มุมแนะนำ

วันอาทิตย์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

การปฏิรูปการปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถ



การปฏิรูปการปกครองสมัยพระบรมไตรโลกนาถ

1. การปฏิรูปการจัดระเบียบการปกครองส่วนกลาง มีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
- แยกราชการฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือนออกจากกัน เพื่อให้แต่ละฝ่ายปฏิบัติหน้าที่ของตนไปโดยไม่ก้าวก่ายกัน
ฝ่ายทหาร มีสมุหพระกลาโหม ยศ เป็น เจ้าพระยามหาเสนาบดี เป็นหัวหน้าบังคับบัญชา
ฝ่ายพลเรือน มีสมุหนายก ยศ เป็นเจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ เป็นผู้บังคับบัญชาโดยมี เสนาบดีจตุสดมภ์ เป็นผู้ช่วย
- ตั้งสมุหพระกลาโหม และสมุหนายก เป็นอัครมหาเสนาบดี สูงกว่าเสนาบดี
2. เปลี่ยนชื่อจตุสดมภ์ใหม่ ดังนี้
กรมเมือง เปลี่ยนชื่อเป็น นครบาล หัวหน้าคือ พระยานครบาล
กรมวัง ปลี่ยนชื่อเป็น ธรรมาธิกรณ์ หัวหน้าคือ พระธรรมาธิกรณ์
กรมคลัง เปลี่ยนชื่อเป็น โกษาธิบดี หัวหน้าคือ พระยาโกษาธิบดี
กรมนา เปลี่ยนชื่อเป็น เกษตราธิการ หัวหน้าคือ พระยาเกษตราธิบดี
3. เปลี่ยนแปลงการปกครองส่วนภูมิภาคใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์ รวบรวมอำนาจการปกครองไว้ในส่วนกลางให้กระชับยิ่งขึ้น
เพื่อให้อาณาจักรมีความเป็นเอกภาพ และมั่นคงมากกว่าเดิม การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงมีดังนี้
- ยกเลิกเมืองลูกหลวง หรือเมืองหน้าด่านทั้ง สี่ และกำหนดให้เมืองเหล่านั้น และเมืองอื่นๆ ที่อยู่ใกล้ในวงราชธานี เป็นเมืองจัตวา มีผู้ว่าราชการเมือง ที่เรียกว่าผู้รั้งซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งออกไปปฏิบัติหน้าที่โดยตรง และอยู่ภายใต้การควบคุมของราชธานีอย่างใกล้ชิด
- จัดให้หัวเมืองที่อยู่วงนอกราชธานีออกไป เป็นเมืองชั้นเอก โทและตรี ตามขนาดและความสำคัญมากน้อยต่างกันตามลำดับแต่ละเมือง จะมีเมืองเล็กๆ อยู่ในความปกครอง พระมหากษัตริย์จะเป็นผู้ทรงเลือกและแต่งตั้งพระราชวงศ์ หรือขุนนางผู้ใหญ่ไปเป็นผู้ปกครองต่างพระเนตรพระกรรณประจำอยู่ตามหัวเมืองชั้นเอก โท ตรี เหล่านั้น และแต่ละเมืองจะมีการจัดระเบียบราชการปกครองเป็นแบบจตุสดมภ์ เช่นเดียวกับราชธานี
4. ในสมัยพระเพทราชาต้นราชวงศ์บานพลูหลวงมี การเปลี่ยนแปลงระบบการจัดระเบียบราชการส่วนกลางที่สำคัญ คือ
มีการเปลี่ยนอำนาจความรับผิดชอบของสมุหพระกลาโหม และสมุหนายกใหม่โดยให้สมุหกลาโหม มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาทั้งฝ่ายทหารและพลเรือนของบรรดาหัวเมืองฝ่ายใต้สมุหนายกมีอำนาจบังคับบัญชาทั้งฝ่ายทหาร และพลเรือน ในบรรดาหัวเมืองฝ่ายเหนือ
จุดประสงค์ของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ก็คือเป็นการลดอำนาจอิทธิพลทางด้านการทหารของ สมุหกลาโหมลง เพื่อป้องกันไม่ให้สมุหพระกลาโหมก่อการกบฏย่อชิงบัลลังก์เหมือนที่เคยมีมา
5. ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ได้ลดบทบาทอำนาจหน้าที่ของสมุหกลาโหม ให้เป็นเพียงที่ปรึกษาราชการจนถึงรัชสมัยพระพุทธยอดฟ้า จึงได้ให้อำนาจกลับคืนเหมือนเดิม ข้อสังเกต ตั้งแต่สมัยพระบรมโกศเป็นต้นมา บทบาทหน้าที่ของโกษาธิบดี (กรมคลัง) มีอำนาจหน้าที่แทนพระสมุหกลาโหม ทำให้หน่วยงานสำคัญ ตั้งแต่ปลายสมัยอยุธยา กรมที่มีบทบาท 3 กรม คือ สมุหนายก โกษาธิบดี และ สมุหกลาโหม จนถึงกรุงธนบุรี
6. การปฏิรูปสังคมและวัฒนธรรม
7. การปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่สำคัญ ได้แก่
1. ยกเลิกระบบเดิมที่มีสมุหพระกลาโหม สมุหนายก และจตุสดมภ์
2. จัดตั้งส่วนราชการเป็นกระทรวงต่างๆ ซึ่งมีหน้าที่และความรับผิดชอบแตกต่างกันไปตามลักษณะงาน ไม่ก้าวก่ายกันแต่ละกระทรวงมี เสนาบดี กระทรวง เป็นหัวหน้าปกครอง บังคับบัญชา กระทรวงที่จัดตั้งขึ้นมีทั้งหมด 12 กระทรวงดังนี้
- มหาดไทย บังคับหัวเมืองฝายเหนือ และเมืองลาว ประเทศราช
- กลาโหม บังคับเมืองปักษ์ใต้ ทั้งหมด และเมืองมลายู ประเทศราช
- ต่างประเทศ ว่าการเกี่ยวกับเรื่องการต่างประเทศโดยเฉพาะ
- วัง ว่าการในพระราชวัง และกรมที่เกี่ยวข้องราชการในพระองค์
- เมือง (ต่อมาเรียกกระทรวงนครบาล) รับผิดชอบเกี่ยวกับตำรวจ การบัญชี คนถือกรมสุรัสวดี คนโทษ ต่อมาทำหน้าที่บังคับบัญชาภายในเขตแขวงกรุงเทพฯ
- เกษตราธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับ การเพาะปลูก การป่าไม้ การบ่อแร่ และการค้าขาย
- ยุติธรรม มีหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องศาลทั้งหมด
- ยุทธนาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับทหารบก และทหารเรือ
- ธรรมการ มีหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องการศึกษา เรื่องที่เกี่ยวข้องกับพระสงฆ์ และการสาธารณสุข
- โยธาธิการ มีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจ การก่อสร้าง การไปรษณีย์โทรเลข และรถไฟที่จะขึ้นต่อไป
- มุรธาธิการ มีหน้าที่รักษาพระราชลัญจกร กำหนดกฎหมาย และหนังสือราชการทั้งปวง
3. ราชการปกครองส่วนภูมิภาค มีการปฏิรูปกล่าวโดยสรุปดังนี้
1. ยกเลิกการปกครองแบบหัวเมืองชั้น เอก โท ตรี จัตวา และประเทศราชและให้หัวเมืองทั้งหลายมีฐานะเท่าเทียมกัน
2. จัดระบบการปกครองส่วนภูมิภาคแบบใหม่ที่เรียกว่า แบบเทศาภิบาล
3. ปรับปรุงการปกครองท้องที่โดยให้สิทธิแก่ราษฎรในการเลือกผู้ใหญ่บ้านเอง และให้ผู้ใหญ่บ้านเลือกกำนันตามพระราชบัญญัติการปกครองท้องที่ ร..116
4. การปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ราษฎรมีส่วนในการบริหารท้องถิ่นของตนเองจึงจัดตั้ง สุขาภิบาล ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 2440
8. การปกครองส่วนภูมิภาค แบบเทศาภิบาลที่เริ่มจัดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 มีระเบียบการปกครองดังนี้ จัดรวมหัวเมืองหลายๆหัวเมืองเข้าเป็นเขตการปกครองขนาดใหญ่ เรียกว่า มณฑล แต่ละมนฑลมี ข้าหลวงเทศาภิบาล (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น
สมุหเทศาภิบาล) เป็นหัวหน้าปกครองและมีเจ้าหน้าที่ของกระทรวงทบวงกรมต่างๆ จากราชการส่วนกลางมาอยู่ประจำที่มณฑล
เพื่อช่วยปฏิบัติราชการเช่น สรรพากร เกษตรมณฑล และคลังมณฑล เป็นต้น
9. เขตการปกครองในภูมิภาคภายหลังการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังต่อไปนี้
1. หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านประกอบด้วยครัวเรือนหลายครัวเรือน
2. ตำบล แต่ละตำบลประกอบด้วยหมู่บ้านหลายหมู่บ้าน
3. อำเภอ แต่ละอำเภอประกอบด้วยตำบลหลายตำบล
4. เมือง แต่ละเมืองประกอบด้วยอำเภอหลายอำเภอ
5. มณฑล แต่ละมณฑลประกอบด้วยเมืองหลายเมือง
10. ตำแหน่ง สมุหเทศาภิบาลคือ ตำแหน่งผู้ปกครองมณฑลซึ่งตั้งขึ้นแทนตำแหน่งข้าหลวงเทศาภิบาลตามประกาศตั้ง
สมุหเทศาภิบาล ลงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2458 ทำหน้าที่ปกครองมณฑลขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์จนถึง พ..2464 จึงให้สังกัดกระทรวงมหาดไทย
11. การเปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.. 2475 เขตการปกครองแบบมณฑลมีทั้งหมด 10 มณฑล ได้แก่
1. มณฑลกรุงเทพฯ             2. มณฑลอยุธยา
3. มณฑลนครราชสีมา 4. มณฑลอุดร
5. มณฑลปราจีน             6. มณฑลพิษณุโลก
7. มณฑลพายัพ               8. มณฑลราชบุรี
9. มณฑลภูเก็ต        10. มณฑลนครศรีธรรมราช
12. การวางรากฐานประชาธิปไตยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาราชการ ซึ่งมี 2 สภาคือ
1.1 สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) ตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2417 ประกอบด้วยสมาชิกที่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรวม 12 คน เป็นข้าราชการบรรดาศักดิ์ชั้น พระยา ทั้งหมด
1.2 องคมนตรีสภา หรือสภาที่ปรึกษาในพระองค์ (Privy Council) ตั้งเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2417 ประกอบด้วย สมาชิกที่เป็นพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการระดับต่างๆ รวม 49 นาย
2. การวางรากฐานการปกครองตนเองระดับท้องถิ่น ได้แก่
2.1 การจัดตั้งสุขาภิบาลกรุงเทพฯ และสุขาภิบาลหัวเมือง ขึ้นให้ราษฎรมีส่วนในการบริหารท้องถิ่นของตัวเอง
2.2 การให้ราษฎรเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านปกครองหมู่บ้าน และมีการเลือกตั้งกำนัน ปกครองตำบล
3. การเลิกระบบทาสและไพร่
4. การให้สามัญชนได้มีโอกาสรับการศึกษา เช่นเดียวกับพระบรมวงศานุวงศ์
13. คำกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงระเบียบราชการแผ่นดิน ร.. 103 (..2427) ได้แก่คำกราบบังคมทูลของบุคคลคณะหนึ่งซึ่งประกอบด้วย พระราชวงศ์และข้าราชการ ที่เริ่มกันจัดทำเป็น หนังสือนำขึ้นทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ..2427 เพื่อขอให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช เป็นแบบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ และให้มีกฎหมายประกันความเสมอภาคของราษฎร ให้ราษฎรมีเสรีภาพในทางความคิดเห็นรวมทั้งการปรับปรุงประเทศในด้านต่างๆ ให้มีความทันสมัยเช่นเดียวกับอารยประเทศ
มีนักวิชาการบางท่านเรียกคำกราบบังคมทูลฯดังกล่าวว่าเป็น แผนพัฒนาการเมืองฉบับแรกของไทย
คณะบุคคลที่ร่วมกันทำหนังสือ คำกราบบังคมทูลฯ ดังกล่าวมีดังต่อไปนี้
พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลาภพฤติธาดา สมเด็จฯ กรมพระสวัสดิวัฒนวิศิษฐ์ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ นายนกแก้ว คชเสนี หลวงเดช นายเวร (สุ่น สาตราภัย) บุศย์ เพ็ญกุล ขุนปฏิภาณพิจิตร (หรุ่น) หลวงวิเสศสาลี นายเปลี่ยน สัปเลฟเตอร์แนนด์ (สะอาด)
14. สาเหตุที่สำคัญ ที่ ร.5 ทรงปฏิรูปการปกครอง คือ
1. ประเทศกำลังเผชิญต่อภัยคุกคามจากมหาอำนาจต่างชาติ โดยเฉพาะอังกฤษ และฝรั่งเศสที่เป็น นักล่าอาณานิคม ซึ่งมีอำนาจอิทธิพลมากในขณะนั้น
2. ประเทศชาติขาดความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพราะผู้ปกครองหัวเมืองต่างๆ มีอำนาจและความเป็นอิสระมาก ทำให้เกิดปัญหาด้านการปกครองและง่ายต่อการเข้าแทรกแซงของต่างชาติ
3. ระบบการบริหารราชการแบบเดิมขาดประสิทธิภาพ มีการทำงานซํ้าซ้อน ก้าวก่ายหน้าที่กันมาก ทำให้ประเทศไม่เจริญก้าวหน้าเท่าที่ควร
15. ผลที่เกิดจากการปฏิรูปการปกครองสมัย ร. 5 ที่สำคัญคือ
1. ทำให้ประเทศมีความเจริญ และทันสมัยอันเป็นผลดีต่อการรักษาเอกราชของชาติให้รอดพ้นจากนักล่าอาณานิคม
2. ทำให้ประเทศชาติมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและมีความมั่นคงสูง
3. เป็นการวางรากฐานการปกครองระบบประชาธิปไตย
4. ทำให้เกิดภราดรภาพ ความสมานฉันท์ขึ้นในหมู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง
16. การปรับปรุงการปกครองส่วนภูมิภาคในสมัยรัชกาลที่ 6 ที่สำคัญคือ
ได้มีการรวมมณฑล 2-3 มณฑล ที่อยู่ใกล้ชิดกันเข้าเป็นเขตการปกครองที่เรียกว่าภาคแต่ละภาคมีอุปราชเป็นผู้บังคับบัญชา แต่ก็มีบางมณฑลที่ไม่ได้ถูกจัดรวมเข้าเป็นภาค
- การจัดเป็นภาคดังกล่าวยกเลิกในปี พ.. 2468
- สำหรับมณฑลถูกยกเลิกในปี 2475 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในสมัย ร.7
17. นักกฎหมายชาวต่างประเทศที่มีบทบาทอย่างสำคัญในการปฏิรูปกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 5 มีดังต่อไปนี้
1. นายโรสัง ยัคมินส์ หรือเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ เป็นชาวเบลเยี่ยม
2. นายยอร์ซ ปาดู นักกฎหมายชาวฝรั่งเศส
3. นายเรอาน กียอง นักกฎหมายชาวฝรั่งเศส ต่อมาเปลี่ยนชื่อและนามสกุลเป็น นายพิชาญ ปุลยง
4. นายวิเลเลียม อัลเฟรด ดิลเลเก หรือ พระยาอรรถการประสิทธิ์ นักกฎหมายชาวลังกา
5. นายโตกิจิ มาซาโอะ นักกฎหมายชาวญี่ปุ่น ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เป็นพระยา มหิธรัมนูปกรณ์โกศลคุณ
6. นายเอ็ดเวิร์ด สโตรเบล และนายเวสเตนการ์ด ชาวอเมริกัน
18. ผู้ได้รับการยกย่องว่าเป็น พระบิดาและปฐมาจารย์ของนิติศาสตร์แห่งประเทศ คือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
19. อภิรัฐมนตรีสภา คือ สภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดินที่รัชกาลที่ 7 ทรงตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2468 สภานี้พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวทรงเป็น ประธาน สมาชิกสภาประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ 5 พระองค์ เรื่องที่ปรึกษาในสภานี้ที่สำคัญคือ
- นโยบาย ด้านการเมืองการปกครอง
- นโยบายด้านการคลัง
- การแต่งตั้งข้าราชการระดับสูง
20. การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข เกิดขึ้น โดยการปฏิวัติยึดอำนาจเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ..2475 ภายใต้การนำของพันเอกพระยาพหลพล พยุหเสนา หัวหน้ากลุ่มบุคคลที่เรียกตนเองว่าคณะราษฎรซึ่งประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน
21. สาเหตุพื้นฐานที่ทำให้มีการเปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นระบอบประชาธิปไตยที่มี
พระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. สาเหตุทางด้านการเมืองการปกครอง
- เกิดจากการที่คนไทยรุ่นใหม่บางคนซึ่งเดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศแถบยุโรปได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดทางการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย และพบว่าประเทศต่างๆ ในยุโรป รวมทั้งญี่ปุ่นในเอเชีย ที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยล้วนมีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก จึงมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะให้ประเทศไทยได้มีการปกครองระบอบนี้บ้าง นักศึกษาไทยกลุ่มนี้เองที่เป็นจุดเริ่มต้นอย่างสำคัญในการก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย บุคคลเหล่านี้ที่สำคัญ เช่น นายปรีดี พนมยงค์ นายประยูร ภมรมนตรี ร้อยโทแปลก ขีตตะสังคะ หลวงศิริราชไมตรี เป็นต้น
2. มูลเหตุทางสังคม
- เกิดจากมีความเหลื่อมลํ้าตํ่าสูงอย่างมากระหว่างประชาชนส่วนใหญ่ที่ยากจน และประชาชนส่วนน้อยที่รํ่ารวย ทำให้ผู้ได้รับการศึกษาสูงๆ มีทรรศนะว่า ถ้ามีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแล้ว ก็จะช่วยขจัดปัญหานี้ได้มาก
3. มูลเหตุทางเศรษฐกิจ
- เกิดจากความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงในช่วงระหว่างปี พ..2472 – 2474 ซึ่งมีสาเหตุมาจากความตกต่ำของเศรษฐกิจอย่างร้ายแรงในบรรดาประเทศต่างๆ ในช่วงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1ความตกต่ำทางเศรษฐกิจครั้งนั้นทำให้ทั้งหลวงและราษฎรโดยทั่วไปประสบความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก รัฐบาลมีรายได้ไม่พอกับรายจ่าย ทำให้รัฐบาลต้องปลดข้าราชการออกไปเป็นจำนวนมาก ทำให้ข้าราชการดังกล่าวไม่พอใจ และข้าราชการคนอื่นๆ ที่กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่เสียขวัญกำลังใจเป็นอันมาก
4. มูลเหตุจากบทบาทของหนังสือพิมพ์
- หนังสือพิมพ์หลายฉบับในยุคนั้น พิมพ์เผยแพร่หลักการ และผลดีต่างๆ ของระบอบประชาธิปไตยให้ประชาชนอ่านและโน้มน้าวจิตใจอยู่เสมอ ๆ
22. นโยบายของคณะราษฎรในการปกครองประเทศมี 6 ประการ คือ
1. จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชในทางการเมือง ทางศาล ทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3. จะต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ในทางเศรษฐกิจโดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน
5. จะต้องให้ราษฎรมีเสรีภาพมีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการข้างต้น
6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
23. การเปลี่ยนแปลง รูปแบบ และสถาบันการปกครองของไทย นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ..2475มาถึงปัจจุบัน (..2540) ที่สำคัญมีดังต่อไปนี้
1. รัฐธรรมนูญ ในช่วงตั้งแต่ พ.. 2475 ถึง พ.. 2540 ประเทศไทยประกาศใช้รัฐธรรมนูญ (ซึ่งเป็นแบบลายลักษณ์อักษร) รวม 16 ฉบับ สาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้มีการเปลี่ยนรัฐธรรมนูญบ่อย คือ มีการปฏิวัติ รัฐประหาร หลายครั้งแต่ละครั้งที่ยึดอำนาจได้แล้วก็ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับเดิม แล้วประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงทำให้ระบบการเมืองการปกครองของประเทศ เป็นแบบประชาธิปไตย และแบบเผด็จการสลับกันตลอดมา
2. รัฐสภา เป็นสถาบันนิติบัญญัติ ในระบอบประชาธิปไตย รัฐสภาจะเป็นรูปแบบใดขึ้นอยู่กับรัฐธรรมนูญ รูปแบบของรัฐสภาที่สำคัญคือ
2.1 สภาเดี่ยว เป็นสภาที่ประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด หรือประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากแต่งตั้งกับสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งผสมกัน หรือประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด รัฐธรรมนูญฉบับพ.. 2540 มาจากการเลือกตั้งทั้งหมด
2.2 สองสภา เป็นแบบที่มีทั้งสภาสูง และสภาล่าง ของไทยนิยมเรียกสภาสูงว่าวุฒิสภาส่วนสภาล่าง ก็คือสภาผู้แทน สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้ง ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนมาจากการเลือกตั้งของประชาชน เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมบ่อยๆ รัฐสภาก็ถูกเปลี่ยนบ่อยไปด้วย บางครั้งเป็นชนิดสภาเดียว บางครั้งเป็นชนิดสองสภา อำนาจหน้าที่ของรัฐสภาก็ไม่แน่นอนกล่าวคือ บางครั้งบางสมัยรัฐสภามีอำนาจมาก คือ ทำหน้าที่ออกกฎหมายและควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีด้วย แต่บางครั้งก็มีอำนาจน้อยได้แต่เพียงออก กฎหมายเท่านั้น
3. คณะรัฐมนตรี เป็นสถาบันการเมืองของไทยที่มีเสถียรภาพค่อนข้างน้อย ดังจะเห็นได้ว่า ตั้งแต่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรกมาจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะประมาณ 50 ปี มีคณะรัฐมนตรีลาออกหรือถูกบังคับให้ออก ทำให้นโยบายการบริหารราชการแผ่นดินขาดความต่อเนื่อง อันเป็นอุปสรรคสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า
4. พรรคการเมือง เป็นอีกสถาบันหนึ่งของการเมืองของไทยที่ขาดความต่อเนื่องในวิวัฒนาการมาก เพราะเมื่อใดก็ตามที่การปกครองเป็นแบบเผด็จการ ผู้ปกครองก็ไม่ยอมให้มีการจัดตั้งพรรคการเมืองดำเนินการทางการเมืองแต่อย่างใดแต่ในช่วงระยะที่ระบบการเมืองการปกครองเป็นประชาธิปไตย พรรคการเมืองจะมีความสำคัญและมีบทบาทอย่างมากในการเมืองการปกครองเท่าที่ผ่านมา ระบบพรรคการเมืองของไทยเป็นระบบหลายพรรค และผลจากการเลือกตั้งผู้แทนหลายครั้งที่ผ่านมา ยังไม่มีพรรคการเมืองใดได้ที่นิ่งในสภาเกินกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนที่นั่งทั้งหมด จึงทำให้การจัดตั้งคณะรัฐมนตรีทำได้ยาก และขาดเสถียรภาพ
24. การจัดระเบียบการปกครองสร้างที่สำคัญคือ รัฐโดยทั่วไปในปัจจุบันต่างมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายหลัก ที่บัญญัติถึงขอบเขตการใช้อำนาจการปกครอง ลักษณะการใช้อำนาจนั้น และความสัมพันธ์ระหว่างองค์กรการเมืองต่างๆ ภายในรัฐที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการปกครอง แม้ว่าการจัดระเบียบการปกครองภายในรัฐอาจแตกต่างกันไปแล้วแต่ระบอบการปกครอง แต่โดยทั่วไปจะประกอบด้วยสถาบันหลักในการปกครอง คล้ายๆ กันดังนี้
1. ประมุข ซึ่งมี 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบหนึ่งมีพระมหากษัตริย์ เป็นประมุข และทรงอยู่เหนือการเมือง พระราชภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการเมืองจะดำเนินไปเพื่อให้เป็นพิธีการเท่านั้น อีกแบบหนึ่ง มีประธานาธิบดีเป็นประมุข ซึ่งอาจเป็นแบบใช้อำนาจอธิปไตยผ่านสถาบันการปกครองเช่น เดียวกับพระมหากษัตริย์ หรืออาจเป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยตรงก็ได้
2. รัฐสภา ซึ่งเป็นสถาบันใช้อำนาจอธิปไตยทางนิติบัญญัติ และควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร
3. คณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นฝ่ายใช้อำนาจอธิปไตยในการบริหารราชการแผ่นดิน รวมทั้งบังคับใช้กฎหมายต่างๆ ที่มาจากรัฐสภา
4. ศาล เป็นฝ่ายที่ใช้อำนาจตุลาการ เพื่อตีความตัดสินคดีต่างๆ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
25. รูปแบบของการจัดระเบียบการปกครองในประเทศเสรี ประชาธิปไตยพิจารณา ตามระบบแบ่งแยกอำนาจ (Separationof power) จะแบ่งได้เป็น 3 แบบใหญ่ๆ คือ
1. การปกครองแบบรัฐสภา ซึ่งประเทศอังกฤษเป็นผู้ริเริ่ม
2. การปกครองแบบประธานาธิบดี ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ริเริ่ม
3. การปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา ซึ่งประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้ริเริ่ม
26. การปกครองแบบรัฐสภา มีลักษณะโครงสร้างการจัดระเบียบการปกครอง ดังนี้
1. ความสัมพันธ์ระหว่างคณะรัฐมนตรี ฝ่ายใช้อำนาจบริหาร และรัฐสภาฝ่ายใช้อำนาจนิติบัญญัติเป็นไปอย่างใกล้ชิด ตามหลักการเชื่อมอำนาจ หรือ Fusion of power แต่รัฐสภามีฐานะเหนือกว่าคณะ รัฐมนตรี เพราะคณะรัฐมนตรีจะต้องบริหารการปกครองไปโดยรับผิดชอบต่อฝ่ายนิติบัญญัติโดยตรง
2. ถือว่ารัฐสภามีอำนาจสูงสุด คณะรัฐมนตรี เข้าดำรงตำแหน่งได้ต่อเมื่อได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภา เมื่อใดที่รัฐสภาไม่ไว้วางใจคณะรัฐมนตรีก็จะต้องลาออกจากตำแหน่ง คณะรัฐมนตรีต้องบริหารราชการภายใต้กฎหมายที่รัฐสภาบัญญัติและรัฐสภามีอำนาจควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีตลอดเวลา
3. ที่มาของคณะรัฐมนตรี และรัฐสภาไม่แยกจากกันเด็ดขาด ด้วยหลักการ 2 ประการคือ
1. โดยทั่วไปคณะรัฐมนตรีจะมาจากพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากในรัฐสภา
2. ในกรณีที่ไม่มีพรรคการเมืองใดได้เสียงข้างมากเด็ดขาดในรัฐสภา อาจต้องมีการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีผสมจากพรรคต่างๆแต่ถึงอย่างไรก็ตามคณะรัฐมนตรีจะเข้าดำรงตำแหน่งบริหารประเทศได้ก็ต่อเมื่อได้รับความไว้วางใจจากรัฐสภาแล้วเท่านั้น
4. ประมุขของประเทศ ไม่มีอำนาจในการบริหารโดยตรง ประมุขของประเทศและ หัวหน้าฝ่ายบริหารหรือนายกรัฐมนตรีจะเป็นคนลำตำแหน่งแยกจากกัน
5. หัวหน้าฝ่ายบริหาร มีอำนาจยุบรัฐสภาได้
27. การปกครองแบบประธานาธิบดี มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. มีการแยกอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการออกจากกันโดยเด็ดขาด ผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแต่ละส่วนต่างเป็นอิสระต่อกันและมีอำนาจทัดเทียมกัน
2. ที่มาของผู้ใช้อำนาจอธิปไตย แต่ละส่วนมากจากการเลือกตั้งเป็นสัดส่วน แยกจากกันมาแต่ต้น
3. อำนาจและความรับผิดขอบของผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแต่ละฝ่ายนั้นไม่ขึ้นแก่กันต่างฝ่ายต่างอยู่ในตำแหน่งจนครบวาระตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจยุบสภาและรัฐสภาก็ไม่มีอำนาจลงมติไม่ไว้วางใจฝ่ายบริหาร
4. ประธานาธิบดี ดำรงตำแหน่งทั้งหัวหน้าฝ่ายบริหารและเป็นประมุขของประเทศพร้อมๆ กันไป
5. ประธานาธิบดี เป็นผู้แต่งตั้งและถอดถอนคณะรัฐมนตรีแต่ผู้เดียว รัฐมนตรีจะเป็นใครก็ได้ แต่ต้องไม่เป็นสมาชิกรัฐสภาในเวลาเดียวกัน
28. การปกครองกึ่งประธานาธิบดี กึ่งรัฐสภา มีลักษณะสำคัญ ดังนี้
1. มีประธานาธิบดีซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเป็นประมุขของรัฐและหัวหน้าฝ่ายบริหารด้วย
2. ประธานาธิบดีมีอำนาจแต่งตั่งคณะรัฐมนตรี และมีอำนาจ ยุบสภาผู้แทนได้ในทุกกรณี
3. รัฐสภาจะเป็นระบบสภาเดียวหรือสมองสภาก็ได้ รัฐสภาในการปกครองแบบนี้มี อำนาจมากกว่ารัฐสภาในแบบประธานาธิบดีแต่น้อยกว่ารัฐสภาในระบบรัฐสภา กล่าวคือ สามารถควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรีได้โดยวิธีตั้งกระทู้ถาม และเปิดอภิปราย แต่ไม่สามารถเป็นรัฐมนตรีในขณะเดียวกันได้
4. คณะรัฐมนตรี ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรี 1 คนและรัฐมนตรีจำนวนหนึ่ง ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี คณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบต่อประธานาธิบดี และต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาด้วยทั้งประธานาธิบดี และรัฐสภามีอำนาจที่จะทำให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งเมื่อไรก็ได้
5. ศาลเป็นสถาบันอิสระ และมีลักษณะหน้าที่ เช่นเดียวกับศาลในระบบรัฐสภา
29. ตัวอย่างประเทศต่างๆ ที่มีรูปแบบการจัดระเบียบการปกครองต่างๆ กันที่สำคัญ มีดังนี้
1. การปกครองแบบรัฐสภา เช่น อังกฤษ ไทย ญี่ปุ่น สวีเดน เป็นต้น
2. การปกครองแบบประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก
3. การปกครองแบบกึ่งประธานาธิบดีกึ่งรัฐสภา เช่น ฝรั่งเศส อินเดีย เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ