มุมแนะนำ

วันพุธที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2555

แผ่นดินไหว (Earthquake)


แผ่นดินไหว (Earthquake)เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการเคลื่อนทีของเปลือกโลกตามแนวระหว่าง
รอยต่อของแผ่นธรณีภาค ทำให้ชั้นหินขนาดใหญ่แตกหัก หรอ เคลื่อนตัว และถ่ายโอนพลังงานศักย์อย่าง
รวดเร็วให้กับพื้นที่อยู่ติดกันในรูปของคลื่นไหวสะเทือน
ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (focus) คือตำแหน่งที่เป็นจุดกำเนิดการไหวสะเทือนของแผ่นดินไหวลึกที่สุดที่วัดได้
อยู่ที่ระดับ 696 กิโลเมตร
จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (epicenter) คือ ตำแหน่งบนผิวโลกที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

ศูนย์เกิดแผ่นดินไหวแบ่งเป็น 3 ระดับตามระดับความลึก ดังนี้
1.     แผ่นดินไหวที่มีศูนย์เกิด แผ่นดินไหวระดับตื้นจะเกิดที่ความลึกน้อยกว่า 70 กิโลเมตรจากผิวโลก
2.     แผ่นดินไหวที่มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวระดับปานกลางจะเกิดที่ความลึกระหว่าง 70 - 300 กิโลเมตร จาก
ผิวโลก
3.     แผ่นดินไหวที่มีศูนย์เกิดแผ่นดินไหวระดับลึก จะเกิดที่ความลึกมากกว่า 300 กิโลเมตร จากผิวโลก
คลื่นไหวสะเทือน พลังงานที่ถูกปลดปล่อยจากการเกิดจากแผ่นดินไหวจะอยู่ในรูปของคลื่นไหวสะเทือน 2
ชนิดได้แก่
1. คลื่นในตัวกลาง เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่ แผ่นกระจายทุกทิศทุกทางจากศูนย์เกิดแผ่นดินไหว และเดินทาง
อยู่ในตัวกลางที่คลื่นเคลื่อนที่ผ่าน คลื่นในตัวกลางแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
        1.1          คลื่นปฐมภูมิ หรอคลื่น P เป็นคลื่นตามยาวคลื่น P มีความเร็วมากกว่าคลื่นชนิดอื่น เคลื่อนที่ผ่าน
ตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลวและแก๊สได้
        1.2          คลื่นทุติยภูมิ หรอคลื่น S เป็นคลื่นตามขวางคลื่น S เคลื่อนที่ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็ง
มีความเร็วน้อยกว่าคลื่น
P
2.  คลื่นผิวน้ำ เป็นคลื่นที่เคลื่อนที่บนผิวโลกหรอใต้โลกเล็กน้อย เคลื่อนด้วยอัตราเร็วกว่าคลื่นในตัวกลาง
คลื่นผิวนามี 2 ชนิดคือ
         2.1          คลื่นเลิฟ (love wave) หรอคลื่น L เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางสั่นในแนวราบ บริเวณใกล้
กับผิวโลก โดยมีทิศทางตั้งฉากกับทิศทางการเคลื่อนที่ของคลื่น คลื่น
L สร้างความเสียหายให้กับ
ฐานของอาคารและสิ่งปลูกสร้าง
2.2          คลื่นเรย์ลี (Rayleigh wave) หรอคลื่น R เป็นคลื่นที่ทำให้อนุภาคของตัวกลางเคลื่อนที่ในระนาบ
แนวดิ่งเป็นวง
'รีในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่ของคลื่นทำให้พื้นผิวโลกมีการสั่นขึ้นลง
เครื่องวัดความไหวสะเทือน (seismograph) เครื่องมือนี้จะบันทึกและวัดค่าการสันไหวต่างๆ ของฟืนโลกที่เกิดจากการเกิดแผ่นดินไหว มีกระดาษปนทึกความไหวสะเทือน (seismograph) โดยบนทึกเป็นกราฟ
แนวแผ่นดินไหว แนวรอยต่อที่สำคัญทีทำให้เกิด แผ่นดินไหวมี 2 แนวคือ
1.     แนวรอยต่อที่สำคัญล้อมรอบมหาสมุทรแปซิฟิค เป็นบริเวณที,เกิดแผ่นดินไหวค่อนข้างรุนแรงและ
มากที่สุด ร้อยละ 80 ของการเกิดทั่วโลก เรียกว่า วงแหวนแห่งไฟ
(Ring of Fire) ได้แก่ ญี่ป่น
ฟิลิปปีนส์ ตะวันตกของเม็กซิโก และตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา
2.     แนวรอยต่อภูเขาแอลป์ในทวีปยุโรป และภูเขาหินมาลัยในทวีปเอเชีย เกิดแผ่นดินไหวร้อยละ 15
ของทั่งหมด ได้แก่ ประเทศพม่า อัฟกานิสถาน อิหร่าน ตุรกี และแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนใน
ยุโรป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ