มุมแนะนำ

วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิศวกรรมพอลิเมอร์


วิศวกรรมพอลิเมอร์
ชื่อเข้าอาเซียน : Polyner Engineering
เรียนเกี่ยวกับอะไร : การสังเคราะห์ สมบัติทดสอบพอลิเมอร์ พลาสติก ยาง เส้นใย สิ่งทอ กาว กระบวนการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์พอลิเมอร์ การออกแบบแม่พิมพ์ และหัวอัดรีด การคัดเลือกวัตถุในการออกแบบผลิตภัณฑ์

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติใด : มีความรู้พื้นฐานทางด้านฟิสิกส์ เคมี และคณิตศาสตร์

จบแล้วทำงานอะไร : สามารถประกอบอาชีพวิศวกรในสถานประกอบการ บริษัท/โรงงาน ด้านพอลิเมอร์ เช่น วิศวกรควบคุมการผลิต วิศวกรออกแบบแม่พิมพ์ วิศวกรประกันหรือควบคุมคุณภาพ วิศวกรฝ่ายขายด้านเทคนิค วิศวกรพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฯลฯ ตัวอย่าง บริษัท/โรงงานอุตสาหกรรมพอลิเมอร์ เช่น
       โรงงานผลิตชิ้นส่วนยานยนต์/อิเล็อกทรอนิกส์
       โรงงานผลิตชิ้นส่วนพลาสติกวิศวกรรมแบบต่างๆ
       โรงงานผลิตเม็ดพลาสติกพอลิเมอร์ หรือรีไซเคิลพอลิเมอร์
       โรงงานผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติก เช่น ถุง ขวด กล่อง ฯลฯ
       โรงงานผลิตสี กาว วัสดุเคลือบผิว และเส้นใยสิ่งทอ
หน่วยงานการศึกษาและวิจัยทางวัสดุศาสตร์ของรัฐบาล เช่น มหาวิทยาลัย ศูนย์โลหะและวัสดุแห่งชาติ และอื่นๆ
เรียนจำนวน 182 หน่วยกิต

----//// สาขาวิชานี้อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ////----

ขอขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำหรับข้อมูลครับ 

****** ทางเว็บบล็อกอนุญาติให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงเว็บไซค์นี้ด้วย ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน******

วิศวกรรมเซรามิก


วิศวกรรมเซรามิก    ****** เปิดสอนแห่งเดียวในประเทศไทย ที่ มทส. *******
ชื่อเข้าอาเซียน : Ceramic Engineering
เรียนเกี่ยวกับอะไร : เรียนคุณภาพของวัตถุดิบ และ กระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมเซรามิก การวางแผนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การควบคุมคุณภาพ และมาตรฐาน

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติใด : มีความรู้พื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เคมอินทรีย์ ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ

จบแล้วทำงานอะไร : งานภาคอุตสาหกรรม เป็นวิศวกรในโณงงานผลิตภัณฑ์เซรามิกต่างๆ ได้แก่ โรงงานผลิตประเบื้องเซรามิก สุขภัณฑ์ ภ้วยชาม แก้ว กระจก ปูนซีเมนต์ ยิปซั่ม ลูกถ้วยไฟฟ้า ฯลฯ หน่วยงานของรัฐ เป็นวิศวกรหรือเจ้าหน้าที่วิจัย ประจำหน่วยงาน/ศูนย์/สถาบันวิจัย ทางด้านวัสดุและมหาวิทยาลัยต่างๆ ศึกษาต่อระดับปริญญาโทและเอก

เรียนจำนวน 185 หน่วยกิต

----//// สาขาวิชานี้อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ////----

ขอขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำหรับข้อมูลครับ 

****** ทางเว็บบล็อกอนุญาติให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงเว็บไซค์นี้ด้วย ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน******

วิศวกรรมเกษตร

วิศวกรรมเกษตร
ชื่อเข้าอาเซียน : Agricultural and Food Engineering
เรียนเกี่ยวกับอะไร : สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร มี 2 วิชาเอก ดังนี้
วิชาเอก วิศวกรรมเกษตร เรียนเกี่ยวกับการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรทั้งก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร
วิชาเอก วิศวกรรมอาหาร เรียนเกี่ยวกับการพัฒนากระบวนการผลิตและแปรรูปอาหาร การรักษา การขนถ่าย การบรรจุ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิต และมีควาปลอดภัยต่อผู้บริโภค

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติใด : มี ความถนัดทางด้านคณิตศาสตร์ ขยัน อดทน สู้งาน สามารถแก้ปัญหาเฉพาะด้านได้ดี และมีทักษะการติดต่อสื่อสารที่ดี

จบแล้วทำงานอะไร : จบแล้วสามารถทำงานเป็น วิศวกรโรงงาน นักวิจัย รับราชการในหลายหน่วยงาน อาจารย์ รวมถึงประกอบอาชีพอิสระ

เรียนจำนวน 192 หน่วยกิต

----//// สาขาวิชานี้อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ////----

ขอขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำหรับข้อมูลครับ 

****** ทางเว็บบล็อกอนุญาติให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงเว็บไซค์นี้ด้วย ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน******

วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

About Me

       อ่าๆ หลายคนคงสงสัยมาว่า คนทำบล็อกนี้เป็นใคร วันนี้ก็เลยจะมาแนะนำตัวให้รู้จัก 

ชื่อ : นายบดินทร์ ยมรัตน์
เกิดที่จังหวัด : ร้อยเอ็ด
กำลังจะศึกษาที่ : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

          -----------> ใครสนใจติด แบนเนอร์โฆษณา ติดต่อมาได้นะครับที่ <--------------

Facebook Fanpage : facebook.com/thebag101 
หรือ Facebook  ส่วนตัว : facebook.com/BordinStudio101

ช่วยกันส่งเสริมการอ่านประเทศไทยจะได้เก่งครับ ^___^

วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2557

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ชื่อเข้าอาเซียน : Environmental Engineering
เรียนเกี่ยวกับอะไร : เรียนเกี่ยวกับการป้องกันและบำบัดมลพิษสิ่งแวดล้อม การออกแบบและควบคุมระบบผลิตนํ้าสะอาด ระบบรวบรวมและบำบัดนํ้าเสีย การควบคุมมลพิษอากาศและเสียง และ การจัดการของเสียในโรงงาน

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติใด : มีความถนัดทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์โดยเฉพาะเคมี และ ชีววิทยา มีความกระตือรือร้นสนใจในวิทยาการใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหา สิ่งแวดล้อมในระดับชาติและนานาชาติ

จบแล้วทำงานอะไร : เป็นวิศวกรสิ่งแวดล้อมในโรงงานอุตสาหกรรม บริษัทออกแบบระบบบำบัดและที่ปรึกษา การจัดการสิ่งแวดล้อม หน่วยงานราชการต่างๆ เช่น กรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือกรมควบคุมมลพิษ การไฟฟ้า และการประปา

เรียนจำนวน 192 หน่วยกิต

----//// สาขาวิชานี้อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ////----

ขอขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำหรับข้อมูลครับ 

****** ทางเว็บบล็อกอนุญาติให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงเว็บไซค์นี้ด้วย ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน******

วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์

วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์
ชื่อเข้าอาเซียน : Transportation  Engineering & logistics
เรียนและทำงานเกี่ยวกับอะไร : การเรียนแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ
- การวิเคราะห์นโยบาย วางแผน ออกแบบและดำเนินงาน ด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมเพื่อรองรับการเดินทางของคนรวมถึงการขนส่งสินค้า
-การวางแผน ออกแบบ และบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์ ในภาคอุตสาหกรรมเพื่อลดต้นทุนและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติใด : มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ มีความพร้อมทางร่างกาย สุขภาพแข็งแรง สามารถทำงานในสนามได้ ไม่มีโรคประจำตัวที่จะเป็นอุปสรรคต่อวิชาชีพ

เรียนจำนวน 185 หน่วยกิต

----//// สาขาวิชานี้อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ////----

ขอขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำหรับข้อมูลครับ 

****** ทางเว็บบล็อกอนุญาติให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงเว็บไซค์นี้ด้วย ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน******

วิศวกรรมโยธา

วิศวกรรมโยธา
ชื่อเข้าอาเซียน : Civil Engineering
เรียนเกี่ยวกับอะไร : การวิเคราะห์และออกแบบฐานรากและโครงสร้าง การบริหารจัดการทรัพยากรนํ้า การออกแบบโครงสร้างทางชลศาสตร์ การบริหารโครงการ การสำรวจและรังวัด

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติใด : ความถนัดด้านวิทยาสศาตร์กายภาพ ฟิสิกส์มีความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์ปัญหา และทักษะการติดต่อสื่อสาร

จบแล้วทำงานอะไร : วิศวกรประจำโครงการก่อสร้าง วิศวกรที่ปรึกษา วิศวกรโยธาหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาจารย์มหาวิทยาลัย และนักวิจัยในหน่วยงานต่างๆ

เรียนจำนวน 184 หน่วยกิต
**Honor Program 188 หน่วยกิต


----//// สาขาวิชานี้อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ////----

ขอขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำหรับข้อมูลครับ 

****** ทางเว็บบล็อกอนุญาติให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงเว็บไซค์นี้ด้วย ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน******

เทคโนโลยีธรณี

เทคโนโลยีธรณี
ชื่อเข้าอาเซียน : Geotechnology
เรียนและทำงานเกี่ยวกับอะไร : สำรวจหินต้นกำเนิดและแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม วิศวกรรมการขุดเจาะปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ เทคโนโลยีการผลิตปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติ การประเมินปริมาณสำรองและเศรษฐศาสตรปิโตรเลียม สำรวจและพัฒนาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ สำรวจและผลิตนํ้าบาดาล

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติใด : มีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ มีความพร้อมทางร่างกาย สุขภาพแข็งแรง สามารถทำงานในสนามได้ ไม่มีโรคประจำตัวที่จะเป็นอุปสรรคต่อวิชาชีพ
เรียนจำนวน 185 หน่วยกิต

----//// สาขาวิชานี้อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ////----

ขอขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำหรับข้อมูลครับ 

****** ทางเว็บบล็อกอนุญาติให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงเว็บไซค์นี้ด้วย ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน******

วิศวกรรมธรณี

วิศวกรรมธรณี
ชื่อเข้าอาเซียน : Geological Engineering
เรียนและทำงานเกี่ยวกับอะไร : ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างในงานวิศวกรรมธรณี เขื่อนและอ่างเก็บนํ้า ฐานรากบนมวลหิน การขุดเจาะระเบิดหิน เหมืองแร่บนดินและใต้ดิน ความลาดชันและอุโมงค์ในชั้นหิน การบริหารจัดการแหล่งนํ้าบาดาล การคาดคะเนป้องกันธรณีพิบัติ การสำรวจแหล่งแร่ แหล่งวัสดุก่อสร้าง แหล่งหลังงานนํ้ามันและก๊าซธรรมชาติ

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติใด :ต้องมีความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และมีความพร้อมทางร่างกายสุขภาพแข็งแรงสามารถทำงานในภาคสนามได้ ไม่มีโรคประจำตัว ตาไม่บอดสี รักธรรมชาติและรักการผจญภัย
เรียนจำนวน 187 หน่วยกิต

----//// สาขาวิชานี้อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ////----

ขอขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำหรับข้อมูลครับ 

****** ทางเว็บบล็อกอนุญาติให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงเว็บไซค์นี้ด้วย ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน******

วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์


วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์
ชื่อเข้าอาเซียน : Mechatronics Engineering
เรียนเกี่ยวกับอะไร : เรียนเกี่ยวกับการออกแบบและสร้างเครื่องจักรอัตโนมัติ หุ่นยนต์และระบบควบคุมอื่นๆ

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติใด : เป็นหลักสูตรเฉพาะ รับผู้ที่จบ ปวส. เรียน 3 ปี หรือจบ ม.6 เรียน 4 ปี มีการเรียนเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์

จบแล้วทำงานอะไร : จบมาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นผู้ดูแล ซ่อมบำรุงเครื่องจักรอัตโนมัติ ซึ่งในขณะนี้เป็นที่ต้องการเป็นอย่างยิ่ง


----//// สาขาวิชานี้อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ////----

ขอขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำหรับข้อมูลครับ 

****** ทางเว็บบล็อกอนุญาติให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงเว็บไซค์นี้ด้วย ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน******

วิศวกรรมเครื่องกล


วิศวกรรมเครื่องกล
ชื่อเข้าอาเซียน : Mechanical Engineering
เรียนเกี่ยวกับอะไร : เรียนเกี่ยวกับการวิเคราะห์ การออกแบบ และผลิตอุปกรณ์ทางวิศวกรรรม ระบบควบคุมอัตโนมัติ ติดตั้ง ใช้งาน และบำรุงรักษาเครื่องจักรกล การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ในการออกแบบและผลิต

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติใด : สามรถเรียนได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่ชอบวิชาคำนวน โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ ชอบการทดลอง มีความขยันหมั่นเพียร

จบแล้วทำงานอะไร : จบแล้วทำงานด้านการติดตั้ง ใช้งาน ซ่อมบำรุงรักษาเครื่องจักรกล การออกแบบและผลิตชิ้นส่วนทางวิศวกรรมอากาศยาน ยานยนต์ หม้อไอนํ้า การเผาไหม้ ระบบท่อปั๊มและกังหัน เครื่องยนต์ ระบบควบคุมอัตโนมัติ การคำนวนเชิงตัวเลขการจัดการพลังงาน ระบบปรับอากาศ โรงจักรต้นกำลัง การควบคุมคุณภาพกระบวนการผลิต

เรียนจำนวน 185 หน่วยกิต

----//// สาขาวิชานี้อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ////----

ขอขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำหรับข้อมูลครับ 

****** ทางเว็บบล็อกอนุญาติให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงเว็บไซค์นี้ด้วย ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน******

วิศวกรรมอากาศยาน

วิศวกรรมอากาศยาน
ชื่อเข้าอาเซียน : Aeronautical Engineering
เรียนเกี่ยวกับอะไร : เรียนเกี่ยวกับการออบแบบอากาศยาน ระบบยนอากาศยาน เครื่องยนต์ต้นกำลัง โครงสร้างอากาศยาน การวางแผนและซ่อมบำรุงรักษาอากาศยาน ระบบอากาศพลศาสตร์ ระบบควบคุมการบิน อุปกรณ์และเครื่องมือวัดประกอบการบิน และเทคโนโลยีที่ทันสมัยด้านอากาศยานและการบิน

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติใด : มีความรักและชื่นชอบในเครื่องบิน หรืออากาศยานแบบต่างๆ อยากทำงานอยู่กับเครื่องบิน อยากบินได้ และ ควรมีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษอญู่ในระดับดี

จบแล้วทำงานอะไร : วิศวกรประจำสายการบิน นักวางแผนซ่อมบำรุง ช่างซ่อมบำรุง วิศวกรคุณภาพ นักออกแบบอากาศยาน วิศวกรคุณภาพ นักออกแบบอากาศยาน วิศวกรโรงงานผลิตชิ้นส่วนอากาศยาน รวมถึงทำงานสายวิศวกรมมเครื่องกลทั่วไปหรืออาจเรียนต่อเป็นนักบิน

เรียนจำนวน 195 หน่วยกิต

----//// สาขาวิชานี้อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ////----

ขอขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำหรับข้อมูลครับ 

****** ทางเว็บบล็อกอนุญาติให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงเว็บไซค์นี้ด้วย ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน******

วิศวกรรมคอมพิวเตอร์



วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ชื่อเข้าอาเซียน : Computer Engineering
เรียนเกี่ยวกับอะไร : เรียนเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของระบบคอมพิวเตอร์ สร้างนวัตกรรมจากระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และการนำไปใช้งาน รวมทั้งฝึกทักษะการเรียนรู้ด้วยตัวเอง

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติใด : ผู้เรียนควรมีความถนัดทางด้านตรรกศาสตร์ การให้เหตุผล มีความขยัน อดทน ชอบศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเอง และชอบภาษาอังกฤษ

จบแล้วทำงานอะไร : จบแล้วสามารถประกอบอาชีพทั้งในภาคอุตสาหกรรม ราชการและองค์กรต่างๆ ที่ต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ นักพัฒนาโปรแกรม ผู้ดูแลระบบ และผู้เชี่ยวชาญด้านข้อมูล

เรียนจำนวน 180 หน่วยกิต

----//// สาขาวิชานี้อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ////----

ขอขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำหรับข้อมูลครับ 

****** ทางเว็บบล็อกอนุญาติให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงเว็บไซค์นี้ด้วย ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน******

วิศวกรรมยานยนต์


วิศวกรรมยานยนต์
ชื่อเข้าอาเซียน : Automotive Engineering
เรียนเกี่ยวกับอะไร : เรียนเกี่ยวกับวิธีการ ขั้นตอนการออกแบบ ผลิตและประกอบชิ้นส่วนยานยนต์ การทำงานของกลไกที่ใช้ในยานยนต์ การทำงานของระบบควบคุมอัตโนมัติในยานยนต์ ศึกษาเทคโนโลยีด้านเครื่องยนต์ต้นกำลัง

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติใด : มีความรักและความถนัดด้านฟิสิกส์และคณิตศาสตร์ เป็นผู้มีความชอบในเรื่องเครื่องยนต์กลไกต่างๆ ที่ใช้ในยานยนต์และสนใจในเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่

จบแล้วทำงานอะไร : ปฏิบัติงานเป็นวิศวกรรมยานยนต์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการออกแบบและวิเคราะห์ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ การประกอบยานยนต์ การตรวจสอบความถูกต้องและแม่นยำของระบบ การทำงานของยานยนต์

เรียนจำนวน 185 หน่วยกิต


----//// สาขาวิชานี้อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ////----

ขอขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำหรับข้อมูลครับ 

****** ทางเว็บบล็อกอนุญาติให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงเว็บไซค์นี้ด้วย ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน******

วิศวกรรมไฟฟ้า


วิศวกรรมไฟฟ้า
ชื่อเข้าอาเซียน : Electrical Engineering
เรียนเกี่ยวกับอะไร : เรียนเกี่ยวกับพื้นฐานวงจรไฟฟ้า การออกแบบ การวิเคราะห์ระบบไฟฟ้า ศึกษามอเตอร์ไฟฟ้า เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ระบบควบคุม

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติใด : สามรถเรียนได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายที่ชอบวิชาคำนวน โดยเฉพาะวิชาคณิตศาสตร์ ชอบการทดลอง มีความขยันหมั่นเพียร

จบแล้วทำงานอะไร : เนื่องจากวิศวกรรมไฟฟ้าเป็นหนึ่งในสขาวิศวกรรมพื้นฐาน จบแล้วมีงานรองรับจำนวนมาก ทั้งเป็นวิศวกรในบริษัท วิศวกรประจำโรงงาน ในรัฐวิสาหกิจ ราชการ หรือศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก

เรียนจำนวน 190 หน่วยกิต

----//// สาขาวิชานี้อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ////----

ขอขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำหรับข้อมูลครับ 

****** ทางเว็บบล็อกอนุญาติให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงเว็บไซค์นี้ด้วย ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน******

วิศวกรรมโทรคมนาคม

วิศวกรรมโทรคมนาคม 
ชื่อเข้าอาเซียน : Telecommunication Engineering
เรียนเกี่ยวกับอะไร : ออกแบบ พัฒนาระบบเทคโนโลยีการสื่อสารและโทรคมนาคมต่างๆ เช่น ระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G 4G การสื่อสารแบบไร้สายต่างๆ เช่น WiFi WiMax การสื่อสารผ่านดาวเทียม และระบบใยอก้วนำแสง เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ประเทศก้าวเข้าสู่ยุคการสื่อสารไร้พรมแดน

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติใด : ถนัดทางด้านคณิตศาสตร์  ฟิสิกส์ ทักษะการติดต่อสื่อสารที่ดี

จบแล้วทำงานอะไร : วิศวกร หรือนักวิจัยและพัฒนา ในบริษัทสื่อสารและโทรคมนาคม ตลอดจน องค์กร บริษัท โรงงานและ สถานประกอบการต่างๆ ที่มีการใช้งานระบบสื่อสารโทรคมนาคมและเครือข่าย

เรียนจำนวน 187 หน่วยกิต

----//// สาขาวิชานี้อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ////----

ขอขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำหรับข้อมูลครับ 

****** ทางเว็บบล็อกอนุญาติให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงเว็บไซค์นี้ด้วย ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน******

วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์

วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ 

ชื่อเข้าอาเซียน : Electronic Engineering
เรียนเกี่ยวกับอะไร : การสร้างรูปแบบ พัฒนา วิเคราะห์ ทดสอบ ระบบและวงจรอิเล็กทรอนิกส์และการทำงานของ CI เพื่อประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรม เช่น ระบบสมองกลฝังตัว ระบบควบคุมอัจฉริยะ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือแพทย์ ระบบโซลาร์เซลล์ เป็นต้น

ผู้เรียนควรมีคุณสมบัติใด : ถนัดทางด้านคณิตศาสตร์ ทักษะการติดต่อสื่อสารดี ชอบเป็นนักประดิษฐ์ ชอบวงจรไฟฟ้า

จบแล้วทำงานอะไร : วิศวกรออกแบบ ทดสอบ ซ่อมแซมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือนักวิจัยและพัฒนา ในภาคอุตสาหกรรมในโณงงานทั่วไปและภาคอุตสาหกรรมเฉพาะด้านวิศวกรรมไฟฟ้าทุกแขนง ตลอดจนสามารถเป็นวิศวกรดูแลควบคุมระบบการผลิตของชิ้นส่วนวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทุกประเภท

เรียนจำนวน 187 หน่วยกิต

----//// สาขาวิชานี้อ้างอิงจาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ซึ่งอาจแตกต่างกันไปตามสถาบัน ////----


ขอขอบคุณสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีสำหรับข้อมูลครับ 

****** ทางเว็บบล็อกอนุญาติให้นำบทความไปเผยแพร่ต่อได้ แต่ต้องอ้างอิงเว็บไซค์นี้ด้วย ลิขสิทธิ์เกิดขึ้นทันทีเมื่อมีการสร้างสรรค์งานขึ้น ใครผลิต สร้างขึ้นก่อน ย่อมถือเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนแรก ผู้ใดจะนำงานชิ้นนั้นไปพิมพ์ซ้ำ เผยแพร่ทุกรูปแบบไม่ได้ จนกว่าจะรับความยินยอมจากเจ้าของชิ้นงานก่อน******

แนะนำสำนักวิชา วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ไปสอบสัมภาษณ์ได้หนังสือ วิศวกรรมศาสตร์ มาเล่มนึงดีมากๆ ก็เลยเอามาให้อ่านด้วยกันเผื่อจะชอบวิศวะ อิอิ
แนะนำสำนักวิชา วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี <---- ชื่อหนังสือนะนิ คริคริ

สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ 
      หลักสูตรที่เปิดสอน

1.วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
2.วิศวกรรมโทรคมานาคม
3.วิศวกรรมไฟฟ้า
4.วิศวกรรมยานยนต์
5.วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
6.วิศวกรรมอากาศยาน
7.วิศวกรรมเครื่องกล
8.วิศวกรรมเมคคาทอรนิกส์
9.วิศวกรรมธรณี
10.วิศวกรรมโยธา
11.วิศวกรรมขนส่งและโลจิสติกส์
12.วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
13.วิศวกรรมเกษตรและอาหาร
14.วิศวกรรมเซรามิก
15.วิศวกรรมพอลิเมอร์
16.วิศวกรรมออกแบบผลิตภัณฑ์
17.วิศวกรรมการผลิต
18.วิศวกรรมเคมี
19.วิศวกรรมอุตสาหกรรม
20.วิศวกรรมโลหการ
21.เทคโนโลยีธรณี

รายละเอียดจะลงให้ในต่อๆไปนะครับ ^___^
***มีข้อติชมหรือเพิ่มเติมเนื้อหาอะไรโพสต์ได้ในกล่องคอมเมนต์นะครับ

วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

โจทย์คณิตชวนสงสัย

เห็นมีโพสต์กันเยอะใน Fb ก็เลยเอาวิธีคิดอีกแบบนึงมาให้ดูครับ

เฉลย(น่าจะใช่)



จุดประสงค์ของ Blog วิศวะ'คอม



วิศวะ'คอม
#จุดประสงค์ของ Blog ---> วิศวะ'คอม<--- คือเพื่อให้เพื่อนๆหรือคนที่สนใจคณะ/สาขา วิศวะกรรมคอมพิวเตอร์ หรือบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจ ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์การเรียนการศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆ และแชร์ประสบการณ์ที่มีต่อ วิศวะ'คอม ได้ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้น้องๆ หลายๆคนที่สนใจในเรื่องของวิศวะ'คอมได้หาข้อมูล เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ด้วย ซึ่งทางผู้จัดทำ Blog นี้ขอความร่วมมือจากผู้ใหญ่, วิศวะ'คอมรุ่นพี่ ที่ใจดีทุกท่าน ร่วมสนับสนุนข้อมูลเกี่ยวกับ วิศวะ'คอม เพื่อให้น้องๆ หรือคนที่สนใจด้านวิศวะ'คอมได้ศึกษาต่อไปด้วยครับ...

ขอบคุณครับ

ปล.ถ้าเนื้อหาใน Blog ไม่สมบูรณ์ หรือบกพร่องด้านไหน ก็ขออภัยด้วยนะครับ (มือใหม่)

Preview สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน Blog

#Preview สิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้นใน Blog : วิศวะ'คอม

1.เรียนวิศวะ'คอม จบมาทำงานอะไรได้บ้าง
2.หลักสูตรเกี่ยวกับ Computer IT มีอะไรบ้าง
3.วิศวะ'คอม, วิทย์คอมฯ, วิศวะ'ซอฟแวร์, วิทย์ไอที ต่างกันอย่างไร
4.เจาะลึกคณะ Computer IT
5.วิศวะ'คอม ปี 1 เรียนอะไรบ้าง
6.วิศวะ'คอม ปี 2 เรียนอะไรบ้าง
7.วิศวะ'คอม ปี 3 เรียนอะไรบ้าง
8.วิศวะ'คอม ปี 4 เรียนอะไรบ้าง
9.อนาคตวิศวะ'คอม
10.แนะนำมหาวิทยาลัยเด่นๆด้านวิศวะ'คอม

^___________________________________________________________________________________^

** ขาดตกบกพร่องส่วนใด ก็ช่วยกันแนะนำหรือหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในกล่องคอมเมนต์นะครับผม :)

ทำไงดีอยากเรียนวิศวะ'คอม

      ความฝันของเด็กมัธยม ปลาย หลายๆ คน คงเคยมีความฝันว่า อยากทำเกม อยากทำเว็บ อยากเขียนโปรแกรมไว้ใช้เอง อยากนั่งทำงานหน้าคอมที่มีตัวหนังสืออะไรมั่วๆเต็มไปหมด ผมเองก็เป็นเหมือนกัน แต่ก่อนจะเป็นแบบนั้นได้ เราก็ต้องรู้จักกันก่อนว่า วิศวะ'คอมเนี่ย เค้าทำอะไรจริงๆ ซ่อมคอม ประกอบคอมเหรอ? ซึ่งบอกใบ้ก่อนล่ะกันครับว่า ไม่ใช่เรียนซ่อมคอม แต่ต้องทำเป็น แต่จะเรียนไปในแนวว่าอุปกรณ์แต่ละตัวทำงานกันยังไง เพราะฉะนั้นแล้วเวลามันเกิดเสียขึ้นจริงๆ เราก็พอจะวิเคราะห์ออกว่ามันเกิดจากส่วนไหน แต่ถ้ากรณีคอมเกิดระเบิดขึ้นนิ ก็ยกไปร้านซ่อมเถอะครับ แต่ถ้าปัญหาเบื้องต้นเนี่ย พวกเราจัดการได้สบายอยู่แล้ว :)
  
    เข้าเรื่องจริงๆเลยละกันนะครับ

วิศวะคอมพิวเตอร์เรียนอะไรบ้าง 
         เรื่อง ที่เหล่าวิศวะ'คอมทั้งหลายจะได้เรียนคือเรื่องของ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเน็ตเวิร์กครับ ซึ่งจะเรียนครอบคลุมกว่าสาขาวิชาด้านคอมฯไอทีอื่นๆ และที่สังเกตเห็นคือมีการศึกษาในเรื่องของฮาร์ดแวร์เข้ามาด้วย ซึ่งการศึกษาทังระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์พร้อมๆกันสามารถที่จะแก้ไขปรับ ปรุงคอมพิวเตอร์ได้ทุกๆ อย่างครับ

เรียนวิศวะ'คอมมาทำงานอะไรได้บ้าง
        การทำงานก็ยังเลือกได้อีกว่าจะทำงานสายฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ หรือเน็ตเวิร์ก ซึ่งแต่ละสายก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป
   สายฮาร์ดแวร์ราย ได้ข้อนข้างสูง แต่ต้องใช้ควาสามารถเยอะหน่อย เพราะบางครั้งเราไม่รู้ว่าต้องแก้ปัญหาที่ฮาร์ดแวร์หรือที่ซอฟต์แวร์ ดังนั้นคนที่จะทำงานด้านนี้ต้องเก่งมากเลยทีเดียว ^__^
   สายซอฟต์แวร์ประมาณ ว่าเป็นกรรมกรทางสมองดีๆ นี่เองครับ คือต้องนั่งเขียนโปรแกรมกันสนั่นเลยล่ะ แต่โอกาศก้าวหน้าทางการงานก็มีนะครับ แต่ต้องเรียนมีความรู้ด้านการบริหารด้วย แต่มาถึงจะเป็นหัวหน้าไม่ได้เลยเพราะจะต้องเป็นกรรมกรมาก่อนจะได้รู้ว่าอัน ไหนทำได้ อันไหนทำไม่ได้ อันนี้ใช้เวลาเ่าไหร่ อะไรแบบนี้ ^___^
   สายเน็ตเวิร์กส่วน ตัวผมชอบสายนี้มากๆ เลย เพราะไปอ่านเว็บพี่คนนึงผมก็จำชื่อไม่ได้ พี่เค้าสามารถซื้อหนังสือในเน็ตได้ในราคาถูกว่าราคาที่เป็นจริง หรือกระทั่ง reverse โปรแกรมที่โหลดมาไม่ให้มันเป็นของแท้ได้พแล้วล่ะบรรยายสรรพคุณแค่นี้ล่ะกัน เข้าเรื่องต่อเลยล่ะกัน ซึ่งงานทางด้านเน็ตเวิร์กนี้อารมณ์ก็ประมาณว่าติดตั้งดูแลระบบซึ่งข้อนข้าง จะหลากหลายขึ้นอยู่กับองค์กร บางที่ก็อาจได้อยู่แต่ในห้องเซิร์ฟเวอร์ หรือต้องเดินทางไปต่างจังหวัดบ่อยอะไรทำนองนี้ ^_____^

#มีอะไรเพิ่มเติมอยากแนะนำเพิ่มได้ในส่วนกล่องคอมเมนท์ด้านล่างนะครับผม :)

มารู้จักหลักสูตรคอมพิวเตอร์ไอที กันดีกว่า

  เริ่มกันเลยวันนี้มาทำความรู้จักว่าคณะด้าน Computer IT เนี่ย มันมีคณะ/สาขาอะไรบ้าง เผื่อบางคนไม่ถนัดหรือไม่ชอกวิศวะ'คอม ก็ยังมีทางเลือกแนวเดียวกันให้เลือกอีกมากมาย ไปดูกันเลยดีกว่าครับ ^___^
 
วิศวกรรมคอมพิวเตอร์
สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วศ.บ. (วิศวกรรมคอมพิวเตอร์)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Enginneering (Computer Engineering)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Eng. (Computer Engineering) 


วิศวกรรมซอฟต์แวร์
สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาตรบัณฑิต (วิศวกรรมซอฟต์แวร์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. (วิศวกรรมซอฟต์แวร์) ----
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Software Engineering)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Software Engineering) 
เทคโนโลยีสารสนเทศ
สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาตรบัณฑิต (เทคโนโลยีสารสนเทศ)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. เทคโนโลยีสารสนเทศ) ----
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Information Technology)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Information Technology
 ****บางแห่งเปิดสอนในแบบวิศวะด้วย****
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วศ.บ. (วิศวกรรมสารสนเทศและการสื่อสาร)
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Enginneering (Information and Communication Engineering)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Eng. (Information and Communication Engineering)
วิทยาการคอมพิวเตอร์
สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : วิทยาศาตรบัณฑิต (วิทยาการคอมพิวเตอร์)
ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : วท.บ. (วิทยาการคอมพิวเตอร์) ----
ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Science (Computer Science)
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) : B.Sc. (Computer Science

ปล.นอกจากนี้ยังก็ยังมีหลายสถาบันตั้งชื่อคณะ/สาขาที่แตกต่างกันออกไปบ้าง ก็ต้องไปหาข้อมูลเฉพาะมหาวิทยาลัยอีกทีนะครับ >__<

---->ขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดี หนังสือ Born to be วิศวะคอมฯ, สำนักพิมพ์บายยัวร์เซลฟ์ พับลิชชิ่ง

มีความคิดเห็นแนะนำหรือเพิ่มเติมได้ในกล่องคอมเมนต์ด้านล่างได้นะครับ :)

มุมแนะนำ