มุมแนะนำ

วันจันทร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ฮอร์โมนโกรท (Growth hormone) เรียกย่อว่า GH หรือ Somatotrophin เรียกย่อว่า STH



ฮอร์โมนโกรท (Growth hormone) เรียกย่อว่า GH หรือ Somatotrophin เรียกย่อว่า STH
 ฮอร์โมนโกรท มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตทั่วๆไปของร่างกายให้เป็นปกติ เช่น การเจริญของกระดูก รวมทั้งผลต่อเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน และเกลือแร่ หน้าที่ทั่วๆไปของฮอร์โมนโกรธ ได้แก่
                1.1ควบคุมการเจริญเติบโตของกระดูก โดยกระตุ้นการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก  ทำให้กระดูกเจริญยาวขึ้น
                1.2เพิ่มอัตราการผ่านของกรดอะมิโนเข้าสู่เซลล์ ทำให้การสังเคราะห์โปรตีน ในร่างกายเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและอวัยวะของร่างกาย
                1.3 ผลต่อเมแทบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต GH จะออกฤทธิ์โดย
1.3.1 เพิ่มอัตราการเปลี่ยนไกลโคเจนในตับและกล้ามเนื้อ ไปเป็นกลูโคสและขับออกมาสูกระแสเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลสูงขึ้น ดั้งนั้น GH จึงออกฤทธิ์ตรงข้ามกับฤทธิ์ในลดระดับน้ำตาลของอินซูลิน
1.3.2 ขัดขวางการสังเคราะห์ไกลโคเจน โดยเปลี่ยนไปใช้ไขมันเป็นแหล่งสร้างพลังงานแทน
                1.4 ผลต่อเมแทบอลิซึมของไขมัน
                GH จะออกฤทธิ์โดยกระตุ้นกรสลายตัวของเนื้อเยื่อไขมัน ที่เก็บสะสมไว้ใต้ผิวหนัง กลายเป็นกรดไขมันอิสระในกระแสเลือด ทำให้ปริมาณกรดไขมันอิสระในพลาสมาของเลือดสูงขึ้น และส่งเสริมการเผาผลาญกรดไขมันที่เซลล์ให้เปลี่ยนเป็นพลังงาน
                1.5 ผลต่อเมแทบอลิซึมของเกลือแร่ต่างๆ GH จะมีผลทำให้ฟอสเฟต และโพแทสเซียมสะสมในร่างกายมากขึ้น แต่การสะสมของโซเดียมและโพแทสเซียมมีน้อย โดยแคลเซียมจะถูกขับออกทางปัสสาวะมากขึ้น
                1.6 ฤทธิ์ต่อไต โดยการศึกษาในสัตว์พบว่า GH ทำให้การกรองที่โกลเมอรูลัส และการไหลของพลาสมาที่ไต มากขึ้น ทำให้ปัสสาวะมากขึ้น
                1.7 ฤทธิ์ต่อการหลั่งน้ำนม โดยการทดลองจากสัตว์พบว่า GH สามารถกระตุ้นการหลั่งและสร้างน้ำนมในสัตว์ที่กำลังในนมลูก เหมือนกับฮอร์โมนโปรแลกติน แต่มีผลน้อยกว่าโปรแลกติน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

มุมแนะนำ