มุมแนะนำ

วันจันทร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2555

พันธะโลหะ


พันธะโลหะ
1).ธาตุคู่รวมพันธะ: เกิดจากการเข้าทำพันธะของธาตุโลหะเดียวกันทุกธาตุต่อเนื่องทั้งแท่งโลหะ  (โลหะ+โลหะ)
2).สารประกอบที่ได้: เรียกว่าสารประกอบ
3).การใช้งานอิเล็กตรอน: เกิดจากอะตอมของธาตุโลหะไม่ต้องการใช้งานอิเล็กตรอนวงนอกสุด  จึงปลดอิเล็กตรอนออกมาทำให้เกิดอิเล็กตรอนอิสระจำนวนมหาศาลในโลหะ (Sea of electron)  เกิดคุณสมบัติทางกายภาพของโลหะมากมาย
4).สูตรสารประกอบ: ไม่มีสูตรสารประกอบ เนื่องจากไม่ทราบจำนวนที่แน่นอนของอะตอมที่เข้าร่วมพันธะเพราะมีเยอะมากจึงมีแต่สูตรอย่างง่าย(Empirical Fomular)เช่น Fe ,Na ,K ,Ag ,Cu เป็นต้น
5).ค่าΔEN: เท่ากับศูนย์ เพราะเกิดจากธาตุเดียวกันเข้าทำพันธะกัน
6).ความแข็งแรงของพันธะ: แข็งแรงมาก  เพราะเกิดจากแรงทางไฟฟ้าอันมหาศาลของประจุบวกที่เกิดจากโปรตอนในนิวเคลียสดึงดูดกันกับกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนที่เป็นประจุลบ
7).ลักษณะของสารประกอบ:
·         โลหะจะแข็งและเหนียวต่างจากโคเวเลนต์ และไอออนิก ที่แข็งแต่เปราะ
·         นำไฟฟ้าได้ดีทุกทิศทาง เพราะมีอิเล็กตอนจำนวนมากเคลื่อนที่อยู่รอบผิวแท่งโลหะ
·         มีผิวมันวาวเคาะแล้วมีเสียงก้องกังวานเพราะ กลุ่มหมอกอิเล็กตรอนสามารถสะท้อนแสงได้ และสามารถสั่นพ้องได้
·         จุดเดือดจุดหลอมเหลวของสารประกอบโลหะสูงมากโดยเฉพาะโลหะทรานสิชันจะสูงกว่า 1000˚ͦ C เพราะความแข็งแรงของพันธะโลหะที่มากขึ้นนั่นเอง
8).สมบัติเด่นของโลหะหมู่ IA – IIIA :
·         หมู่ IA : เนื้ออ่อน ไม่แข็ง ความหนาแน่นต่ำกว่าน้ำ(ลอยน้ำได้) จุดหลอมเหลวต่ำ (Cs จุดหลอมเหลว 27 ˚ͦ C) ทำปฏิกิริยารุนแรงกันน้ำ ได้ผลิตภัณฑ์เป็นเบส
·         หมู่ IIA : แข็งแรงกว่าหมู่ IA ความหนาแน่นมากกว่าน้ำ แต่ไม่ถือว่าสูงมาก จุดหลอมเหลวสูงกว่าหมู่ IA เยอะ (หมู่ IA จัดอิเล็กตรอนระดับออบิทัลเสถียร) ประมาณ 100-700 ˚ͦ C พบมากบนพื้นโลก(Mg ,Ca พบมากที่สุด) และในตัวของสัตว์เปลือกแข็ง
·         หมู่ IIIA : เป็นโลหะเนื้อแข็ง ความหนาแน่นสูง แข็งแรง จุดหลอมเหลวสูงกว่า 1000 ˚ͦ C ส่วนใหญ่ใช้ในงานอุตสาหกรรมก่อสร้างไดแก่ B ,Al


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ