มุมแนะนำ

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ขบวนเรือในกระบสนพยุหยาตราทางชลมารค

กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทย ที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐาน ชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยาเรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัดกระบวนหลายแบบ ที่รู้จักกันดีก็คือ "กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง" ดังปรากฏในลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตพรรณนากระบวนเรือประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อพ.ศ. 2430ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโดยยึดถือตามแบบแผนเดิมแห่งกรุงศรีอยุธยาประเภท ของการเห่เรือ สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ การเห่เรือหลวง (การเห่เรือในงานพระราชพิธี) และการเห่เรือเล่น (การเห่เรือ เล่นของชาวบ้านในงานต่างๆ) ในปัจจุบันการเห่เรือ ยังคงอยู่เฉพาะการเห่เรือหลวงที่ใช้ใน กระบวนพยุหยาตราชลมารค
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
สำหรับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราชลมารคมาแล้วจำนวน 17 ครั้ง โดยในปี พ.ศ. 2555 นี้ ถือเป็นครั้งที่ 18 วันเสด็จพระราชดำเนินจริง วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2555 ตั้งแต่เวลา 15.00 -17.00 น. ซึ่งกรมเจ้าท่าได้ประกาศปิดการจราจรทางน้ำตามเส้นทางดังกล่าวจนถึงช่วงเย็นจนกว่าจะเสร็จสิ้นพระราชพิธี

พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งนี้เป็นการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ใหญ่ 5 ริ้ว ใช้เรือ พระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง จำนวน 4 ลำ คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือรูปสัตว์ จำนวน 8 ลำ เรือดั้ง จำนวน 22 ลำและเรือ ประกอบอื่น ๆ จำนวน 18 ลำ
เรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารค มีดังนี้
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
เรือเอกไชยเหินหาว เรือเอกไชยหลาวทอง เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรืออสุรวายุภักษ์ เรืออสุรปักษี
เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรือครุฑเหินเห็จ เรือครุฑเตร็จไตรจักร เรือเสือทยานชล
เรือเสือคำรณสินธุ์ เรืออีเหลือง เรือทองขวานฟ้า เรือทองบ้าบิ่น เรือแตงโม เรือดั้ง เรือแซง เรือตำรวจ
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค

คงไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า ขบวนเรือพระราชพิธีในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นสิ่งที่แสดงถึง คุณค่าทางศิลปะวัฒธรรม ของชนชาติไทยทั้งทางด้าน คีตศิลป์ กวีศิลป์ผ่านกาพย์เห่เรือที่ถูกเรียงร้อยอย่างบรรจงด้วยภาษาที่สละสลวยและการเอื้อนเอ่ย ด้วยน้ำเสียงและท่วงทำนองอันเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนั้นความอ่อนช้อยของโขนเรือและลำเรือที่ถูกสลักเสลาอย่างวิจิตรงดงาม ยังถ่ายทอดให้เห็นถึงความชาญฉลาดในประติมากรรมการต่อเรืออย่างประณีตและเป็นเอกลักษณ์ที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลกหากจะ ย้อนกลับไปในอดีตกาล การคมนาคมทางน้ำถือเป็นเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญอีกเส้นทางหนึ่งนอกเหนือจากเส้นทาง การคมนาคมทางบกเพราะชนชาติไทยมีความผูกพันธ์กับสายน้ำมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งเป็นเมืองเกาะล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำลำคลองมากมายหลายสาย ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกรุงเก่าจึงต้องอาศัยเรือในการสัญจร ไปมา รวมทั้งในเวลารบทัพจับศึกก็จะใช้กระบวนทัพเรือเป็นสำคัญ จึงปรากฏว่ามีการสร้างเรือรบมากมายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ในเวลาบ้านเมืองปราศจากศึกสงครามได้ใช้เรือรบฝึกซ้อมกระบวนยุทธ์กันเป็นนิจเพราะฉะนั้นเมื่อถึงฤดูน้ำหลากอันเป็นเวลาที่ ราษฎรว่างจากการทำนา จึงเรียกระดมพลมาฝึกซ้อมกระบวนทัพเรือโดยอาศัยฤดูกาลประจวบกับเป็นช่วงของประเพณีการทอดกฐิน พระเจ้าแผนดินจึง เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนเรือรบแห่แหน เพื่อให้ไพรพลได้รื่นเริงในการกุศลจึงจัดเป็น ประเพณีที่แห่เสด็จกฐินนอกจากนั้นขบวนพยุหยาตราชลมารคในอดีต ยังได้จัดในคราวที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปใน การต่างๆ ทั้งส่วนพระองค์และที่เป็นพระราชพิธีตลอดจนโอกาสสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษกการเสด็จพระราชดำเนิน ไปนมัสการรอยพระพุทธบาท การอัญเชิญ พระพุทธรูปที่สำคัญจากหัวเมืองเข้าประดิษฐานในเมืองหลวงการต้อนรับทูตต่างประเทศ
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
เรือเสือทยานชล
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค

พิพิธภัณฑ์อู่เรือพระราชพิธี (ตอนที่สอง)

พิพิฑภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี


     เดิมเรียกอู่เรือพระราชพิธี สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เพื่อใช้เก็บเรือพระที่นั่งและเรือรบ แต่ปัจจุบันใช้เก็บเรือในพิธีกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เดิมอยู่ในความดูแลของกองทัพเรือ แต่ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โรงเรือได้รับความเสียหายมาก และในปี พ.ศ. 2490 สำนักพระราชวังและกองทัพเรือได้มอบให้กรมศิลปากรทำการซ่อมแซมดูแลรักษา บรรดาเรือต่าง ๆ ที่ใช้ในพระราชพิธีเหล่านี้เป็นเรือที่มีประวัติสำคัญมาแต่โบราณ ที่ยังคงความสวยงามในฝีมือช่างอันล้ำเลิศ และทรงคุณค่าในงานศิลปกรรม ประการสำคัญยังสามารถนำมาใช้ในการพระราชพิธีต่าง ๆ สืบเนื่องมาถึงปัจจุบัน กรมศิลปกรเล็กงห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้ขึ้นทะเบียนเรือพระที่นั่งต่าง ๆ ไว้เป็นมรดกของชาติ พร้อมกับยกฐานะของอูเก็บเรือขึ้นเป็ฯ "พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเรือพระราชพิธี" ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2517 เป็นต้นมา จัดแสดงเรือพระราชพิธี ศิลปโบราณวัตถุ สิ่งของเครื่องใช้ประกอบในพระราชพิธีชลมารคเพิ่มเติม เพื่อเปิดบริการแก่ผู้เข้าชมทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้ชื่นชมความงาม และศึคกษาเรื่องราวของเรือพระราชพิธีได้อย่างลึกซึ้งและเข้าใจมากยิ่งขึ้น
     เรือที่เก็บอยู่ในโรงเรือพระราชพิธีนี้ ได้แก่


                         1.  เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช (สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4)
                         2.  เรือพระที่นั่งเอนกชาติภุชงค์ (สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5)
                         3.  เรือกระบี่ปราบเมืองมาร
                         4.  เรือครุฑเหิรเห็จ
                         5.  เรือพาลีรั้งทวีป
                         6.  เรือสุครีพครองเมือง
                         7.  เรือพระที่นั่งสุพรรณหงษ์ (สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6)
                         8.  เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ เป็นเรือลำล่าสุดที่กองทัพเรือน้อมเกล้าฯถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เนื่องในปีกาญจนาภิเษก พ.ศ. 2539
   
  เนื่องจากบริเวณและพื้นที่ของพิฑภัณฑสถานแห่งชา่ติเรือพระราชพิธีแห่งนี้ มีอยู่น้อยและจำกัดมาก สามารถจัดแสดงเรือพระราชพิธีได้เพียง 8 ลำเท่านั้น อีก 5 ลำได้นำไปฝากไว้ที่ท่าวาสุกรี และอีก 38 ลำเก็บรักษาไว้ที่กองเรือเล็ก แผนกเรือพระราชพิธี กองทัพเรือ บริเวณสะพานอรุณอมรินทร์ด้านทิศตะวันตก โดยมีกองทัพเรือเป็นผู้ดูแล
เรือพระราชพิธี
     เรือพระราชพิธีนั้น หมายถึง เรือสำหรับใช้ในการประกอบพระราชพิธีชลมารค หรือที่เรียกว่า กระบวนพยุหยาตราชลมารค ถือเป็นพระราชประเพณีดั้งเดิม สืบเนื่องมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ซึ่งก็คือ การจัดรูปกระบวนเรือรบในแม่น้ำตามตำราพิชัยสงครามนั่นเอง ซึ่งการรบทางน้ำในสมัยโบราณนั้นส่วนใหญ่รบกันทางทะเลหรือแม่น้ำ ดังนั้น เรือที่ใช้ในการราบการสงครามจึงต้องมีขนาดใหญ่และยาว เพื่อบรรจุพลรบได้คราวละมาก ๆ แต่ถ้าในยามปรกติแล้ว ในหน้าน้ำจะจัดเป็นพระราชพิธีการทอดกฐินตามพระอารามหลวงที่สำคัญ ๆ ที่ตั้งอยู่ริมน้ำ เป็นกระบวนพยุหยาตราชลมารค ส่วนประชาชนธรรมดาก็ถือเป็นประเพณีกำหนดงานเทศกาลแข่งเรือ
     กระบวนพยุหยาตรา คือ กระบวนพระราชพิธีที่องค์พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา โปรดเกล้าฯ ให้จัดขึ้น มีกระบวนพิธีซึ่งพิธีหนึ่ง ๆ ก็เป็นเฉพาะการนั้น ๆ ดังนั้น กระบวนพยุหยาตราชลมารค ก็คือการเสด็จพระราชดำเนินของพระมหากษัตริย์ที่จัดเป็นกระบวนโดยทางน้ำ ซึ่งต้องอาศัยเรือเป็นพาหนะ มักจัดขึ้นในโอกาสที่ต้องเสด็จกรีฑาทัพในศึกสงคราม และในโอกาสพระราชพิธี เพื่อเป็นการรวมพลโดยเสด็จครั้งใหญ่ อีกประการหนึ่ง ก็คือ เพื่อเป็นการฝึกพลเรือรบทางน้ำพร้อมไปในการพิธีต่าง ๆ ด้วย เนื่องจากยามว่างจากสงคราม จะต้องมีการระดมพลเพื่อเตรียมความพร้อมเพรียง และทันต่อการเกิดสงคราม เพราะในสมัยอยุธยานั้น การเตรียมพร้อมด้านกำลังรบ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด กระบวนพยุหยาตรานั้น สันนิษฐานว่าเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในราว พ.ศ. 2217 รัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ
     พระราชพิธีที่เนื่องด้วยเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารค คือ
          1.  พระราชพิธีอาสวยุทธ เป็นพระราชพิธีเกี่ยวกับกระบวนเรือรบ จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองเทิดพระเกียรติองค์พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น ในสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ
          2.  พระราชพิธีไล่เรือ
          3.  กระบวนเสด็จพยุหยาตราเพชรพวง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยนี้ได้มีการใช้เรือรบโบราณประกอบพระราชพิธีแห่แหนทูตชาวตะวันตกที่เข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรีอย่างมโหฬาร ซึ่งในสมัยรัชการที่ 4 โปรดฯ ให้จัดเรือเหล่านี้ต้อนรับบรรดาทูตานุทูตที่ปากน้ำสมุทรปราการแห่เข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ด้วย อย่างไรก็ตามในวรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ได้มีการกล่าวถึงกระบวนพยุหยาตราเพชรพวงในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งถือว่าเป็นพระราชพิธีที่สืบเนื่องมาแต่ครั้งอยุธยาที่สำคัญพระราชพิธีหนึ่ง โดยเฉพาะเป็นการพระราชพิธีเกี่ยวกับการต้อนรับทูตตะวันตกที่เข้ามาเจริญสัมพันธ์ไมตรีสมัยต่าง ๆ ที่สำคัญคือ สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก และสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังกล่าวแล้วข้างต้น
          4.  กระบวนการเสด็จราชดำเนินเลียบพระมหานคร เนื่องในการพระราชพิธีบรมราชภิเษก โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 1 ซึ่งโปรดฯ ให้สร้างเรือรบชนิดต่าง ๆ 67 ลำ เพื่อใช้เป็นเรือรบทางแม่น้ำในการยกทัพไปโจมตีข้าศึกโดยเฉพาะพม่าที่ยังคงสงครามติดพันอยู่ และทรงโปรดฯ ให้ใช้เป็นเรือในการประกอบพระราชพิธีสำคัญ ๆ ดังเช่นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น
          5.  กระบวนเสด็จพระราชดำเนินพยุหยาตราชลมารค (รวมทั้งสถลมารค) เพื่อเสด็จนมัสการพระพุทธบาทสระบุรี ในสมัยอยุธยา ดังเช่น ในสมัยสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม
          6.  พระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน เป็นการพระราชพิธีที่สืบเนื่องมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา และถือเป็นพระราชพิธีโดยเสด็จพยุหยาตราชลมารคที่สำคัญในสมัยปัจจุบัน เช่น กระบวนพยุหยาตราชลมารคเสด็จถวายผ้าพระกฐินหลวงวัดอรุณราชวรารามในปี พ.ศ.2502
          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดฯ ให้ฟื้นฟูจารีตประเพณีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคกระบวนใหญ่ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2502 เป็นต้นมา เหตุที่มีพระราชหฤทัยในการฟื้นฟู ก็ด้วยเสด็จยังโรงเก็บเรือพระราชพิธีที่คลองบางกอกน้อย ทอดพระเนตรเรืออยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม จึงมีพระราชดำริว่า ถ้าจะโปรดฯ ให้มีการฟื้นฟูการเสด็จระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคขึ้น ก็คงไม่เป็นการสิ้นเปลืองอะไรนัก เพราะกำลังคนสามารถใช้ของทหารเรือ เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายทำขึ้นครั้งเดียวก็สามารถใช้ได้แรมปี ส่วนประโยชน์ที่ได้รับนั้นมีมากมายหลายประการ เช่น เรือพระราชพิธีต่าง ๆ อันสวยงามและทรงคุณค่าในทางศิลปะเหล่านี้ จะได้รับการดูแลรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดีอยู่เสมอ เป็นการรักษาสมบัติอันมีค่าของชาติที่เราได้กระทำมาแล้วแต่กาลก่อน ให้ดำรงคงอยุ่เป็นที่เชิดหน้าของชาติ เป็นการบำรุงขวัญและก่อให้เกิดความภูมิใจของคนไทย และยังเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวต่างประเทศด้วย

พิพิธภัณฑ์อู่เรือพระราชพิธี



พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี

ตามรอยเรือไทย ใน“พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” และ “พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี”
                                            เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
       ปัญหาน้ำท่วมใหญ่ใน่วงนี้ทำให้การจัดงานขบวนพยุหยาตราทางชลมารคในงานพระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร ที่เดิมมีหมายกำหนดการจัดขึ้นในวันที่ 22 ตุลาคม 2554 มีความจำเป็นต้องเลือนการจัดงานไปในปีหน้า
       
       อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงขบวนเรือพระราชพิธีแล้ว ก็ทำให้ฉันอยากที่จะรู้ถึงความเป็นมาของเรือต่างๆของเรา ฉันจึงเดินทางไปบุกยังถิ่นทัพเรือ ฝั่งธนบุรี และมุ่งตรงไปยัง“พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” เพื่อมาเรียนรู้เกี่ยวกับเจ้าพาหนะทางน้ำให้มากยิ่งขึ้น
ตามรอยเรือไทย ใน“พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” และ “พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี”
                      อาคารพิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงเก่าแก่กว่า 100 ปี
       เมื่อเข้าประตูกรมอู่ทหารเรือ ฉันตรงไปจนเกือบจะสุดทาง ทางด้านซ้ายมือจะเจอกับ “พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง เฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา” เป็นอาคารสีขาวเขียว ดูเก่าแก่สวยงาม ซึ่งอาคารหลังนี้เป็นอาคารเรือนไม้ของแผนกโรงงานเครื่องกล กองโรงงาน อู่ทหารเรือธนบุรี ที่เคยเป็นอาคารกรมยุทธนาธิการทหารเรือเดิม
      
       อาคารเก่าแก่หลังนี้อายุมากกว่า 100 ปี เป็นอาคาร 2 ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา ชั้นล่างก่ออิฐถือปูน ส่วนชั้นบนเป็นไม้ มีระเบียงโปร่งล้อมรอบ มีรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบขนมปังขิงรอบอาคารประดับด้วยไม้ฉลุลายที่สวยงาม ตามหลักฐานที่ปรากฏ อาคารนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งนอกจากความสวยงามและเก่าแก่แล้ว ที่หน้าจั่วของทางเข้ายังมีการเล่นลวดลายสีเขียวเป็นฟันเฟืองของลวดลายช่าง เพื่อผสมผสานกลมกลืนกับเจ้าของสถานที่ที่เคยเป็นอาคารของแผนกช่างมาก่อน
ตามรอยเรือไทย ใน“พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” และ “พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี”
                    การจัดแสดงในส่วนจากราชนิเวศน์สู่อู่เรือหลวง
       และก่อนที่เราจะได้ชมภายในพิพิธภัณฑ์ ก็ต้องมารู้ประวัติความเป็นมาคร่าวๆของกรมอู่ทหารเรือและพิธีเปิดอู่เรือกันที่ “ห้องแสดงวีดีทัศน์” กันก่อนว่า รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างอู่เรือหลวงขนาดใหญ่ขึ้นใต้วัดระฆัง เพื่อใช้ในการซ่อมสร้างเรือรบที่นับวันจะมีจำนวนมากขึ้น โดยพระองค์เสด็จฯ มาทรงกระทำพิธีเปิดอู่เรือหลวงด้วยพระองค์เองเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2433 ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้นแก่กองทัพเรือ
      
       กิจการอู่เรือหลวงได้เจริญก้าวหน้าขึ้น จนต้องสร้างอู่เรือหลวงขึ้นใหม่ เพื่อรองรับการซ่อมสร้างเรือที่มีเพิ่มมากขึ้น อู่เรือหลวงที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างนี้ นับได้ว่าเป็นการวางรากฐานในกิจการของกรมอู่ทหารเรือให้เจริญก้าวหน้ามาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ในวีดีทัศน์ยังกล่าวถึงความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้อีกด้วย
ตามรอยเรือไทย ใน“พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” และ “พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี”
                         การจัดแสดงที่ทันสมัยภายในพิพิธภัณฑ์
       จากนั้นเจ้าหน้าที่พาเราขึ้นไปที่ชั้นบน เพื่อไปยังส่วนจัดแสดงต่อไปคือส่วน “จากราชนิเวศน์สู่อู่เรือหลวง” จัดแสดงประวัติพื้นที่ก่อนจะมีการสร้างอู่เรือหลวงขึ้น ต่อเนื่องด้วย“จากอู่เรือหลวงสู่กรมอู่ทหารเรือ” เป็นส่วนที่อธิบายถึงความสำคัญของงานอู่เรือกับการปกป้องอธิปไตยของชาติทางทะเล และความจำเป็นของการมีอู่เรือขนาดใหญ่
      
       ถัดไปเป็นส่วน “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับงานนาวิกสถาปัตย์” โดยกล่าวถึงพระมหากรุณาธิคุณ และพระอัจฉริยภาพแห่งพระองค์ด้านการต่อเรือ การสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.91 ตามแนวพระราชดำริ และการขยายผลสู่ชุดเรือ ต.991 และชุดเรือ ต.994
      
       ต่อด้วย “การเสริมสร้างสมุททานุภาพให้กองทัพเรือ” ซึ่งจัดแสดงให้เห็นถึงกระบวนการต่อเรือ วิทยาการและเทคโนโลยีการต่อเรือจากอดีตถึงปัจจุบัน จากนั้นจึงเข้าสู่ส่วนจัดแสดง “การอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมของชาติ” ซึ่งนำเสนอการต่อเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 การอนุรักษ์ และการซ่อมเรือพระราชพิธี
ตามรอยเรือไทย ใน“พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” และ “พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี”
                                  เรือตรวจการณ์ ต.991 จำลอง
       จากนั้นเจ้าหน้าที่พาฉันลงไปยังชั้นล่างเพื่อชมส่วนจัดแสดงต่อไป คือ “ทำเรือให้พร้อมรบ” อันแสดงถึงกระบวนการซ่อมทำเรือรบ เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ และผลงานการซ่อมทำเรือที่สำคัญของกรมอู่ทหารเรือ จนมาต่อที่ส่วน “งานอื่นๆนอกเหนือจากการซ่อมสร้างเรือ” เช่น อัญเชิญพระพุทธชินราชจำลองจากพิษณุโลกมายังโรงหล่อ การผลิตพลังงานทดแทนไบโอดีเซล การทำเชือกชักฉุดราชรถ การอบรมหลักสูตรเรือใบซูเปอร์มด เป็นต้น
      
       ถัดจากนั้นบริเวณกลางห้องโถง ได้ถูกจัดเป็นนิทรรศการหมุนเวียนต่างๆ จากนั้นเป็นส่วนจัดแสดงเรื่อง “อู่เรือและอุตสาหกรรมต่อเรือของประเทศ” เป็นส่วนที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของกิจการอู่เรือ และพาณิชย์นาวีของประเทศในด้านต่างๆ
ตามรอยเรือไทย ใน“พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” และ “พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี”
                 การจัดแสดงในส่วนประสานเทคโนโลยีรวมบุคลากร
       และมาจบลงที่ส่วนจัดแสดงสุดท้าย คือ “ประสานเทคโนโลยี รวมบุคลากร” ที่แสดงถึงการจะต่อเรือลำหนึ่งต้องอาศัยเทคโนโลยีและบุคลากรในสาขาต่างๆ เพื่อให้บรรลุภารกิจการซ่อม สร้าง และดัดแปลงเรือ
      
       เมื่อรับชมภายในพิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงจบแล้ว ฉันเห็นที่อู่จอดเรือ มีเรือพระที่นั่งจอดอยู่ 4 ลำ ซึ่งเจ้าหน้าที่เล่าว่า ในช่วงของการซ้อมขบวนเรือ จะนำเรือพระที่นั่งมาจอดในบริเวณนี้เพื่อเป็นการสะดวกในการเคลื่อนย้ายและการตรวจบำรุงรักษา
ตามรอยเรือไทย ใน“พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” และ “พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี”
                                 ส่วนจัดแสดงเรือใบซูเปอร์มด
       ใครที่อยากจะรู้จักกับเรือพระที่นั่ง และเรือพระราชพิธีอย่างใกล้ชิด ฉันขอแนะนำให้ไปต่อที่ “พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี” ที่อยู่ไม่ไกลจากพิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงแห่งนี้
      
       โดยพิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธีแห่งนี้ มีลักษณะเป็นโรงเรือขนาดใหญ่ ด้านในตู้กระจกขนาดใหญ่ที่อยู่ในสุดของพิพิธภัณฑ์บอกเล่าถึงประวัติศาสตร์ของการแห่เรือ และความเป็นมาของเรือพระที่นั่งไว้อย่างละเอียด ซึ่งเรือพระราชพิธีที่ใช้ในกระบวนและขบวนพยุหยาตราทางชลมารคนั้น มีมาตั้งแต่ในสมัยอยุธยา
ตามรอยเรือไทย ใน“พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” และ “พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี”
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณฯขณะซ่อมบำรุงที่อู่เรือ
       โดยในอดีตเรือพระราชพิธีจะหมายถึงเรือที่สร้างขึ้นสำหรับใช้ในยามศึกสงคราม และเป็นราชพาหนะของกษัตริย์ในการเสด็จพระราชดำเนินไปบำเพ็ญพระราชกุศล หรือประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ แต่เรือเหล่านั้นได้ถูกทำลายไปหมดเมื่อคราวเสียกรุงครั้งที่สอง
      
       ต่อมารัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้สร้างเรือพระที่นั่งและเรือประกอบขบวนขึ้นอีกครั้ง และในรัชกาลต่อๆ มาก็มีการสร้างเรือเพิ่มเติมขึ้นอีกหลายลำ แม้ในช่วงหลังๆ เรือพระที่นั่งเหล่านี้จะไม่ได้ใช้ในการสงครามแล้ว แต่ก็ได้ใช้ในการสืบทอดแบบแผนกขบวนพยุหยาตราทางชลมารคต่อไป
ตามรอยเรือไทย ใน“พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” และ “พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี”
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณฯและเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ที่อู่เรือ
       เมื่อรู้ประวัติกันแล้วก็มายลโฉมเรือพระที่นั่งและเรือในขบวนเรือพระราชพิธี ที่ตั้งอยู่อย่างงามสง่า 8 ลำด้วยกัน โดยเรือลำแรกที่มีความสำคัญมากก็คือ “เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์” สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และเสร็จลงในสมัยรัชกาลที่ 6 มีโขนเรือเป็นรูปหงส์ ซึ่งตามตำนานอินเดียถือว่าหงส์เป็นพาหนะของพระพรหม และเป็นเครื่องหมายของความสง่างาม สูงส่ง
      
       ถัดมาคือ “เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9” เป็นเรือพระที่นั่งที่มีความใกล้ชิดกับประชาชนคนไทยในสมัยนี้มากที่สุด เพราะเรือลำนี้เป็นเรือที่สร้างขึ้นมาใหม่โดยกรมศิลปากรร่วมกับกองทัพเรือ และสำนักพระราชวัง โดยเพิ่งสร้างเสร็จในปี 2539 เพื่อทดแทนเรือพระที่นั่งลำเดิม และเพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในมหามงคลวโรกาสพระราชพิธีกาญจนาภิเษกอีกด้วย
ตามรอยเรือไทย ใน“พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” และ “พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี”
เรือพระที่นั่งที่แสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี
       “เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช” โขนเรือเป็นรูปนาคเจ็ดเศียร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยปรกติแล้ว เรือพระที่นั่งลำนี้จะใช้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ หรือผ้าพระกฐินในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ส่วน “เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์” เป็นเรือพระที่นั่งรอง สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โขนเรือจำหลักลายปิดทองรูปพญานาคเล็กๆ จำนวนมาก
      
       ส่วนเรือที่เหลือนั้น มิได้เป็นเรือพระที่นั่ง แต่เป็นเรือประกอบในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ได้แก่ เรือเอกชัยเหินหาว เรือครุฑเหินเห็จ เรือกระบี่ปราบเมืองมาร และเรืออสุรวายุภักษ์ รวมทั้งหมด 8 ลำที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ จริงๆ แล้วเรือในขบวนพยุหยาตรายังมีมากกว่านั้น แต่เก็บรักษาไว้ในสถานที่อื่นๆ คือในโรงเรือแผนกพระราชพิธี กองเรือเล็ก กรมขนส่งทหารเรือ และโรงเรืออู่ยนต์หลวง ท่าวาสุกรี
      
       สำหรับใครที่อยากชมเรือพระที่นั่งอย่างใกล้ชิดก็สามารถเข้าชมได้ เพราะทั้งเรื่องราวของขบวนเรือพระราชพิธีและเรือต่างๆที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของเมืองไทยที่ทรงคุณค่ายิ่ง
ตามรอยเรือไทย ใน“พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” และ “พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี”
                                   ตู้แสดงประวัติเรือพระราชพิธี
      
ตามรอยเรือไทย ใน“พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” และ “พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี”
                       อาคารโรงเรือพิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี
       * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *
      
     
  “พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวง” ตั้งอยู่ที่ กรมอู่ทหารเรือ ถ.อรุณอมรินทร์ บางกอกน้อย กรุงเทพฯ เปิดให้เข้าชมฟรีวันจันทร์-ศุกร์ เวลาราชการ โดยต้องติดต่อล่วงหน้า และเข้าชมเป็นหมู่คณะ 12-50 คน หากน้อยกว่านั้นทางพิพิธภัณฑ์จะจับกลุ่มให้ สอบถามโทร. 0-2475-4185
      
       ส่วน”พิพิธภัณฑ์ฯเรือพระราชพิธี” ตั้งอยู่ที่ เชิงสะพานอรุณอมรินทร์ ถ.อรุณอมรินทร์ ศิริราช บางกอกน้อย กรุงเทพฯ เปิดทุกวัน เวลา 9.00-17.00 น. คนไทย 20 บ. ต่างชาติ 100 บ. โดยในช่วงนี้ปิดให้บริการ และจะเปิดอีกครั้งในเดือนพ.ย. นี้ สอบถามโทร. 0-2424-0004

มุมแนะนำ