มุมแนะนำ

วันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ขบวนเรือในกระบสนพยุหยาตราทางชลมารค

กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคเป็นกระบวนเสด็จพระราชดำเนินทางน้ำที่เป็นราชประเพณีไทย ที่มีมาแต่โบราณ โดยมีหลักฐาน ชัดเจนตั้งแต่สมัยอยุธยาเรือในกระบวนมีการสลักโขนเรือเป็นรูปสัตว์ในเทพนิยาย มีการจัดกระบวนหลายแบบ ที่รู้จักกันดีก็คือ "กระบวนพยุหยาตราเพชรพวง" ดังปรากฏในลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง ลิลิตพรรณนากระบวนเรือประพันธ์โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) เมื่อพ.ศ. 2430ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโดยยึดถือตามแบบแผนเดิมแห่งกรุงศรีอยุธยาประเภท ของการเห่เรือ สามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภทคือ การเห่เรือหลวง (การเห่เรือในงานพระราชพิธี) และการเห่เรือเล่น (การเห่เรือ เล่นของชาวบ้านในงานต่างๆ) ในปัจจุบันการเห่เรือ ยังคงอยู่เฉพาะการเห่เรือหลวงที่ใช้ใน กระบวนพยุหยาตราชลมารค
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
สำหรับในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันได้มีการจัดขบวนพยุหยาตราชลมารคมาแล้วจำนวน 17 ครั้ง โดยในปี พ.ศ. 2555 นี้ ถือเป็นครั้งที่ 18 วันเสด็จพระราชดำเนินจริง วันศุกร์ที่ 9 พฤศจิกายน 2555 ตั้งแต่เวลา 15.00 -17.00 น. ซึ่งกรมเจ้าท่าได้ประกาศปิดการจราจรทางน้ำตามเส้นทางดังกล่าวจนถึงช่วงเย็นจนกว่าจะเสร็จสิ้นพระราชพิธี

พระราชพิธีเสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐินโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารคครั้งนี้เป็นการจัดขบวนพยุหยาตราทางชลมารค ใหญ่ 5 ริ้ว ใช้เรือ พระราชพิธีทั้งสิ้น 52 ลำ ประกอบด้วย เรือพระที่นั่ง จำนวน 4 ลำ คือ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9 เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช และเรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือรูปสัตว์ จำนวน 8 ลำ เรือดั้ง จำนวน 22 ลำและเรือ ประกอบอื่น ๆ จำนวน 18 ลำ
เรือในกระบวนพยุหยาตราชลมารค มีดังนี้
เรือพระที่นั่งอนันตนาคราช เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
เรือเอกไชยเหินหาว เรือเอกไชยหลาวทอง เรือพาลีรั้งทวีป เรือสุครีพครองเมือง เรืออสุรวายุภักษ์ เรืออสุรปักษี
เรือกระบี่ปราบเมืองมาร เรือกระบี่ราญรอนราพณ์ เรือครุฑเหินเห็จ เรือครุฑเตร็จไตรจักร เรือเสือทยานชล
เรือเสือคำรณสินธุ์ เรืออีเหลือง เรือทองขวานฟ้า เรือทองบ้าบิ่น เรือแตงโม เรือดั้ง เรือแซง เรือตำรวจ
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค

คงไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่า ขบวนเรือพระราชพิธีในขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เป็นสิ่งที่แสดงถึง คุณค่าทางศิลปะวัฒธรรม ของชนชาติไทยทั้งทางด้าน คีตศิลป์ กวีศิลป์ผ่านกาพย์เห่เรือที่ถูกเรียงร้อยอย่างบรรจงด้วยภาษาที่สละสลวยและการเอื้อนเอ่ย ด้วยน้ำเสียงและท่วงทำนองอันเป็นเอกลักษณ์ นอกจากนั้นความอ่อนช้อยของโขนเรือและลำเรือที่ถูกสลักเสลาอย่างวิจิตรงดงาม ยังถ่ายทอดให้เห็นถึงความชาญฉลาดในประติมากรรมการต่อเรืออย่างประณีตและเป็นเอกลักษณ์ที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลกหากจะ ย้อนกลับไปในอดีตกาล การคมนาคมทางน้ำถือเป็นเส้นทางการคมนาคมที่สำคัญอีกเส้นทางหนึ่งนอกเหนือจากเส้นทาง การคมนาคมทางบกเพราะชนชาติไทยมีความผูกพันธ์กับสายน้ำมาอย่างยาวนาน โดยเฉพาะในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ซึ่งเป็นเมืองเกาะล้อมรอบไปด้วยแม่น้ำลำคลองมากมายหลายสาย ชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกรุงเก่าจึงต้องอาศัยเรือในการสัญจร ไปมา รวมทั้งในเวลารบทัพจับศึกก็จะใช้กระบวนทัพเรือเป็นสำคัญ จึงปรากฏว่ามีการสร้างเรือรบมากมายในสมัยกรุงศรีอยุธยา

ในเวลาบ้านเมืองปราศจากศึกสงครามได้ใช้เรือรบฝึกซ้อมกระบวนยุทธ์กันเป็นนิจเพราะฉะนั้นเมื่อถึงฤดูน้ำหลากอันเป็นเวลาที่ ราษฎรว่างจากการทำนา จึงเรียกระดมพลมาฝึกซ้อมกระบวนทัพเรือโดยอาศัยฤดูกาลประจวบกับเป็นช่วงของประเพณีการทอดกฐิน พระเจ้าแผนดินจึง เสด็จพระราชดำเนินไปถวายผ้าพระกฐินโดยกระบวนเรือรบแห่แหน เพื่อให้ไพรพลได้รื่นเริงในการกุศลจึงจัดเป็น ประเพณีที่แห่เสด็จกฐินนอกจากนั้นขบวนพยุหยาตราชลมารคในอดีต ยังได้จัดในคราวที่พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชดำเนินไปใน การต่างๆ ทั้งส่วนพระองค์และที่เป็นพระราชพิธีตลอดจนโอกาสสำคัญ เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษกการเสด็จพระราชดำเนิน ไปนมัสการรอยพระพุทธบาท การอัญเชิญ พระพุทธรูปที่สำคัญจากหัวเมืองเข้าประดิษฐานในเมืองหลวงการต้อนรับทูตต่างประเทศ
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ 9
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
เรือพระที่นั่งอเนกชาติภุชงค์
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค
เรือเสือทยานชล
กระบวนพยุหยาตราทางชลมารคกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ