มุมแนะนำ

วันพุธที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การแยกสารเนื้อผสม


การแยกสารเนื้อผสม
1.การกลั่น คือ กระบวนการต้มของเหลวให้กลายเป็นไอ และไอควบแน่นเป็นของเหลว การกลั่นสามารถแยกเกลือและน้ำตาลออกจากน้ำเกลือและน้ำหวานได้
2.การกรอง คือ การแยกของสารเนื้อผสมที่เกิดจากของแข็งผสมอยู่ในของเหลวและของแข็งไม่ละลายในของเหลว สิ่งที่กรองได้คือของเหลว สิ่งที่ติดอยู่บนอุปกรณ์กรองคือของแข็ง
3.การระเหย คือ กระบวนการเปลี่ยนจากของเหลวกลายเป็นไอ เช่น การทำนาเกลือ
4.การระเหิด คือ การที่ของแข็งกลายเป็นไอ ไม่ต้องผ่านขั้นตอนของการหลอมเหลว ใช้แยกของผสม เนื้อผสมที่ระเหิดได้ผสมปนอยู่ เช่น เกลือแกงผสมกับการบูร เมื่อเราให้ความร้อนการบูรระเหิดออกมาขากเกลือแกงได้
5.การตกผลึก หมายถึง สารละลายที่มีตัวถูกละลายอยู่มาก ที่อุณหภูมิสูง มาตั้งทิ้งไว้ให้เย็นตัวอย่างช้าๆ ตัวถูกละลายบางส่วนจะแยกตัวออกมาเป็นผลึก ผลึกบางชนิดมีน้ำรวมอยู่ในโมเลกุลด้วย และเนื่องจากน้ำจำนวนนี้จำเป็นต่อการตกผลึกจึงเรียกว่า น้ำผลึก
6.การใช้มีหยิบหรือเขี่ยออก ใช้แยกของผสมเนื้อผสม ที่ของผสมมีขนาดโตพอที่จะหยิบหรือเขี่ยออกได้ เช่น ข้าวสารที่มีเมล็ดข้าวเปลือกปนอยู่
7.การใช้แท่งแม่เหล็ก ใช่แยกของผสมเนื้อผสมที่แม่เหล็กสามารถดูดได้ ผสมปนอยู่ เช่น ผงตะไบผสมกับผงกำมะถัน
8.การใช้แรงลมและแรงโน้มถ่วงของโลก ใช้แยกของผสม เนื้อผสมที่มีน้ำหนักต่างกัน เช่น ข้าวสารผสมกับแกลบ เรานำมาใส่กระด้งแล้วออกแรงฝัด แกลบเบาก็ถูกแรงลมพัดปลิวออกไปนอกกระด้ง ข้าวสารหนักกว่าก็จะตกอยู่ในกระด้ง
9.การตกตะกอน ใช้แยกของผสม เนื้อผสม ที่เป็นของแข็งแขวนลอยอยู่ในของเหลว ถ้าต้องการให้ตกตะกอนเร็วขึ้นอาจใช้สารส้มแกว่ง
10.โครมาโทกราฟี ใช่แยกสารผสมเนื้อเดียว นิยมใช้แยกสารอินทรีย์ที่เป็นของผสม ซึ่งมีปริมาณน้อยๆให้บริสุทธิ์
            โครมาโทกราฟี แปลว่า การแยกออกมาให้เห็นเป็นสี
ชนิดของโครมาโทกราฟี แบ่งตามลักษณะของตัวทำละลายและตัวดูดซับ แบ่งออกเป็น 4 ชนิด
1.โครมาโทกราฟีแบบกระดาษ           2.โครมาโทกราฟีแบบหลอดแก้ว
3.โครมาโทกราฟีแบบเยื่อบางๆ          4.โครมาโทกราฟีแบบแก๊ส-ของเหลว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ