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ชีวิตกับสิ่งแวดล้Œอม สิ่งมีชีวิตกับการดำรงชีวิต



ชีวิตกับสิ่งแวดล้Œอม สิ่งมีชีวิตกับการดำรงชีวิต
1. สิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้Œอม
โลก มีระบบนิเวศน์หลากหลายรวมกัน เป็นระบบขนาดใหญ่ เรียกว่า ชีวภาค(Biophere) เช่น
- บริเวณเส้นศูนย์สูตร มีอุณหภูมิสูงและแสงแดดมาก ทำให้มีฝนตกชุก เกิดป่าฝนเขตร้อน
- บริเวณที่สูงหรือตํ่าจากเส้นศูนย์สูตร เรียกว่า เขตอบอุ่น มีอุณหภูมิและแสงแดดจำกัด จึงไม่หลากหลาย
- ขั้วโลกเหนือ เรียกว่า เขตทุนดรา มีอุณหภูมิและแสงแดดน้อย พื้นนํ้าเป็นนํ้าแข็ง มีพืชคลุมดิน
ในห่วงโซ่อาหาร จะมีการถ่ายทอดพลังงานจากผู้ผลิตไปยังผู้บริโภคลำดับต่าง ๆ โดยจะถ่ายทอดไปเพียง 10% ส่วนพลังงานอีก 90% จะถูกใช้ในการดำรงชีวิต นอกจากนี้ ในห่วงโซ่อาหาร จะมีการถ่ายทอดโลหะหนัก จากยาฆ่าแมลงและสารพิษด้วย โดยจะมีปริมาณสะสมเพิ่มขึ้นตามลำดับการกินของสิ่งมีชีวิต
2. การรักษาดุลยภาพของสิ่งมีชีวิต
เซลล์สิ่งมีชีวิต มีส่วนประกอบที่เหมือนกัน คือ
- เยื่อหุ้มเซลล์ ทำหน้าที่ ห่อหุ้มเซลล์และควบคุมการผ่านสารเข้าออก
- นิวเคลียส เป็นศูนย์ควบคุมการทำงานของเซลล์และเป็นแหล่งเก็บสารพันธุกรรม
- ไมโทคอนเดรีย เป็นแหล่งผลิตสารพลังงานสูง
- ไรโบโซม ทำหน้าที่ สังเคราะห์โปรตีน
- ร่างแหเอนโดพลาซึม ทำหน้าที่สังเคราะห์และลำเลียงโปรตีน บางส่วนสังเคราะห์ไขมัน
- กอลจิคอมเพล็กซ์ ทำหน้าที่ ปรับเปลี่ยนโปรตีนและไขมัน แล้วส่งไปยังปลายประสาท
เซลล์สิ่งมีชีวิต มีส่วนประกอบที่ต่างกัน คือ
ในเซลล์พืช จะมี
: ผนังเซลล์ ทำให้เซลล์คงรูปร่างและมีการเจริญในแนวตั้ง มีโครงสร้างหลัก คือ เซลลูโลส
: คลอโรพลาสต์ ทำหน้าที่ สังเคราะห์นํ้าตาลโดยใช้พลังงานแสง
: แวคิวโอล ทำหน้าที่ บรรจุนํ้าและสารชนิดต่าง
ในเซลล์สัตว์ จะมี
: ไลโซโซม ทำหน้าที่ บรรจุเอนไซม์ที่มีสมบัติในการย่อยสลาย
2.1 การลำเลียงสารผ่านเซลล์ มี 4 ประเภท
2.2.1 การแพร่ คือ การที่สารเคลื่อนที่จากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูง ไปสู่ที่มีความเข้มข้นตํ่า
ออสโมซิส คือ การแพร่ของนํ้าผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ จากบริเวณที่มีนํ้ามากไปสู่นํ้าน้อย แบ่งเป็น
- ไฮโพโทนิค คือ สารที่มีความเข้มข้นตํ่าหรือนํ้ามาก นํ้าจะไหลเข้า ทำให้เซลล์ใหญ่โดยถ้าเป็นเซลล์พืช จะเต่ง แต่เซลล์สัตว์ จะแตก
- ไฮเพอร์โทนิค คือ สารที่มีความเข้มข้นสูงหรือนํ้าน้อย นํ้าจะไหลออก ทำให้เซลล์เหี่ยว
- ไอโซโทนิค คือ สารที่มีความเข้มข้นเท่ากับภายในเซลล์ นํ้าจะไหลเข้า = ไหลออก ทำให้เซลล์คงเดิม
2.2.2 การลำเลียงแบบฟาซิลิเทต ( Facilitated Transport) คือ การลำเลียงสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นสูงไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นตํ่า โดยมีโปรตีนตัวพาอยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์ซึ่งไม่ต้องอาศัยพลังงาน โดยมีอัตราเร็วมากกว่าการแพร่
2.2.3 การลำเลียงแบบใช้พลังงาน (Active Transport) คือ การลำเลียงสารจากบริเวณที่มีความเข้มข้นตํ่าไปสู่บริเวณที่มีความเข้มข้นสูง โดยมีโปรตีนตัวพาอยู่บนเยื่อหุ้มเซลล์และต้องอาศัยพลังงาน
2.2.4 การลำเลียงสารแบบไม่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ คือ การลำเลียงสารที่มีขนาดใหญ่ เช่น โปรตีนคาร์โบไฮเดรต ซึ่งจะไม่สามารถผ่านโปรตีนตัวพาได้ แต่จะใช้เยื่อหุ้มเซลล์โอบล้อม ดังนี้
- กระบวนการเอนโดไซโทซิส (Endocytosis) เป็นการลำเลียงสารเข้าเซลล์
- กระบวนการเอกโซไซโทซิส (Exocytosis) เป็นการลำเลียงสารออกเซลล์
2.2 กลไกการรักษาดุลยภาพ
2.3.1 การรักษาดุลยภาพของนํ้าในพืชโดยการคายนํ้าออกที่ปากใบ และการดูดนํ้าเข้าทางราก
2.3.2 การรักษาดุลยภาพของนํ้าในร่างกายคน
เมื่อร่างกายเกิดภาวะขาดนํ้า ทำให้เลือดข้น มีความดันเลือดตํ่า สมองไฮโพทาลามัสจะกระตุ้นต่อมใต้สมองส่วนท้าย ให้หลั่งฮอร์โมนแอนติไดยูเรติก ออกมา เพื่อไปกระตุ้นให้ท่อหน่วยไตดูดนํ้ากลับคืน
2.3.3 การรักษาดุลยภาพของกรด-เบสในร่างกายคน
ถ้าร่างกายมีระดับเมแทบอลิซึมสูง (ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ในร่างกาย) ทำให้เกิดก๊าซ CO2 มาก เกิดเป็นกรดคาร์บอนิก ซึ่งแตกตัวให้ H+ ออกมา ส่งผลให้ pH ในเลือดตํ่าลง หน่วยไตจึงทำหน้าที่ขับ H+ ออกมาทางปัสสาวะ
2.3.4 การรักษาดุลยภาพของนํ้าและแร่ธาตุในสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่อาศัยในนํ้า เช่น อะมีบา พารามีเซียม มีโครงสร้างเรียกว่า คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล (Contractile Vacuole) ทำหน้าที่ กำจัดนํ้าและของเสียออกจากเซลล์
ปลานํ้าจืด :มีปัสสาวะมาก แต่เจือจาง และที่เหงือกมีเซลล์คอยดูดแร่ธาตุที่จำเป็นกลับคืน
ปลานํ้าเค็ม : มีปัสสาวะน้อย แต่เข้มข้น และมีผิวหนังและเกล็ดหนา เพื่อป้องกันแร่ธาตุ
นกทะเล มีต่อมนาซัล สำหรับขับเกลือออกในรูปนํ้าเกลือ ทางรูจมูกและปาก
2.3.5 การรักษาดุลยภาพของอุณหภูมิภายในร่างกาย (อุณหภูมิปกติ 35.8-37.7 oC)
เมื่ออากาศร้อน ลดอัตราเมแทบอลิซึมและการเผาผลาญอาหาร หลอดเลือดฝอยขยายตัว ผิวจึงมีสีแดง และต่อมเหงื่อขับเหงื่อเพิ่มขึ้น กล้ามเนื้อที่โคนขนจะคลายตัว ทำให้ขนเอนราบ
เมื่ออากาศเย็น เพิ่มอัตราเมแทบอลิซึมและการเผาผลาญอาหาร หลอดเลือดฝอยจะหดตัว ผิวจึงมีสีซีด และลดการทำงานของต่อมเหงื่อ กล้ามเนื้อที่โคนขนจะหดตัว ดึงให้ขนลุก
3. ภูมิคุŒมกันของร่างกาย
เชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย เรียกว่า แอนติเจน
เซลล์เม็ดเลือดขาว ทำหน้าที่ ป้องกันและทำลายเชื้อโรค โดยสร้างมาจากไขกระดูก และอวัยวะนํ้าเหลือง ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มฟาโกไซต์ (phagocyte) จะใช้เยื่อหุ้มเซลล์โอบล้อมเชื้อโรค แล้วนำเข้าสู่เซลล์ เพื่อย่อยสลาย
2. กลุ่มลิมโฟไซต์ (lymphocyte) จะสร้างแอนติบอดี ซึ่งเป็นสารโปรตีน ทำหน้าที่ต่อต้านแอนติเจน
ระบบนํ้าเหลือง อวัยวะนํ้าเหลือง เป็นแหล่งผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาว ประกอบด้วย
ต่อมนํ้าเหลือง เช่น คอ (เรียกว่า ทอนซิล) รักแร้ โคนขา
ม้าม เป็นอวัยวะนํ้าเหลืองที่มีขนาดใหญ่ที่สุด อยู่ใต้กระบังลมด้านซ้าย
ต่อมไทมัส เป็นเนื้อเยื่อนํ้าเหลือง ทำหน้าที่ สร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวกลุ่มลิมโฟไซต์
ร่างกายเรามีภูมิคุ้มกันตั้งแต่อยู่ในท้องแม่ โดยสร้างแอนติบอดีได้เองและได้รับจากแม่ และเมื่อคลอดจะได้จากการดื่มนมแม่ แต่จะป้องกันได้เฉพาะบางโรคเท่านั้น จึงจำเป็นต้องได้รับภูมิคุ้มกันเพิ่มเติม โดยแบ่งเป็น
วัคซีน  ผลิตจากเชื้อโรคที่ถูกทำให้อ่อนกำลัง หรือ ผลิตจากจุลินทรีย์ที่ตายแล้ว หรือ ผลิตจากสารพิษที่หมดพิษหรือทอกซอยด์ เมื่อฉีดเข้าไปในร่างกายจะเป็นแอนติเจน ไปกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี โดยใช้เวลา 4-7 วัน
เซรุ่ม  ผลิตจากแอนติบอดี เพื่อฉีดให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันทันที ซึ่งเตรียมได้จากการฉีดสารพิษหรือเชื้อโรคเข้าไปในตัวสัตว์ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายของสัตว์ ได้สร้างแอนติบอดี แล้วจึงนำ มาฉีดให้กับผู้ป่วย
เลือดของคน แบ่งเป็น 4 หมู่ ได้แก่ หมู่ A B AB O
หมู่เลือด      แอนติเจนบนเม็ดเลือดแดง    แอนติบอดีในนํ้าเลือด
A                   A                          B
B                   B                          A
AB                  AB                        ไม่มี
O                   ไม่มี                        AB
4. การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
เซลล์ร่างกายของคน 1 เซลล์ จะมี 46 โครโมโซม โดยเหมือนกันเป็นคู่ๆ เรียกว่า โฮโมโลกัสโครโมโซม
การแบ่งเซลล์แบบไมโตซิส คือ การแบ่งเซลล์ร่างกาย
- ได้เซลล์ใหม่ 2 เซลล์ มีจำนวนโครโมโซมเท่าเดิม
การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส คือ การแบ่งเซลล์สืบพันธุ์
- ได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์ มีโครโมโซมลดลงเหลือครึ่งหนึ่ง
เซลล์ร่างกายของคน 1 เซลล์ มี 46 โครโมโซม หรือ 23 คู่ แบ่งเป็น
+ โครโมโซมร่างกายหรือออโตโซม (22 คู่แรก)
A เป็นแอลลีนเด่น เช่น ลักยิ้ม นิ้วเกิน คนแคระ ท้าวแสนปม
a เป็นแอลลีนด้อย เช่น ผิวเผือก ธาลัสซีเมีย (เลือดจาง)
+ โครโมโซมเพศ (คู่ที่ 23) โดย เพศหญิง เป็น XX เพศชาย เป็น XY
ลักษณะที่ผิดปกติจะถูกควบคุมด้วยยีนด้อย บนโครโมโซม X
XC เป็นแอลลีนปกติ
Xc เป็นแอลลีนผิดปกติ เช่น ตาบอดสี ฮีโมฟีเลีย (โรคเลือดไหลไม่หยุด) ภาวะพร่องเอนไซม์กลูโคส 6 ฟอสเฟต (G6PD)
หมู่เลือด (ฟีโนไทป์)        จีโนไทป์
A                          IAIA / IAi
B                          IBIB / IBi
AB                        IAIB
O                          i i
4.4 การเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
4.4.1 มิวเทชัน (mutation) : เป็นการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมในระดับยีนหรือโครโมโซม ทำให้ลูกมีลักษณะบางอย่างแตกต่างไปจากรุ่นพ่อ-แม่ โดยมีทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดจากรังสีหรือสารเคมี
4.4.2 การคัดเลือกตามธรรมชาติ ของชาร์ลส์ ดาร์วิน เสนอ ว่า สิ่งมีชีวิตจะออกลูกเป็นจำนวนมาก และมีความแปรผันในแต่ละรุ่น แล้วเกิดการแก่งแย่งสิ่งที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตที่มีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้น สิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะที่เหมาะสม จะสามารถเอาชีวิตรอดได้ และจะถ่ายทอดลักษณะที่เหมาะสม ไปยังสิ่งมีชีวิตรุ่นต่อไปเช่น นกจาบที่อยู่ตามหมู่เกาะกาลาปากอส พบว่า มีจงอยปากแตกต่างกันตามลักษณะอาหารของนก
4.4.3 การคัดเลือกพันธุ์และปรับปรุงพันธุ์โดยคน
การคัดเลือกพันธุ์ปลาทับทิม : พัฒนาโดยการคัดพันธุ์ปลานิลจากทั่วโลก
การปรับปรุงพันธุ์ข้าวข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นข้าวเจ้า เมื่อใช้รังสีแกมมา ทำให้เกิดมิวเทชัน ทำให้ได้ข้าวพันธุ์ กข 6 ที่เป็นข้าวเหนียว ข้าวพันธุ์ กข 15
4.5 เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology) ได้แก่
4.5.1 พันธุวิศวกรรม (Genetic Engineering ) : คือ การตัดต่อยีน เรียกว่า สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม หรือ GMO
4.5.2 การโคลน: หมายถึง การสร้างสิ่งมีชีวิตใหม่ ที่มีลักษณะเหมือนสิ่งมีชีวิตต้นแบบทุกประการ
4.5.3 ลายพิมพ์ DNA : เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของบุคคล เปลี่ยนแปลงไม่ได้และไม่มีใครเหมือนกัน (ยกเว้น ฝาแฝดแท้ ) ใช้ในการพิสูจน์ผู้ต้องสงสัย หรือหาความสัมพันธ์ทางสายเลือด
4.5.4 การทำแผนที่ยีน หรือ แผนที่จีโนม : เพื่อให้รู้ตำแหน่งของยีนในโครโมโซม เพราะว่าเมื่อระบุได้ว่ายีนใดบ้างที่ผิดปกติก็ใช้เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมตัดต่อยีนที่พึงประสงค์เข้าไปแทนยีนที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรค เรียกวิธีรักษาแบบนี้ว่า การบำบัดรักษาด้วยยีน (gene therapy)
5. ความหลากหลายทางชีวภาพ
นักชีววิทยา จัดจำแนกหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต ออกได้เป็น 5 อาณาจักร ดังนี้
อาณาจักรสัตว์ : เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์และเซลล์รวมกันเป็นเนื้อเยื่อ : เป็นผู้บริโภค
อาณาจักรพืช : เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์และเซลล์รวมกันเป็นเนื้อเยื่อ : เป็นผู้ผลิต
: มีผนังเซลล์ ซึ่งมีเซลลูโลสเป็นองค์ประกอบ
อาณาจักรโพรทิสตา : เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์
: บางชนิดสร้างอาหารได้ แต่บางชนิดต้องกินอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่น
อาณาจักรเห็ดรา และยีสต์ : ยีสต์มีเซลล์เดียว เห็ดรามีหลายเซลล์
: เป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร แต่บางชนิดเป็นปรสิต
อาณาจักรมอเนอรา : เป็นสิ่งมีชีวิตที่เซลล์ไม่มีนิวเคลียส : เป็นผู้ย่อยสลายอินทรีย์สาร บางชนิดสร้างอาหารได้เอง ได้แก่ แบคทีเรีย สาหร่ายสีเขียวแกมนํ้าเงิน
ไวรัส ไม่มีอาณาจักร เพราะ ไม่มีลักษณะเป็นเซลล์ แต่เป็นอนุภาค ที่ใช้โปรตีนห่อหุ้มสารพันธุกรรมไว้ สามารถเพิ่มจำนวนได้เฉพาะเมื่ออยู่ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ