มุมแนะนำ

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ความก้าวหน้าทางวิทยาการสมัยใหม่‹(ราวพุทธศตวรรษที่ 21 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 15)



ความก้าวหน้าทางวิทยาการสมัยใหม่‹(ราวพุทธศตวรรษที่ 21 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 15)
1. การปฏิวัติวิทยาศาสตร์ เกิดขึ้นในสาขาวิชาดาราศาสตร์ก่อนโดย
- นิโคลัส คอเปอร์นิคัส หักล้างความเชื่อที่มีในสมัยกลางว่าโลกเป็นศูนย์กลางจักรวาล เปลี่ยนเป็น ดวงอาทิตย์ เป็นศูนย์กลางของจักรวาล
- กาลิเลโอ กาลิเลอี ยืนยันแนวความคิดของ คอเปอร์นิคัส โดยทำการศึกษาทดลอง โดยเป็นผู้นำการทดลองมาเป็นแนวทางศึกษาวิทยาศาสตร์
- ฟรานซิส เบคอน วางพื้นฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์ โดยเน้นความสำคัญของการทดลอง
- เรอเน่ เคสการ์ตส์ เน้นการใช้เหตุผล อย่างมีขั้นตอนและการคำนวณด้านคณิตศาสตร์ เป็นบิดาวิชาเรขาคณิตวิเคราะห์
- ไอแซค นิวตัน พบกฎแรงดึงดูดหรือแรงโน้มถ่วงของมวลสาร
2. การปฏิวัติเกษตรกรรม (ปลายคริสศตวรรษที่ 17) เป็นการนำเทคนิควิทยาการมาปรับปรุงใช้กับการเกษตรกรรม เป็นผลให้ปริมาณผลผลิตเพิ่มมากขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงวิธีการเพาะปลูก ด้านแบบเปิดโล่ง (Openfield system) ที่ไม่มีการล้อมรั้ว ในแต่ละเขตให้มีที่ดินสาธารณะให้ชาวนาทุกคนใช้ร่วมกัน เช่น เลี้ยงสัตว์ ดังนั้น ชาวนาจะใช้พื้นที่ทำนาเพียง 3 ส่วน เหลือทิ้งว่างไว้ 1 ส่วนทำให้เสียประโยชน์ จึงเปลี่ยนมาเป็น การล้อมรั้วปักปันที่ดิน และแสดงกรรมสิทธิ์
ความก้าวหน้าทางเกษตร โดยการปรับปรุงเทคนิคด้านเกษตรมีผลงานของบุคคลดังนี้คือ
- ชาร์ลส์ ทาวน์เซนส์ ค้นพบวิธีปลูกพืชหมุนเวียน
- เจโทรทัลส์ คิดเครื่องหว่านเมล็ดพืช
- โรเบิร์ต เบคเวล ปรับปรุงด้านปศุสัตว์
3. การปฏิวัติอุตสาหกรรม เริ่มปี ค..1760 (ปลายคริสศตวรรษที่ 18) แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ..1760-1860 เป็นการเปลี่ยนแปลงรายการผลิตจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรม เปลี่ยนจากการใช้แรงงานคนและสัตว์มาเป็นการใช้พลังงานจากธรรมชาติ คือ พลังงานไอนํ้า และความร้อนจากถ่านหิน
ระยะที่ 2 ..1861 - คือ การนำเอาเหล็กกล้ามาใช้ในอุตสาหกรรม การใช้โลหะผสมและโลหะเบาที่อาศัยวิธีทางเคมีช่วย
พลังงานที่ใช้เปลี่ยนจากถ่านหินและไอนํ้ามาเป็น ก๊าซและนํ้ามันเชื้อเพลิง ต่อมาใช้พลังงานไฟฟ้า
* ระยะนี้การปฏิวัติอุตสาหกรรม ขยายตัวจากอังกฤษและยุโรปตะวันตก ไปยังยุโรปภาคกลาง ยุโรปตะวันออก สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น
ระยะที่ 3 ได้แก่การค้นพบ อิเล็กทรอนิกส์ และการพัฒนาด้านการสื่อสาร ทำให้โลกพัฒนาเข้าสู่การเป็นสังคม สารสนเทศ (Information Society)
ผลการปฏิวัติอุตสาหกรรม
1. เกิดการเจริญเติบโตของระยะทุนนิยม โดยเปลี่ยนจากระบบทุนนิยมการค้ามาเป็นทุนนิยมอุตสาหกรรม เป็นระบบโรงงานมีคนทำงานในโรงงาน มีการแข่งขัน มีการแย่งงานกันทำ โดยจำแนกตามความชำนาญเฉพาะอย่าง
2. เกิดชนชั้นกลาง กลายเป็นคนมั่งคั่งที่สุด และควบคุมสังคม
3. เกิดการแข่งขัน และพึ่งพาทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ
4. เกิดลัทธิเศรษฐกิจและลัทธิการเมืองใหม่
. ลัทธิเสรีนิยม (Liberalism) ยกย่องสิทธิ์ เสรีภาพของมนุษย์ นักเสรีนิยมที่สำคัญ คือ อดัม สมิธ เจ้าของแนวความคิดการค้าเสรี (Free Trade หรือ Laissez - faire) หนังสือที่เขาเขียนคือ The Wealt of Nation)
. ลัทธิสังคมนิยม เป็นลัทธิที่ให้กรรมกรเรียกร้องสิทธิและความชอบธรรม ต่อต้านการ เอารัดเอาเปรียบของนายทุน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ
- สังคมนิยม ยูโทเปีย เสนอการแบ่งการใช้โภคทรัพย์ ด้วยระบบสหกรณ์นักคิดคนสำคัญได้แก่ โรเบิรต์ โอเวน, แซงซีมองต์ ชาร์ลส์ฟูริเยร์ และ หลุยส์ บลังก์
- สังคมนิยม มาร์กซ เป็นแนวสังคมนิยมวิทยาศาสตร์ สามารถนำไปปฏิบัติได้ นักคิดคนสำคัญ คือ คาลมาร์กซ์ ฟรีดริซ เฮงเกลล์ เขียนหนังสือเรื่อง แถลงการณ์ณ์คอมมิวนิสต์ (Communist Manifesto) หนังสือ ทุน (Das Kapital)
แซงซีมอง มีแนวความคิดว่า ทุกคนมีโอกาสทำงานตามระดับความสามารถของตน และได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม ดังนั้น
ควรสร้างสังคมใหม่ที่ใช้หลักการแห่งเหตุผล และอำนาจในการบริหารประเทศควรอยู่ที่กลุ่มผู้ผลิต
ชาล์ส ฟูริเยร์ ชี้ความชั่วร้ายของพ่อค้าคนกลาง ไม่เห็นด้วยกับการค้าเสรี เพราะเป็นการทำลายผู้ที่อ่อนแอกว่า เสนอแนวคิด
ว่าการสร้างสังคมอุดมคติที่คนอยู่ร่วมกันอย่างดี ทำงานตามความสามารถ มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินร่วมกัน และได้รับผลตอบแทน
แรงงานที่เท่าเทียมกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ