มุมแนะนำ

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ของแข็ง ของเหลว แก๊ส



ของแข็ง
สมบัติทั่วไป
·         แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของของแข็งมากกว่าของเหลวและแก๊ส
·         ของแข็งมีรูปร่างแน่นอนไม่ขึ้นกับภาชนะที่บรรจุ
·         ของแข็งมีปริมาตรคงที่ที่อุณหภูมิและความดันคงที่
สมบัติเฉพาะตัวที่สำคัญดังนี้
·         อะตอมและโมเลกุลของของแข็งมีการจัดเรียงตัวอย่างมีระเบียบ
·         ของแข็งไม่สามารอัดหรือบีบให้หดตัวลงได้
·         ของแข็งชนิดเดียวกันอาจมีโครงสร้างได้หลายแบบ
·         อุณหภูมิและความดันจะมีผลน้อยมาก
·         ของแข็งสามารถตกผลึกเป็นรูปร่างต่างๆ ได้
·         ของแข็งที่ไม่เป็นผลึก เรียกว่า ของแข็งอสัณฐาน (amorphous solid) เช่น แก้ว ยาง พลาสติก
อนุภาคของของแข็ง
·         ผลึก (Crystalline solid)
อนุภาคองค์ประกอบของของแข็งเรียงตัวอย่างเป็นระเบียบใน 3 มิติ เช่น กามะถัน ฟอสฟอรัส
·         ของแข็งสัณฐาน (Amorphous solid)
อนุภาคองค์ประกอบกระจายกันอยู่อย่างไม่เป็นระเบียบ เช่น แก้ว ยาง พลาสติก
ของเหลว (Liquid)
สมบัติทั่วไป
1.       แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมีมากกว่าแก๊สโมเลกุลชิดกัน
o   ปริมาตรคงที่
2.       แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลไม่มากพอ
o   ตำแหน่งไม่คงที่ เกิดการไหล
o   รูปร่างไม่แน่นอน
3.       เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนและความดันเปลี่ยน ปริมาตรเปลี่ยนน้อยมาก
4.       ของเหลวมีสมบัติคล้ายแก๊ส คือมีรูปร่างไม่แน่นอน ไหลได้ แพร่ได้
5.       ของแข็ง คือ เป็นไอโซโทรปิก (isotropic) โมเลกุลอยู่ชิดกัน ไม่แพร่กระจายเต็มภาชนะ
ความตึงผิว (Surface tension)
o   งานที่ใช้ในการขยายพื้นที่ผิวของของเหลว 1 หน่วยขึ้นอยู่กับแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล
o   โมเลกุลที่ผิวหน้าจะได้รับแรงดึงดูดจากโมเลกุลที่อยู่ด้านข้างและด้านล่างพื้นที่ผิวของของเหลวลดลง

แรงดึงผิว
o   แรงดึงผิวเกิดเนื่องจากแรงยึดเหนี่ยวระหว่างที่โมเลกุลบริเวณผิวหน้าของๆเหลวแตกต่างจากบริเวณอื่นๆ
o   โมเลกุลบริเวณผิวหน้าของๆเหลวจะถูกดึงเข้าสู่บริเวณภายใน ทาให้เกิดการหดตัวของผิวหน้า ส่งผลให้พื้นที่ผิวของๆเหลวลดลง
การระเหย (Evaporation)
o   โมเลกุลมีพลังงานจลน์มากกว่าแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของเหลว แก๊สหรือไอ การระเหย
o   ปัจจัยที่มีผลต่อการระเหย
1) พื้นที่ผิว
2) แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล
3) อุณหภูมิ
แรงเชื่อมแน่น และแรงยึดติด
o   แรงเชื่อมแน่น (Cohesive force)
o   แรงยึดติด (Adhesive force)
ความดันไอ (Vapor pressure)
ความดันไอ คือ ความดันของไอของของเหลวที่อยู่เหนือของเหลวในภาชนะปิด ที่สภาวะสมดุล
o   เมื่อไอเคลื่อนที่ชนผิวหน้าของเหลวจะควบแน่น ของเหลว เรียกว่า การควบแน่น (Condensation)
โดยที่ที่สมดุล อัตราการควบแน่น = อัตราการระเหย
ของเหลวอยู่ในสมดุลพลวัตกับไอ = ความดันไอสมดุลหรือความดันไอ


การเดือด (Boiling)
o   เมื่อของเหลวได้รับความร้อนและกลายเป็นไอทั่วทั้งปริมาตร จะเกิดเป็นฟองอากาศทั่วทั้งปริมาตรและลอยขึ้นสู่ผิวหน้าของเหลว
1.       เมื่อเพิ่มอุณหภูมิจนความดันไอ = ความดันภายนอก
2.       ทาให้ฟองอากาศลอยขึ้นสู่ผิวน้า เรียกว่า การเดือด
3.       อุณหภูมิที่ทาให้เกิดการเดือด เรียกว่า จุดเดือด
4.       (Boiling point, Tb) อุณหภูมิที่ทาให้เกิดการเดือดที่ความดันบรรยากาศ (1 atm) เรียกว่า จุดเดือดปกติ (Normal Boiling point) จุดเดือดขึ้นกับแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล
ก๊าซ
สมบัติทั่วไปของแก็ส
1.       แก๊สมีรูปร่างเป็นปริมาตรไม่แน่นอนถ้าให้แก๊สอยู่ในภาชนะที่เปลี่ยนแปลงปริมาตร
2.       สารที่อยู่ในสถานะแก๊สมีความหนาแน่นน้อยกว่าสถานะอื่นแก๊สสามารถแพร่ได้
3.       แก็สต่างๆ ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเมื่อนามาใส่ในภาชนะเดียวกัน แก๊สแต่ละชนิดจะแพร่ผสมกันอย่างสมบูรณ์ทุกส่วน หรือเป็นสารละลาย (Solution)
4.       แก๊สส่วนใหญ่ไม่มีสีและโปร่งใส
ทฤษฎีของก๊าซ
o   ทฤษฎีจลน์ของแก๊ส
1.       กฎของบอยล์ (Boyle’s Law)
2.       กฎของชาร์ลส์ (Charles’s Law)
3.       กฎของเกย์-ลูแซก (Joseph-Louise Gay-Lussc)
ปริมาตร อุณหภูมิ และความดันของแก๊ส
1.       ปริมาตรของแก๊ส คือปริมาตรของภาชนะที่ ใช้บรรจุแก๊ส ใช้สัญลักษณ์ V
2.       อุณหภูมิ เป็นมาตราส่วนที่ใช้บอกระดับความร้อน ใช้สัญลักษณ์ T (เคลวิน) และ t (องศาเซลเซียส) T (K) = 273.15 + t (C)
3.       ความดัน คือ แรงที่กระทาต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ที่ตั้งฉากกับแรงนั้น ใช้สัญลักษณ์ P

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ