มุมแนะนำ

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

พันธะไอออนิก


พันธะไอออนิก
1).ธาตุคู่พันธะ: เกิดจาการเข้าทำพันธะของธาตุโลหะ และธาตุอโลหะ (โลหะ+อโลหะ)
2).สารประกอบที่ได้: เรียกว่าสารประกอบ “ไอออนิก”
3).การใช้งานอิเล็กตรอน: เกิดอะตอมของธาตุอโลหะพยายามจะทำให้ตัวเองมีอิเล็กตรอนครบแปดโดยการปลดอิเล็กตรอน และอะตอมของธาตุอโลหะพยายามทำให้อิเล็กตรอนวานอกสุดครบแปดโดยการรับเอาอิเล็กตรอนที่ธาตุโลหะไม่ต้องการมาใช้ จึงดูเหมือนกับธาตุโลหะให้อิเล็กตรอน และธาตุอโลหะรับอิเล็กตรอน เกิดเป็นไอออนบวกและไอออนลบตามลำดับ จึงดึงดูดกันด้วยแรงทางไฟฟ้าอย่างเหนียวแน่น
4).สูตรสารประกอบ: สารประกอบไอออนิกเกิดจาการไอออนบวกกับไอออนลบดึงดูดกันอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นจึงหาขอบเขตของสารประกอบไม่ได้ จึงไม่มีสูตรสารประกอบ มีแต่สูตรอย่างง่าย(Empirical Formula) ที่แสดงสัดส่วนการรวมตัวของไอออนบวกและไอออนลบ
5).ค่าEN : ยิ่งต่างกันมากยิ่งเป็นไอออนิกมาก (ไม่มีไอออนิก 100% เพราะไม่มีการระบุว่าค่าEN แตกต่างกันเท่าไรจึง 100%)
6).ความแข็งแรงของพันธะ: แข็งแรงรองจากพันธะโลหะ เพราะเกิดจากไอออนบวกับไอออนลบดึงดูดกันอย่างต่อเนื่องไม่มีที่สิ้นสุด
7).ลักษณะของสารประกอบ: สารประกอบไอออนิกเป็นของแข็งเสมอที่ RTP ไม่นำไฟฟ้าในสภาพของแข็งแต่นำไฟฟ้าได้ดีเมื่อหลอมเหลว ทั้งนี้เนื่องจากเป็นของแข็งไอออนเคลื่อนที่ไม่ได้ แต่เมื่อเป็นของเหลวไอออนเคลื่อนที่ได้ จุดเด่นของสารประกอบไอออนิกคือ แข็งแต่เปราะไม่เหมือนโลหะที่แข็งและเหนียว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ